Shoplifters: ครอบครัวที่ลัก
" เป็นไปได้ไหมที่เราจะเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัว แม้ว่าเราไม่ได้มีสายเลือดเกี่ยวข้องกัน "
กำกับโดย Hirokazu Koreeda
ล่าสุด เห็นหนังของ
Hirokazu Koreeda เข้า
Netflix แถมวันนี้ยังเป็นวันครอบครัวไทย (14 เมษา ฯ) ดังนั้น เราก็อยากจะเขียนถึงหนังสักเรื่องของลุงฮิโรคะสุสั้น ๆ ที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับครอบครัวสักหน่อย
อันที่จริง ตอนนี้ ลุง Hirokazu น่าจะเป็นหนึ่งในผู้กำกับญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติที่สุดแล้ว ประเภททำหนังมากี่เรื่อง อย่างน้อยต้องได้ฉายใน
Cannes Film Festival (จนสงสัยว่าล็อคผลหรือเปล่า หยอกนะครับ 😂)
แถมเข้าชิงออสการ์ภาพยนตร์ตปท. ยอดเยี่ยม ก็บ่อย เช่น
Shoplifters (2018) ก็เข้าชิงออสการ์
เรื่องย่อ
"โอซามุ (ลิลลี่ แฟรงกี้)" ทำงานรับจ้างรายวันและลักเล็กขโมยน้อยเป็นอาชีพเสริม วันหนึ่งโอซามุและลูกชาย ได้เจอกับ
"ยูริ (มิยุ ซาซากิ)" เด็กหญิงตัวน้อยที่อยู่ตัวคนเดียว เขาจึงตัดสินใจพาเธอกลับมาบ้านด้วย
แม้ว่าภรรยาของโอาซามุจะไม่พอใจ ทุกคนในครอบครัวก็ช่วยดูแลเด็กหญิงคนนี้เป็นอย่างดีด้วยความอบอุ่น
ความรู้สึกหลังชม
- เป็นอีกเรื่องที่ค้างไว้นาน แล้วก็เพิ่งได้มาดูบน Netflix 😅
- ตัวหนังพูดถึงประเด็นเรื่องของคนชายขอบในญี่ปุ่นได้เยี่ยม ตามสไตล์ที่
Hirokazu Koreeda ถนัด ไม่ว่าจะเด็กที่ถูกทิ้ง ชายยากจนที่มีรายได้เพียงวันต่อวัน เด็กสาวที่หาเงินผ่านการเซอร์วิสผู้ชาย ยายที่คอยรับเงินบำนาญจากรัฐบาลเพื่อนำไปจุนเจือครอบครัว
เหล่านี้เป็นสารหลักที่ภาพยนตร์ของฮิโรคาสุ สะท้อนออกมาถึงปัญหาที่คนต้นทุนน้อยต้องเผชิญ
ที่สำคัญ เขาถ่ายทอดความรู้สึกเจ็บปวดจากสิ่งที่ตัวละครเผชิญ ได้อย่างเฉียบคมงดงามอยู่เสมอ...
และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ฝีมือของเขาโดดเด่นช่ำชองแค่ไหนในโลกภาพยนตร์
"ฮิโรคาสุ" และรางวัลปาล์มทองคำ รางวัลที่ใหญ่ที่สุดจาก Cannes Film Festival
- ประเด็นที่สำคัญที่สุดในเรื่อง คือ การตั้งคำถามที่ว่า "เราจะมีครอบครัวที่แท้จริงได้ไหม แม้ว่าเราจะไม่ได้มีสายเลือดเดียวกัน"
สังเกตว่า สมาชิกในครอบครัว เช่น
โชตะ (ลูกชายของโอซามุ) และ
ยูริ ไม่ได้มีสายเลือดใด ๆ เกี่ยวข้องกับ
โอซามุและภรรยาเขา แต่หลายครั้ง ความรู้สึกที่เราได้รับ กลับรู้สึกว่าครอบครัวที่ไม่มีความเกี่ยวข้องทางสายเลือด กลับผูกพันแน่นแฟ้นยิ่งพันธะใด ๆ
เพราะจริง ๆ แล้ว สายเลือดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สมาชิกในครอบครัวมีส่วนเชื่อมโยงกัน แต่ที่สำคัญกว่า คือ สายใยความผูกพันระหว่างผู้คนในครอบครัว ซึ่งสิ่งนี้ทำให้สายสัมพันธ์ที่มีต่อกันแข็งแรง
แน่นอนว่า แกร่งไม่แพ้สายเลือดเลย !
- หลาย ๆ ฉากในเรื่อง สะท้อนวิธีคิดของคนชายขอบที่อับจนหนทาง คล้ายกับแค่เอาชีวิตรอดแบบวันต่อวันก็เหนื่อยแล้ว แผนที่ดีที่สุดในการใช้ชีวิต "อาจเป็นการไม่มีแผนอะไรเลยก็ได้"
- ชอบฉากสุดท้ายในเรื่อง ที่โชตะไม่เคยเรียกโอซามุว่า
"พ่อ" เลยแม้แต่ครั้งเดียว แต่ท้ายที่สุด เขาก็ได้เอ่ยปากเบา ๆ เรียกโอซามุว่า
"พ่อ"
แม้ว่าโอซามุจะไม่ได้ยิน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่อง ก็พอจะบอกได้แล้วว่า ในหัวใจของโชตะยอมรับโอซามุเป็นพ่อหรือเปล่า
- ประเด็นเรื่องคนชายขอบ จริง ๆ มีส่วนคล้ายกับ
Parasite (2019) ของเกาหลีที่เข้าฉายในปีถัดมาอยู่เหมือนกัน เพียงแต่ว่า Parasite นำเสนอในรูปแบบที่ลึกและบันเทิง เข้าถึงได้ง่าย สร้างกระแสในวงกว้างได้
ขณะที่ Shoplifter มาโหมดหนังนอกกระแส / หนังรางวัล นำเสนอแบบเรียล ๆ นิ่ง ๆ กระแสเลยค่อนข้างเงียบหน่อย
- ดนตรีประกอบในเรื่องโดย
Hosono Haruomi มาในแนวน้อย ๆ ซึ่งเข้ากับบรรยากาศของเรื่องที่ดูเรียล ๆ ดี
Shoplifters
สรุป
Shoplifters (2018) เป็นหนังที่น่าประทับใจและไม่อยากให้พลาดกัน จริง ๆ ยังมีอีกหลายเรื่องของ Hirokazu ที่ดี เช่น Nobody Knows (2004), Like Father, Like Son (2013), Our Little Sister (2015), After the Storm (2016) และ Broker (2022)
รวมไปถึง The Makanai: Cooking for the Maiko House (2023) ซีรีส์ทำอาหารสุดอบอุ่น
ใครสนใจก็ขอแนะนำเลย... ส่วนใหญ่น่าจะขึ้น Netflix กันหมดแล้ว !
_________________________________
ป.ล. หนังมีฉากเปลือย โปรดระมัดระวังในการรับชม
ป.ล.2 อีกหนึ่งช่องทางการติดต่อทาง Facebook เผื่อสนใจอยากพูดคุยติดต่อนะครับ
IG: benjireview
Shoplifters (2018) - "ครอบครัวที่ลัก" ผลงานน่าประทับใจจาก Hirokazu Koreeda
อันที่จริง ตอนนี้ ลุง Hirokazu น่าจะเป็นหนึ่งในผู้กำกับญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติที่สุดแล้ว ประเภททำหนังมากี่เรื่อง อย่างน้อยต้องได้ฉายใน Cannes Film Festival (จนสงสัยว่าล็อคผลหรือเปล่า หยอกนะครับ 😂)
แถมเข้าชิงออสการ์ภาพยนตร์ตปท. ยอดเยี่ยม ก็บ่อย เช่น Shoplifters (2018) ก็เข้าชิงออสการ์
เรื่องย่อ
แม้ว่าภรรยาของโอาซามุจะไม่พอใจ ทุกคนในครอบครัวก็ช่วยดูแลเด็กหญิงคนนี้เป็นอย่างดีด้วยความอบอุ่น
ความรู้สึกหลังชม
- เป็นอีกเรื่องที่ค้างไว้นาน แล้วก็เพิ่งได้มาดูบน Netflix 😅
- ตัวหนังพูดถึงประเด็นเรื่องของคนชายขอบในญี่ปุ่นได้เยี่ยม ตามสไตล์ที่ Hirokazu Koreeda ถนัด ไม่ว่าจะเด็กที่ถูกทิ้ง ชายยากจนที่มีรายได้เพียงวันต่อวัน เด็กสาวที่หาเงินผ่านการเซอร์วิสผู้ชาย ยายที่คอยรับเงินบำนาญจากรัฐบาลเพื่อนำไปจุนเจือครอบครัว
เหล่านี้เป็นสารหลักที่ภาพยนตร์ของฮิโรคาสุ สะท้อนออกมาถึงปัญหาที่คนต้นทุนน้อยต้องเผชิญ
ที่สำคัญ เขาถ่ายทอดความรู้สึกเจ็บปวดจากสิ่งที่ตัวละครเผชิญ ได้อย่างเฉียบคมงดงามอยู่เสมอ...
และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ฝีมือของเขาโดดเด่นช่ำชองแค่ไหนในโลกภาพยนตร์
เพราะจริง ๆ แล้ว สายเลือดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สมาชิกในครอบครัวมีส่วนเชื่อมโยงกัน แต่ที่สำคัญกว่า คือ สายใยความผูกพันระหว่างผู้คนในครอบครัว ซึ่งสิ่งนี้ทำให้สายสัมพันธ์ที่มีต่อกันแข็งแรง
แน่นอนว่า แกร่งไม่แพ้สายเลือดเลย !
แม้ว่าโอซามุจะไม่ได้ยิน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่อง ก็พอจะบอกได้แล้วว่า ในหัวใจของโชตะยอมรับโอซามุเป็นพ่อหรือเปล่า
- ประเด็นเรื่องคนชายขอบ จริง ๆ มีส่วนคล้ายกับ Parasite (2019) ของเกาหลีที่เข้าฉายในปีถัดมาอยู่เหมือนกัน เพียงแต่ว่า Parasite นำเสนอในรูปแบบที่ลึกและบันเทิง เข้าถึงได้ง่าย สร้างกระแสในวงกว้างได้
ขณะที่ Shoplifter มาโหมดหนังนอกกระแส / หนังรางวัล นำเสนอแบบเรียล ๆ นิ่ง ๆ กระแสเลยค่อนข้างเงียบหน่อย
- ดนตรีประกอบในเรื่องโดย Hosono Haruomi มาในแนวน้อย ๆ ซึ่งเข้ากับบรรยากาศของเรื่องที่ดูเรียล ๆ ดี
รวมไปถึง The Makanai: Cooking for the Maiko House (2023) ซีรีส์ทำอาหารสุดอบอุ่น
ใครสนใจก็ขอแนะนำเลย... ส่วนใหญ่น่าจะขึ้น Netflix กันหมดแล้ว !
ป.ล.2 อีกหนึ่งช่องทางการติดต่อทาง Facebook เผื่อสนใจอยากพูดคุยติดต่อนะครับ