จิต มีสภาวะรู้ เป็นผู้รู้ สักแต่ว่ารู้ รู้ทุกความเป็นไป แต่เพราะจิตยังไม่มีปัญญา จึงหลงว่า กาย ความคิดนั้น คือ จิต

จิต มีสภาวะรู้ เป็นผู้รู้ สักแต่ว่ารู้ รู้ทุกความเป็นไป แต่เพราะจิตยังไม่มีปัญญา จึงหลงว่า กาย ความคิดนั้น คือ จิต นั้น คือ เรา

จิต ที่มีกาย จิตจะเป็นผู้คิด เป็นผู้สั่งการกาย คิดโน่น คิดนี่ฟุ้งซ่านไปหมด อุปมาดัง จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว จิต เป็นคนขับ กาย เป็น รถ

เมื่อทำสมาธิ ผู้คิดและกายจะค่อยๆดับลง ความคิดฟุ้งซ่านจะค่อยๆน้อยลง ผู้รู้จะค่อยๆเด่นชัดขึ้น

เมื่อทำสมาธิจนถึงจตุตถฌาน (ฌาน 4) จิตจะตัดแยกจาก กาย 100% ผู้คิด กายและลมหายใจจะดับลง จิตลอยเด่นท่ามกลางความว่าง จิตจะคืน สู่สภาวะดั้งเดิม คือ เป็นผู้รู้ สักแต่ว่ารู้ รู้ทุกความเป็นไป รู้แบบเป็นกลาง ไม่มีความคิดปรุงแต่ง ไม่สุข ไม่ทุกข์ หรือเรียกว่า อุเบกขารมณ์

สภาวะนี้แหละเหมาะแก่การเจริญวิปัสสนา พิจารณาความไม่เที่ยงของร่างกาย กระดูก ขน เล็บ ฟัน หนัง ไม่เที่ยงเป็นไปตามกฏไตรลักษ์ ทุกขัง อนิจจัง อนัตนา จิตจะเกิดปัญญา เห็นโลกตามความเป็นจริง เห็นความไม่เที่ยง เห็นวัฏสงสาร โลกธาตุพังทลายลง เห็นต้นตอของการเกิด คือ อวิชชาและตัณหา จนเบื่อหน่ายการเวียน ว่าย ตาย เกิด เบื่อหน่ายในวัฏสงสาร

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่