JJNY : เลือกตั้ง66 ทำลาย”เพื่อไทย”ไม่ได้│ร้อง “กกต.” เสนอ 5 ข้อ│จุดความร้อนไทยใกล้แตะ 3 พัน│ผอ.ไอเออีเอ เยือนโรงไฟฟ้า

สัมภาษณ์ : ศ.ดร.ฐิตินันท์ เลือกตั้ง66ปีกอนุรักษ์นิยมหลังพิงฝา ทำลาย”เพื่อไทย”ไม่ได้
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3902985

 
 
สัมภาษณ์พิเศษ: ศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เลือกตั้ง66 ปีกอนุรักษ์นิยมหลังพิงฝา บทพิสูจน์ 20 ปีวังวนแห่งความขัดแย้ง  รัฐประหาร ยุบพรรค ใช้อำนาจเต็มมือที่สุด แต่ที่สุดพรรคเพื่อไทยก็ครองความนิยมทุกการเลือกตั้ง ฟันธง นโยบายประชานิยม ลดแลกแจกแถม ไม่ใช่ตัวตัดสิน   ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้
 
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
 

  

“พรรคร่วมฝ่ายค้าน” ร้อง “กกต.” เสนอ 5 ข้อ แก้หลักเกณฑ์การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
https://siamrath.co.th/n/435335

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 31 มี.ค. 66 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตัวแทนจากพรรคการเมือง 4 พรรค ประกอบด้วย นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบายพรรคเสรีรวมไทย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล นายสุขุมพงศ์ โง่นคํา คณะทำงานด้านกฎหมายพรรคเพื่อไทย ร่วมกันยื่นหนังสือ ถึง คณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อขอให้ประสานกับกระทรวงการต่างประเทศ ดำเนินการแก้ไข ในกรณีที่สถานทูตไทยในหลายประเทศ ยกเลิกระบบการเลือกตั้งทางไปรษณีย์  และยังจัดให้มีการเลือกตั้งที่สถานทูตในวันทำการ  ซึ่งจะเป็นการทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการเลือกตั้ง
 
โดยนายสมชัย กล่าวว่า คนไทยนอกราชอาณาจักร เป็นคนที่มีสิทธิเลือกตั้ง และมีความสำคัญในการที่จะใช้สิทธิคนเลือกตั้ง คาดว่าคนที่มีสิทธิเลือกตั้งมีประมาณ 1,000,000 คน ตัวอย่างการเลือกตั้งของปี 62 มีคนใช้สิทธิ์ 100,000 คนคิดเป็น 10% ของคนที่มีสิทธิเลือกตั้ง ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่สูงที่สุด และเราเชื่อว่าตัวเลขสูงกว่านี้ได้ ถ้าหาก กกต. และกระทรวงการต่างประเทศ มีความตั้งใจและจริงใจ ในการที่จะสร้างความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเข้ามาใช้สิทธิเลือกตั้ง การลงทะเบียน ขึ้นทะเบียนคนที่ใช้สิทธิ ควรจะทำให้ง่าย และสะดวกต่อประชาชน ในการเข้าถึง และใช้บริการ
 
โดยการใช้สิทธิ์การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรกฎหมายกำหนดไว้ 3 รูปแบบ 
1. ที่สถานทูตหรือสถานกงสุล 
2. ที่หน่วยเลือกตั้งเคลื่อนที่ 
3. การเลือกตั้งทางไปรษณีย์

ซึ่งทั้งสามรูปแบบนี้ รูปแบบที่มีคนใช้สิทธิมากที่สุด คือทางไปรษณีย์น้อยที่สุด คือที่สถานทูต เพราะต้องเดินทาง เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย ทำให้ไม่สะดวกเป็น
 
ส่วนการออกประกาศของสถานทูตต่างๆ ในต่างประเทศ ที่มีการยกเลิกการเลือกตั้งทางไปรษณีย์ เช่น มาเลเซียสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ จอร์แดน เบลเยี่ยม และทำให้ประชาชนเข้าถึงการเลือกตั้งยากขึ้น รวมถึงในบางประเทศยังไปกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันเวลาราชการ ซึ่งถือเป็นการจำกัดให้ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิได้ เนื่องจากต้องเสียเวลาการทำงานเพื่อไปใช้สิทธิ อีกส่วนหนึ่งคือการกำหนดให้การเลือกตั้งทางไปรษณีย์ ต้องส่งบัตรเลือกตั้งกลับมาให้ทันในวันปิดรับ ซึ่งคือวันที่ 28 เม.ย. เป็นการปิดรับที่เร็วเกินไป เพราะกว่ากกต.จะส่งให้บัตรเลือกไปต่างประเทศก็วันที่22 เม.ย. แล้ว กว่าจะถึงต่างประเทศ กว่าสถานทูตจะจัดส่งให้คนไทยในต่างประเทศก็ใช้เวลาอีก และเมื่อไปถึงแล้วก็อาจจะเลยเวลาแล้ว
 
เราจึงมายื่นข้อเรียกร้องขอให้กกต.ดำเนินการแก้ไขโดยประสานกับกระทรวงการต่างประเทศในการแก้ไข 5 เรื่องดังนี้ 1.ขอให้เพราะประสานกับกระทรวงต่างประเทศ ให้สถานกงสุลทุกแห่ง ใช้การเลือกตั้งทางไปรษณีย์เป็นวิธีการหลัก
 
2.ในกรณีที่สถานทูตหรือสถานกงสุล จัดให้มีการตั้งเลือกตั้ง ณ ที่ทำการ ขอให้ใช้วันเสาร์-อาทิตย์ ในการเลือกตั้ง
 
3.ขอให้มีการปรับเปลี่ยนกำหนดการในการส่งบัตรเลือกตั้งกลับมาที่สถานทูต ในระยะเวลาที่ไม่เร็วเกินไป ซึ่งอาจจะขยับไปวันที่ 4 พ.ค. เพราะสถานทูตก็จะเหลือเวลาอีก 10 วันที่จะส่งกลับประเทศไทย
 
4.เรียกร้องให้สถานเอกอัครราชทูตที่มีความพร้อม สามารถนับคะแนนได้ โดยมีสักขีพยานเป็นคนไทย เป็นไปตามพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2566
 
5.เรียกร้องให้กกต.ออกรายละเอียดในการเลือกตั้งในต่างประเทศทั้งหมด ลงในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้
 
นายสมชัยกล่าวอีกว่า อย่าอ้างว่ากกต.ไม่เกี่ยว ต้องเป็นกระทรวงการต่างประเทศจัดการ ท่านต้องศึกษาร่วมกัน และการกำหนดสิ่งที่ดีที่สุดให้กับประชาชน อย่างกรณีที่ต้องขอยกย่อง คือสถานทูตไทยในเบลเยียม หลังจากที่การวิพากษ์วิจารณ์ ถึงการกำหนดให้การเลือกตั้งเป็นวันอังคารที่ 24 เม.ย. ปรากฏว่ามีการปรับเปลี่ยนแล้ว โดยเปลี่ยนให้เป็นวันอาทิตย์ ที่ 29 เม.ย. และเพิ่มรูปแบบการเลือกตั้งทางไปรษณีย์เข้าไปทันที ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า ถ้าท่านมีความตั้งก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ทันที
 
ด้านพ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า เรื่องการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในกลุ่มประเทศที่มีประชากรมุสลิม โดยเฉพาะประเทศมาเลเซีย ที่มีคนไทยไปประกอบธุรกิจร้านอาหารเป็นจำนวนมาก ที่ควรคำนึงถึงบริบทของเทศกาลรอมฎอนหรือเทศกาลถือศีลอด ในวันที่ 22 เม.นย. ที่ส่วนใหญ่จะเดินทางกลับประเทศไทย และเป็นช่วงที่คาบเกี่ยวกับการใช้สิทธิในต่างประเทศนั้ ถือเป็นการสกัดกั้นความเชื่อทางวัฒนธรรม ทางศาสนา ดังนั้น การกระทำแบบนี้ เหมือนเป็นการกลั่นแกล้งกัน และขอให้เลื่อนการเลือกตั้ง เป็นวันหยุดราชการ ในวันที่ 4-5 พ.ค.
 
สำหรับนายชัยธวัช กล่าวว่า เราเห็นประชาชนคาดหวังกับการเลือกตั้งครั้งนี้ และคิดว่าเป็นโอกาสสำคัญในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนเอง และประเทศชาติ ยิ่งวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา เมื่อดูในรายละเอียด ประชาชนยิ่งไม่ไว้วางใจว่าจะดำเนินการไปอย่างเสรี และเป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร เรื่องการพิมพ์บัตรเลือกตั้ง เรื่องการนับผลการเลือกตั้งแบบเรียลไทม์ ปฎิเสธไม่ได้ว่าจากผลการเลือกตั้งในปี 62 ชี้ชัดว่าประชาชนทั้งหมดส่วนใหญ่ไม่ได้เลือกฝ่ายของผู้มีอำนาจ ซึ่งนี่อาจเป็นความตั้งใจหรือไม่ ที่จะทำให้การใช้สิทธิลดลงแทนที่จะส่งเสริม โดยเฉพาะกรณีที่ทำให้ประชาชนสับสน ในการกำหนดเบอร์ของผู้สมัคร และเบอร์ของพรรคการเมืองเป็นคนละเบอร์กัน ซึ่งพรรคก้าวไกลพยายามผลักดันให้เบอร์ของผู้สมัครและเบอร์ของพรรคการเมืองเป็นเบอร์เดียวกันแล้ว แต่ก็ไม่สำเร็จ
 
ส่วนนายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญระบุว่า การที่ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่ว่าใน หรือนอกราชอาณาจักรโดยเฉพาะนอกราชอาณาจักรนั้นจะต้องมีการลงทะเบียน และจัดให้ประชาชนได้ลงคะแนนอย่างทั่วถึง และเป็นธรรมนอกจากนั้นมาตรา 50 (7) ของรัฐธรรมนูญระบุว่า ประชาชนชาวไทยมีหน้าที่ต้องไปเลือกตั้ง ถึงแม้ว่า จะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้นแต่เป็นการตัดสิทธิ์ทางการเมืองที่ประชาชนมีส่วนสำคัญต่อการเลือกตั้ง และก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายรัฐที่จะต้องทำให้เขามีสิทธิ์เลือกตั้งเหมือนประชาชนทั่วไป คราวที่แล้วเกิดปัญหาคือคะแนนทั้งประเทศเป็นบัตรเสียแต่ยังไม่มีการลงโทษผู้กระทำความผิดบกพร่องต่อหน้าที่  พรรคร่วมฝ่ายค้านจึงมองว่า ควรมีการปรับปรุงให้มันดีขึ้น ความผิดที่เกิดแล้วอย่าให้มันเกิดอีกถ้าหากเกิดขึ้นต้องรับผิดชอบในทางแพ่ง และทางอาญา 


 
จุดความร้อนไทยใกล้แตะ 3 พัน แม่ฮ่องสอนมากสุด ฝุ่นพิษฟุ้งสูงชายแดนภาคเหนือ
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7588927

จิสด้า เผยจุดความร้อนไทย 2.9 พันจุด พบมากสุด แม่ฮ่องสอน พื้นป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติ ส่วน ฝุ่นพิษ กระแสลมหอบ PM 2.5 ฟุ้งสูงบริเวณชายแดนภาคเหนือ
 
31 มี.ค. 66 – สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ จิสด้า (GISTDA) เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ช่วง วันที่30 มี.ค. 66 ไทยพบจุดความร้อน 2,963 จุด โดยมีเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา ขึ้นนำอยู่ที่ 7,918 จุด สปป.ลาว 1,970 บาท กัมพูชา 356 จุด เวียดนาม 237 จุด และมาเลเซีย 45 จุด
 
สำหรับ จุดความร้อนในประเทศไทย ยังคงพบในพื้นป่าอนุรักษ์มากที่สุดถึง 1,540 จุด ตามด้วยป่าสงวนแห่งชาติ 1,018 จุด พื้นที่เกษตร 161 จุด พื้นที่ชุมชนอื่นๆ 158 จุด พื้นที่เขต สปก. 77 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 9 จุด ส่วนของจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุด 3 อันดับ คือ แม่ฮ่องสอน 574 จุด เชียงใหม่ 545 จุด และเชียงราย 332 จุด
 
สิ่งหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังที่มักจะมากับเหตุการณ์ไฟป่า และจุดความร้อนคือ PM 2.5 สถานการณ์จุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลให้เกิด PM 2.5 ได้ในพื้นที่บริเวณชายแดน เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากกระแสลมที่จะพัดผ่านเข้ามา
 
ประกอบกับภูมิประเทศทางภาคเหนือของไทยมีลักษณะเป็นหุบเขาแอ่งกระทะ จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับการพัดและการเคลื่อนตัวของกระแสลมในพื้นที่เป็นสำคัญ
 
ทั้งนี้สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://fire.gistda.or.th หรือ ติดตามข้อมูลจาก https://fire.gistda.or.th/dashboard.html และควรติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ผ่านแอปพลิเคชัน “เช็คฝุ่น”
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่