อิหร่านได้เปิดฉากโจมตีครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาต่ออิสราเอล โดยยิงขีปนาวุธวิถีโค้ง 180 ลูกเมื่อคืนวันอังคาร ซึ่งส่วนใหญ่ดูเหมือนจะถูกสกัดโดยระบบป้องกันขีปนาวุธของอิสราเอล สหรัฐฯ และจอร์แดน
การโจมตีทางอากาศนี้ ซึ่งรุนแรงกว่าการโจมตีคล้ายๆ กันเมื่อเดือนเมษายน ทำให้สถานการณ์ในตะวันออกกลางที่ตึงเครียดอยู่แล้วทวีความรุนแรงขึ้น ในขณะที่ความขัดแย้งระดับภูมิภาคกำลังลุกลาม
วันนี้ เราจะมาเปรียบเทียบกันถึงศักยภาพของขีปนาวุธวิถีโค้งของอิหร่าน และระบบป้องกันของอิสราเอลและกองกำลังอื่นๆ ในภูมิภาคนี้
รายงานของโครงการ Missile Threat Project ของศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และนานาชาติ (CSIS) ระบุว่า อิหร่านมีขีปนาวุธวิถีโค้งและขีปนาวุธร่อนหลายพันลูก โดยมีพิสัยทำการหลากหลาย
แม้จะไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนของขีปนาวุธแต่ละชนิด แต่ พลเอกเคนเนธ แม็คเคนซี (Kenneth McKenzie) จากกองทัพอากาศสหรัฐฯ เคยรายงานต่อสภาคองเกรสในปี 2023 โดยอ้างข้อมูลจากเว็บไซต์ Iran Watch ของโครงการ Wisconsin Project on Nuclear Arms Control ว่า อิหร่านมีขีปนาวุธวิถีโค้งมากกว่า 3,000 ลูก
ขีปนาวุธวิถีโค้งจะมีวิถีการบินออกไปนอกหรือใกล้กับขอบบรรยากาศโลก ก่อนที่หัวรบจะถูกปล่อยออกจากจรวดแล้วกลับเข้าสู่บรรยากาศ มุ่งหน้าสู่เป้าหมาย
ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธที่วิเคราะห์วิดีโอบนโซเชียลมีเดียบอกกับ CNN ว่า อิหร่านใช้ขีปนาวุธวิถีโค้งรุ่นชาฮับ-3 (Shahab-3) ในการโจมตีอิสราเอลครั้งล่าสุด
แพทริก เซนฟท์ (Patrick Senft) ผู้ประสานงานการวิจัยของ Armament Research Services (ARES) บริษัทวิจัยด้านอาวุธ ระบุว่า Shahab-3 เป็นรากฐานของขีปนาวุธวิถีโค้งพิสัยกลางของอิหร่านทั้งหมด โดยใช้เชื้อเพลิงเหลว
ขณะที่โครงการ Missile Threat Project ระบุว่า Shahab-3 เข้าประจำการในปี 2003 สามารถบรรทุกหัวรบได้หนัก 760 ถึง 1,200 กิโลกรัม และสามารถยิงจากเครื่องยิงแบบเคลื่อนที่และจากไซโลได้
เว็บไซต์ Iran Watch กล่าวว่าขีปนาวุธรุ่นใหม่ที่ปรับปรุงมาจาก Shahab-3 อย่าง กาดร์ (Ghadr) และอีมัด (Emad) มีความแม่นยำระดับ 300 เมตร จากเป้าหมาย
สื่ออิหร่านรายงานว่า อิหร่านใช้ขีปนาวุธรุ่นใหม่ฟัตตาห์-1 (Fattah-1) ในการโจมตี ซึ่งเป็นขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง หรือ "ไฮเปอร์โซนิก" โดยมีความเร็วที่มัค 5 หรือเร็วกว่าเสียง 5 เท่า (ประมาณ 6,100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
แต่ผู้วิเคราะห์ชี้ว่า ขีปนาวุธวิถีโค้งเกือบทั้งหมดมีความเร็วเหนือเสียงระหว่างการบิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่กำลังตกลงสู่เป้าหมาย
คำว่า "ไฮเปอร์โซนิก" มักจะใช้กับอาวุธที่เรียกว่า hypersonic glide vehicles และ hypersonic cruise missiles ซึ่งเป็นอาวุธขั้นสูงที่สามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วไฮเปอร์โซนิกภายในชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้อาวุธเหล่านี้ยากต่อการยิงสกัด
ฟาเบียน ฮินซ์ (Fabian Hinz) นักวิจัยจากสถาบันเพื่อการศึกษาด้านยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Institute for Strategic Studies) เขียนถึงเรื่องนี้เมื่อปีที่แล้วว่า Fattah-1 ไม่ใช่อาวุธเหล่านั้น โดย Fattah-1 มีลักษณะเป็นหัวรบแบบ maneuverable reentry vehicle ซึ่งสามารถปรับทิศทางเพื่อหลบหลีกการป้องกันขีปนาวุธได้ในช่วงสั้นๆ ขณะดิ่งลงสู่เป้าหมาย
อย่างไรก็ตาม ความสามารถนี้ถือว่าเป็นการปรับปรุงจากขีปนาวุธรุ่นก่อนๆ ของอิหร่าน
นักวิเคราะห์อย่าง เทรเวอร์ บอลล์ (Trevor Ball) อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิดของกองทัพสหรัฐฯ ยังคงสงสัยว่า
อิหร่านจะใช้ขีปนาวุธรุ่นใหม่นี้เป็นครั้งแรกในคืนวันอังคารจริงหรือ เนื่องจากมันเป็นขีปนาวุธรุ่นล่าสุดของอิหร่าน การใช้งานถือว่ามีความเสี่ยงมาก เพราะอิสราเอลจะสามารถประเมินความสามารถของมันได้
****************************************************************************************************************************************
ระบบป้องกันขีปนาวุธของอิสราเอล
อิสราเอลมีระบบป้องกันหลายประเภทที่สามารถสกัดการโจมตีได้ตั้งแต่ขีปนาวุธที่มีวิถีโค้งนอกชั้นบรรยากาศ จนถึงจรวดและขีปนาวุธร่อนที่บินในระดับต่ำ
คนส่วนใหญ่มักจะให้ความสนใจกับ
ระบบไอออนโดม (Iron Dome) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการรับมือกับจรวดและปืนใหญ่ที่ยิงเข้ามา
แต่องค์กรป้องกันขีปนาวุธแห่งอิสราเอล (IMDO) ระบุว่า
Iron Dome เป็นเพียงชั้นล่างสุดของระบบป้องกันขีปนาวุธของอิสราเอล และไม่น่าจะถูกใช้ในการป้องกันขีปนาวุธในคืนวันอังคารที่ผ่านมา
ระบบป้องกันชั้นต่อมาคือระบบ
เดวิดสลิง (David's Sling) ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันภัยการโจมตีระยะสั้นและระยะกลาง
ข้อมูลจากโครงการ Missile Threat Project ระบุว่า David's Sling เป็นโครงการร่วมระหว่างบริษัทราฟาเอล แอดวานซ์ ดีเฟนส์ ซิสเต็ม (RAFAEL Advanced Defense System) ของอิสราเอล และบริษัทเรย์เทียน (Raytheon) ของสหรัฐฯ โดยใช้ขีปนาวุธสกัดกั้นที่เรียกว่า สตันเนอร์ (Stunner) และสกายเซปเตอร์ (SkyCeptor) ที่สามารถโจมตีเป้าหมายได้ไกลถึง 300 กม.
ถัดขึ้นมาจาก David's Sling คือ
ระบบแอร์โรว์ 2 (Arrow 2) และแอร์โรว์ 3 (Arrow 3) ที่อิสราเอลร่วมพัฒนากับสหรัฐฯ
**
Arrow 2 ใช้หัวรบแบบสะเก็ดระเบิด เพื่อทำลายขีปนาวุธที่กำลังอยู่ในช่วงที่ลดระดับเข้าโจมตีเป้าหมายในชั้นบรรยากาศตอนบน ขณะที่ **
Arrow 3 ใช้เทคโนโลยีชนทำลายเพื่อสกัดขีปนาวุธขณะอยู่ในอวกาศ ก่อนที่จะกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศเพื่อพุ่งสู่เป้าหมาย
ในคืนวันอังคารที่ผ่านมา กองทัพสหรัฐฯ ระบุว่า เรือพิฆาตของกองทัพเรือสหรัฐฯ ได้ยิงขีปนาวุธสกัดกั้นอย่างน้อย 12 ลูก เพื่อต่อต้านขีปนาวุธอิหร่านที่ยิงเข้ามายังอิสราเอล
เพนตากอน ไม่ได้ระบุว่าขีปนาวุธสกัดกั้นที่ใช้เป็นรุ่นไหน แต่เรือพิฆาตของสหรัฐฯ ปกติแล้วจะติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธเอจีส (Aegis) ซึ่งมีขีปนาวุธสกัดกั้นที่สามารถโจมตีและทำลายขีปนาวุธที่เข้ามาในช่วงกลางหรือช่วงสุดท้ายของการของการเดินทาง
ในการโจมตีของอิหร่านใส่อิสราเอลเมื่อเดือนเม.ย. อิสราเอลและสหรัฐฯ ยิงสกัดอาวุธของอิหร่านจำนวนมาก แต่การโจมตีของอิหร่านครั้งนั้นส่วนใหญ่ใช้โดรนที่เคลื่อนที่ช้ากว่ามาก ซึ่งสกัดได้ง่ายกว่าขีปนาวุธที่ตกใส่เป้าหมายอย่างรวดเร็วในแนวดิ่ง
เทียบคลังแสงขีปนาวุธอิหร่าน - ระบบป้องกันอิสราเอล
อิหร่านได้เปิดฉากโจมตีครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาต่ออิสราเอล โดยยิงขีปนาวุธวิถีโค้ง 180 ลูกเมื่อคืนวันอังคาร ซึ่งส่วนใหญ่ดูเหมือนจะถูกสกัดโดยระบบป้องกันขีปนาวุธของอิสราเอล สหรัฐฯ และจอร์แดน
การโจมตีทางอากาศนี้ ซึ่งรุนแรงกว่าการโจมตีคล้ายๆ กันเมื่อเดือนเมษายน ทำให้สถานการณ์ในตะวันออกกลางที่ตึงเครียดอยู่แล้วทวีความรุนแรงขึ้น ในขณะที่ความขัดแย้งระดับภูมิภาคกำลังลุกลาม
วันนี้ เราจะมาเปรียบเทียบกันถึงศักยภาพของขีปนาวุธวิถีโค้งของอิหร่าน และระบบป้องกันของอิสราเอลและกองกำลังอื่นๆ ในภูมิภาคนี้
รายงานของโครงการ Missile Threat Project ของศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และนานาชาติ (CSIS) ระบุว่า อิหร่านมีขีปนาวุธวิถีโค้งและขีปนาวุธร่อนหลายพันลูก โดยมีพิสัยทำการหลากหลาย
แม้จะไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนของขีปนาวุธแต่ละชนิด แต่ พลเอกเคนเนธ แม็คเคนซี (Kenneth McKenzie) จากกองทัพอากาศสหรัฐฯ เคยรายงานต่อสภาคองเกรสในปี 2023 โดยอ้างข้อมูลจากเว็บไซต์ Iran Watch ของโครงการ Wisconsin Project on Nuclear Arms Control ว่า อิหร่านมีขีปนาวุธวิถีโค้งมากกว่า 3,000 ลูก
ขีปนาวุธวิถีโค้งจะมีวิถีการบินออกไปนอกหรือใกล้กับขอบบรรยากาศโลก ก่อนที่หัวรบจะถูกปล่อยออกจากจรวดแล้วกลับเข้าสู่บรรยากาศ มุ่งหน้าสู่เป้าหมาย
ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธที่วิเคราะห์วิดีโอบนโซเชียลมีเดียบอกกับ CNN ว่า อิหร่านใช้ขีปนาวุธวิถีโค้งรุ่นชาฮับ-3 (Shahab-3) ในการโจมตีอิสราเอลครั้งล่าสุด
แพทริก เซนฟท์ (Patrick Senft) ผู้ประสานงานการวิจัยของ Armament Research Services (ARES) บริษัทวิจัยด้านอาวุธ ระบุว่า Shahab-3 เป็นรากฐานของขีปนาวุธวิถีโค้งพิสัยกลางของอิหร่านทั้งหมด โดยใช้เชื้อเพลิงเหลว
ขณะที่โครงการ Missile Threat Project ระบุว่า Shahab-3 เข้าประจำการในปี 2003 สามารถบรรทุกหัวรบได้หนัก 760 ถึง 1,200 กิโลกรัม และสามารถยิงจากเครื่องยิงแบบเคลื่อนที่และจากไซโลได้
เว็บไซต์ Iran Watch กล่าวว่าขีปนาวุธรุ่นใหม่ที่ปรับปรุงมาจาก Shahab-3 อย่าง กาดร์ (Ghadr) และอีมัด (Emad) มีความแม่นยำระดับ 300 เมตร จากเป้าหมาย
สื่ออิหร่านรายงานว่า อิหร่านใช้ขีปนาวุธรุ่นใหม่ฟัตตาห์-1 (Fattah-1) ในการโจมตี ซึ่งเป็นขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง หรือ "ไฮเปอร์โซนิก" โดยมีความเร็วที่มัค 5 หรือเร็วกว่าเสียง 5 เท่า (ประมาณ 6,100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
แต่ผู้วิเคราะห์ชี้ว่า ขีปนาวุธวิถีโค้งเกือบทั้งหมดมีความเร็วเหนือเสียงระหว่างการบิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่กำลังตกลงสู่เป้าหมาย
คำว่า "ไฮเปอร์โซนิก" มักจะใช้กับอาวุธที่เรียกว่า hypersonic glide vehicles และ hypersonic cruise missiles ซึ่งเป็นอาวุธขั้นสูงที่สามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วไฮเปอร์โซนิกภายในชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้อาวุธเหล่านี้ยากต่อการยิงสกัด
ฟาเบียน ฮินซ์ (Fabian Hinz) นักวิจัยจากสถาบันเพื่อการศึกษาด้านยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Institute for Strategic Studies) เขียนถึงเรื่องนี้เมื่อปีที่แล้วว่า Fattah-1 ไม่ใช่อาวุธเหล่านั้น โดย Fattah-1 มีลักษณะเป็นหัวรบแบบ maneuverable reentry vehicle ซึ่งสามารถปรับทิศทางเพื่อหลบหลีกการป้องกันขีปนาวุธได้ในช่วงสั้นๆ ขณะดิ่งลงสู่เป้าหมาย
อย่างไรก็ตาม ความสามารถนี้ถือว่าเป็นการปรับปรุงจากขีปนาวุธรุ่นก่อนๆ ของอิหร่าน
นักวิเคราะห์อย่าง เทรเวอร์ บอลล์ (Trevor Ball) อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิดของกองทัพสหรัฐฯ ยังคงสงสัยว่า อิหร่านจะใช้ขีปนาวุธรุ่นใหม่นี้เป็นครั้งแรกในคืนวันอังคารจริงหรือ เนื่องจากมันเป็นขีปนาวุธรุ่นล่าสุดของอิหร่าน การใช้งานถือว่ามีความเสี่ยงมาก เพราะอิสราเอลจะสามารถประเมินความสามารถของมันได้
****************************************************************************************************************************************
คนส่วนใหญ่มักจะให้ความสนใจกับระบบไอออนโดม (Iron Dome) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการรับมือกับจรวดและปืนใหญ่ที่ยิงเข้ามา
แต่องค์กรป้องกันขีปนาวุธแห่งอิสราเอล (IMDO) ระบุว่า Iron Dome เป็นเพียงชั้นล่างสุดของระบบป้องกันขีปนาวุธของอิสราเอล และไม่น่าจะถูกใช้ในการป้องกันขีปนาวุธในคืนวันอังคารที่ผ่านมา
ระบบป้องกันชั้นต่อมาคือระบบ เดวิดสลิง (David's Sling) ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันภัยการโจมตีระยะสั้นและระยะกลาง
ข้อมูลจากโครงการ Missile Threat Project ระบุว่า David's Sling เป็นโครงการร่วมระหว่างบริษัทราฟาเอล แอดวานซ์ ดีเฟนส์ ซิสเต็ม (RAFAEL Advanced Defense System) ของอิสราเอล และบริษัทเรย์เทียน (Raytheon) ของสหรัฐฯ โดยใช้ขีปนาวุธสกัดกั้นที่เรียกว่า สตันเนอร์ (Stunner) และสกายเซปเตอร์ (SkyCeptor) ที่สามารถโจมตีเป้าหมายได้ไกลถึง 300 กม.
ถัดขึ้นมาจาก David's Sling คือระบบแอร์โรว์ 2 (Arrow 2) และแอร์โรว์ 3 (Arrow 3) ที่อิสราเอลร่วมพัฒนากับสหรัฐฯ
**Arrow 2 ใช้หัวรบแบบสะเก็ดระเบิด เพื่อทำลายขีปนาวุธที่กำลังอยู่ในช่วงที่ลดระดับเข้าโจมตีเป้าหมายในชั้นบรรยากาศตอนบน ขณะที่ **Arrow 3 ใช้เทคโนโลยีชนทำลายเพื่อสกัดขีปนาวุธขณะอยู่ในอวกาศ ก่อนที่จะกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศเพื่อพุ่งสู่เป้าหมาย
ในคืนวันอังคารที่ผ่านมา กองทัพสหรัฐฯ ระบุว่า เรือพิฆาตของกองทัพเรือสหรัฐฯ ได้ยิงขีปนาวุธสกัดกั้นอย่างน้อย 12 ลูก เพื่อต่อต้านขีปนาวุธอิหร่านที่ยิงเข้ามายังอิสราเอล
เพนตากอน ไม่ได้ระบุว่าขีปนาวุธสกัดกั้นที่ใช้เป็นรุ่นไหน แต่เรือพิฆาตของสหรัฐฯ ปกติแล้วจะติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธเอจีส (Aegis) ซึ่งมีขีปนาวุธสกัดกั้นที่สามารถโจมตีและทำลายขีปนาวุธที่เข้ามาในช่วงกลางหรือช่วงสุดท้ายของการของการเดินทาง
ในการโจมตีของอิหร่านใส่อิสราเอลเมื่อเดือนเม.ย. อิสราเอลและสหรัฐฯ ยิงสกัดอาวุธของอิหร่านจำนวนมาก แต่การโจมตีของอิหร่านครั้งนั้นส่วนใหญ่ใช้โดรนที่เคลื่อนที่ช้ากว่ามาก ซึ่งสกัดได้ง่ายกว่าขีปนาวุธที่ตกใส่เป้าหมายอย่างรวดเร็วในแนวดิ่ง