การโจมตีของอิสราเอล ใช้จรวดสองชนิดคือ Rock และ Blue Sparrow ติดใต้ปีกเครื่องบิน F15 และ F16
จรวด Rock ที่คาดสีแดง

จรวด Blue Sparrow คาดสีส้ม
จรวดสองชนิดนี้เป็นจรวดอากาศสู่พื้นพิสัยปานกลาง ไม่สามารถยิงจากอิสราเอลถึงอิหร่าน ดังนั้นจึงต้องให้เครื่องบิน บินผ่านน่านฟ้าจอร์แดน และอิรัก ไปทำการยิงเหนือเขตซามารานในอิรัก ซึ่งอยู่นอกชายแดนอิหร่าน แล้วให้จรวดบินเข้าไปทำลายเป้าหมายที่อยู่ลึกเข้าไปในดินแดน
อิสราเอลใช้จรวดทำลายอุโมงค์และที่มั่นของปาเลสไตน์มาแล้วหลายครั้งอย่างได้ผล อย่างไรก็ตาม ทางทหารมีความสงสัยมานานแล้วว่าจรวดของอิสราเอลจะสามารถทำลายบังเกอร์ที่สร้างอย่างดีตามหลักวิศวกรรมของอิหร่านได้หรือ เพราะจรวดของอิสราเอลมีขนาดเล็ก ในขณะที่บังเกอร์ของอิหร่านที่มีหลายร้อยแห่งนั้น สร้างอย่างอลังการและอยู่ลึกลงไปหลายร้อยเมตร ในทางทฤษฎีบังเกอร์ของอิหร่านถูกออกแบบให้สามารถทนการโจมตีของระเบิดทำลายบังเกอร์ที่มีอานุภาพมากที่สุดของสหรัฐได้ ดังนั้นจึงน่าจะป้องกันตัวจากจรวดของอิสราเอลที่เล็กกว่าได้

นอกจากนี้บังเกอร์ของอิหร่านนั้น ไม่ใช่แค่ไว้ปกป้องโครงการขีปนาวุธ โดรน และการพัฒนานิวเคลียร์เท่านั้น ล่าสุดแม้ฐานทัพอากาศของอิหร่านอย่างน้อยหนึ่งแห่งก็ย้ายลงไปอยู่ใต้ดิน และคงจะวางใจไปได้อีกนาน เพราะระเบิดทำลายบังเกอร์นั้นได้พัฒนาจนเกือบจะถึงจุดสูงสุดในทางทฤษฎีแล้ว คงจะทำให้มีประสิทธิภาพสูงกว่านี้ได้อีกไม่มากนัก (คือถ้าจะทำลายบังเกอร์อิหร่านอาจจะต้องใช้ระเบิดนิวเคลียร์)
ดูเหมือนอิสราเอลก็เข้าใจปัญหา และไม่แตะต้องบังเกอร์เหล่านี้ อิสราเอลจึงเลือกโจมตีเฉพาะอาคารที่ไม่มีการป้องกันที่ตั้งอยู่บนพื้นดินแทน (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะมีความสำคัญในทางยุทธศาสตร์มากแค่ไหน) หลังการโจมตี สำนักข่าวตะวันตกได้ลงภาพอาคารขนาดไม่ใหญ่นักที่อยู่บนพื้นดินถูกทำลายนับรวมได้ 7 หลัง ผู้สื่อข่าวตะวันตกหลายคนพยายามใช้คำพูดโน้มน้าวผู้ฟังให้เชื่อว่า อุตสาหกรรมการผลิตจรวดของอิหร่านได้รับความเสียหายยับเยิน และอาจจะต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าจะกลับมาผลิตจรวดได้อีกครั้ง
ก็ลองพิจารณากันครับ ไม่รู้ว่าจะเชื่อคำพูดของแต่ละฝ่ายได้แค่ไหน ทางอิหร่านนั้นอ้างว่าจรวดของอิสราเอลสร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อย เพราะมีอานุภาพทำลายต่ำ เนื่องจากเป็นจรวดที่ใช้เครื่องบินบรรทุกไปยิง ดังนั้นน้ำหนักจึงต้องไม่มากเกินกว่าที่เครื่องบินจะบรรทุกไหว หลังจากถุกโจมตี อิหร่านคำนวณจากความเสียหายและประเมินว่าจรวดของอิสราเอลนั้นมีดินระเบิดประมาณ 20% ของจรวด Fattah ที่อิหร่านใช้โจมตีฐานทัพอากาศของอิสราเอลเมื่อต้นเดือนตุลาคม อาจจะไม่ค่อยได้ผลกับอาคารที่มีโครงสร้างแข็งแรง จึงต้องเลือกยิงใส่พวกอาคารที่ทำลายได้ง่ายแทน
จรวด Fattah ของอิหร่าน

อิสราเอลยังอ้างว่า ได้ทำลายระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิหร่านลงอย่างมากมาย อย่างไรก็ตามประเด็นนี้ จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีการนำหลักฐานภาพถ่ายที่มีความชัดเจนมาแสดง
คิดว่าการโจมตีของอิสราเอลทำให้อิหร่านเสียหายแค่ไหน
จรวด Rock ที่คาดสีแดง
จรวด Blue Sparrow คาดสีส้ม
จรวดสองชนิดนี้เป็นจรวดอากาศสู่พื้นพิสัยปานกลาง ไม่สามารถยิงจากอิสราเอลถึงอิหร่าน ดังนั้นจึงต้องให้เครื่องบิน บินผ่านน่านฟ้าจอร์แดน และอิรัก ไปทำการยิงเหนือเขตซามารานในอิรัก ซึ่งอยู่นอกชายแดนอิหร่าน แล้วให้จรวดบินเข้าไปทำลายเป้าหมายที่อยู่ลึกเข้าไปในดินแดน
อิสราเอลใช้จรวดทำลายอุโมงค์และที่มั่นของปาเลสไตน์มาแล้วหลายครั้งอย่างได้ผล อย่างไรก็ตาม ทางทหารมีความสงสัยมานานแล้วว่าจรวดของอิสราเอลจะสามารถทำลายบังเกอร์ที่สร้างอย่างดีตามหลักวิศวกรรมของอิหร่านได้หรือ เพราะจรวดของอิสราเอลมีขนาดเล็ก ในขณะที่บังเกอร์ของอิหร่านที่มีหลายร้อยแห่งนั้น สร้างอย่างอลังการและอยู่ลึกลงไปหลายร้อยเมตร ในทางทฤษฎีบังเกอร์ของอิหร่านถูกออกแบบให้สามารถทนการโจมตีของระเบิดทำลายบังเกอร์ที่มีอานุภาพมากที่สุดของสหรัฐได้ ดังนั้นจึงน่าจะป้องกันตัวจากจรวดของอิสราเอลที่เล็กกว่าได้
นอกจากนี้บังเกอร์ของอิหร่านนั้น ไม่ใช่แค่ไว้ปกป้องโครงการขีปนาวุธ โดรน และการพัฒนานิวเคลียร์เท่านั้น ล่าสุดแม้ฐานทัพอากาศของอิหร่านอย่างน้อยหนึ่งแห่งก็ย้ายลงไปอยู่ใต้ดิน และคงจะวางใจไปได้อีกนาน เพราะระเบิดทำลายบังเกอร์นั้นได้พัฒนาจนเกือบจะถึงจุดสูงสุดในทางทฤษฎีแล้ว คงจะทำให้มีประสิทธิภาพสูงกว่านี้ได้อีกไม่มากนัก (คือถ้าจะทำลายบังเกอร์อิหร่านอาจจะต้องใช้ระเบิดนิวเคลียร์)
ดูเหมือนอิสราเอลก็เข้าใจปัญหา และไม่แตะต้องบังเกอร์เหล่านี้ อิสราเอลจึงเลือกโจมตีเฉพาะอาคารที่ไม่มีการป้องกันที่ตั้งอยู่บนพื้นดินแทน (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะมีความสำคัญในทางยุทธศาสตร์มากแค่ไหน) หลังการโจมตี สำนักข่าวตะวันตกได้ลงภาพอาคารขนาดไม่ใหญ่นักที่อยู่บนพื้นดินถูกทำลายนับรวมได้ 7 หลัง ผู้สื่อข่าวตะวันตกหลายคนพยายามใช้คำพูดโน้มน้าวผู้ฟังให้เชื่อว่า อุตสาหกรรมการผลิตจรวดของอิหร่านได้รับความเสียหายยับเยิน และอาจจะต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าจะกลับมาผลิตจรวดได้อีกครั้ง
ก็ลองพิจารณากันครับ ไม่รู้ว่าจะเชื่อคำพูดของแต่ละฝ่ายได้แค่ไหน ทางอิหร่านนั้นอ้างว่าจรวดของอิสราเอลสร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อย เพราะมีอานุภาพทำลายต่ำ เนื่องจากเป็นจรวดที่ใช้เครื่องบินบรรทุกไปยิง ดังนั้นน้ำหนักจึงต้องไม่มากเกินกว่าที่เครื่องบินจะบรรทุกไหว หลังจากถุกโจมตี อิหร่านคำนวณจากความเสียหายและประเมินว่าจรวดของอิสราเอลนั้นมีดินระเบิดประมาณ 20% ของจรวด Fattah ที่อิหร่านใช้โจมตีฐานทัพอากาศของอิสราเอลเมื่อต้นเดือนตุลาคม อาจจะไม่ค่อยได้ผลกับอาคารที่มีโครงสร้างแข็งแรง จึงต้องเลือกยิงใส่พวกอาคารที่ทำลายได้ง่ายแทน
จรวด Fattah ของอิหร่าน
อิสราเอลยังอ้างว่า ได้ทำลายระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิหร่านลงอย่างมากมาย อย่างไรก็ตามประเด็นนี้ จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีการนำหลักฐานภาพถ่ายที่มีความชัดเจนมาแสดง