สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ขอเล่าประสบการณ์ร่วมทีมทำสถานีชาร์จให้ฟังขำๆนะครับ
1) เงินลงทุน มีค่าใช้จ่ายจิปาถะค่อนข้างเยอะ เอาแค่ก้อนใหญ่ๆก็จะมี
- เครื่องชาร์จ DC ราคา 1-2 ล้านบาทเป็นของค่ายยุโรป หรือ 0.8-1.5 ล้านบาท เป็นของค่ายจีน
- ค่าก่อสร้างรวมระบบไฟแรงต่ำ รวมหม้อแปลงไฟฟ้า 0.5-1 ล้านบาท
2) ต้นทุน
- ค่าไฟฟ้า หากโดน Demand Charge จากการใช้ไฟที่สูงๆต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอก็อาจมีต้นทุนสูงถึง 30 บาท/kWh. (เป็นเหตุผลที่ EA ปิดสถานีในช่วง On Peak)
หากขอใช้ไฟอัตราพิเศษ (Low Priority) ของการไฟฟ้าภูมิภาค จะได้ค่าไฟ 3.xx บาท/kWh. แต่ต้องยอมให้การไฟฟ้าสั่งลดกำลังเครื่องชาร์จของสถานีได้ในช่วงที่ไฟในบริเวณนั้นไม่พอใช้ แต่การจะขอใช้ low priority นี่ไม่ง่าย เครื่องชาร์จต้องผ่านการทดสอบที่โหดมากๆ แบรนด์จีนโอกาสผ่านยากมาก เท่าที่รู้ มี.ค. 66 ยังไม่มีใครทดสอบผ่าน
แต่ปัจจุบัน (เม.ย.66)เห็น ptt ev station เริ่มมีแจ้งเตือนใน app บางสถานีบ้างแล้วว่าเป็น low priority ไม่รู้ว่าผ่านการทดสอบหมดแล้วหรือยัง หรือเตือนล่วงหน้าให้ลูกค้ามีเวลาปรับตัว
3) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นการจ้างพนักงาน, การเช่าระบบ cloud-server, platform , เช่าช่องจอด เดือนนึงก็หลายบาทพอสมควร
จากตัวแปรข้างต้นเมื่อทำ Feasibility study ถ้าไม่ได้อัตราค่าไฟ Low priority จะเจ๊งทันทีที่เริ่มโครงการ ไม่มีโอกาสคืนทุนเลยเพราะต้นทุนค่าไฟแพงกว่าที่เก็บได้จากลูกค้า (7.5 บาท/kWh)
แต่หากได้ low priority ก็จะคืนทุนที่ประมาณ 5-10 ปี แล้วแต่สถานที่
สายใต้คนคงไม่ได้มาชาร์จกัน 10-15 คันทุกวันหรอกครับ ผมให้ไปเลย 8 ปีคืนทุน เอาแบบไม่โลกสวย
ผมเคยได้ฟังบุคลากร PEA Volta มาบรรยาย เขาเป็นรายแรกๆที่ทำกิจการนี้ มีโอกาสได้จับจองสถานที่ทำเลทองที่คนผ่าน และใช้กันเยอะๆ ไฟฟ้าก็ซื้อจากตัวเองราคา 2.xxบาท/kWh. เขาลงทุนด้วยตู้ 50kW จะคืนทุน 5 ปี ปรากฏว่าทำมา 2-3 ปีตู้ 50kW มันล้าสมัยไปแล้ว ยังไม่ทันจะคืนทุนเลยต้องมาเตรียมเงินลงตู้ขนาด 100-200 kW แทนของเดิม
เห็นไหมครับการทำสถานีชาร์จมันไม่ได้สวยงาม ทุกวันนี้ที่ทำกันก็เจ็บตัวกันทั้งนั้น ขายกาแฟยังกำไรดีกว่า แต่พวก PTT, PEA Volta, Elexa ทำเพราะเหมือนเป็นการ CSR และตอบสนองนโยบายรัฐฯ พอถัวๆกับธุรกิจอื่นก็เลยพอจะลงทุนต่อได้
กลับมาเข้าเรื่องการ upgrade เครื่องชาร์จให้มี DC CCS2 หลายๆหัว ผมว่ามีแน่นอน แต่คงค่อยเป็นค่อยไป ตอนนี้คนใช้ EV คงต้องวางแผนการเดินทางให้ดี หรือเลือกใช้ ICE ไปก่อนในเส้นทางไกลแทนครับ
1) เงินลงทุน มีค่าใช้จ่ายจิปาถะค่อนข้างเยอะ เอาแค่ก้อนใหญ่ๆก็จะมี
- เครื่องชาร์จ DC ราคา 1-2 ล้านบาทเป็นของค่ายยุโรป หรือ 0.8-1.5 ล้านบาท เป็นของค่ายจีน
- ค่าก่อสร้างรวมระบบไฟแรงต่ำ รวมหม้อแปลงไฟฟ้า 0.5-1 ล้านบาท
2) ต้นทุน
- ค่าไฟฟ้า หากโดน Demand Charge จากการใช้ไฟที่สูงๆต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอก็อาจมีต้นทุนสูงถึง 30 บาท/kWh. (เป็นเหตุผลที่ EA ปิดสถานีในช่วง On Peak)
หากขอใช้ไฟอัตราพิเศษ (Low Priority) ของการไฟฟ้าภูมิภาค จะได้ค่าไฟ 3.xx บาท/kWh. แต่ต้องยอมให้การไฟฟ้าสั่งลดกำลังเครื่องชาร์จของสถานีได้ในช่วงที่ไฟในบริเวณนั้นไม่พอใช้ แต่การจะขอใช้ low priority นี่ไม่ง่าย เครื่องชาร์จต้องผ่านการทดสอบที่โหดมากๆ แบรนด์จีนโอกาสผ่านยากมาก เท่าที่รู้ มี.ค. 66 ยังไม่มีใครทดสอบผ่าน
แต่ปัจจุบัน (เม.ย.66)เห็น ptt ev station เริ่มมีแจ้งเตือนใน app บางสถานีบ้างแล้วว่าเป็น low priority ไม่รู้ว่าผ่านการทดสอบหมดแล้วหรือยัง หรือเตือนล่วงหน้าให้ลูกค้ามีเวลาปรับตัว
3) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นการจ้างพนักงาน, การเช่าระบบ cloud-server, platform , เช่าช่องจอด เดือนนึงก็หลายบาทพอสมควร
จากตัวแปรข้างต้นเมื่อทำ Feasibility study ถ้าไม่ได้อัตราค่าไฟ Low priority จะเจ๊งทันทีที่เริ่มโครงการ ไม่มีโอกาสคืนทุนเลยเพราะต้นทุนค่าไฟแพงกว่าที่เก็บได้จากลูกค้า (7.5 บาท/kWh)
แต่หากได้ low priority ก็จะคืนทุนที่ประมาณ 5-10 ปี แล้วแต่สถานที่
สายใต้คนคงไม่ได้มาชาร์จกัน 10-15 คันทุกวันหรอกครับ ผมให้ไปเลย 8 ปีคืนทุน เอาแบบไม่โลกสวย
ผมเคยได้ฟังบุคลากร PEA Volta มาบรรยาย เขาเป็นรายแรกๆที่ทำกิจการนี้ มีโอกาสได้จับจองสถานที่ทำเลทองที่คนผ่าน และใช้กันเยอะๆ ไฟฟ้าก็ซื้อจากตัวเองราคา 2.xxบาท/kWh. เขาลงทุนด้วยตู้ 50kW จะคืนทุน 5 ปี ปรากฏว่าทำมา 2-3 ปีตู้ 50kW มันล้าสมัยไปแล้ว ยังไม่ทันจะคืนทุนเลยต้องมาเตรียมเงินลงตู้ขนาด 100-200 kW แทนของเดิม
เห็นไหมครับการทำสถานีชาร์จมันไม่ได้สวยงาม ทุกวันนี้ที่ทำกันก็เจ็บตัวกันทั้งนั้น ขายกาแฟยังกำไรดีกว่า แต่พวก PTT, PEA Volta, Elexa ทำเพราะเหมือนเป็นการ CSR และตอบสนองนโยบายรัฐฯ พอถัวๆกับธุรกิจอื่นก็เลยพอจะลงทุนต่อได้
กลับมาเข้าเรื่องการ upgrade เครื่องชาร์จให้มี DC CCS2 หลายๆหัว ผมว่ามีแน่นอน แต่คงค่อยเป็นค่อยไป ตอนนี้คนใช้ EV คงต้องวางแผนการเดินทางให้ดี หรือเลือกใช้ ICE ไปก่อนในเส้นทางไกลแทนครับ
แสดงความคิดเห็น
คนที่ใช้รถไฟฟ้าเดินทางภาคใต้ คิดว่าควรจะมีหัวชาร์จสถานีละกี่หัวเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ?
Alexa ก็ยังน้อยไม่ครบทุกจังหวัด แถมค่าชาร์จแพงกว่า PTT ไปช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี2566 ก็รอกันสถานีละ 3-4 คัน
ผมคิดว่าDCสถานีละ 4 หัวกำลังดี เพียงพอต่อความต้องการ ภายใน 3 ปี….