เป็นข่าวไปทั่วโลกกับฝุ่นละออง PM 2.5 ของไทยที่เกิดจากการเผาไหม้ทั้งเชียงราย เชียงใหม่ แล้วก็มาจากประเทศเพื่อนบ้าน
ที่เป็นที่วิตกกังวลก็คือเป็นที่สันนิษฐานกันอยู่แล้วตามสถิติว่ามลภาวะเหล่านี้คือฝุ่นละอองต่าง ๆ ทั้งจากอุตสาหกรรม ควันรถ การเผาไหม้ การเสียดสีกับถนนให้เกิดฝุ่นควัน รวมถึงบุหรี่ แล้วก็ไฟป่า กระตุ้นให้เกิดโรคหลายหลายโรคทางระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด มะเร็งปอด ถุงลม แล้วก็สมองเสื่อม
เราแอบไปหามาว่า 2.5 ไมครอน มันเล็กแค่ไหน แล้วทำไมถึงกระตุ้นเซลล์เราได้อ่ะ ควันไฟป่าคือเล็กคะดับนาโนจะเท่าไวรัสแล้ว
ที่มาภาพ
https://www.visualcapitalist.com/visualizing-relative-size-of-particles/
ถ้าดูในรูปจะเห็นว่า PM 2.5 มันเล็กกว่าเม็ดเลือดขาวเม็ดเลือดแดงของเราหลายเท่า
ล่าสุดมีงานวิจัยของอังกฤษที่พบว่ามลพิษทางอากาศธรรมดาก็ทำให้เป็นมะเร็งได้ แต่ "ไม่ใช่ว่าทุกคนที่มีเซลล์กลายพันธุ์จะเป็นมะเร็ง" มันอาจจะเป็นแค่เซลล์กลายพันธุ์เฉย ๆ ก็ได้ ใช้ชีวิตปกติไม่ป่วยไข้ แต่ถ้าเจอฝุ่นละอองขนาดเล็กมาก ๆ ในระดับ เล็กกว่า 2.5 ไมครอน มันจะกระตุ้นให้แบ่งตัวเซลล์ที่กลายพันธุ์ให้มากขึ้นเป็นมะเร็งปอดโดยที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่เกิดกับคนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่มีความเข้มข้นของละอองฝุ่นขนาดเล็กมากกว่าปกติ
งานวิจัยที่ว่าเก็บข้อมูลจากชาวอังกฤษ แคนาดา เกาหลี ไต้หวัน รวมกัน 3 หมื่น 2 พันคน รวมถึงทดลองกับเซลล์ ทดลองกับหนู แล้วพบว่า มะเร็งจากฝุ่นขนาดเล็กมาก ๆ ที่ว่าจะมีรูปแบบที่ต่างออกไปเพราะไปกระตุ้นการเกิดมะเร็งในเซลล์ที่กลายพันธุ์แล้ว ในขณะที่มลพิษทั่วไปทำให้เซลล์กลายพันธุ์และเป็นมะเร็ง แต่ก็อาจไม่เป็นเสมอไป
05 April 2023
Air pollution’s role in the promotion of lung cancer
https://www.nature.com/articles/d41586-023-00929-x
จากงานวิจัยข้างบนนี้ เราสรุปเองว่า เราอยู่ในสภาพอากาศที่มีมลภาวะมาทั้งชีวิตแต่ตัวเองก็ยังไม่ได้เป็นอะไร ควรพาตัวเองไปอยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์จะได้ปลอดภัยไม่เกิดโรคร้ายจากการถูกกระตุ้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ว่า
ที่เราเอามาพูดถึงก็เพราะว่ามะเร็งปอดเป็นหนึ่งในโรคที่พบบ่อยมาก ๆ เป็นอันดับต้น ๆ ของมะเร็ง แล้วเป็นโรคที่เป็นแล้วคนเสียชีวิตได้ (1 ใน 6 จะเสียชีวิต คิดเป็น 16%) WHO คาดว่าคนเสียชีวิตจากมะเร็งเกือบสิบล้านคนในปี 2018
https://www.who.int/health-topics/cancer#tab=tab_1
WHO แนะนำให้ความเข้มข้นของ PM 2.5 ต่อปีไม่เกิน 5 µg/m3
ต่อวัน ไม่เกิน 15 µg/m3 แล้วก็ไม่ควรติดต่อกันเกิน 3 - 4 วันต่อปี แต่ดูบ้านเราสิ เกิน 100 ไปแล้วนะ
https://pubs.acs.org/doi/10.1021/acs.estlett.2c00203
ระยะสั้น ระยะยาว เราก็ดูจะมืดมนมาก รัฐกำหนดนโยบายก็แล้ว ใช่ไหม? ให้ความรู้ ช่วยเหลือชาวไร่ คุยกับเพื่อนบ้านให้หยุดเผาป่า? หรือมันจะมีอะไรที่ทำให้ทุกคนออกมาจากบ้านได้ ใช้ชีวิตปกติ และมีสุขภาพที่ดีได้บ้าง
คุณว่ามีวิธีแก้ไขไหม
มลพิษทำให้เซลล์กลายพันธุ์ พอเจอ PM 2.5 มันจะอักเสบกลายเซลล์มะเร็ง - จะแก้ปัญหาฝุ่นนี้ยังไงละอองมันลอยไปทั่ว
ที่เป็นที่วิตกกังวลก็คือเป็นที่สันนิษฐานกันอยู่แล้วตามสถิติว่ามลภาวะเหล่านี้คือฝุ่นละอองต่าง ๆ ทั้งจากอุตสาหกรรม ควันรถ การเผาไหม้ การเสียดสีกับถนนให้เกิดฝุ่นควัน รวมถึงบุหรี่ แล้วก็ไฟป่า กระตุ้นให้เกิดโรคหลายหลายโรคทางระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด มะเร็งปอด ถุงลม แล้วก็สมองเสื่อม
เราแอบไปหามาว่า 2.5 ไมครอน มันเล็กแค่ไหน แล้วทำไมถึงกระตุ้นเซลล์เราได้อ่ะ ควันไฟป่าคือเล็กคะดับนาโนจะเท่าไวรัสแล้ว
ที่มาภาพ https://www.visualcapitalist.com/visualizing-relative-size-of-particles/
ถ้าดูในรูปจะเห็นว่า PM 2.5 มันเล็กกว่าเม็ดเลือดขาวเม็ดเลือดแดงของเราหลายเท่า
ล่าสุดมีงานวิจัยของอังกฤษที่พบว่ามลพิษทางอากาศธรรมดาก็ทำให้เป็นมะเร็งได้ แต่ "ไม่ใช่ว่าทุกคนที่มีเซลล์กลายพันธุ์จะเป็นมะเร็ง" มันอาจจะเป็นแค่เซลล์กลายพันธุ์เฉย ๆ ก็ได้ ใช้ชีวิตปกติไม่ป่วยไข้ แต่ถ้าเจอฝุ่นละอองขนาดเล็กมาก ๆ ในระดับ เล็กกว่า 2.5 ไมครอน มันจะกระตุ้นให้แบ่งตัวเซลล์ที่กลายพันธุ์ให้มากขึ้นเป็นมะเร็งปอดโดยที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่เกิดกับคนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่มีความเข้มข้นของละอองฝุ่นขนาดเล็กมากกว่าปกติ
งานวิจัยที่ว่าเก็บข้อมูลจากชาวอังกฤษ แคนาดา เกาหลี ไต้หวัน รวมกัน 3 หมื่น 2 พันคน รวมถึงทดลองกับเซลล์ ทดลองกับหนู แล้วพบว่า มะเร็งจากฝุ่นขนาดเล็กมาก ๆ ที่ว่าจะมีรูปแบบที่ต่างออกไปเพราะไปกระตุ้นการเกิดมะเร็งในเซลล์ที่กลายพันธุ์แล้ว ในขณะที่มลพิษทั่วไปทำให้เซลล์กลายพันธุ์และเป็นมะเร็ง แต่ก็อาจไม่เป็นเสมอไป
05 April 2023
Air pollution’s role in the promotion of lung cancer
https://www.nature.com/articles/d41586-023-00929-x
จากงานวิจัยข้างบนนี้ เราสรุปเองว่า เราอยู่ในสภาพอากาศที่มีมลภาวะมาทั้งชีวิตแต่ตัวเองก็ยังไม่ได้เป็นอะไร ควรพาตัวเองไปอยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์จะได้ปลอดภัยไม่เกิดโรคร้ายจากการถูกกระตุ้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ว่า
ที่เราเอามาพูดถึงก็เพราะว่ามะเร็งปอดเป็นหนึ่งในโรคที่พบบ่อยมาก ๆ เป็นอันดับต้น ๆ ของมะเร็ง แล้วเป็นโรคที่เป็นแล้วคนเสียชีวิตได้ (1 ใน 6 จะเสียชีวิต คิดเป็น 16%) WHO คาดว่าคนเสียชีวิตจากมะเร็งเกือบสิบล้านคนในปี 2018
https://www.who.int/health-topics/cancer#tab=tab_1
WHO แนะนำให้ความเข้มข้นของ PM 2.5 ต่อปีไม่เกิน 5 µg/m3
ต่อวัน ไม่เกิน 15 µg/m3 แล้วก็ไม่ควรติดต่อกันเกิน 3 - 4 วันต่อปี แต่ดูบ้านเราสิ เกิน 100 ไปแล้วนะ
https://pubs.acs.org/doi/10.1021/acs.estlett.2c00203
ระยะสั้น ระยะยาว เราก็ดูจะมืดมนมาก รัฐกำหนดนโยบายก็แล้ว ใช่ไหม? ให้ความรู้ ช่วยเหลือชาวไร่ คุยกับเพื่อนบ้านให้หยุดเผาป่า? หรือมันจะมีอะไรที่ทำให้ทุกคนออกมาจากบ้านได้ ใช้ชีวิตปกติ และมีสุขภาพที่ดีได้บ้าง
คุณว่ามีวิธีแก้ไขไหม