สวัสดีครับ รอบนี้ผมขอรีวิวภาพยนตร์รางวัลออสการ์กันคือ เรื่อง The Lighthouse (2019) จากค่าย A24 อีกแล้วครับท่าน ภาพยนตร์ประเภท Fantasy + Horror ผลงานของผู้กำกับ Robert Eggers ที่เคยฝากผลงานความสยองหลอนอันลื่อลั่นมาแล้วอย่าง The vvitch (2015) พร้อมกับแจ้งเกิดน้องจอย Anya Taylor Joy ได้อย่างสวยงาม พร้อมด้วยการถูกเสนอเข้าชิงรางวัล และ ได้รางวัลมาหลายสถาบันอีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้จะพูดถึง ชายฉกรรจ์ 2 คนที่ต้องมาทำหน้าที่เฝ้าประภาคารบนเกาะเล็ก ๆ เพียงลำพังท่ามกลางทะเลกว้างใหญ่ ทั้งคู่จะต้องทำความรู้จัก ศึกษาดูใจ ทำงานร่วมกัน รวมทั้งเผชิญหน้ากับสิ่งที่ไม่คาดคิดจากบรรยากาศรอบข้างอีก ทั้งคู่จะสามารถหนีรอดจากเกาะแห่งนี้ได้หรือไม่ ต้องลองพิสูจน์ด้วยตาตัวเองครับ
ยอมรับว่าผู้กำกับ Robert Eggers รู้วิธีในการปั่นหัวคนดูเล่นให้คิดว่าสิ่งไหนเป็นเรื่องจริง หรือ เรื่องไหนโกหกกันแน่ได้อยู่หมัด ด้วยการเล่าเรื่องที่นิ่ง ๆ อยู่แล้วเราไม่รู้เลยว่าแต่ละฉากจะมีอะไรปรากฎมาบ้าง จึงทำให้เกิดช่องโหว่ให้เราตกใจกับมันได้ง่าย ด้านนักแสดงนำหลัก มีแค่ 2 คนเท่านั้น คือ Willem Dafoe จาก Spider man (2002) และ Robert Pattinson จาก Twilight saga (2008 - 2012) (พี่ Robert ช่วงนี้งานดี ฝีมือเด่น ผมจะรีวิวแกบ่อยหน่อย) แสดงเหมือนไม่ได้แสดง ทั้งคู่ต่างรับส่งอินเนอร์ร่วมกันได้น่าขนลุก ปล่อยอารมณ์ ทั้งสุขุม เครียด ตลก บ้าบอ ด้วยลักษณะกริยา ท่าทาง คำพูดที่ไม่ได้รู้สึกตลกแต่น่ากลัวมากกว่า โดยเฉพาะพรี่ Robert คนนี้สุดมากจนไม่เหลือภาพลักษณ์พระเอกหน้าหล่อแบบ Twilight อย่างสิ้นเชิง ส่วนป๋า Wilem เล่นดีตามประสบการณ์ตามฝีมือของแกอยู่แล้ว ส่วนน้องนางเงือกที่แสดงโดย Valeriia Karaman จาก Egregor (2021) โผล่มาหลอนแว๊บ ๆ ให้ตกใจเป็นระยะ แต่เนื่องจากน้องสวยเลยให้อภัยได้ สิ่งที่โดดเด่นที่สุด คือ งานภาพใช้ความขาว-ดำให้ความลึกลับโบราณ บวกกับมุมกล้องถ่ายทอดถึงบรรยากาศแวดล้อมที่สร้างความเหงาปนหลอนแบบยุค 30’s – 40’s ในสไตล์โกธิค ผสมกับ Sounds ประกอบช่วยกระตุ้นความกลัว ความระแวงของมนุษย์ที่อาศัยในสถานที่โดดเดียวอย่างประภาคารที่ตั้งอยู่กลางทะเลโดดเดี่ยวนั่นเอง
อยากบอกว่าเรื่องนี้ไม่ค่อยเหมาะสำหรับคนที่ดูหนังสาย Mass ซะเท่าไหร่ เพราะ เป็นหนังไม่ได้สยองจ๋าตามสูตรสำเร็จหนังสยองขวัญทั่วไป แต่อาศัยจากการตีความจากสิ่งที่เห็นกันมากกว่า ยอมรับว่าดูไม่รู้เรื่องแต่สนุกนะ ดูเสร็จถึงกับต้องไปค้นหาดูตามเว็บต่าง ๆ ทันที คือ ความที่ภาพมันขาว-ดำก็ยิ่งกระตุ้นให้รู้สึกง่วงนอนอยู่แล้ว แถมบางช่วงก็เรียบซะจนไม่มีเสียงสัญญาณตอบรับใด ๆ ทำให้เกิดเบื่อ ๆ เร็วขึ้นไปอีก ส่วนที่พอจะเข้าใจอยู่ก็คือเราจะค่อย ๆ รู้ทีละนิดแล้วว่าบทสรุปมันจะออกมาประมาณนี้ ส่วนที่ไม่เข้าใจ คือ การลำดับเรื่องบางเหตุการณ์ตัดสลับจากฉากหนึ่งไปอีกฉากหนึ่งทันทีโดยไม่สนว่าคนดูจะคิดยังไง ทำให้ประติดประต่อเรื่องไม่ถูก ในใจคิดได้อย่างเดียวคือปล่อยให้เรื่องทำงานของมันไปดูเอาเพื่อเสพงานศิลป์ไม่ต้องคิดให้ปวดหัวอะไร ซึ่งนอกจากใช้สมาธิในการรับชมแล้ว ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องศาสนาคริสต์ ความเชื่อในเทพนิยายกรีกโบราณด้วยจึงจะสามารถเข้าใจในประเด็นที่หนังต้องการสื่อและจะทำให้เข้าใจมากขึ้น
เนื่องจากผมเคยดูหนังของผู้กำกับคนนี้มาแล้วในเรื่อง The vvitch บางอย่างจึงมีความคล้ายกันอยู่ไม่น้อย เช่น 1. ภาพขาวดำผสมเทา ( The vvitch ภาพสีแต่ออกฟ้าเทา / The lighthouse ภาพขาว ดำ) 2. เล่นประเด็นความเชื่อ ศาสนา (The vvitch แม่มด ภูตผี ซาตาน / The lighthouse เทพเจ้ากรีก เทพซุส โพไซดอน ) 3.สถานที่ห่างไกลเมือง (The vvitch อยู่บ้านกลางป่า / The lighthouse อยู่ประภาคารกลางทะเล ) 4.บทสนทนากล่าวเชิงสัญลักษณ์ 5.ดำเนินเรื่องก่อนยุค 1900 (The vvitch ประมาณ ค.ศ. 1630 / The lighthouse ค.ศ.1880 ) 6.ตัวละครมีเส้น Mood จากต่ำไปสูง 7.อยู่ในทวีปยุโรป 8.บทสรุปแบบปลายเปิดทั้งคู่ โดยข้อเปรียบเทียบทั้งหลายที่กล่าวมานี้จาก 2 เรื่องนี้จะเห็นว่า ความเชื่อในหลักศาสนาที่มีการอ้างอิงถึงเทพเจ้า วิชาไสยศาสตร์นั้นมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มายาวนาน การยึดหลักนับถือเป็นเครื่องช่วยยึดเหนี่ยวไม่ไห้มนุษย์ออกนอกทางไปทำในสิ่งที่ไม่ดี อยู่ในขอบเขตด้วยความศรัทธา ถ้าเราคิดดี ทำดี นับถือปฎิบัติในหลักคำสอนทางศาสนาก็จะได้ขึ้นสวรรค์ แต่ถ้าเราคิดร้าย ทำชั่ว หมกมุ่นในสิ่งอัปมงคล เราก็จะตกนรก โดยมีสิ่งที่ตัวชี้วัดนั่นก็คือ กรรม
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านรับชมแล้ว สามารถกด Like กด Share ได้ที่เพจ True id Intrend ของผมชื่อ EMCONCEPT เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
[CR] No.8 The Lighthouse : ความหลอน ยามวังเวง ด้วยสองมือของเรา
สวัสดีครับ รอบนี้ผมขอรีวิวภาพยนตร์รางวัลออสการ์กันคือ เรื่อง The Lighthouse (2019) จากค่าย A24 อีกแล้วครับท่าน ภาพยนตร์ประเภท Fantasy + Horror ผลงานของผู้กำกับ Robert Eggers ที่เคยฝากผลงานความสยองหลอนอันลื่อลั่นมาแล้วอย่าง The vvitch (2015) พร้อมกับแจ้งเกิดน้องจอย Anya Taylor Joy ได้อย่างสวยงาม พร้อมด้วยการถูกเสนอเข้าชิงรางวัล และ ได้รางวัลมาหลายสถาบันอีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้จะพูดถึง ชายฉกรรจ์ 2 คนที่ต้องมาทำหน้าที่เฝ้าประภาคารบนเกาะเล็ก ๆ เพียงลำพังท่ามกลางทะเลกว้างใหญ่ ทั้งคู่จะต้องทำความรู้จัก ศึกษาดูใจ ทำงานร่วมกัน รวมทั้งเผชิญหน้ากับสิ่งที่ไม่คาดคิดจากบรรยากาศรอบข้างอีก ทั้งคู่จะสามารถหนีรอดจากเกาะแห่งนี้ได้หรือไม่ ต้องลองพิสูจน์ด้วยตาตัวเองครับ
ยอมรับว่าผู้กำกับ Robert Eggers รู้วิธีในการปั่นหัวคนดูเล่นให้คิดว่าสิ่งไหนเป็นเรื่องจริง หรือ เรื่องไหนโกหกกันแน่ได้อยู่หมัด ด้วยการเล่าเรื่องที่นิ่ง ๆ อยู่แล้วเราไม่รู้เลยว่าแต่ละฉากจะมีอะไรปรากฎมาบ้าง จึงทำให้เกิดช่องโหว่ให้เราตกใจกับมันได้ง่าย ด้านนักแสดงนำหลัก มีแค่ 2 คนเท่านั้น คือ Willem Dafoe จาก Spider man (2002) และ Robert Pattinson จาก Twilight saga (2008 - 2012) (พี่ Robert ช่วงนี้งานดี ฝีมือเด่น ผมจะรีวิวแกบ่อยหน่อย) แสดงเหมือนไม่ได้แสดง ทั้งคู่ต่างรับส่งอินเนอร์ร่วมกันได้น่าขนลุก ปล่อยอารมณ์ ทั้งสุขุม เครียด ตลก บ้าบอ ด้วยลักษณะกริยา ท่าทาง คำพูดที่ไม่ได้รู้สึกตลกแต่น่ากลัวมากกว่า โดยเฉพาะพรี่ Robert คนนี้สุดมากจนไม่เหลือภาพลักษณ์พระเอกหน้าหล่อแบบ Twilight อย่างสิ้นเชิง ส่วนป๋า Wilem เล่นดีตามประสบการณ์ตามฝีมือของแกอยู่แล้ว ส่วนน้องนางเงือกที่แสดงโดย Valeriia Karaman จาก Egregor (2021) โผล่มาหลอนแว๊บ ๆ ให้ตกใจเป็นระยะ แต่เนื่องจากน้องสวยเลยให้อภัยได้ สิ่งที่โดดเด่นที่สุด คือ งานภาพใช้ความขาว-ดำให้ความลึกลับโบราณ บวกกับมุมกล้องถ่ายทอดถึงบรรยากาศแวดล้อมที่สร้างความเหงาปนหลอนแบบยุค 30’s – 40’s ในสไตล์โกธิค ผสมกับ Sounds ประกอบช่วยกระตุ้นความกลัว ความระแวงของมนุษย์ที่อาศัยในสถานที่โดดเดียวอย่างประภาคารที่ตั้งอยู่กลางทะเลโดดเดี่ยวนั่นเอง
อยากบอกว่าเรื่องนี้ไม่ค่อยเหมาะสำหรับคนที่ดูหนังสาย Mass ซะเท่าไหร่ เพราะ เป็นหนังไม่ได้สยองจ๋าตามสูตรสำเร็จหนังสยองขวัญทั่วไป แต่อาศัยจากการตีความจากสิ่งที่เห็นกันมากกว่า ยอมรับว่าดูไม่รู้เรื่องแต่สนุกนะ ดูเสร็จถึงกับต้องไปค้นหาดูตามเว็บต่าง ๆ ทันที คือ ความที่ภาพมันขาว-ดำก็ยิ่งกระตุ้นให้รู้สึกง่วงนอนอยู่แล้ว แถมบางช่วงก็เรียบซะจนไม่มีเสียงสัญญาณตอบรับใด ๆ ทำให้เกิดเบื่อ ๆ เร็วขึ้นไปอีก ส่วนที่พอจะเข้าใจอยู่ก็คือเราจะค่อย ๆ รู้ทีละนิดแล้วว่าบทสรุปมันจะออกมาประมาณนี้ ส่วนที่ไม่เข้าใจ คือ การลำดับเรื่องบางเหตุการณ์ตัดสลับจากฉากหนึ่งไปอีกฉากหนึ่งทันทีโดยไม่สนว่าคนดูจะคิดยังไง ทำให้ประติดประต่อเรื่องไม่ถูก ในใจคิดได้อย่างเดียวคือปล่อยให้เรื่องทำงานของมันไปดูเอาเพื่อเสพงานศิลป์ไม่ต้องคิดให้ปวดหัวอะไร ซึ่งนอกจากใช้สมาธิในการรับชมแล้ว ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องศาสนาคริสต์ ความเชื่อในเทพนิยายกรีกโบราณด้วยจึงจะสามารถเข้าใจในประเด็นที่หนังต้องการสื่อและจะทำให้เข้าใจมากขึ้น
เนื่องจากผมเคยดูหนังของผู้กำกับคนนี้มาแล้วในเรื่อง The vvitch บางอย่างจึงมีความคล้ายกันอยู่ไม่น้อย เช่น 1. ภาพขาวดำผสมเทา ( The vvitch ภาพสีแต่ออกฟ้าเทา / The lighthouse ภาพขาว ดำ) 2. เล่นประเด็นความเชื่อ ศาสนา (The vvitch แม่มด ภูตผี ซาตาน / The lighthouse เทพเจ้ากรีก เทพซุส โพไซดอน ) 3.สถานที่ห่างไกลเมือง (The vvitch อยู่บ้านกลางป่า / The lighthouse อยู่ประภาคารกลางทะเล ) 4.บทสนทนากล่าวเชิงสัญลักษณ์ 5.ดำเนินเรื่องก่อนยุค 1900 (The vvitch ประมาณ ค.ศ. 1630 / The lighthouse ค.ศ.1880 ) 6.ตัวละครมีเส้น Mood จากต่ำไปสูง 7.อยู่ในทวีปยุโรป 8.บทสรุปแบบปลายเปิดทั้งคู่ โดยข้อเปรียบเทียบทั้งหลายที่กล่าวมานี้จาก 2 เรื่องนี้จะเห็นว่า ความเชื่อในหลักศาสนาที่มีการอ้างอิงถึงเทพเจ้า วิชาไสยศาสตร์นั้นมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มายาวนาน การยึดหลักนับถือเป็นเครื่องช่วยยึดเหนี่ยวไม่ไห้มนุษย์ออกนอกทางไปทำในสิ่งที่ไม่ดี อยู่ในขอบเขตด้วยความศรัทธา ถ้าเราคิดดี ทำดี นับถือปฎิบัติในหลักคำสอนทางศาสนาก็จะได้ขึ้นสวรรค์ แต่ถ้าเราคิดร้าย ทำชั่ว หมกมุ่นในสิ่งอัปมงคล เราก็จะตกนรก โดยมีสิ่งที่ตัวชี้วัดนั่นก็คือ กรรม
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านรับชมแล้ว สามารถกด Like กด Share ได้ที่เพจ True id Intrend ของผมชื่อ EMCONCEPT เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้