คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
ถ้าจะให้ดีนะ ต้องมีกราวด์ของสาย N ใช้สำหรับเปรียบเทียบแรงดันไฟฟ้าให้คงที่ ยิ่งค่าความต้านทานของกราวด์ต่ำจะได้แรงดันที่สูงขึ้น และมีกราวด์ดิน (สีเขียว) ใช้เป็นกราวด์ของอุปกรณ์ โดยที่ค่าความต้านทานของกราวด์ดินจะต้องต่ำกว่ากราวด์ นิวทอล เมื่อเกิดไฟรั่วอุปกรณ์จะทำงานได้ปกติและไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน
บ้านผมก็ต่อกราวด์ กับ N แยกออกจากกัน ไม่อย่านั้นเวลาใช้เครื่องทำน้ำอุ่นไฟจะตัดเพราะมันจะมีไฟรั่วเป็นปกติ
ลองคิดดูนะว่าถ้าต้องต่อสาย N กับ G เข้าด้วยกันทำไมสายไฟต้องมี 3เส้นด้วย ยังไม่เคยเห็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นไหนที่ต่อ N เข้ากับGเลย
สาเหตุหลักคือการไฟฟ้าไม่ยอมทำสาย N ให้เสถียร จึงบังคับให้ทุกบ้านทำแทน
บ้านผมก็ต่อกราวด์ กับ N แยกออกจากกัน ไม่อย่านั้นเวลาใช้เครื่องทำน้ำอุ่นไฟจะตัดเพราะมันจะมีไฟรั่วเป็นปกติ
ลองคิดดูนะว่าถ้าต้องต่อสาย N กับ G เข้าด้วยกันทำไมสายไฟต้องมี 3เส้นด้วย ยังไม่เคยเห็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นไหนที่ต่อ N เข้ากับGเลย
สาเหตุหลักคือการไฟฟ้าไม่ยอมทำสาย N ให้เสถียร จึงบังคับให้ทุกบ้านทำแทน
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
กรณีของประเทศไทยหรือประเทศอื่นไหนถ้ามีข้อกำหนดให้ต่อสาย N เมนที่เข้าบ้านนั้นให้มาที่ G bar ก่อน แล้วค่อยต่อเข้ามายังเมนเบรกเกอร์ เหตุผลก็เพื่อให้สายดินหลักดินของแต่ละบ้านช่วยสลายศักย์ไฟฟ้าในสาย N ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าบ้านนั้นจะเปิดหรือปิดเมนเบรกเกอร์
(อันนี้วิเคราะห์เพิ่มเติมให้)
แม้สายส่ง N จะเป็นระบบกราวด์ชั้นดีที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยสร้างเป็นกราวด์ลอยที่เป็นโครงข่ายโลหะความต้านทานต่ำในวงกว้าง ซึ่งจะเป็นสภาพกราวด์ที่ดีเยี่ยมกว่ากราวด์ตามธรรมชาติที่เป็นพื้นดินวงกว้างทั่วไปที่ย่อมมีความต้านทานสูงกว่า
แต่โดยธรรมชาติแล้วโครงข่ายสาย N นั้นต้องมีศักย์ไฟฟ้าจากสาย L ติดมาด้วยบางส่วนเสมอ(สาย N ไม่ได้เป็น 0 V โดยเสถียรแท้จริง) เพราะสาย L ที่ไหลผ่านตัวต้านทานของเครื่องใช้ไฟฟ้า นั้นจะเชื่อมต่อมายังสาย N โดยตรง
กฟภ.,กฟน.จึงพยายามสลายศักย์ไฟฟ้าในระบบสายส่ง N ด้วยการต่อสาย N เชื่อมลงมายังหลักดินที่ตอกตามจุดต่างๆ และเมื่อออกข้อกำหนดให้แต่ละบ้านช่วยเอาสาย N ไปต่อลงหลักดินของบ้านตัวเองด้วย ก็ย่อมมีส่วนช่วยสลายศักย์ไฟฟ้าในระบบสายส่ง N ได้มากมาย ช่วยให้ระบบสายส่ง N มีศักย์ไฟฟ้าใกล้เคียง 0 V ยิ่งขึ้น และย่อมเกิดความต่างศักย์กับสาย L ที่เสถียรใกล้เคียง 220 V ยิ่งขึ้น
และที่สำคัญ(สำหรับการไฟฟ้าฯ) ก็คือมีส่วนช่วยประหยัดงบการลงทุนสร้างหลักดินเพื่อสลายศักย์ไฟฟ้าในระบบสาย N ของการไฟฟ้าได้มากกกก
(อันนี้วิเคราะห์เพิ่มเติมให้)
แม้สายส่ง N จะเป็นระบบกราวด์ชั้นดีที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยสร้างเป็นกราวด์ลอยที่เป็นโครงข่ายโลหะความต้านทานต่ำในวงกว้าง ซึ่งจะเป็นสภาพกราวด์ที่ดีเยี่ยมกว่ากราวด์ตามธรรมชาติที่เป็นพื้นดินวงกว้างทั่วไปที่ย่อมมีความต้านทานสูงกว่า
แต่โดยธรรมชาติแล้วโครงข่ายสาย N นั้นต้องมีศักย์ไฟฟ้าจากสาย L ติดมาด้วยบางส่วนเสมอ(สาย N ไม่ได้เป็น 0 V โดยเสถียรแท้จริง) เพราะสาย L ที่ไหลผ่านตัวต้านทานของเครื่องใช้ไฟฟ้า นั้นจะเชื่อมต่อมายังสาย N โดยตรง
กฟภ.,กฟน.จึงพยายามสลายศักย์ไฟฟ้าในระบบสายส่ง N ด้วยการต่อสาย N เชื่อมลงมายังหลักดินที่ตอกตามจุดต่างๆ และเมื่อออกข้อกำหนดให้แต่ละบ้านช่วยเอาสาย N ไปต่อลงหลักดินของบ้านตัวเองด้วย ก็ย่อมมีส่วนช่วยสลายศักย์ไฟฟ้าในระบบสายส่ง N ได้มากมาย ช่วยให้ระบบสายส่ง N มีศักย์ไฟฟ้าใกล้เคียง 0 V ยิ่งขึ้น และย่อมเกิดความต่างศักย์กับสาย L ที่เสถียรใกล้เคียง 220 V ยิ่งขึ้น
และที่สำคัญ(สำหรับการไฟฟ้าฯ) ก็คือมีส่วนช่วยประหยัดงบการลงทุนสร้างหลักดินเพื่อสลายศักย์ไฟฟ้าในระบบสาย N ของการไฟฟ้าได้มากกกก
แสดงความคิดเห็น
ทำไมการเดินไฟแบบสากล ถึงไม่เหมือนกับการไฟฟ้าบ้านเรา
ของเราไฟฟ้าบังคับให้เอาสาย N ก่อนเข้า เมนเบรคเกอร์ ต้องต่อกับสายการาวด์รอด ทำไมของสากล ไม่เห็นบังคับให้เอา N ต่อกับ สายกราวด์ร้อดเลย
แบบไหนถูกต้องตามหลักการครับ