ขอความรู้เรื่อง ระบบไฟฟ้าในบ้านเกี่ยวกับ safe-t-cut

พอดีกำลังสร้างบ้านใหม่มีคำถามรบกวนหน่อยครับ
สมมุติว่าระบบดังนี้นะครับ
1.มิเตอร์15(45) > ฟิวส์ถ้วย15A >เมนเบรคเกอร์ 20A > safe-t-cut 50A
-เมื่อ overload ฟิวส์ถ้วยจะขาดก่อนใช่หรือไม่ครับ

2.มิเตอร์15(45) > ฟิวส์ถ้วย20A >เมนเบรคเกอร์ 10A > safe-t-cut 50A
-เมื่อ overload เมนเบรคเกอร์จะทริปก่อนฟิวถ้วยขาดใช่ไหมครับ

คำถามเพิ่มเติมที่อยากรู้มากคือ
3.ถ้าเราใช้safe-t-cut ที่มีแอมป์สูงกว่าเมนเบรคเกอร์ นอกจากจะไม่มีประโยชน์เมื่อoverload แล้วจะมีผลต่อประสิทธิภาพการทริปเมื่อไฟดูดหรือมีผลเสียอื่นๆไหมครับ

4.ช่วยแนะนำลำดับการต่อ เพิ่ม/ลดอุปกรณ์, ขนาดA ระบบไฟฟ้าหน่อยครับเวลาช่างมาทำจะได้คุยกับช่าง ที่คิดว่าจะมีคือ ฟิวส์ถ้วย(จำเป็นไหม), เมนเบรคเกอร์, safe-t-cut, ตู้consumer. เครื่องใช้ที่คิดว่าจะมี แอร์2 ปั้ม1. นอกนั้นก็ทั่วๆไปครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ผมว่าเอาแบบจบง่ายๆ ก็ใช้ตู้เมน Square D จะกี่ช่อง (วงจรย่อย) ก็ว่าไป แล้วใช้เมนเบรกเกอร์ตัดไฟรั่ว ชนิด RCBO ขนาด 45 แอมป์
ไม่ก็เอาตู้เมนของ ABB จะเป็นตู้แบบรางใส่เบรกเกอร์ จะเอากี่วงจรย่อย คิดได้แล้วต้องรวมช่องให้เมนเบรกเกอร์
กับเบรกเกอร์กันไฟรั่ว ชนิด RCD ด้วย...

ตามคำถามที่ จขกท. ว่ามาเป็นข้อๆ ผมมีความเห็นดังนี้นะครับ :
1. ฟิวส์ถ้วยควรจะขาดก่อน
2. เมนเบรกเกอร์ทริปก่อน
3. ไม่มีผลครับ จริงๆแล้วถ้ามีอุปกรณ์ตัดไฟรั่วติดตั้งอยู่ ก็ควรตรวจสอบว่าอุปกรณ์ทำงานสมบูรณ์หรือไม่ เป็นครั้งคราว (กดปุ่ม Test ที่ตัวอุปกรณ์ตัดไฟรั่ว)
และการใช้อุปกรณ์ตัดไฟรั่ว เซฟ... ต้องระวังอย่าไปตั้ง Direct เข้านะครับ จากอุปกรณ์ตัดไฟรั่ว มันจะกลายเป็นเบรกเกอร์ธรรมดาๆไป
4. ตามบ้านทั่วๆไปเดี๋ยวนี้จะใช้กันแค่ตู้คอนซูเมอร์ยูนิตกันอย่างเดียวแล้วครับ ผมยังไม่เคยเห็นการใช้ฟิวส์ถ้วยร่วมกับตู้เมน
ที่ใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ครับ แต่ถ้าต้องการก็ไม่มีปัญหา บอกช่างไปเขาก็จัดหามาติดตั้งให้ จขกท. ได้ครับ

ลองดูเป็นแนวทางเลือกละกันครับ :
4.1
ตู้คอนซูเมอร์ฯ Square D xx ช่อง ใส่เมน RCBO 45 A ลูกย่อยเลือกตามการใช้กระแสไฟ > เครื่องใช้ไฟฟ้า
ถ้าไม่ต้องการให้ไฟดับทั้งบ้านเวลาไฟรั่ว ต้องใช้เมนแบบธรรมดา และใช้ลูกย่อยตัดไฟรั่ว ชนิด RCBO มาคุมเฉพาะวงจรย่อยที่ต้องการ
เช่น ใช้ RCBO ขนาด 20 A คุมวงจรปลั๊กไฟ เวลาไฟรั่วจากปลั๊กไฟ วงจรปลั๊กไฟจะถูกตัด แต่ไฟแสงสว่างยังใช้ได้อยู่
แต่ก็ข้อด้อยคือไม่ครอบคลุมทุกวงจร ถ้าไฟที่รั่วมาจากวงจรที่ไม่ได้ติดตัวตัดไฟรั่วก็อันตรายครับ
4.2
ตู้คอนซูเมอร์ฯ ABB xx ช่อง ใส่เมนธรรมดา 50 A ใส่เบรกเกอร์ RCD 50 A ลูกย่อยเลือกตามการใช้กระแสไฟ > เครื่องใช้ไฟฟ้า
ซึ่งถ้าอยากให้ตัวตัดไฟรั่วแบ่งคุมวงจรย่อย ก็สามารถปรับเปลี่ยนเพิ่มได้ครับ เช่น ใช้ RCD 32 A คุมวงจรปลั๊กไฟชั้นล่าง ส่วนชั้นบนใช้ RCD 20 A
แบบนี้เวลาไฟรั่วที่ชั้นล่าง ชั้นบนไฟก็ไม่ดับไปด้วย สามารถเพิ่มโซนการคุมได้ตามต้องการครับ
และถ้าวงจรใดไม่ได้ต่อผ่านตัวตัดไฟรั่วก็จะมีข้อด้อยอย่างเดียวกับที่กล่าวไปแล้วในข้อ 4.1 ครับ

สิ่งที่สำคัญที่ควบคู่กับเบรกเกอร์หรืออุปกรณ์ตัดการใช้กระแสไฟเกินอื่นๆ คือ ขนาดของสายไฟที่ใช้ ต้องสอดคล้องกันนะครับ
อย่างเช่น มิเตอร์ไฟฟ้า 15(45) แอมป์ ปกติกรณีเดินสายลอยในอากาศ ใช้สายขนาด 10 SQ.MM ส่วนถ้าใส่ท่อร้อยสายใช้ขนาด 16 SQ.MM
ขนาดเมนเบรกเกอร์สูงสุด 50 A ถ้าสมมุติว่าเอาเมนเบรกเกอร์ขนาด 63 A ใช้สาย THW 10 SQ.MM เดินลอยในอากาศ
ซึ่งทนกระแสได้สูงสุดประมาณ 60 A เป็นสายเมน ทีนี้ถ้ามีการใช้ไฟประมาณ 60 A กว่าๆ แต่ยังไม่เกิน 63 A เมนเบรกเกอร์จะยังไม่ตัด
แต่สายเมนจะร้อนค่อนข้างมาก ฉนวนสายอาจถึงขั้นละลายเอาได้ และมิเตอร์ไฟฟ้าก็อาจไหม้เสียหายไปด้วย
ขนาดของสายไฟและอุปกรณ์ตัดการใช้กระแสไฟเกินจึงต้องสัมพันธ์กัน

ในบ้านใหม่จะมีการติดตั้งสายดิน ระบบสายดินจะต้องลงดินจริงๆ นะครับ แท่งกราวด์ทองแดงที่นำมาทำหลักดินต้องยาวๆครับ มาตรฐานเขาใช้กันที่ 2.4 เมตร
สายต่อหลักดินกับตู้เมนอย่างต่ำขนาด 10 SQ.MM

อีกอย่างที่สำคัญมากๆ การต่อไฟเข้าจากมิเตอร์ถ้าต่อสลับเส้นกันอาจมีอันตรายถึงชีวิตเอาได้ ควรให้ช่างการไฟฟ้าตรวจสอบที่ตู้เมนหลังจากต่อมิเตอร์ไฟฟ้าแล้วด้วยนะครับ

สุดท้ายถ้า จขกท. อยากใส่ฟิวส์ถ้วยไว้หน้าตู้เมนจริงๆก็ใช้ขนาดสัก 40 A ก็พอ แต่ผมอยากให้ใช้เบรกเกอร์แบบ Magnetic Trip
ของ Mitsubishi ขนาดไม่เกิน 50 A เลือกที่ค่า IC สูงๆหน่อยประมาณ 10 kA เป็นใช้ได้ ถ้าหาไม่ได้ 7.5 kA ก็พอทน
เอาเบรกเกอร์ที่ว่ามาใช้ควบคู่กับฟิวส์ถ้วยเพื่อเป็นสะพานไฟสำรองสำหรับเวลาฟิวส์ขาดครับ
เวลาปกติฟิวส์ไม่ขาดก็ปิดเบรกเกอร์ตัวนี้ไว้ได้...
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่