อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา
อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
วันนี้ดิฉันได้มีโอกาสมาพูดเรื่องการปฏิบัติ เพื่อเป็นการแนะแนวทางการปฏิบัติ สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่บางท่านอาจจะเคยปฏิบัติมาบ้างแล้ว หรือบางท่านที่ไม่เคยได้ปฏิบัติที่ไหนมาก่อนเลย ดิฉันขอถือว่าเป็นผู้มาปฏิบัติใหม่ด้วยกันทั้งนั้นนะคะ
ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องพระพุทธศาสนาสักเล็กน้อยนะคะว่า “พระพุทธศาสนาที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้านี่น่ะ เกิดขึ้นด้วยปัญญาของพระองค์ เพราะว่าคำสอนทุกบททุกตอนนั้นล้วนแต่สอนให้ละกิเลสทั้งสิ้น” ทีนี้เราที่นับถือพระพุทธศาสนากันอยู่นี่น่ะ จะช่วยกันทำนุบำรุงพุทธศาสนากันได้อย่างไร ? อันนี้ดิฉันถือว่าเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนนะคะ เราจะทำอย่างไร ? คำตอบไม่ยากค่ะ ถ้าเรารู้จักธุระในพระพุทธศาสนา
ธุระในพระพุทธศาสนา
ธุระในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๒ อย่าง คือ คันถธุระ เล่าเรียนศึกษา และวิปัสสนาธุระ ฝึกขัดเกลากิเลสให้จิตใจเข้าถึงความบริสุทธิ์ มีอยู่ ๒ อย่างนี้เท่านั้น ถ้าหากว่ากิจทั้งสองอย่างนี้ยังบริบูรณ์และแพร่หลาย ก็หมายความว่า พระพุทธศาสนายังดำรงอยู่หรือเจริญมากขึ้น เพราะมีคนเข้าใจมากขึ้น คนรู้มากขึ้น
ธุระทั้ง ๒ อย่างนี้จะมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่ได้ การศึกษาเล่าเรียนเพียงอย่างเดียว ก็ย่อมไม่สามารถที่จะเข้าถึงคำสอนของท่านโดยแท้จริงได้ การปฏิบัติเพียงอย่างเดียว ไม่มีการศึกษาเล่าเรียนก็อาจจะทำไม่ถูก เมื่อทำไม่ถูก ก็ไม่สามารถจะไปถึงคำสอนของพระบรมศาสดาโดยเหตุผลที่แท้จริงได้
ความเสื่อมแห่งพระศาสนา
เวลานี้ธุระในพุทธศาสนาทั้ง ๒ นี้เสื่อมไป เสื่อมไปมากทีเดียว คันถธุระมีอยู่จริง การเล่าเรียนศึกษามีมากจริง แต่ว่าการเล่าเรียนส่วนมากไม่ได้ตรงตามพระพุทธประสงค์เพราะไม่ได้เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส แต่เพื่อ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข วัตถุประสงค์ของพระบรมศาสดานั้น เมื่อได้เล่าเรียนจนเข้าใจแล้วจะได้ทำงานเช่นเดียวกับวิชาการทางโลก เมื่อเล่าเรียนจบการศึกษาแล้วก็จะต้องทำงาน ถ้าไม่ทำงานเลย การศึกษาเล่าเรียนก็ไม่เกิดประโยชน์ วิชชานั้นจะเกิดประโยชน์อยู่ที่จรณะ คือการงาน ทำการงานแล้วเกิดผลของงานจึงจะเป็นประโยชน์
การแตกธรรมสามัคคีระหว่างคนปฏิบัติและผู้ที่ใฝ่ใจในการเรียน ก็เป็นเหตุแห่งความเสื่อม ต่างฝ่ายต่างติ พวกปริยัติก็ติคนปฏิบัติว่าไม่เข้าใจ นั่งหลับหูหลับตาอยู่ในป่าในดงไม่รู้เรื่องรู้ราว คนปฏิบัติก็ติว่าพวกปริยัติไม่เคยปฏิบัติอะไรเลย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่เคยเห็นไม่เคยพบ ดีแต่ตำรา เมื่อแตกสามัคคีก็ต้องมีแต่ความวิบัติอย่างไม่ต้องสงสัย เวลานี้เสื่อมมากทีเดียว การเล่าเรียนก็ไม่เข้าใจ อย่าคิดว่าเรียนแล้วจะเข้าใจ การปฏิบัติก็มีน้อย แบบอย่างต่างๆ วิธีต่างๆ ตำราต่างๆ ในพระพุทธศาสนาว่าด้วยการปฏิบัติก็มีมากมาย จนกระทั่งคนปฏิบัติไม่รู้ว่า อะไรถูก อะไรผิด นี่ก็แสดงว่าเสื่อมแล้ว
อุปสรรคสำคัญสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติ
สำหรับผู้ที่อยากจะมาปฏิบัติ อยากจะรู้ธรรม หรืออยากจะหมดกิเลส ก็หาได้ จากตามความรู้สึกแล้วฆราวาสมากกว่าพระ คนที่จะมาเข้ากรรมฐานนี้สังเกตดูได้ทุกแห่งฆราวาสมีตั้ง ๑๐ ตั้ง ๒๐ บางทีพระมี ๒ องค์ ๓ องค์ ดูทีนี่เป็นตัวอย่างมีเท่าไร ฆราวาสนั้นไหนเขาจะห่วงบ้าน ห่วงลูก ห่วงเมีย ห่วงการทำมาหากิน ทุกอย่างเป็นภาระมากของฆราวาสเหลือเกิน แต่ก็อุตส่าห์ปลีกมาได้
คนที่จะมาได้เขาก็สามารถที่จะมาได้ ไม่มีอุปสรรค เอาละจะมา ๗ วัน ๑๕ วัน หรือเดือนหนึ่งก็ไม่ว่า ไม่ใช่ของง่ายเลยสำหรับการที่จะออกมาได้ บางคนนึกว่าจะออกมา นึกไว้ตั้ง ๓ ปีแต่ก็ไม่ได้ออก อย่างนี้ก็มี แต่ก็ยังดีที่นึกว่าจะออกมาปฏิบัติสัก ๑๐ วัน ๑๕ วัน ก็แล้วแต่โอกาสที่กิเลสเขาจะอนุญาตให้ แปลว่า ต้องลากิเลสมาจึงจะมาเข้ากรรมฐานได้ ถ้ากิเลสไม่อนุญาตแล้วมาไม่ได้ เพราะว่าเราเป็นทาสของกิเลสอยู่ กิเลสเป็นตัวขัดขวางไว้ต่างๆ ท่านที่มาได้นี้ก็แสดงว่ากิเลสเขาให้มา ก็แล้วแต่กิเลสเขาจะให้มากี่วัน บางคนกิเลสเขาให้ลาสัก ๑๕ วัน อยู่ไม่ถึง ๑๐ วัน ได้ ๗ วัน อยู่ไม่ได้เสียแล้วต้องไปแล้ว อย่างนี้ก็มี
ขั้นตอนแรก ต้องชนะกิเลสด้วยอำนาจสัทธา
เพราะฉะนั้น ก็เป็นอันว่า ชนะกิเลสได้มาขึ้นหนึ่งแล้ว ทุกคนที่มานี่แปลว่าชนะกิเลสมาแล้วขั้นหนึ่งทั้งนั้น ขั้นนี้แหละเป็นแก่นสำคัญ ถ้าเขาไม่อนุญาตแล้วมาไม่ได้จริงๆ นี่ด้วยอำนาจสัทธา และดิฉันก็ถือว่ามีบารมีเก่ามาแล้วด้วย ถ้าคนที่ไม่มีบารมีมาแล้วไม่ได้เลย อาชีพและความยากจนไม่เกี่ยว บางคนร่ำรวยล้นเหลือมีเงินเป็นร้อยล้าน นั่งกินนอนกินจนตายก็ไม่หมด แต่ก็มาไม่ได้ ยังหากินยังไม่พอ ลูกเต้าก็ไม่มี แต่ไม่ทราบว่า เรื่องอะไรกิเลสมันไม่อนุญาต ทั้งๆ ที่เลื่อมใสสัทธา พระอภิธรรมก็ไปเรียน แต่ก็มาไม่ได้ นี่ไม่มีบารมีมาเลย
คนที่มาได้แสดงว่ามีบารมีมาเหนืออำนาจกิเลส ชนะมาได้ชั่วคราว ความยากจนไม่เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่ว่าคนจนแล้วจะไม่ได้สำเร็จ คนจนเป็นพระอรหันต์ก็ได้ คนรวยไม่เป็นก็ได้ มันอยู่ที่บารมี ไม่ได้อยู่ที่เงินทอง นี่ก็มีบารมีมาแล้วถึงได้ชนะ ต้องมีสัทธากันมาเต็มที่แล้ว
ขั้นที่ ๒ ต้องทำงานด้วยความเพียรอันบริสุทธิ์
เมื่อได้สัทธามาแล้ว ขั้นที่สองก็ลงมือทำงาน ทีนี้ก็อาศัยวิริยะ ความเพียร ความเพียรต้องไม่ท้อถอย พยายามเอาชนะ เพราะระหว่างที่เราปฏิบัติอยู่นี้ก็ต้องมีอุปสรรคอีก ขณะนี้เรายังไม่มี แต่พอเวลาทำงานเข้า จิตใจมันถูกบังคับ คือว่าเวลานี้กิเลสมันหล่อเลี้ยงเราอยู่ พอใจบ้างไม่พอใจบ้าง ก็แล้วแต่สารพัดกิเลสที่ห่อหุ้ม จิตใจก็ถูกกิเลสลากไปทางโน้นลากไปทางนี้ก็เฟ้อเฟ้อไป ทีนี้เวลาที่เรามาเข้ากรรมฐานเราจะเป็นไปตามนั้นไม่ได้แล้ว
กิเลสนี่มันเหมือนกับพ่อแม่ที่ประจำติดกับเรา ถ้าเอากิเลสออก บางคนบอกว่าไม่ไหว จะตายเอา ทีนี้เราก็จะต้องอาศัยความเพียร อาศัยสติ อาศัยปัญญา อาศัยขันติ ความอดทน ปัญญาเป็นสิ่งที่ต้องการอบรม เวลานี้ปัญญาเราน้อยก็ต้องมาอบรมให้มีกำลัง
เวลาทำจริง ก็ต้องคอยสำรวมจิตใจให้อยู่ในวงจำกัดของอารมณ์นามรูป ถ้าลงมือทำก็จะเห็นว่า ความเพียรอย่างนี้เป็นความเพียรที่ไม่ใช่ง่าย การขนอิฐขนดินหรือกรรมกรต่างๆ ก็ต้องมีความเพียรเหมือนกัน มิฉะนั้นก็ไม่สำเร็จ แต่ความเพียรเหล่านั้นกิเลสมันเข้าไปช่วยอุดหนุนอยู่ ให้มีกำลังมาก ทำได้ทั้งวันทั้งคืน แต่ความเพียรที่เรานำมาใช้นี้ เป็นความเพียรที่ทำลายกิเลสไม่ให้กิเลสเข้ามาอาศัย ความเพียรนี้ไม่ต้องอาศัยกิเลสจึงลำบากมาก คล้ายๆ กับไม่มีเครื่องล่อจึงต้องลำบาก แต่ความเพียรเหล่านั้นมีเครื่องล่อ เราทำงานเพื่อจะได้เงินเดือน เราศึกษาเล่าเรียนเพื่อสอบไล่ได้ แล้วเราก็จะมีผลมีประโยชน์ต่างๆ เราก็พยายามทำได้ แต่ความเพียรในที่นี้ไม่มีเครื่องล่อ เพราะว่าเพียรทำลายกิเลส จึงหากำลังได้ยาก
กำลังอะไรจะมากเท่ากิเลสนั้นไม่มี วิตามินอะไรก็สู้ไม่ได้ ขอให้กิเลสเกิดเถอะ คนแก่คนเฒ่าก็มีกำลังวังชา ตุ่มทั้งใบก็ยกได้ กลัวไฟไหม้ แต่พอเสร็จแล้วไม่มีกำลังจะยกกลับ พอโกรธขึ้นมา รักขึ้นมา ลำบากลำบนอย่างไรก็ไม่เป็นไร แต่ความเพียรเจริญวิปัสสนานี้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องอุดหนุน มีแต่สัทธากับปัญญา ๒ อันเท่านั้นที่จะอุดหนุนความเพียรได้
สัทธาที่หวังประโยชน์จากการปฏิบัตินี้อย่างหนึ่ง กับ ปัญญาที่ต้องคอยปลอบใจตัวเองอยู่อีกอย่างหนึ่ง เช่น บางทีนึกกลุ้มใจอยากกลับบ้าน ก็จะต้องคอยถามว่าจะไปทำไม ? จะไปหาอะไร ? เพื่อประโยชน์อะไร ? นี่แหละทีแรกเราต้องมีปัญญาคอยสั่งสอนอบรม มิฉะนั้นจะอยู่ไม่ได้ ต้องมีปัญญาด้วยสติด้วย ทีแรกเรามีสัทธามาแล้ว ที่สองก็ความเพียร แล้วก็มีสติ แล้วก็มีสมาธิ แล้วก็มีปัญญา
วิปัสสนาคืออะไร
ทีนี้เราก็มาเพียรในการเข้าทำวิปัสสนา คำว่าวิปัสสนาคืออะไร วิปัสสนาเป็นชื่อของปัญญา มีปัญญาชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า วิปัสสนา ปัญญามีชื่อเรียกมากทีเดียว มีชื่อต่างๆ กัน แต่ว่าปัญญาที่ชื่อวิปัสสนา ปัญญานี้รู้อะไร ? ปัญญาวิปัสสนารู้ว่า นามรูปนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีสาระ ไม่มีแก่นสาร เป็นอนัตตาไม่มีตัวตน รู้อย่างนี้แหละเรียกว่า วิปัสสนา
ท่านจะต้องเข้าใจหลักความรู้ของวิปัสสนาเสียก่อน ถ้าปัญญาวิปัสสนาเกิดแล้วก็แปลว่าต้องรู้ว่า รูปนาม ไม่เที่ยง หรือรูปนาม เป็นทุกข์ หรือรูปนาม ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่มีสาระ ไม่มีแก่นสารอะไร อย่างนี้อันใดอันหนึ่งก็ได้ ที่รู้อย่างนี้นี่แหละเรียกว่าวิปัสสนา
ต้องมีนามรูปรองรับ
แต่ต้องมีนามรูปนะ ต้องนามรูปไม่เที่ยง ไม่อย่างนั้นก็ไม่รู้ว่าอะไรไม่เที่ยง เราจะเข้าไปทำวิปัสสนาเพื่อจะรู้ว่านามรูปนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน นี่แหละหลักที่จะเข้ามาทำวิปัสสนาเพื่อจะรู้อย่างนี้ แล้วเราจะดูอะไรเล่า ถึงจะเห็นนามรูปไม่เที่ยง เราก็ต้องดูนามรูป เราจึงจะเห็นนามรูปไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นผู้ทำวิปัสสนานี้ จะต้องมีนามรูปรับรองความรู้อยู่เรื่อย
ถ้าคราวไหนไม่มีนาม ไม่มีรูปรับรองแล้ว ก็แปลว่า รู้แล้วก็รู้นิ่งไป ถึงแม้นิ่งไปไม่ฟุ้งก็ตาม แต่ว่าใช้ไม่ได้ ความรู้สึกอันนั้นใช้ไม่ได้ จะต้องมี นาม มี รูป อยู่เสมอ เหมือนกับคนไปเรียนหนังสือ เด็กไปเรียนหนังสือเข้าโรงเรียนใหม่ๆ ต้องมี ก. ไก่ ข. ไข่ ต้องมีตัวหนังสืออยู่เรื่อย ต้องอ่านหนังสือ ต้องมีตัวหนังสือรับรองอยู่เรื่อย ไม่งั้นก็อ่านหนังสือไม่ออก ไปโรงเรียนแต่ไม่ดูหนังสือ เป็นอ่านหนังสือไม่ออก
แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา //อ.แนบ มหานีรานนท์
อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา
อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
วันนี้ดิฉันได้มีโอกาสมาพูดเรื่องการปฏิบัติ เพื่อเป็นการแนะแนวทางการปฏิบัติ สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่บางท่านอาจจะเคยปฏิบัติมาบ้างแล้ว หรือบางท่านที่ไม่เคยได้ปฏิบัติที่ไหนมาก่อนเลย ดิฉันขอถือว่าเป็นผู้มาปฏิบัติใหม่ด้วยกันทั้งนั้นนะคะ
ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องพระพุทธศาสนาสักเล็กน้อยนะคะว่า “พระพุทธศาสนาที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้านี่น่ะ เกิดขึ้นด้วยปัญญาของพระองค์ เพราะว่าคำสอนทุกบททุกตอนนั้นล้วนแต่สอนให้ละกิเลสทั้งสิ้น” ทีนี้เราที่นับถือพระพุทธศาสนากันอยู่นี่น่ะ จะช่วยกันทำนุบำรุงพุทธศาสนากันได้อย่างไร ? อันนี้ดิฉันถือว่าเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนนะคะ เราจะทำอย่างไร ? คำตอบไม่ยากค่ะ ถ้าเรารู้จักธุระในพระพุทธศาสนา
ธุระในพระพุทธศาสนา
ธุระในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๒ อย่าง คือ คันถธุระ เล่าเรียนศึกษา และวิปัสสนาธุระ ฝึกขัดเกลากิเลสให้จิตใจเข้าถึงความบริสุทธิ์ มีอยู่ ๒ อย่างนี้เท่านั้น ถ้าหากว่ากิจทั้งสองอย่างนี้ยังบริบูรณ์และแพร่หลาย ก็หมายความว่า พระพุทธศาสนายังดำรงอยู่หรือเจริญมากขึ้น เพราะมีคนเข้าใจมากขึ้น คนรู้มากขึ้น
ธุระทั้ง ๒ อย่างนี้จะมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่ได้ การศึกษาเล่าเรียนเพียงอย่างเดียว ก็ย่อมไม่สามารถที่จะเข้าถึงคำสอนของท่านโดยแท้จริงได้ การปฏิบัติเพียงอย่างเดียว ไม่มีการศึกษาเล่าเรียนก็อาจจะทำไม่ถูก เมื่อทำไม่ถูก ก็ไม่สามารถจะไปถึงคำสอนของพระบรมศาสดาโดยเหตุผลที่แท้จริงได้
ความเสื่อมแห่งพระศาสนา
เวลานี้ธุระในพุทธศาสนาทั้ง ๒ นี้เสื่อมไป เสื่อมไปมากทีเดียว คันถธุระมีอยู่จริง การเล่าเรียนศึกษามีมากจริง แต่ว่าการเล่าเรียนส่วนมากไม่ได้ตรงตามพระพุทธประสงค์เพราะไม่ได้เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส แต่เพื่อ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข วัตถุประสงค์ของพระบรมศาสดานั้น เมื่อได้เล่าเรียนจนเข้าใจแล้วจะได้ทำงานเช่นเดียวกับวิชาการทางโลก เมื่อเล่าเรียนจบการศึกษาแล้วก็จะต้องทำงาน ถ้าไม่ทำงานเลย การศึกษาเล่าเรียนก็ไม่เกิดประโยชน์ วิชชานั้นจะเกิดประโยชน์อยู่ที่จรณะ คือการงาน ทำการงานแล้วเกิดผลของงานจึงจะเป็นประโยชน์
การแตกธรรมสามัคคีระหว่างคนปฏิบัติและผู้ที่ใฝ่ใจในการเรียน ก็เป็นเหตุแห่งความเสื่อม ต่างฝ่ายต่างติ พวกปริยัติก็ติคนปฏิบัติว่าไม่เข้าใจ นั่งหลับหูหลับตาอยู่ในป่าในดงไม่รู้เรื่องรู้ราว คนปฏิบัติก็ติว่าพวกปริยัติไม่เคยปฏิบัติอะไรเลย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่เคยเห็นไม่เคยพบ ดีแต่ตำรา เมื่อแตกสามัคคีก็ต้องมีแต่ความวิบัติอย่างไม่ต้องสงสัย เวลานี้เสื่อมมากทีเดียว การเล่าเรียนก็ไม่เข้าใจ อย่าคิดว่าเรียนแล้วจะเข้าใจ การปฏิบัติก็มีน้อย แบบอย่างต่างๆ วิธีต่างๆ ตำราต่างๆ ในพระพุทธศาสนาว่าด้วยการปฏิบัติก็มีมากมาย จนกระทั่งคนปฏิบัติไม่รู้ว่า อะไรถูก อะไรผิด นี่ก็แสดงว่าเสื่อมแล้ว
อุปสรรคสำคัญสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติ
สำหรับผู้ที่อยากจะมาปฏิบัติ อยากจะรู้ธรรม หรืออยากจะหมดกิเลส ก็หาได้ จากตามความรู้สึกแล้วฆราวาสมากกว่าพระ คนที่จะมาเข้ากรรมฐานนี้สังเกตดูได้ทุกแห่งฆราวาสมีตั้ง ๑๐ ตั้ง ๒๐ บางทีพระมี ๒ องค์ ๓ องค์ ดูทีนี่เป็นตัวอย่างมีเท่าไร ฆราวาสนั้นไหนเขาจะห่วงบ้าน ห่วงลูก ห่วงเมีย ห่วงการทำมาหากิน ทุกอย่างเป็นภาระมากของฆราวาสเหลือเกิน แต่ก็อุตส่าห์ปลีกมาได้
คนที่จะมาได้เขาก็สามารถที่จะมาได้ ไม่มีอุปสรรค เอาละจะมา ๗ วัน ๑๕ วัน หรือเดือนหนึ่งก็ไม่ว่า ไม่ใช่ของง่ายเลยสำหรับการที่จะออกมาได้ บางคนนึกว่าจะออกมา นึกไว้ตั้ง ๓ ปีแต่ก็ไม่ได้ออก อย่างนี้ก็มี แต่ก็ยังดีที่นึกว่าจะออกมาปฏิบัติสัก ๑๐ วัน ๑๕ วัน ก็แล้วแต่โอกาสที่กิเลสเขาจะอนุญาตให้ แปลว่า ต้องลากิเลสมาจึงจะมาเข้ากรรมฐานได้ ถ้ากิเลสไม่อนุญาตแล้วมาไม่ได้ เพราะว่าเราเป็นทาสของกิเลสอยู่ กิเลสเป็นตัวขัดขวางไว้ต่างๆ ท่านที่มาได้นี้ก็แสดงว่ากิเลสเขาให้มา ก็แล้วแต่กิเลสเขาจะให้มากี่วัน บางคนกิเลสเขาให้ลาสัก ๑๕ วัน อยู่ไม่ถึง ๑๐ วัน ได้ ๗ วัน อยู่ไม่ได้เสียแล้วต้องไปแล้ว อย่างนี้ก็มี
ขั้นตอนแรก ต้องชนะกิเลสด้วยอำนาจสัทธา
เพราะฉะนั้น ก็เป็นอันว่า ชนะกิเลสได้มาขึ้นหนึ่งแล้ว ทุกคนที่มานี่แปลว่าชนะกิเลสมาแล้วขั้นหนึ่งทั้งนั้น ขั้นนี้แหละเป็นแก่นสำคัญ ถ้าเขาไม่อนุญาตแล้วมาไม่ได้จริงๆ นี่ด้วยอำนาจสัทธา และดิฉันก็ถือว่ามีบารมีเก่ามาแล้วด้วย ถ้าคนที่ไม่มีบารมีมาแล้วไม่ได้เลย อาชีพและความยากจนไม่เกี่ยว บางคนร่ำรวยล้นเหลือมีเงินเป็นร้อยล้าน นั่งกินนอนกินจนตายก็ไม่หมด แต่ก็มาไม่ได้ ยังหากินยังไม่พอ ลูกเต้าก็ไม่มี แต่ไม่ทราบว่า เรื่องอะไรกิเลสมันไม่อนุญาต ทั้งๆ ที่เลื่อมใสสัทธา พระอภิธรรมก็ไปเรียน แต่ก็มาไม่ได้ นี่ไม่มีบารมีมาเลย
คนที่มาได้แสดงว่ามีบารมีมาเหนืออำนาจกิเลส ชนะมาได้ชั่วคราว ความยากจนไม่เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่ว่าคนจนแล้วจะไม่ได้สำเร็จ คนจนเป็นพระอรหันต์ก็ได้ คนรวยไม่เป็นก็ได้ มันอยู่ที่บารมี ไม่ได้อยู่ที่เงินทอง นี่ก็มีบารมีมาแล้วถึงได้ชนะ ต้องมีสัทธากันมาเต็มที่แล้ว
ขั้นที่ ๒ ต้องทำงานด้วยความเพียรอันบริสุทธิ์
เมื่อได้สัทธามาแล้ว ขั้นที่สองก็ลงมือทำงาน ทีนี้ก็อาศัยวิริยะ ความเพียร ความเพียรต้องไม่ท้อถอย พยายามเอาชนะ เพราะระหว่างที่เราปฏิบัติอยู่นี้ก็ต้องมีอุปสรรคอีก ขณะนี้เรายังไม่มี แต่พอเวลาทำงานเข้า จิตใจมันถูกบังคับ คือว่าเวลานี้กิเลสมันหล่อเลี้ยงเราอยู่ พอใจบ้างไม่พอใจบ้าง ก็แล้วแต่สารพัดกิเลสที่ห่อหุ้ม จิตใจก็ถูกกิเลสลากไปทางโน้นลากไปทางนี้ก็เฟ้อเฟ้อไป ทีนี้เวลาที่เรามาเข้ากรรมฐานเราจะเป็นไปตามนั้นไม่ได้แล้ว
กิเลสนี่มันเหมือนกับพ่อแม่ที่ประจำติดกับเรา ถ้าเอากิเลสออก บางคนบอกว่าไม่ไหว จะตายเอา ทีนี้เราก็จะต้องอาศัยความเพียร อาศัยสติ อาศัยปัญญา อาศัยขันติ ความอดทน ปัญญาเป็นสิ่งที่ต้องการอบรม เวลานี้ปัญญาเราน้อยก็ต้องมาอบรมให้มีกำลัง
เวลาทำจริง ก็ต้องคอยสำรวมจิตใจให้อยู่ในวงจำกัดของอารมณ์นามรูป ถ้าลงมือทำก็จะเห็นว่า ความเพียรอย่างนี้เป็นความเพียรที่ไม่ใช่ง่าย การขนอิฐขนดินหรือกรรมกรต่างๆ ก็ต้องมีความเพียรเหมือนกัน มิฉะนั้นก็ไม่สำเร็จ แต่ความเพียรเหล่านั้นกิเลสมันเข้าไปช่วยอุดหนุนอยู่ ให้มีกำลังมาก ทำได้ทั้งวันทั้งคืน แต่ความเพียรที่เรานำมาใช้นี้ เป็นความเพียรที่ทำลายกิเลสไม่ให้กิเลสเข้ามาอาศัย ความเพียรนี้ไม่ต้องอาศัยกิเลสจึงลำบากมาก คล้ายๆ กับไม่มีเครื่องล่อจึงต้องลำบาก แต่ความเพียรเหล่านั้นมีเครื่องล่อ เราทำงานเพื่อจะได้เงินเดือน เราศึกษาเล่าเรียนเพื่อสอบไล่ได้ แล้วเราก็จะมีผลมีประโยชน์ต่างๆ เราก็พยายามทำได้ แต่ความเพียรในที่นี้ไม่มีเครื่องล่อ เพราะว่าเพียรทำลายกิเลส จึงหากำลังได้ยาก
กำลังอะไรจะมากเท่ากิเลสนั้นไม่มี วิตามินอะไรก็สู้ไม่ได้ ขอให้กิเลสเกิดเถอะ คนแก่คนเฒ่าก็มีกำลังวังชา ตุ่มทั้งใบก็ยกได้ กลัวไฟไหม้ แต่พอเสร็จแล้วไม่มีกำลังจะยกกลับ พอโกรธขึ้นมา รักขึ้นมา ลำบากลำบนอย่างไรก็ไม่เป็นไร แต่ความเพียรเจริญวิปัสสนานี้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องอุดหนุน มีแต่สัทธากับปัญญา ๒ อันเท่านั้นที่จะอุดหนุนความเพียรได้
สัทธาที่หวังประโยชน์จากการปฏิบัตินี้อย่างหนึ่ง กับ ปัญญาที่ต้องคอยปลอบใจตัวเองอยู่อีกอย่างหนึ่ง เช่น บางทีนึกกลุ้มใจอยากกลับบ้าน ก็จะต้องคอยถามว่าจะไปทำไม ? จะไปหาอะไร ? เพื่อประโยชน์อะไร ? นี่แหละทีแรกเราต้องมีปัญญาคอยสั่งสอนอบรม มิฉะนั้นจะอยู่ไม่ได้ ต้องมีปัญญาด้วยสติด้วย ทีแรกเรามีสัทธามาแล้ว ที่สองก็ความเพียร แล้วก็มีสติ แล้วก็มีสมาธิ แล้วก็มีปัญญา
วิปัสสนาคืออะไร
ทีนี้เราก็มาเพียรในการเข้าทำวิปัสสนา คำว่าวิปัสสนาคืออะไร วิปัสสนาเป็นชื่อของปัญญา มีปัญญาชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า วิปัสสนา ปัญญามีชื่อเรียกมากทีเดียว มีชื่อต่างๆ กัน แต่ว่าปัญญาที่ชื่อวิปัสสนา ปัญญานี้รู้อะไร ? ปัญญาวิปัสสนารู้ว่า นามรูปนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีสาระ ไม่มีแก่นสาร เป็นอนัตตาไม่มีตัวตน รู้อย่างนี้แหละเรียกว่า วิปัสสนา
ท่านจะต้องเข้าใจหลักความรู้ของวิปัสสนาเสียก่อน ถ้าปัญญาวิปัสสนาเกิดแล้วก็แปลว่าต้องรู้ว่า รูปนาม ไม่เที่ยง หรือรูปนาม เป็นทุกข์ หรือรูปนาม ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่มีสาระ ไม่มีแก่นสารอะไร อย่างนี้อันใดอันหนึ่งก็ได้ ที่รู้อย่างนี้นี่แหละเรียกว่าวิปัสสนา
ต้องมีนามรูปรองรับ
แต่ต้องมีนามรูปนะ ต้องนามรูปไม่เที่ยง ไม่อย่างนั้นก็ไม่รู้ว่าอะไรไม่เที่ยง เราจะเข้าไปทำวิปัสสนาเพื่อจะรู้ว่านามรูปนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน นี่แหละหลักที่จะเข้ามาทำวิปัสสนาเพื่อจะรู้อย่างนี้ แล้วเราจะดูอะไรเล่า ถึงจะเห็นนามรูปไม่เที่ยง เราก็ต้องดูนามรูป เราจึงจะเห็นนามรูปไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นผู้ทำวิปัสสนานี้ จะต้องมีนามรูปรับรองความรู้อยู่เรื่อย
ถ้าคราวไหนไม่มีนาม ไม่มีรูปรับรองแล้ว ก็แปลว่า รู้แล้วก็รู้นิ่งไป ถึงแม้นิ่งไปไม่ฟุ้งก็ตาม แต่ว่าใช้ไม่ได้ ความรู้สึกอันนั้นใช้ไม่ได้ จะต้องมี นาม มี รูป อยู่เสมอ เหมือนกับคนไปเรียนหนังสือ เด็กไปเรียนหนังสือเข้าโรงเรียนใหม่ๆ ต้องมี ก. ไก่ ข. ไข่ ต้องมีตัวหนังสืออยู่เรื่อย ต้องอ่านหนังสือ ต้องมีตัวหนังสือรับรองอยู่เรื่อย ไม่งั้นก็อ่านหนังสือไม่ออก ไปโรงเรียนแต่ไม่ดูหนังสือ เป็นอ่านหนังสือไม่ออก