ชั่งใจมากที่จะเขียนกระทู้นี้ขึ้นมา
เพราะมีแอบแว่บ ๆ คิดขึ้นมาว่า มันจะฟังดูตัดสิน หรือบ่น ต่อว่า ผู้สูงอายุผู้มีพระคุณในบ้านรึเปล่า ?
กลัวจะเจอแบบที่คำโบราณว่าไว้ “นรกจะกินกบาล”
แต่เจตนาของดิฉัน คือ อยากจะแชร์สิ่งที่ได้เจอ ได้พบ หรือได้ยินได้ฟัง เพื่อให้คนที่เคยเจอสถานการณ์ใกล้เคียงกันรู้สึกไม่เดียวดาย หรือ อาจจะมีข้อคิด ข้อแนะนำจากสมาชิกท่านอื่น ๆ มาแลกเปลี่ยนกันเพื่อที่ว่าเราจะได้รับมือ ทำใจยอมรับความเปลี่ยนแปลงของคุณพ่อคุณแม่หรือผู้สูงวัยในบ้านได้ผาสุกยิ่งขึ้น
หัวข้อนี้ ถ้าเขียนในเชิงวิจัยคงต้องออกมาในทำนอง
การอยู่ร่วมกับผู้สูงอายุอย่างมีความสุข : ปัญหา ข้อจำกัด และการเตรียมความพร้อมเชิงกายภาพและจิตใจของสมาชิกในครอบครัว
ส่วนตัวดิฉันมีความสัมพันธ์ที่จัดได้ว่าดีกับผู้สูงวัยในครอบครัวทั้งทางฝั่งครอบครัวตัวเองและครอบครัวสามีนะคะ
แต่ไม่ได้แปลว่า ราบรื่นไปเสียหมด
คุยกับพี่สาว กับเพื่อน กับคนรู้จักหลายคน ก็พบปัญหาบางอย่างที่มีรูปแบบคล้าย ๆ กัน เลยขอ list มาชวนคุยกันแลกเปลี่ยนกันบางประเด็นนะคะ
1. พ่อแม่สูงวัยบางท่าน มีอาการ “รักคนไกล ระอาคนใกล้” ขอยกบางส่วนจากบทความนี้มาเลยค่ะ
https://www.visalo.org/article/Image255209.htm
ชื่นชม รักใคร่ ห่วงใย ลูกที่อยู่ไกล แต่กลับเห็นว่า ลูกที่อยู่ด้วยใกล้ตัว ไม่เข้าท่า ไม่น่ารัก ชอบขัดใจ แต่ลูกที่อยู่ไกลที่นาน ๆ มาเจอกันทีหนึ่ง จะรู้สึกรักเป็นพิเศษ เตรียมของดี ๆ ไว้ให้รับประทาน พูดจาด้วยดี ๆ ในขณะที่บางครอบครัว คุณพ่อคุณแม่สูงวัยดูจะเป็นไม้เบื่อไม้เมากับลูกที่อยู่ด้วยทุกวัน ทั้งที่เป็นคนปรนนิบัติดูแลพาไปหาหมอ
บางทีข้อนี้ เลยจะทำให้ลูก ๆ ที่ stationed อยู่กับพ่อแม่สูงวัยจะน้อยใจเป็นพิเศษ
2. หลายครอบครัว หนึ่งในความทุกข์และกังวลของผู้สูงวัย (โดยเฉพาะแม่) คือ การที่ลูกสาวเป็นโสด อันนี้ ถือเป็นข้อกังวลมากทีเดียว พี่สาวดิฉันซึ่งโสดและมีความสุขดี กับพี่อีกคนที่ก็เลยห้าแยกปากเกร็ดมาพอสมควรแล้ว ดูเธอก็มีความสุขดี วัน ๆ มีกิจการและกิจกรรมให้ทำทั้งวัน ทั้งส่วนตัวและเป็นงานเพื่อส่วนรวม แต่เธอก็เจอปัญหาคล้าย ๆ กันค่ะว่า คุณแม่ในวัย 90 กลุ้มใจและบ่นบ่อยมากว่า “ไหว้พระ ก็อยากขอพรให้ลูกมีคู่ครอง” สร้างความกดดันให้กับลูกอย่างมาก
ลูกที่โสด มักเต็มใจหรือถูกยัดเยียดให้ต้องเป็นฝ่ายรับภาระหนักในการอยู่ดูแลพ่อแม่ ไม่สามารถแยกบ้านออกไปได้ เพราะใคร ๆ ก็จะให้เหตุผลว่า “ก็เธอโสดนี่ ไม่มีภาระ”
แต่แย่ไปกว่านั้น คือ ในบางครอบครัว ผู้สูงวัย ก็ไม่ได้ซาบซึ้งกับการที่ลูกที่โสดอยู่ด้วยนะคะ
อย่างบ้านดิฉันเป็นต้น คุณแม่อยู่กับพี่สาวค่ะ
แม่ดิฉันมองว่า “ก็ไม่ได้อยากให้โสดนี่ ถ้าแต่งออกไปได้นี่จะยิ่งดีใจ แต่นี่โสด จะแยกบ้านไปได้อย่างไร ?”
3. ผู้สูงวัย มักคุ้นชินกับภาวะเดิม ๆ ทำให้บางครั้งไม่ปรับตัวกับสภาพทางกายภาพและจิตใจที่เปลี่ยนไป เฮ้อ... พูดซะวิชาการ
เอาตรง ๆ ก็คงต้องใช้คำว่า “ดื้อ” ค่ะ
นินทาแม่ตัวเองเลยละกัน แม่ดิฉันในวัย 90 กว่า ยังปฏิเสธการใช้ไม้เท้า และปฏิเสธการที่มีใครมาประคองเวลาเดินด้วยค่ะ ท่านบอกว่าไม่ถนัดเลย (หรือจริง ๆ อาจจะมีความภูมิใจในตัวเองเกินกว่าจะยอมรับความช่วยเหลือ)
อ้าว...แล้วเดินยังไง ?
หม่าม้าจะค่อย ๆ เดิน แล้วค่อย ๆ จับประตู เกาะราว ยึดทุกอย่างใกล้ตัว ประคองไป แต่จะไม่ยอมให้ใครประคอง (พยายามจะเข้าไปประคอง ก็จะโดนสะบัดมือทิ้งนะคะ) หรือไม่ยอมถือไม้เท้า ซึ่งอันนี้สร้างความอึดอัดและหวาดเสียวให้กับลูก ๆ มาก เพราะจับประตู ก็เสี่ยงประตูหนีบ หรือเกิดลมพัดมาพอดี โอยยยย...ไม่อยากจะนึกภาพ เกาะโน่น ยึดนี่แบบป่ายไปเรื่อยนี่ก็กลัวจะติดเชื้อ หรือมือไม่สะอาดอีก
รถเข็นก็ไม่ค่อยจะยอมนั่ง ทั้งที่ทุกคนยินดีและรอจะกางรถ และเข็นให้นั่งอย่างเต็มใจ
4. มีภาวะของความหลงลืม การขาดความสามารถในการควบคุมตัวเอง และบางครั้งมีอาการเครียด เพราะคิดมาก หรือคิดเองเออเองในบางเรื่องอย่างที่ไม่เคยเป็น
อันที่จริง ข้อนี้ ถือเป็นความเสื่อมทางร่างกายและจิตใจอย่างหนึ่งนะคะ
จะนับว่าเป็นโรคภัยไข้เจ็บทางจิตใจประการหนึ่งก็ได้ ทำให้ผู้สูงวัยบางคน ใช้คำพูด หรือมีการกระทำที่สร้างความอึดอัดให้กับคนรอบข้างอย่างเหลือเชื่อ เช่น โพล่งวิจารณ์อะไรบางอย่างออกมาชนิดที่เกินเส้นมารยาท หรือทำอะไรบางอย่างที่ทำให้ผู้ดูแล (หากไม่ใจกว้างจริง ๆ ) รู้สึกหน้าม้าน หรืออึดอัด ที่สำคัญไม่กล้าเล่าให้ใครฟังด้วย ยกตัวอย่าง แรง ๆ คือ บางท่านก็มีอาการพูดจาหรือการแสดงออกเชิงลามก
ความหลงลืม หรือ พยาธิสภาพของความชราบางอย่าง มันไม่ได้น่ารักน่าเอ็นดู เหมือนอย่างที่เราเห็นในละครเสมอไป กระทั่งผู้สูงวัยที่เคยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เคยมีหน้าที่การงานดีเลิศมาก่อน อยู่ในวงสังคมระดับสูง เมื่อต้องเผชิญกับความเสื่อมถอย ก็มีพฤติกรรมบางอย่างที่เราจะนึกปลงว่า ท่านเปลี่ยนไปได้ถึงเพียงนี้ เช่น ฉุนเฉียวอย่างไม่มีเหตุผล ใช้คำพูดหยาบคาย
ไม่แน่ใจว่า คนอื่น ๆ จะเคยเจออะไรทำนองนี้มากน้อยเพียงใดและรับมือกันอย่างไรบ้างคะ ?
บางท่านอาจจะพยายยามแก้ปัญหา ด้วยการเบี่ยงความสนใจและหากิจกรรมให้ผู้สูงอายุที่บ้านด้วยการสอนเล่นมือถือ หรือ เน็ต เพื่อที่จะพบว่า ท่านได้สร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาให้ต้องแก้ เพราะ สว.ที่บ้านเชื่อตำรายาเถื่อนตามข้อความในไลน์ ติดดูมือถือจนไม่หลับไม่นอน หรือเปิดช่องยูทูบเสียงดังทั้งวัน (ที่พูดมานี่ แม่อิชั้นทั้งนั้น)
ปล. ที่เขียนมานี่ ไม่ได้แปลว่า ไม่รักนะคะ
หลายคนไม่กล้าคุยปัญหานี้อย่างเปิดอก เพราะเกรงจะถูกหาว่าอตัญญู
แต่จริงๆ เพราะรัก เพราะดูแลใกล้ชิด เพราะใส่ใจอยู่ใกล้ และพยายามรวมเอาท่านเข้ามาในการดำเนินชีวิตปกติต่างหาก ทำให้เห็นปัญหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ความท้าทายในการอยู่กับผู้สูงอายุ
เพราะมีแอบแว่บ ๆ คิดขึ้นมาว่า มันจะฟังดูตัดสิน หรือบ่น ต่อว่า ผู้สูงอายุผู้มีพระคุณในบ้านรึเปล่า ?
กลัวจะเจอแบบที่คำโบราณว่าไว้ “นรกจะกินกบาล”
แต่เจตนาของดิฉัน คือ อยากจะแชร์สิ่งที่ได้เจอ ได้พบ หรือได้ยินได้ฟัง เพื่อให้คนที่เคยเจอสถานการณ์ใกล้เคียงกันรู้สึกไม่เดียวดาย หรือ อาจจะมีข้อคิด ข้อแนะนำจากสมาชิกท่านอื่น ๆ มาแลกเปลี่ยนกันเพื่อที่ว่าเราจะได้รับมือ ทำใจยอมรับความเปลี่ยนแปลงของคุณพ่อคุณแม่หรือผู้สูงวัยในบ้านได้ผาสุกยิ่งขึ้น
หัวข้อนี้ ถ้าเขียนในเชิงวิจัยคงต้องออกมาในทำนอง
การอยู่ร่วมกับผู้สูงอายุอย่างมีความสุข : ปัญหา ข้อจำกัด และการเตรียมความพร้อมเชิงกายภาพและจิตใจของสมาชิกในครอบครัว
ส่วนตัวดิฉันมีความสัมพันธ์ที่จัดได้ว่าดีกับผู้สูงวัยในครอบครัวทั้งทางฝั่งครอบครัวตัวเองและครอบครัวสามีนะคะ
แต่ไม่ได้แปลว่า ราบรื่นไปเสียหมด
คุยกับพี่สาว กับเพื่อน กับคนรู้จักหลายคน ก็พบปัญหาบางอย่างที่มีรูปแบบคล้าย ๆ กัน เลยขอ list มาชวนคุยกันแลกเปลี่ยนกันบางประเด็นนะคะ
1. พ่อแม่สูงวัยบางท่าน มีอาการ “รักคนไกล ระอาคนใกล้” ขอยกบางส่วนจากบทความนี้มาเลยค่ะ
https://www.visalo.org/article/Image255209.htm
ชื่นชม รักใคร่ ห่วงใย ลูกที่อยู่ไกล แต่กลับเห็นว่า ลูกที่อยู่ด้วยใกล้ตัว ไม่เข้าท่า ไม่น่ารัก ชอบขัดใจ แต่ลูกที่อยู่ไกลที่นาน ๆ มาเจอกันทีหนึ่ง จะรู้สึกรักเป็นพิเศษ เตรียมของดี ๆ ไว้ให้รับประทาน พูดจาด้วยดี ๆ ในขณะที่บางครอบครัว คุณพ่อคุณแม่สูงวัยดูจะเป็นไม้เบื่อไม้เมากับลูกที่อยู่ด้วยทุกวัน ทั้งที่เป็นคนปรนนิบัติดูแลพาไปหาหมอ
บางทีข้อนี้ เลยจะทำให้ลูก ๆ ที่ stationed อยู่กับพ่อแม่สูงวัยจะน้อยใจเป็นพิเศษ
2. หลายครอบครัว หนึ่งในความทุกข์และกังวลของผู้สูงวัย (โดยเฉพาะแม่) คือ การที่ลูกสาวเป็นโสด อันนี้ ถือเป็นข้อกังวลมากทีเดียว พี่สาวดิฉันซึ่งโสดและมีความสุขดี กับพี่อีกคนที่ก็เลยห้าแยกปากเกร็ดมาพอสมควรแล้ว ดูเธอก็มีความสุขดี วัน ๆ มีกิจการและกิจกรรมให้ทำทั้งวัน ทั้งส่วนตัวและเป็นงานเพื่อส่วนรวม แต่เธอก็เจอปัญหาคล้าย ๆ กันค่ะว่า คุณแม่ในวัย 90 กลุ้มใจและบ่นบ่อยมากว่า “ไหว้พระ ก็อยากขอพรให้ลูกมีคู่ครอง” สร้างความกดดันให้กับลูกอย่างมาก
ลูกที่โสด มักเต็มใจหรือถูกยัดเยียดให้ต้องเป็นฝ่ายรับภาระหนักในการอยู่ดูแลพ่อแม่ ไม่สามารถแยกบ้านออกไปได้ เพราะใคร ๆ ก็จะให้เหตุผลว่า “ก็เธอโสดนี่ ไม่มีภาระ”
แต่แย่ไปกว่านั้น คือ ในบางครอบครัว ผู้สูงวัย ก็ไม่ได้ซาบซึ้งกับการที่ลูกที่โสดอยู่ด้วยนะคะ
อย่างบ้านดิฉันเป็นต้น คุณแม่อยู่กับพี่สาวค่ะ
แม่ดิฉันมองว่า “ก็ไม่ได้อยากให้โสดนี่ ถ้าแต่งออกไปได้นี่จะยิ่งดีใจ แต่นี่โสด จะแยกบ้านไปได้อย่างไร ?”
3. ผู้สูงวัย มักคุ้นชินกับภาวะเดิม ๆ ทำให้บางครั้งไม่ปรับตัวกับสภาพทางกายภาพและจิตใจที่เปลี่ยนไป เฮ้อ... พูดซะวิชาการ
เอาตรง ๆ ก็คงต้องใช้คำว่า “ดื้อ” ค่ะ
นินทาแม่ตัวเองเลยละกัน แม่ดิฉันในวัย 90 กว่า ยังปฏิเสธการใช้ไม้เท้า และปฏิเสธการที่มีใครมาประคองเวลาเดินด้วยค่ะ ท่านบอกว่าไม่ถนัดเลย (หรือจริง ๆ อาจจะมีความภูมิใจในตัวเองเกินกว่าจะยอมรับความช่วยเหลือ)
อ้าว...แล้วเดินยังไง ?
หม่าม้าจะค่อย ๆ เดิน แล้วค่อย ๆ จับประตู เกาะราว ยึดทุกอย่างใกล้ตัว ประคองไป แต่จะไม่ยอมให้ใครประคอง (พยายามจะเข้าไปประคอง ก็จะโดนสะบัดมือทิ้งนะคะ) หรือไม่ยอมถือไม้เท้า ซึ่งอันนี้สร้างความอึดอัดและหวาดเสียวให้กับลูก ๆ มาก เพราะจับประตู ก็เสี่ยงประตูหนีบ หรือเกิดลมพัดมาพอดี โอยยยย...ไม่อยากจะนึกภาพ เกาะโน่น ยึดนี่แบบป่ายไปเรื่อยนี่ก็กลัวจะติดเชื้อ หรือมือไม่สะอาดอีก
รถเข็นก็ไม่ค่อยจะยอมนั่ง ทั้งที่ทุกคนยินดีและรอจะกางรถ และเข็นให้นั่งอย่างเต็มใจ
4. มีภาวะของความหลงลืม การขาดความสามารถในการควบคุมตัวเอง และบางครั้งมีอาการเครียด เพราะคิดมาก หรือคิดเองเออเองในบางเรื่องอย่างที่ไม่เคยเป็น
อันที่จริง ข้อนี้ ถือเป็นความเสื่อมทางร่างกายและจิตใจอย่างหนึ่งนะคะ
จะนับว่าเป็นโรคภัยไข้เจ็บทางจิตใจประการหนึ่งก็ได้ ทำให้ผู้สูงวัยบางคน ใช้คำพูด หรือมีการกระทำที่สร้างความอึดอัดให้กับคนรอบข้างอย่างเหลือเชื่อ เช่น โพล่งวิจารณ์อะไรบางอย่างออกมาชนิดที่เกินเส้นมารยาท หรือทำอะไรบางอย่างที่ทำให้ผู้ดูแล (หากไม่ใจกว้างจริง ๆ ) รู้สึกหน้าม้าน หรืออึดอัด ที่สำคัญไม่กล้าเล่าให้ใครฟังด้วย ยกตัวอย่าง แรง ๆ คือ บางท่านก็มีอาการพูดจาหรือการแสดงออกเชิงลามก
ความหลงลืม หรือ พยาธิสภาพของความชราบางอย่าง มันไม่ได้น่ารักน่าเอ็นดู เหมือนอย่างที่เราเห็นในละครเสมอไป กระทั่งผู้สูงวัยที่เคยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เคยมีหน้าที่การงานดีเลิศมาก่อน อยู่ในวงสังคมระดับสูง เมื่อต้องเผชิญกับความเสื่อมถอย ก็มีพฤติกรรมบางอย่างที่เราจะนึกปลงว่า ท่านเปลี่ยนไปได้ถึงเพียงนี้ เช่น ฉุนเฉียวอย่างไม่มีเหตุผล ใช้คำพูดหยาบคาย
ไม่แน่ใจว่า คนอื่น ๆ จะเคยเจออะไรทำนองนี้มากน้อยเพียงใดและรับมือกันอย่างไรบ้างคะ ?
บางท่านอาจจะพยายยามแก้ปัญหา ด้วยการเบี่ยงความสนใจและหากิจกรรมให้ผู้สูงอายุที่บ้านด้วยการสอนเล่นมือถือ หรือ เน็ต เพื่อที่จะพบว่า ท่านได้สร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาให้ต้องแก้ เพราะ สว.ที่บ้านเชื่อตำรายาเถื่อนตามข้อความในไลน์ ติดดูมือถือจนไม่หลับไม่นอน หรือเปิดช่องยูทูบเสียงดังทั้งวัน (ที่พูดมานี่ แม่อิชั้นทั้งนั้น)
ปล. ที่เขียนมานี่ ไม่ได้แปลว่า ไม่รักนะคะ
หลายคนไม่กล้าคุยปัญหานี้อย่างเปิดอก เพราะเกรงจะถูกหาว่าอตัญญู
แต่จริงๆ เพราะรัก เพราะดูแลใกล้ชิด เพราะใส่ใจอยู่ใกล้ และพยายามรวมเอาท่านเข้ามาในการดำเนินชีวิตปกติต่างหาก ทำให้เห็นปัญหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น