แหม่ม หญิงชราวัย 70 ปี ที่ดูแลสามีของเธอช่วงเวลาสุดท้ายในชีวิตในบ้านแสนสงบใจกลางเมือง เธอจึงมองย้อนกลับไปยังอดีตวันวานที่เต็มไปด้วยความรัก ความสูญเสีย ความขมขื่น แม้จะตราตรึงไปด้วยความสุขเมื่อครั้งที่เธอยังสาว
ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 58 นาที ที่แม้จะยาวนานในการปูเรื่อง การเกริ่นนำในช่วงองค์แรกจนถึงขั้นวูบหลับไปซะหน่อย แล้วเพิ่งมาจูนติดต่อกันในองค์ 2 เป็นต้นไป ทำให้การเดินเรื่องดูน่าติดตามขึ้นมาหน่อยจนนำไปสู่บทสรุปที่สำหรับผมว่าจบตรงนี้ลงตัวแล้ว อยากให้พอแค่นั้น แต่เหมือนผู้กำกับจะไม่ยอมจบด้วยสิ เหมือนเพิ่งนึกได้ คงค้างคาใจเลยอยากจะเล่าต่อ ก็ประเคนภาพวิวทิวทัศน์มาเสริมเข้าไปให้ จนลากยาวไปสู่บทสรุปที่รู้สึกอึ้งแล้วเหวอ จนคิดในใจว่า เฮ้ย เอางี้จริงดิ ถามว่ารู้สึกยังไง ผมว่าแบบนี้ก็พอรับได้อยู่ แต่รู้สึกยืดเยื้อเกินความจำเป็นไปหน่อย
พอเรื่องดำเนินไปได้ซักพัก จะเห็นว่ามีเหตุการณ์แต่ละอย่างเข้ามาแทรกไว้ต่อเนื่อง ทับถมต่อกันมาแบบนิ่ง ๆ บวกกับการเป็นหนังเงียบที่มีบทสนทนาที่เรียบง่ายเกือบจะไร้ชีวิตชีวา ทำให้ถ่ายทอดเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างคุณแหม่มกับเสธที่มี Something ต่อกันได้ค่อนข้างถ้อยทีถ้อยไปไม่เร่งรีบ สลับ Timeline ไปมาระหว่าง Part อดีต ช่วงวัยหนุ่มสาว ยันเข้าช่วงวัยชราใน Part ปัจจุบัน ทั้งคู่ผ่านโลกอะไรมามากมายจนเข้าสู่โค้งสุดท้ายของชีวิต มีการเล่นเทคนิคแสง Neon สลัว กึ่ง Fantasy เป็นระยะ แถมเดินช้า ๆ เอือดอาด ไม่รีบร้อน ทำให้ดูเหนื่อยมากกว่าเดิม จึงมี Question มากมายวนเวียนในหัวว่าอันไหนเรื่องจริงและอันไหนเรื่องแต่ง ฉากนี้ไม่เข้าใจว่าจะใส่มาทำไม จะสื่ออะไรกันแน่
ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ระหว่างทางมีการอิงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็น Plot เสริม อย่างเช่น เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ที่มีการปะทะกันระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์กับฝ่ายอนุรักษ์ประชาธิปไตยจนเกิดความขัดแย้งให้อีกฝ่ายต้องหนีเข้าไปในป่ากันแทรกเข้ามาเป็นระยะ หรือ การใช้ศัพท์แทนตัวผู้มีอำนาจในวงการอย่างท่าน , พี่สาว น้องสาว หรือ สหาย ช่วยทำให้เนื้อเรื่องดูเข้มข้นสมจริง แม้จะไม่ได้ถ่ายทอดในส่วนเรื่องของระบอบโครงสร้างเชิงลึกให้เห็นถึงรากเหง้ากับปํญหาที่ทับถมหมักหมมจนบานปลายไปถึงปัจจุบัน แต่ก็แสดงให้เห็นถึงสันดานดิบความเห็นแก่ตัวในตัวมนุษย์ได้น่ากลัวและสะอิดสะเอียนอยู่เหมือนกัน
สำหรับ Acting ของนักแสดงนำอิสระในเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น คุณเอิงเอย ประภามณฑล เอี่ยมจันทร์ จาก Motel Mist โรงแรมต่างดาว (2559) , คุณอุ้ม วัลลภ รุ่งกำจัด จาก กระเบนราหู (2561) , คุณบี๋ เทวีรัตน์ ลีลานุช จาก ทวิภพ (2547) และ คุณโสระบดี ช้างศิริ จาก The Maid (2563) แสดงได้งดงาม ยอดเยี่ยม ถ่ายทอดอุปนิสัยของตัวละครได้มีมิติและเป็นธรรมชาติดีกว่านักแสดงดังมืออาชีพเสียอีก แถมได้คุณน้าทองขาว ภัทรโชคชัย ดาวร้ายมากฝีมือจากละคร ล่า (2537) มาร่วมสมทบด้วย เป็นอะไรที่ surprise มาก แม้จะโผล่มาไม่กี่ฉาก แต่น้าช่วยเพิ่มกิมมิคให้ยกระดับ Story ให้มีคุณค่าขึ้นไปอีกขั้น แต่ตัวละครสมทบผมจำไม่ได้เลยว่าใครแสดงเป็นใคร แว๊บไปแว๊บมาบ่อย เพราะการที่ไม่ได้เป็นตัวเดินเรื่องจึงถูกกลืนหายไปกับบทพร้อมกับภาพที่เต็มไปด้วยความ Abstract บดบังจนมิดไปในพริบตา
ผลงานกำกับคุณจักรวาล นิลธำรงค์ ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยอินดี้ที่เคยฝากผลงานทางเลือกมาอย่าง Vanishing Point (2558) และ กระเบนราหู (2561) รวมถึงได้คุณลี ชาตะเมธีกุล ผู้กำกับภาพชื่อดังจาก ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ (2547) ทำให้ภาพที่เห็นในละเฟรมแต่ละฉากสวยงามมากเกินกว่าจะพรรณานาได้ คุณจักรวาลได้ใส่ตัวตนอัตลักษณ์ส่วนตัวลงไปเล่นด้วยค่อนข้างมาก พยายามเจาะลึก Details เชิงสัญลักษณ์รอบตัวมากมายซ่อนไว้ในบทอย่างเนียน ๆ ให้เราตีความเอาเอง เช่น ต้นไม้ที่มีดอกสีแดง , แม่น้ำลำธาร การทำงานของคนดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่นำเสนอให้เห็นในอีกมุมหนึ่ง หรือ บทสนทนาที่คนสมัยก่อนพูดกัน แม้เป็นประโยค classic แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็นของตกยุคไปแล้ว เหมือนจงใจที่จะทำให้เป็นหนังเฉพาะกลุ่มพร้อมส่งเข้าประกวดงานเทศกาลภาพยนตร์ แถมมีกลิ่นไอของคุณเจ้ย อภิชาติพงศ์ เรียกว่า เอา inspiration จากเขามาเต็ม ๆ ดีกว่า
สรุป หลังจากดูจบรู้สึกสับสนปนงงกับภาพกับบทในหัวเต็มไปหมด แต่พอปล่อยให้เวลาไหลไปเรื่อย ๆ รู้สึกกลับชอบเสน่ห์ของเรื่องนี้ขึ้นมาทันที โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง นาฬิกา มี message ที่น่าสนใจ ตั้งใจจะสื่อเรื่องของ ความสัมพันธ์ การรอคอย ความหลังของคนแต่ละช่วงเวลาที่มีความเป็นไปในแต่ละสถานะ แต่ละช่วงชีวิตที่ผ่านมา เมื่อบางสิ่งเข้ามา เวลาก็ย่อมเปลี่ยนไป ปัจจุบันจึงไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เวลาอาจไม่ใช่สิ่งมีชีวิตใดสิ่งหนึ่ง และ เวลาก็ไม่ได้อยู่ข้างเราเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการมีอยู่ของบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ในห้วงเวลานั้น ๆ ประมาณว่า ยังมีอีก multiverse ณ ห้วงมิติหนึ่งที่ดำเนินชีวิตไปพร้อมกัน เหมือนเราใช้เวลาไปกับการให้ผู้อื่น โดยลืมการให้ความสำคัญของตนเอง ถ้าเปรียบเทียบ ผู้หญิง ก็คือ object ของ subject คือ ผู้ชาย ทำหน้าที่ผู้ถูกกระทำโดยผู้กระทำ จะตีความได้ว่า เวลาที่เหลือของคุณแหม่มผ่านไปเรื่อย ๆ กับการดูแลคู่ชีวิตเธอนั่นเอง สำหรับผมเรื่องนี้จะเป็นหนังไทยอิสระที่ดูยาก เข้าไม่ค่อยถึง แต่ให้สาระข้อคิดเกี่ยวกับการเชิดชูในฐานะ ชื่อเสียง ยศถาบรรดาศักดิ์ มากกว่าตัวตนที่แท้จริง อย่าไปยึดติด ลุ่มหลงอะไรสิ่งที่กำหนดขึ้น รวมถึงการวางแผน ความสำคัญของการใช้ชีวิตที่ดีมากอีกเรื่องเลยครับ
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like กด Share บทความของผม EMCONCEPT เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไปครับ ขอบคุณครับ
[CR] No.17 Anatomy of Time : ชำแหละห้วงเวลา สำรวจซากปุถุชน
แหม่ม หญิงชราวัย 70 ปี ที่ดูแลสามีของเธอช่วงเวลาสุดท้ายในชีวิตในบ้านแสนสงบใจกลางเมือง เธอจึงมองย้อนกลับไปยังอดีตวันวานที่เต็มไปด้วยความรัก ความสูญเสีย ความขมขื่น แม้จะตราตรึงไปด้วยความสุขเมื่อครั้งที่เธอยังสาว
ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 58 นาที ที่แม้จะยาวนานในการปูเรื่อง การเกริ่นนำในช่วงองค์แรกจนถึงขั้นวูบหลับไปซะหน่อย แล้วเพิ่งมาจูนติดต่อกันในองค์ 2 เป็นต้นไป ทำให้การเดินเรื่องดูน่าติดตามขึ้นมาหน่อยจนนำไปสู่บทสรุปที่สำหรับผมว่าจบตรงนี้ลงตัวแล้ว อยากให้พอแค่นั้น แต่เหมือนผู้กำกับจะไม่ยอมจบด้วยสิ เหมือนเพิ่งนึกได้ คงค้างคาใจเลยอยากจะเล่าต่อ ก็ประเคนภาพวิวทิวทัศน์มาเสริมเข้าไปให้ จนลากยาวไปสู่บทสรุปที่รู้สึกอึ้งแล้วเหวอ จนคิดในใจว่า เฮ้ย เอางี้จริงดิ ถามว่ารู้สึกยังไง ผมว่าแบบนี้ก็พอรับได้อยู่ แต่รู้สึกยืดเยื้อเกินความจำเป็นไปหน่อย
พอเรื่องดำเนินไปได้ซักพัก จะเห็นว่ามีเหตุการณ์แต่ละอย่างเข้ามาแทรกไว้ต่อเนื่อง ทับถมต่อกันมาแบบนิ่ง ๆ บวกกับการเป็นหนังเงียบที่มีบทสนทนาที่เรียบง่ายเกือบจะไร้ชีวิตชีวา ทำให้ถ่ายทอดเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างคุณแหม่มกับเสธที่มี Something ต่อกันได้ค่อนข้างถ้อยทีถ้อยไปไม่เร่งรีบ สลับ Timeline ไปมาระหว่าง Part อดีต ช่วงวัยหนุ่มสาว ยันเข้าช่วงวัยชราใน Part ปัจจุบัน ทั้งคู่ผ่านโลกอะไรมามากมายจนเข้าสู่โค้งสุดท้ายของชีวิต มีการเล่นเทคนิคแสง Neon สลัว กึ่ง Fantasy เป็นระยะ แถมเดินช้า ๆ เอือดอาด ไม่รีบร้อน ทำให้ดูเหนื่อยมากกว่าเดิม จึงมี Question มากมายวนเวียนในหัวว่าอันไหนเรื่องจริงและอันไหนเรื่องแต่ง ฉากนี้ไม่เข้าใจว่าจะใส่มาทำไม จะสื่ออะไรกันแน่
ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ระหว่างทางมีการอิงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็น Plot เสริม อย่างเช่น เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ที่มีการปะทะกันระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์กับฝ่ายอนุรักษ์ประชาธิปไตยจนเกิดความขัดแย้งให้อีกฝ่ายต้องหนีเข้าไปในป่ากันแทรกเข้ามาเป็นระยะ หรือ การใช้ศัพท์แทนตัวผู้มีอำนาจในวงการอย่างท่าน , พี่สาว น้องสาว หรือ สหาย ช่วยทำให้เนื้อเรื่องดูเข้มข้นสมจริง แม้จะไม่ได้ถ่ายทอดในส่วนเรื่องของระบอบโครงสร้างเชิงลึกให้เห็นถึงรากเหง้ากับปํญหาที่ทับถมหมักหมมจนบานปลายไปถึงปัจจุบัน แต่ก็แสดงให้เห็นถึงสันดานดิบความเห็นแก่ตัวในตัวมนุษย์ได้น่ากลัวและสะอิดสะเอียนอยู่เหมือนกัน
สำหรับ Acting ของนักแสดงนำอิสระในเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น คุณเอิงเอย ประภามณฑล เอี่ยมจันทร์ จาก Motel Mist โรงแรมต่างดาว (2559) , คุณอุ้ม วัลลภ รุ่งกำจัด จาก กระเบนราหู (2561) , คุณบี๋ เทวีรัตน์ ลีลานุช จาก ทวิภพ (2547) และ คุณโสระบดี ช้างศิริ จาก The Maid (2563) แสดงได้งดงาม ยอดเยี่ยม ถ่ายทอดอุปนิสัยของตัวละครได้มีมิติและเป็นธรรมชาติดีกว่านักแสดงดังมืออาชีพเสียอีก แถมได้คุณน้าทองขาว ภัทรโชคชัย ดาวร้ายมากฝีมือจากละคร ล่า (2537) มาร่วมสมทบด้วย เป็นอะไรที่ surprise มาก แม้จะโผล่มาไม่กี่ฉาก แต่น้าช่วยเพิ่มกิมมิคให้ยกระดับ Story ให้มีคุณค่าขึ้นไปอีกขั้น แต่ตัวละครสมทบผมจำไม่ได้เลยว่าใครแสดงเป็นใคร แว๊บไปแว๊บมาบ่อย เพราะการที่ไม่ได้เป็นตัวเดินเรื่องจึงถูกกลืนหายไปกับบทพร้อมกับภาพที่เต็มไปด้วยความ Abstract บดบังจนมิดไปในพริบตา
ผลงานกำกับคุณจักรวาล นิลธำรงค์ ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยอินดี้ที่เคยฝากผลงานทางเลือกมาอย่าง Vanishing Point (2558) และ กระเบนราหู (2561) รวมถึงได้คุณลี ชาตะเมธีกุล ผู้กำกับภาพชื่อดังจาก ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ (2547) ทำให้ภาพที่เห็นในละเฟรมแต่ละฉากสวยงามมากเกินกว่าจะพรรณานาได้ คุณจักรวาลได้ใส่ตัวตนอัตลักษณ์ส่วนตัวลงไปเล่นด้วยค่อนข้างมาก พยายามเจาะลึก Details เชิงสัญลักษณ์รอบตัวมากมายซ่อนไว้ในบทอย่างเนียน ๆ ให้เราตีความเอาเอง เช่น ต้นไม้ที่มีดอกสีแดง , แม่น้ำลำธาร การทำงานของคนดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่นำเสนอให้เห็นในอีกมุมหนึ่ง หรือ บทสนทนาที่คนสมัยก่อนพูดกัน แม้เป็นประโยค classic แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็นของตกยุคไปแล้ว เหมือนจงใจที่จะทำให้เป็นหนังเฉพาะกลุ่มพร้อมส่งเข้าประกวดงานเทศกาลภาพยนตร์ แถมมีกลิ่นไอของคุณเจ้ย อภิชาติพงศ์ เรียกว่า เอา inspiration จากเขามาเต็ม ๆ ดีกว่า
สรุป หลังจากดูจบรู้สึกสับสนปนงงกับภาพกับบทในหัวเต็มไปหมด แต่พอปล่อยให้เวลาไหลไปเรื่อย ๆ รู้สึกกลับชอบเสน่ห์ของเรื่องนี้ขึ้นมาทันที โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง นาฬิกา มี message ที่น่าสนใจ ตั้งใจจะสื่อเรื่องของ ความสัมพันธ์ การรอคอย ความหลังของคนแต่ละช่วงเวลาที่มีความเป็นไปในแต่ละสถานะ แต่ละช่วงชีวิตที่ผ่านมา เมื่อบางสิ่งเข้ามา เวลาก็ย่อมเปลี่ยนไป ปัจจุบันจึงไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เวลาอาจไม่ใช่สิ่งมีชีวิตใดสิ่งหนึ่ง และ เวลาก็ไม่ได้อยู่ข้างเราเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการมีอยู่ของบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ในห้วงเวลานั้น ๆ ประมาณว่า ยังมีอีก multiverse ณ ห้วงมิติหนึ่งที่ดำเนินชีวิตไปพร้อมกัน เหมือนเราใช้เวลาไปกับการให้ผู้อื่น โดยลืมการให้ความสำคัญของตนเอง ถ้าเปรียบเทียบ ผู้หญิง ก็คือ object ของ subject คือ ผู้ชาย ทำหน้าที่ผู้ถูกกระทำโดยผู้กระทำ จะตีความได้ว่า เวลาที่เหลือของคุณแหม่มผ่านไปเรื่อย ๆ กับการดูแลคู่ชีวิตเธอนั่นเอง สำหรับผมเรื่องนี้จะเป็นหนังไทยอิสระที่ดูยาก เข้าไม่ค่อยถึง แต่ให้สาระข้อคิดเกี่ยวกับการเชิดชูในฐานะ ชื่อเสียง ยศถาบรรดาศักดิ์ มากกว่าตัวตนที่แท้จริง อย่าไปยึดติด ลุ่มหลงอะไรสิ่งที่กำหนดขึ้น รวมถึงการวางแผน ความสำคัญของการใช้ชีวิตที่ดีมากอีกเรื่องเลยครับ
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like กด Share บทความของผม EMCONCEPT เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไปครับ ขอบคุณครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้