- เกือบจะมองข้ามไปซะแล้วเชียว ทั้งที่รู้ว่า เป็นหนังดราม่าปนระทึกขวัญน้ำดีส่งตรงจากญี่ปุ่น ก็ทราบว่า ได้รับคำวิจารณ์ยอดเยี่ยมจนกระทั่งชนะรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์คานส์มาแล้ว แต่แล้วยังไงล่ะ ก็ยังรู้สึกเฉย ๆ อยู่เกือบจะไปดูหนังอีกเรื่องที่เข้าฉายพร้อมกันในสัปดาห์นี้ จนกระทั่งได้มาเห็นชื่อผู้กำกับอย่าง Hirokazu Koreeda ที่เคยกำกับเรื่อง Like Father, Like Son (2013) , The Third Murder (2017) , Shoplifters (2018) และ Broker (2022) ขึ้นมาผมรีบเปลี่ยนใจไปดูเรื่องนี้เป็นการด่วน เนื่องจากผมเคยดู Shoplifters มาแล้วชอบมาก หลังจากดูจบก็คือเป็นหนังที่ดูค่อนข้างง่ายแต่มีเทคนิคในการเล่าที่มีสไตล์ที่ไม่ได้เรียงเป็นเส้นตรงเวลาเรียบเรียงจะรู้สึกว่าเรื่องมันซับซ้อนไปสักหน่อย ถ้าคิดตามควบคู่กับดูไปด้วยจะเข้าใจได้ไม่ยาก แล้วคิดถูกด้วยที่ตัดสินใจเลือกดูเรื่องนี้เมื่อวันพุธที่ผ่านมาในโค้งสุดท้ายที่เหลือเพียงรอบเดียวเป็นสุดท้ายแล้วฉายวันสุดท้าย ถ้าพลาดไปนี้ผมรู้สึกเสียใจไปอีกนาน
- ตามที่ดูในเพจรีวิวบอกนั่นแหล่ะคือ เป็นการเดินเรื่องในลักษณะ Rashomon หรือ การเล่าเรื่อง 1 เหตุการณ์แต่บอกเล่าผ่านมุมมองของคนแต่ละคน เริ่มจากมุมมองของคนที่ 1 ก่อนพอไปถึงจุด ๆ นึงแล้วจึงเปลี่ยนมาเป็นมุมมองคนที่ 2 เล่าพรรณนาไปจนจุดนึงก็เปลี่ยนไปที่มุมมองคนที่ 3 ต่อ โดยระหว่างนั้นมีเหตุการณ์ซ้อนทับกันกับ Timeline แต่ละคนแล้วก็เพิ่มเหตุการณ์ใหม่ที่ไม่มีบุคคลที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 เข้ามาร่วมกัน ต่อจากนั้นก็นำมุมมองทั้ง 3 มาประติดประต่อเรียงกันรวมเป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน เพื่อทำให้เราเห็นภาพที่ยังไม่ได้ถูกเล่าให้ชัดเจนขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังมีคำถามที่ยังติดค้างอยู่กับความคิดความรู้สึกของตัวละครบางอย่างว่าทำทำไมทำไปเพื่อออะไรอยู่ซักหน่อย เพราะบางอย่างหนังก็ไม่ได้เล่าหมดแต่เลือกที่จะใช้วิธีการตัดฉากข้ามไปอีกฉากนึงทันทีปล่อยให้คนดูเก็บไปคิดต่อกันเอาเองตามอย่างที่หนังประเภทนี้นิยมใช้กันจนเรารู้สไตล์แบบนี้ด้วยความเคยชินไปแล้ว
- นอกจากหลงรักพร้อมกับประทับใจแล้วยังรู้สึกว่าเขียนถึงเรื่องนี้ยากเหมือนกัน เพราะ บทหนังมันทำงานกับจิตใจผมได้ทันทีตั้งแต่วินาทีแรกจนถึง Scene สุดท้ายจนผมรู้สึกอึนครึมถึงกับน้ำตาซึมออกมาเป็นระยะ ภาพทุก Shot ยังติดอยู่ในหัวเราจนรู้สึกดำดิ่งไปกับมันถึงขั้นเก็บไปฝัน ซึ่งหนังให้คำนิยามของคำว่า Monster ได้หลายแง่หลายมุมจนหายสงสัยแถมเป็น Keywords ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับตัวละครได้กระจ่างชัดเจนไปกับความปลอกโปร่งของบรรยากาศที่ไม่ได้แสดงอาการโจ่งแจ้งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง แต่ถ้าลองสำรวจใน Details เหล่านั้นด้วยความใจเย็นก็เข้าใจในบริบทไม่ยาก ก็เพราะ Message ทุกอริยาบถมันคือบริบทที่เกิดขึ้นในสังคมจริง ๆ ไม่ว่าทั้งสังคมเพื่อน สังคมครอบครัว สังคมโรงเรียน หรือ สังคมการทำงานทุกอย่างเป็นสิ่งที่พบเจอสัมผัสได้ในปัจจุบันจนเราไม่ต้องมานั่งจับผิดว่าจะเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นได้จริงเหรอ ? เพราะชีวิตจริงมันมีอะไรที่ซับซ้อนมากกว่านั้น
- แถมเข้าใจได้ถึงก้นลึกในหัวใจของตัวละครแต่ละคนที่เห็นอุปนิสัยของแต่ละคนว่าเป็นอย่างไรแล้วเราได้ทราบถึงปมที่มาที่นำพาให้แต่ละคนมาพบกันโดยมีจุดเริ่มต้นเดียวกันนั่นคือ เหตุการณ์ไฟไหม้ตึก เป็นฉากเปิดเรื่องที่นำพาให้ตัวละครแต่ละคนมาอยู่ในเหตุการณ์เดียวกันแต่อยู่คนละที่ก่อนที่ทั้งหมดจะมาบรรจบกันที่โรงเรียนที่เป็นสนามอารมณ์ให้ตัวละครมาปะทะฝีปากกัน แม้ว่าจะเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวที่เป็นเสาหลักเลี้ยงลูกชายตามลำพังหลังจากสูญเสียสามีพบความผิดปกติในตัวลูกแล้วไปเอาเรื่องครูถึงโรงเรียน , ครูหนุ่มที่เผชิญหน้ากับปัญหารายล้อมทั้งนักเรียนห้าวเป้งและผู้ปกครองหัวร้อนหรือสังคมภายในโรงเรียนที่มีการแบ่งตำแหน่งไม่ต่างกับพนักงานอ็อฟฟิศขนาดใหญ่ , เด็กชายที่ถูกความรักของแม่และความหวังดีของครูเข้ามาวุ่นวายกับชีวิตจนทำให้เขาเลือกที่จะแสดงตัวตนอีกอย่าง , เพื่อนเด็กที่ย้ายเข้ามาใหม่ถูกแรงกดดันจากการรับน้องของเพื่อนในห้อง และ ผอ ผู้เป็นที่รอบรับอารมณ์และรับรู้การกระทำทุกคนแม้กระทั่งปัญหาในโรงเรียน ซึ่งเราจะเห็นภาพทั้งมวลอย่างแจ่มแจ้งจนเรารู้สึกเข้าใจปัญหาของตัวละครแต่ละคนที่ไม่ตัดสินจากตาของเราแทนว่า เอ๊ะ ตัวละครนี้ทำไมมีนิสัยเอาแต่ใจ ขี้โวยวาย ไม่แยแส หรือ เฉยชา เพียงเพราะไม่ถูกจริตกับเราก็เลยไม่ชอบขี้หน้าแค่นั้นเหรอ ?
- ผลงานของผู้กำกับ Hirokazu Koreeda ท่านนี้ผมดูแค่ Shoplifters (2018) เรื่องเดียวเลยขอเปรียบเทียบเรื่องเดียวล่ะกัน คือ ความรู้สึกที่มีต่อเรื่องนั้นเป็นอย่างไรความรู้สึกที่มีต่อเรื่องนี้ยังรู้สึกเช่นนั้นเหมือนเคย เพียงแต่ทั้ง 2 เรื่องนี้มี Feels ที่ต่างกันอยู่หน่อย คือ Shoplifters จะมาในเวย์มุกตลกผ่อนคลายลอยอบอวลก่อนที่ซัดแรงหน่วงในงานดราม่าเรียกน้ำตาชุดใหญ่ทีหลังแต่กับเรื่องนี้มันกึ่ง ๆ ผสมระหว่างโหมดความผ่อนคลายทางบรรยากาศกับความหน่วงในอารมณ์ตีคู่กันตลอดทาง แต่สิ่งที่ทั้ง 2 มีเหมือนกันคือสะท้อนสังคมได้เจ็บลึกเหมือนกัน บวกกับด้วยสกอร์ดนตรีประกอบจากการประพันธ์ของ Ryuichi Sakamoto ศิลปิน-นักแต่งเพลงระดับตำนานผู้ล่วงลับที่ทำหน้าที่ช่วยดึงระหว่างอารมณ์กับบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่พอดีแล้วทิ้งช่วงไประยะหนึ่งก่อนที่จะพุ่งอีกโหมดนึงขึ้นไปทีละนิดแล้วค่อย ๆ นิ่งสงบลง ถ้าเปรียบเทียบกับเรื่องนี้ผมคงนึกถึงคลื่นลมทะเลที่ค่อย ๆ ซัดเข้าชายฝั่งก่อนที่จะกลับตัวคืนไปสู่จุดเดิมนั่นเอง
- สรุป ชอบมาก ประทับใจทุกอย่างทั้งบทที่เรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง แม้หนังที่มีเด็ก 2 คนปรากฎอยู่บนโปสเตอร์ก็นึกว่าจะขายความเป็น Coming of Age ที่เป็นส่วนนึงของการเล่าแค่นั้นไม่ได้สำรวจในแง่มุมนี้อย่างเดียวแต่หนังพาเจาะลึกไปถึงแก่นลึกในระบบโครงสร้างในสังคมผ่านคนทุกวัยจนสัมผัสได้ถึงความเจ็บปวดและความงดงาม ส่งสารให้เราด่ำดิ่งทุกช่วงอารมณ์ทั้งสุขเศร้าขมละมุนจนติด 1 ในรายการหนังที่ชอบในปีนี้เป็นที่เรียบร้อยดูไปได้ข้อคิดคติเตือนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าการตัดสินเพียงแค่เห็นด้วยตานั้นมันอาจส่งผลกระทบต่อตนอื่นมากน้อยแค่ไหน เพราะการคิดเองเออเองจากมุมมองของตนเท่านั้นโดยไม่ได้นึกถึงว่าสิ่งที่เห็นบางทีก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดทั้งหมดนั้นไม่ต่างอะไรกับการใช้อาวุธทำร้ายกันตรง ๆ
- ซึ่งด้วยความที่หนังเล่าผ่านมุมมองในเหตุการณ์เดียวแน่นอนว่าถ้าเราเป็นเจ้าของเรื่องเราก็เลือกที่จะเล่าในสิ่งที่เห็นและคิดว่าสมควรแล้วว่าถูกต้อง ถึงแม้ว่าภาพที่เห็นบางอย่างมันตื้นลึกเกินกว่าจะบอกว่าถูกหรือผิดอธิบายด้วยเหตุผลว่าอันนี้สมควรบอกดีมั้ย ? ถ้าบอกไปกลัวเขาจะรับได้มั้ยหรือถ้าไม่บอกก็ไม่มีใครรู้หรอกอะไรอย่างนี้ ซึ่งทุกอย่างที่เห็นมันก็ต้องผ่านกระบวนการคิดมาแล้วกว่าจะพูดออกไป คิดแล้วคิดอีกคิดซ้ำ ๆ จนแหลกละเอียดมากน้อยแค่ไหนตามสำนึกผิดชอบชั่วดีก็แล้วแต่ ถ้าลองในมุมของเราแล้วไปเจออะไรมาแล้วบอกกับพ่อว่า พ่อครับ ผมแอบดูแม่อาบน้ำในห้องน้ำเห็นนมแม่เต็มลูกกะตาเลยครับ หรือ บอกกับแม่ว่า แม่ครับ ผมแอบขโมยทองของแม่เอาไปจำนำซื้อโทรศัพท์มือถือให้แฟนครับ เป็นเราจะกล้าบอกไปให้หมดมั้ย ? ถ้ารับมือกับผลที่ตามมา หรือ ก้าวข้ามความกลัว ไม่แคร์ความรู้สึกคนอื่นได้น่ะ ถ้าคนฟังเขารับได้ก็แล้วไปแต่ถ้ารับไม่ได้ล่ะจะเกิดอะไรขึ้น ? ซึ่งยอมรับว่าหนังให้เหตุผลในพื้นที่แต่ละส่วนตรงนี้อย่างเป็นธรรม ไม่ด่วนสรุปจากความรู้สึกของตนเองมาเป็นที่ตั้งและไม่ลำเอียงเข้าข้างอีกฝ่าย จึงไม่แปลกใจที่หนังชนะรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประจำปีนี้ไปครองได้จนอยากเชียร์ให้ได้รางวัลออสการ์ไปเลย
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like กด Share บทความของผม และ ติดตามช่องทาง Facebook : EM Pascal เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
[CR] No.61 Monster : 1 เรื่องราว หลากมุมมอง หลายใจคน
- เกือบจะมองข้ามไปซะแล้วเชียว ทั้งที่รู้ว่า เป็นหนังดราม่าปนระทึกขวัญน้ำดีส่งตรงจากญี่ปุ่น ก็ทราบว่า ได้รับคำวิจารณ์ยอดเยี่ยมจนกระทั่งชนะรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์คานส์มาแล้ว แต่แล้วยังไงล่ะ ก็ยังรู้สึกเฉย ๆ อยู่เกือบจะไปดูหนังอีกเรื่องที่เข้าฉายพร้อมกันในสัปดาห์นี้ จนกระทั่งได้มาเห็นชื่อผู้กำกับอย่าง Hirokazu Koreeda ที่เคยกำกับเรื่อง Like Father, Like Son (2013) , The Third Murder (2017) , Shoplifters (2018) และ Broker (2022) ขึ้นมาผมรีบเปลี่ยนใจไปดูเรื่องนี้เป็นการด่วน เนื่องจากผมเคยดู Shoplifters มาแล้วชอบมาก หลังจากดูจบก็คือเป็นหนังที่ดูค่อนข้างง่ายแต่มีเทคนิคในการเล่าที่มีสไตล์ที่ไม่ได้เรียงเป็นเส้นตรงเวลาเรียบเรียงจะรู้สึกว่าเรื่องมันซับซ้อนไปสักหน่อย ถ้าคิดตามควบคู่กับดูไปด้วยจะเข้าใจได้ไม่ยาก แล้วคิดถูกด้วยที่ตัดสินใจเลือกดูเรื่องนี้เมื่อวันพุธที่ผ่านมาในโค้งสุดท้ายที่เหลือเพียงรอบเดียวเป็นสุดท้ายแล้วฉายวันสุดท้าย ถ้าพลาดไปนี้ผมรู้สึกเสียใจไปอีกนาน
- ตามที่ดูในเพจรีวิวบอกนั่นแหล่ะคือ เป็นการเดินเรื่องในลักษณะ Rashomon หรือ การเล่าเรื่อง 1 เหตุการณ์แต่บอกเล่าผ่านมุมมองของคนแต่ละคน เริ่มจากมุมมองของคนที่ 1 ก่อนพอไปถึงจุด ๆ นึงแล้วจึงเปลี่ยนมาเป็นมุมมองคนที่ 2 เล่าพรรณนาไปจนจุดนึงก็เปลี่ยนไปที่มุมมองคนที่ 3 ต่อ โดยระหว่างนั้นมีเหตุการณ์ซ้อนทับกันกับ Timeline แต่ละคนแล้วก็เพิ่มเหตุการณ์ใหม่ที่ไม่มีบุคคลที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 เข้ามาร่วมกัน ต่อจากนั้นก็นำมุมมองทั้ง 3 มาประติดประต่อเรียงกันรวมเป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน เพื่อทำให้เราเห็นภาพที่ยังไม่ได้ถูกเล่าให้ชัดเจนขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังมีคำถามที่ยังติดค้างอยู่กับความคิดความรู้สึกของตัวละครบางอย่างว่าทำทำไมทำไปเพื่อออะไรอยู่ซักหน่อย เพราะบางอย่างหนังก็ไม่ได้เล่าหมดแต่เลือกที่จะใช้วิธีการตัดฉากข้ามไปอีกฉากนึงทันทีปล่อยให้คนดูเก็บไปคิดต่อกันเอาเองตามอย่างที่หนังประเภทนี้นิยมใช้กันจนเรารู้สไตล์แบบนี้ด้วยความเคยชินไปแล้ว
- นอกจากหลงรักพร้อมกับประทับใจแล้วยังรู้สึกว่าเขียนถึงเรื่องนี้ยากเหมือนกัน เพราะ บทหนังมันทำงานกับจิตใจผมได้ทันทีตั้งแต่วินาทีแรกจนถึง Scene สุดท้ายจนผมรู้สึกอึนครึมถึงกับน้ำตาซึมออกมาเป็นระยะ ภาพทุก Shot ยังติดอยู่ในหัวเราจนรู้สึกดำดิ่งไปกับมันถึงขั้นเก็บไปฝัน ซึ่งหนังให้คำนิยามของคำว่า Monster ได้หลายแง่หลายมุมจนหายสงสัยแถมเป็น Keywords ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับตัวละครได้กระจ่างชัดเจนไปกับความปลอกโปร่งของบรรยากาศที่ไม่ได้แสดงอาการโจ่งแจ้งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง แต่ถ้าลองสำรวจใน Details เหล่านั้นด้วยความใจเย็นก็เข้าใจในบริบทไม่ยาก ก็เพราะ Message ทุกอริยาบถมันคือบริบทที่เกิดขึ้นในสังคมจริง ๆ ไม่ว่าทั้งสังคมเพื่อน สังคมครอบครัว สังคมโรงเรียน หรือ สังคมการทำงานทุกอย่างเป็นสิ่งที่พบเจอสัมผัสได้ในปัจจุบันจนเราไม่ต้องมานั่งจับผิดว่าจะเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นได้จริงเหรอ ? เพราะชีวิตจริงมันมีอะไรที่ซับซ้อนมากกว่านั้น
- แถมเข้าใจได้ถึงก้นลึกในหัวใจของตัวละครแต่ละคนที่เห็นอุปนิสัยของแต่ละคนว่าเป็นอย่างไรแล้วเราได้ทราบถึงปมที่มาที่นำพาให้แต่ละคนมาพบกันโดยมีจุดเริ่มต้นเดียวกันนั่นคือ เหตุการณ์ไฟไหม้ตึก เป็นฉากเปิดเรื่องที่นำพาให้ตัวละครแต่ละคนมาอยู่ในเหตุการณ์เดียวกันแต่อยู่คนละที่ก่อนที่ทั้งหมดจะมาบรรจบกันที่โรงเรียนที่เป็นสนามอารมณ์ให้ตัวละครมาปะทะฝีปากกัน แม้ว่าจะเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวที่เป็นเสาหลักเลี้ยงลูกชายตามลำพังหลังจากสูญเสียสามีพบความผิดปกติในตัวลูกแล้วไปเอาเรื่องครูถึงโรงเรียน , ครูหนุ่มที่เผชิญหน้ากับปัญหารายล้อมทั้งนักเรียนห้าวเป้งและผู้ปกครองหัวร้อนหรือสังคมภายในโรงเรียนที่มีการแบ่งตำแหน่งไม่ต่างกับพนักงานอ็อฟฟิศขนาดใหญ่ , เด็กชายที่ถูกความรักของแม่และความหวังดีของครูเข้ามาวุ่นวายกับชีวิตจนทำให้เขาเลือกที่จะแสดงตัวตนอีกอย่าง , เพื่อนเด็กที่ย้ายเข้ามาใหม่ถูกแรงกดดันจากการรับน้องของเพื่อนในห้อง และ ผอ ผู้เป็นที่รอบรับอารมณ์และรับรู้การกระทำทุกคนแม้กระทั่งปัญหาในโรงเรียน ซึ่งเราจะเห็นภาพทั้งมวลอย่างแจ่มแจ้งจนเรารู้สึกเข้าใจปัญหาของตัวละครแต่ละคนที่ไม่ตัดสินจากตาของเราแทนว่า เอ๊ะ ตัวละครนี้ทำไมมีนิสัยเอาแต่ใจ ขี้โวยวาย ไม่แยแส หรือ เฉยชา เพียงเพราะไม่ถูกจริตกับเราก็เลยไม่ชอบขี้หน้าแค่นั้นเหรอ ?
- ผลงานของผู้กำกับ Hirokazu Koreeda ท่านนี้ผมดูแค่ Shoplifters (2018) เรื่องเดียวเลยขอเปรียบเทียบเรื่องเดียวล่ะกัน คือ ความรู้สึกที่มีต่อเรื่องนั้นเป็นอย่างไรความรู้สึกที่มีต่อเรื่องนี้ยังรู้สึกเช่นนั้นเหมือนเคย เพียงแต่ทั้ง 2 เรื่องนี้มี Feels ที่ต่างกันอยู่หน่อย คือ Shoplifters จะมาในเวย์มุกตลกผ่อนคลายลอยอบอวลก่อนที่ซัดแรงหน่วงในงานดราม่าเรียกน้ำตาชุดใหญ่ทีหลังแต่กับเรื่องนี้มันกึ่ง ๆ ผสมระหว่างโหมดความผ่อนคลายทางบรรยากาศกับความหน่วงในอารมณ์ตีคู่กันตลอดทาง แต่สิ่งที่ทั้ง 2 มีเหมือนกันคือสะท้อนสังคมได้เจ็บลึกเหมือนกัน บวกกับด้วยสกอร์ดนตรีประกอบจากการประพันธ์ของ Ryuichi Sakamoto ศิลปิน-นักแต่งเพลงระดับตำนานผู้ล่วงลับที่ทำหน้าที่ช่วยดึงระหว่างอารมณ์กับบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่พอดีแล้วทิ้งช่วงไประยะหนึ่งก่อนที่จะพุ่งอีกโหมดนึงขึ้นไปทีละนิดแล้วค่อย ๆ นิ่งสงบลง ถ้าเปรียบเทียบกับเรื่องนี้ผมคงนึกถึงคลื่นลมทะเลที่ค่อย ๆ ซัดเข้าชายฝั่งก่อนที่จะกลับตัวคืนไปสู่จุดเดิมนั่นเอง
- สรุป ชอบมาก ประทับใจทุกอย่างทั้งบทที่เรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง แม้หนังที่มีเด็ก 2 คนปรากฎอยู่บนโปสเตอร์ก็นึกว่าจะขายความเป็น Coming of Age ที่เป็นส่วนนึงของการเล่าแค่นั้นไม่ได้สำรวจในแง่มุมนี้อย่างเดียวแต่หนังพาเจาะลึกไปถึงแก่นลึกในระบบโครงสร้างในสังคมผ่านคนทุกวัยจนสัมผัสได้ถึงความเจ็บปวดและความงดงาม ส่งสารให้เราด่ำดิ่งทุกช่วงอารมณ์ทั้งสุขเศร้าขมละมุนจนติด 1 ในรายการหนังที่ชอบในปีนี้เป็นที่เรียบร้อยดูไปได้ข้อคิดคติเตือนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าการตัดสินเพียงแค่เห็นด้วยตานั้นมันอาจส่งผลกระทบต่อตนอื่นมากน้อยแค่ไหน เพราะการคิดเองเออเองจากมุมมองของตนเท่านั้นโดยไม่ได้นึกถึงว่าสิ่งที่เห็นบางทีก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดทั้งหมดนั้นไม่ต่างอะไรกับการใช้อาวุธทำร้ายกันตรง ๆ
- ซึ่งด้วยความที่หนังเล่าผ่านมุมมองในเหตุการณ์เดียวแน่นอนว่าถ้าเราเป็นเจ้าของเรื่องเราก็เลือกที่จะเล่าในสิ่งที่เห็นและคิดว่าสมควรแล้วว่าถูกต้อง ถึงแม้ว่าภาพที่เห็นบางอย่างมันตื้นลึกเกินกว่าจะบอกว่าถูกหรือผิดอธิบายด้วยเหตุผลว่าอันนี้สมควรบอกดีมั้ย ? ถ้าบอกไปกลัวเขาจะรับได้มั้ยหรือถ้าไม่บอกก็ไม่มีใครรู้หรอกอะไรอย่างนี้ ซึ่งทุกอย่างที่เห็นมันก็ต้องผ่านกระบวนการคิดมาแล้วกว่าจะพูดออกไป คิดแล้วคิดอีกคิดซ้ำ ๆ จนแหลกละเอียดมากน้อยแค่ไหนตามสำนึกผิดชอบชั่วดีก็แล้วแต่ ถ้าลองในมุมของเราแล้วไปเจออะไรมาแล้วบอกกับพ่อว่า พ่อครับ ผมแอบดูแม่อาบน้ำในห้องน้ำเห็นนมแม่เต็มลูกกะตาเลยครับ หรือ บอกกับแม่ว่า แม่ครับ ผมแอบขโมยทองของแม่เอาไปจำนำซื้อโทรศัพท์มือถือให้แฟนครับ เป็นเราจะกล้าบอกไปให้หมดมั้ย ? ถ้ารับมือกับผลที่ตามมา หรือ ก้าวข้ามความกลัว ไม่แคร์ความรู้สึกคนอื่นได้น่ะ ถ้าคนฟังเขารับได้ก็แล้วไปแต่ถ้ารับไม่ได้ล่ะจะเกิดอะไรขึ้น ? ซึ่งยอมรับว่าหนังให้เหตุผลในพื้นที่แต่ละส่วนตรงนี้อย่างเป็นธรรม ไม่ด่วนสรุปจากความรู้สึกของตนเองมาเป็นที่ตั้งและไม่ลำเอียงเข้าข้างอีกฝ่าย จึงไม่แปลกใจที่หนังชนะรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประจำปีนี้ไปครองได้จนอยากเชียร์ให้ได้รางวัลออสการ์ไปเลย
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like กด Share บทความของผม และ ติดตามช่องทาง Facebook : EM Pascal เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้