ต้องออกตัวก่อนว่า ไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องการบิน หรือเครื่องบินรบอะไรเลยนะคะ
หากถามอะไรที่ดูตื้นเขินไปบ้างต้องขออภัยด้วย เพราะพยายามค้น ๆ เองแล้ว ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ
ได้มีโอกาสไปพิพิธภัณฑ์สงครามของอิหร่าน แล้วมีการพูดถึง Operation H3 ที่กองทัพอิหร่านโจมตีฐานทัพอากาศ H-3 ทางตะวันตกของอิรัก ในวันที่ 4 เมษายน 1981
ไกด์บอกว่า
อันนี้ เป็นการโจมตีทางอากาศที่เรียกได้ว่า ประสบความสำเร็จมากที่สุดของอิหร่าน และกลายเป็นกรณีศึกษาของกองทัพอากาศทั่วโลก
นี่ก็เลยตามไปอ่านในวิกิว่ามันเป็นยังไง ?
https://en.wikipedia.org/wiki/H-3_airstrike
เก็บความสั้น ๆ มาได้ว่า
* มันเป็นแผนการโจมตีทางอากาศที่ประสบความสำเร็จที่สุด เพราะอิหร่านวางแผนโจมตีแบบไม่ให้อีกฝ่ายตั้งตัว (surprise attack)
* ฐานทัพอากาศ H-3 ของอิรักห่างจากฐานทัพชาห์โรกี (Shahrokhi Air Base) ของอิหร่านออกไปประมาณ 1,500 กม. ยิงตรง ๆ ระยะยิงก็ไม่ถึง จะบินตรง ๆ ก็ต้องผ่านแบกแดดซึ่งมีการอารักขาหนาแน่น บินไปไม่ได้อยู่ดี หรือถึงจะบินไปได้ ก็ยังจะต้องมีการเติมน้ำมันกลางอากาศ (aerial refueling) ถึง 2 ครั้ง
* อิรักอยู่ทางตะวันตกของอิหร่าน ฐานทัพ H-3 ก็อยู่ค่อนไปทางตะวันตกของอิรักอีกที
* ทางอิหร่าน ก็เลยวางแผนว่า จะบินอ้อมไปทางเหนือของอิรักที่ซึ่งการคุ้มกันทางอากาศต่าง ๆ มีความเบาบาง โดยจะบินเลาะตรงตะเข็บพรมแดนตุรกี-อิรัก แล้วอ้อมไปทิ้งระเบิดที่ฐานทัพอากาศ H-3 ซึ่งการเลือกเส้นทางนี้ จะเพิ่มระยะทางการบินจาก 1,500 กม.เป็น 3,500 กม. และต้องเติมน้ำมันกลางอากาศอีกหลายครั้ง
* การบินจะต้องบินที่ระดับต่ำกว่า 300 ฟุต (100 เมตร) ซึ่งถือเป็นระดับการบินที่ต่ำมาก เพื่อหลีกเลี่ยงเรดาร์ของอิรักและตุรกี
* ฤกษ์โจมตีเริ่มเวลา 10.30 ตอนเช้า ของ 4 เมษาค่ะ เริ่มจากเครื่องบินรบ F-4 Phantoms 8 ลำ ออกจากฐานบินฮามารัน(Hamaran Air Base) ของอิหร่าน เติมน้ำมันกลางอากาศบินไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่าน แวะเติมน้ำมันกลางอากาศก่อนรอบนึงตรงทะเลสาบอูรเมีย (Urmia Lake) ในเขตอิหร่าน แล้วบินเลาะตะเข็บพรมแดนอิรัก-ตุรกี ตรงไป H-3
ขณะเดียวกัน เครื่องบิน Northrop F-5E 3 ลำ ขึ้นจากฐานทัพอากาศทาบริซ (Tabriz Air Base) ของอิหร่าน ก็โจมตี ฐานทัพอากาศฮูริยา (Hurriya Air Base) ของอิรัก เป็นปฏิบัติลับ ลวง พราง ล่อให้อิรักหันมาโฟกัสด้านนี้
จริง ๆ ในจอเรดาร์ก็เห็นเครื่องบินรบอยู่หลายครั้บ แต่ถูกเข้าใจว่าเป็นเครื่องบินลาดตระเวนของตุรกี ผู้พันอิแซดเซต้า ควบคุมปฏิบัติการจากเครื่องโบอิ้ง 747 ในน่านฟ้าซีเรีย แถม มีการเตรียมสนามบินพาล์มีร่า (Palmyra) ในซีเรียเผื่อลงจอดฉุกเฉินด้วย
พอเข้าไปใกล้ ฐานทัพอากาศ H-3 แฟนธอมแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ อัลวานด์ (Alvand) กับ อัลบอร์ซ (Alborz) เพื่อรุมโจมตีฐานทัพ H-3 จากทุกทิศทาง ระเบิดลานบิน (airfield) 3 แห่งในฐานทัพอากาศ H-3
* ตัดจบก่อนเข้าคำถามเลยนะคะ
ผลของการโจมตีครั้งนี้ ฝ่ายอิหร่านทำลาย เครื่องบินรบ Anotonov ไป 3 ลำ เครื่องบินรบ
Tupolev Tu-16 bomber ไป 1 เครื่องบินรบ Mikoyan-Gurevich MiG-21s 4 เครื่องบินรบSukhoi Su-20/22s 5 เครื่องบินรบ Mikoyan-Gurevich MiG-23s 8 เครื่องบินรบ Dassault Mirage F1EQs 2 (เครื่องใหม่ที่เพิ่งถอยออกมา) and เฮลิคอปเตอร์อีก 8 ลำ แล้วยังทำความเสียหายให้กับเฮลิคอปเตอร์อีก 11 ลำ และ เครื่องบิน Tu-16 อีก 1 ในระดับที่เรียกว่า “ไม่ต้องซ่อม”
นักบินอิรัก 2 นายพร้อมทีมงานตาย พร้อมกับทหารอียิปต์ 3 คน ทหารเยอรมันตะวันออก ขระที่ นายทหารอิรัก 19 คน อียิปต์ 4 คน และจอร์แดน 2 คนบาดเจ็บสาหัส
R.I.P.
ส่วนเครื่องบินรบอิหร่านบินกลับรอดปลอดภัยหมดทุกลำ
ทีนี้ คำถามของดิฉันอยู่ตรงนี้ค่ะ
รายละเอียดบอกว่า
1.เครื่องบิน Phantom ของอิหร่านแต่ละลำ เติมน้ำมันกลางอากาศถึง 4 ครั้งที่ระดับความสูงประมาณ 300 ฟุต หรือ 100 เมตร ซึ่งเสี่ยงมาก เพราะมาตรฐานความปลอดภัย กำหนดไว้ที่ 22,000 ฟุต หรือ 6,700 เมตร
อันนี้ งงตรงที่ว่า 100 เมตร กับ 6,700 เมตร มันต่างกัน 67 เท่าเลยนะคะ ถามอย่างคนไม่รู้ แต่แค่เห็นตัวเลขเทียบกับมาตรฐานความปลอดภัย ก็รู้สึกว่า มันดูน่ากลัว แต่ทีนี้อยากรู้รายละเอียดว่า มันน่ากลัวยังไง น่ากลัวตรงไหน
เลยอยากถามว่า
การเติมน้ำมันที่เพดานบินระดับต่ำขนาดนี้ ที่บอกว่าเสี่ยง เสี่ยงอะไร ? (นอกเหนือจากโดนคนมองขึ้นไปบนฟ้าเห็น แล้วยิงตกลงมาตุยนะคะ)
เสี่ยงกับความดัน ? ความกดอากาศ ? หรือเสี่ยงอะไรคะ ?
2.เครื่องบินรบนี่ ระยะบินแบบน้ำมันหมดถังประมาณเท่าไรคะ ? คือ ถ้าระยะ 3,500 กม. ต้องเติมน้ำมัน 3-4 ครั้ง แสดงว่าเติมครั้งหนึ่ง ก็บินได้ไม่ถึงพันกิโลอย่างนั้นหรือคะ ? อันนี้ กำลังเทียบกับเครื่องบินพาณิชย์ว่า จากกรุงเทพไปยุโรป ประมาณ เกือบ ๆ หมื่นกิโล ก็ยังไม่ต้องแวะจอดเติมน้ำมันกลางทาง
ปกติเครื่องบินรบนี่ขึ้นบินครั้งหนึ่ง ได้ระยะทางเท่าไรคะ ?
ขอรบกวนผู้รู้ช่วยอธิบายด้วยค่ะ
ปล. หากดิฉันเก็บความหรือแปลผิดตรงไหน ดิฉันใส่ต้นทางของข้อมูลมาให้แล้วนะคะ
มีคำถามเกี่ยวกับเรื่องระดับการบิน ระยะการบิน และการเติมน้ำมันกลางอากาศของเครื่องบินรบค่ะ
หากถามอะไรที่ดูตื้นเขินไปบ้างต้องขออภัยด้วย เพราะพยายามค้น ๆ เองแล้ว ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ
ได้มีโอกาสไปพิพิธภัณฑ์สงครามของอิหร่าน แล้วมีการพูดถึง Operation H3 ที่กองทัพอิหร่านโจมตีฐานทัพอากาศ H-3 ทางตะวันตกของอิรัก ในวันที่ 4 เมษายน 1981
ไกด์บอกว่า
อันนี้ เป็นการโจมตีทางอากาศที่เรียกได้ว่า ประสบความสำเร็จมากที่สุดของอิหร่าน และกลายเป็นกรณีศึกษาของกองทัพอากาศทั่วโลก
นี่ก็เลยตามไปอ่านในวิกิว่ามันเป็นยังไง ?
https://en.wikipedia.org/wiki/H-3_airstrike
เก็บความสั้น ๆ มาได้ว่า
* มันเป็นแผนการโจมตีทางอากาศที่ประสบความสำเร็จที่สุด เพราะอิหร่านวางแผนโจมตีแบบไม่ให้อีกฝ่ายตั้งตัว (surprise attack)
* ฐานทัพอากาศ H-3 ของอิรักห่างจากฐานทัพชาห์โรกี (Shahrokhi Air Base) ของอิหร่านออกไปประมาณ 1,500 กม. ยิงตรง ๆ ระยะยิงก็ไม่ถึง จะบินตรง ๆ ก็ต้องผ่านแบกแดดซึ่งมีการอารักขาหนาแน่น บินไปไม่ได้อยู่ดี หรือถึงจะบินไปได้ ก็ยังจะต้องมีการเติมน้ำมันกลางอากาศ (aerial refueling) ถึง 2 ครั้ง
* อิรักอยู่ทางตะวันตกของอิหร่าน ฐานทัพ H-3 ก็อยู่ค่อนไปทางตะวันตกของอิรักอีกที
* ทางอิหร่าน ก็เลยวางแผนว่า จะบินอ้อมไปทางเหนือของอิรักที่ซึ่งการคุ้มกันทางอากาศต่าง ๆ มีความเบาบาง โดยจะบินเลาะตรงตะเข็บพรมแดนตุรกี-อิรัก แล้วอ้อมไปทิ้งระเบิดที่ฐานทัพอากาศ H-3 ซึ่งการเลือกเส้นทางนี้ จะเพิ่มระยะทางการบินจาก 1,500 กม.เป็น 3,500 กม. และต้องเติมน้ำมันกลางอากาศอีกหลายครั้ง
* การบินจะต้องบินที่ระดับต่ำกว่า 300 ฟุต (100 เมตร) ซึ่งถือเป็นระดับการบินที่ต่ำมาก เพื่อหลีกเลี่ยงเรดาร์ของอิรักและตุรกี
* ฤกษ์โจมตีเริ่มเวลา 10.30 ตอนเช้า ของ 4 เมษาค่ะ เริ่มจากเครื่องบินรบ F-4 Phantoms 8 ลำ ออกจากฐานบินฮามารัน(Hamaran Air Base) ของอิหร่าน เติมน้ำมันกลางอากาศบินไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่าน แวะเติมน้ำมันกลางอากาศก่อนรอบนึงตรงทะเลสาบอูรเมีย (Urmia Lake) ในเขตอิหร่าน แล้วบินเลาะตะเข็บพรมแดนอิรัก-ตุรกี ตรงไป H-3
ขณะเดียวกัน เครื่องบิน Northrop F-5E 3 ลำ ขึ้นจากฐานทัพอากาศทาบริซ (Tabriz Air Base) ของอิหร่าน ก็โจมตี ฐานทัพอากาศฮูริยา (Hurriya Air Base) ของอิรัก เป็นปฏิบัติลับ ลวง พราง ล่อให้อิรักหันมาโฟกัสด้านนี้
จริง ๆ ในจอเรดาร์ก็เห็นเครื่องบินรบอยู่หลายครั้บ แต่ถูกเข้าใจว่าเป็นเครื่องบินลาดตระเวนของตุรกี ผู้พันอิแซดเซต้า ควบคุมปฏิบัติการจากเครื่องโบอิ้ง 747 ในน่านฟ้าซีเรีย แถม มีการเตรียมสนามบินพาล์มีร่า (Palmyra) ในซีเรียเผื่อลงจอดฉุกเฉินด้วย
พอเข้าไปใกล้ ฐานทัพอากาศ H-3 แฟนธอมแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ อัลวานด์ (Alvand) กับ อัลบอร์ซ (Alborz) เพื่อรุมโจมตีฐานทัพ H-3 จากทุกทิศทาง ระเบิดลานบิน (airfield) 3 แห่งในฐานทัพอากาศ H-3
* ตัดจบก่อนเข้าคำถามเลยนะคะ
ผลของการโจมตีครั้งนี้ ฝ่ายอิหร่านทำลาย เครื่องบินรบ Anotonov ไป 3 ลำ เครื่องบินรบ
Tupolev Tu-16 bomber ไป 1 เครื่องบินรบ Mikoyan-Gurevich MiG-21s 4 เครื่องบินรบSukhoi Su-20/22s 5 เครื่องบินรบ Mikoyan-Gurevich MiG-23s 8 เครื่องบินรบ Dassault Mirage F1EQs 2 (เครื่องใหม่ที่เพิ่งถอยออกมา) and เฮลิคอปเตอร์อีก 8 ลำ แล้วยังทำความเสียหายให้กับเฮลิคอปเตอร์อีก 11 ลำ และ เครื่องบิน Tu-16 อีก 1 ในระดับที่เรียกว่า “ไม่ต้องซ่อม”
นักบินอิรัก 2 นายพร้อมทีมงานตาย พร้อมกับทหารอียิปต์ 3 คน ทหารเยอรมันตะวันออก ขระที่ นายทหารอิรัก 19 คน อียิปต์ 4 คน และจอร์แดน 2 คนบาดเจ็บสาหัส
R.I.P.
ส่วนเครื่องบินรบอิหร่านบินกลับรอดปลอดภัยหมดทุกลำ
ทีนี้ คำถามของดิฉันอยู่ตรงนี้ค่ะ
รายละเอียดบอกว่า
1.เครื่องบิน Phantom ของอิหร่านแต่ละลำ เติมน้ำมันกลางอากาศถึง 4 ครั้งที่ระดับความสูงประมาณ 300 ฟุต หรือ 100 เมตร ซึ่งเสี่ยงมาก เพราะมาตรฐานความปลอดภัย กำหนดไว้ที่ 22,000 ฟุต หรือ 6,700 เมตร
อันนี้ งงตรงที่ว่า 100 เมตร กับ 6,700 เมตร มันต่างกัน 67 เท่าเลยนะคะ ถามอย่างคนไม่รู้ แต่แค่เห็นตัวเลขเทียบกับมาตรฐานความปลอดภัย ก็รู้สึกว่า มันดูน่ากลัว แต่ทีนี้อยากรู้รายละเอียดว่า มันน่ากลัวยังไง น่ากลัวตรงไหน
เลยอยากถามว่า
การเติมน้ำมันที่เพดานบินระดับต่ำขนาดนี้ ที่บอกว่าเสี่ยง เสี่ยงอะไร ? (นอกเหนือจากโดนคนมองขึ้นไปบนฟ้าเห็น แล้วยิงตกลงมาตุยนะคะ)
เสี่ยงกับความดัน ? ความกดอากาศ ? หรือเสี่ยงอะไรคะ ?
2.เครื่องบินรบนี่ ระยะบินแบบน้ำมันหมดถังประมาณเท่าไรคะ ? คือ ถ้าระยะ 3,500 กม. ต้องเติมน้ำมัน 3-4 ครั้ง แสดงว่าเติมครั้งหนึ่ง ก็บินได้ไม่ถึงพันกิโลอย่างนั้นหรือคะ ? อันนี้ กำลังเทียบกับเครื่องบินพาณิชย์ว่า จากกรุงเทพไปยุโรป ประมาณ เกือบ ๆ หมื่นกิโล ก็ยังไม่ต้องแวะจอดเติมน้ำมันกลางทาง
ปกติเครื่องบินรบนี่ขึ้นบินครั้งหนึ่ง ได้ระยะทางเท่าไรคะ ?
ขอรบกวนผู้รู้ช่วยอธิบายด้วยค่ะ
ปล. หากดิฉันเก็บความหรือแปลผิดตรงไหน ดิฉันใส่ต้นทางของข้อมูลมาให้แล้วนะคะ