สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ขอตอบยาวหน่อยนะครับ
ในบรรดาพลาสติกเชิงพาณิชย์
ถุงพลาสติกแบบ High density Polypropylene
หรือ "ถุงร้อน" ที่ทุกร้านใช้กัน เป็นพลาสติกที่ปลอดภัยที่สุดแล้วครับ
มันคือ Food grade plastic ทนความร้อนได้ 100 ℃
ซึ่งอาหารทั่วไปที่ตักขายกันจะร้อนน้อยกว่า 100 ℃ อยู่แล้ว
ดังนั้น จึงไม่มีการสลายตัวระดับโมเลกุลของเนื้อ Polypropylene
และที่เคยมีการพูดกันเรื่องสาร Bisphenol A (BPA) นั้น
BPA เป็นสารเคมีที่ใช้ในการผลิตพลาสติกหลายประเภท
แต่ปัจจุบันนี้ ก็ไม่มีการใช้ BPA ในกระบวนการผลิตถุงร้อน
พูดง่าย ๆ คือ High density Polypropylene นั้น
เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่ปราศจาก BPA
หรือ .... หากสมมุติว่ามี ผง หรือ เศษพลาสติกจากถุง
ปะปนในอาหาร แล้วเรากินเข้าไป
พวกผง Polypropylene เหล่านั้นจะไม่ถูกดูดซึม
ในระบบย่อยอาหารของกระเพาะ - ลำไส้เล็ก เลย
เพราะกรด HCL ในกรเพาะ และ เอนไซม์ในลำไส้เล็ก
ย่อย Polypropylene ไม่ได้ และ แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่
ก็ย่อยสลาย Polypropylene ไม่ได้
ดังนั้น พวกผง/เศษ Polypropylene จะออกกับอุจจาระ ครับ
ดังนั้น ท่าน จขกท.สบายใจได้เลย
เพิ่มเติม
พวกคำกล่าวที่ท่านคงเคยเห็น ว่า ....
- อาหารร้อนใส่ในถุงพลาสติกสามารถนำไปสู่มะเร็งได้หลายชนิด
- อาหารร้อนในถุงพลาสติก จะทำให้เนื้อพลาสติกปริมาณเล็กน้อย
ละลายเข้าไปในอาหาร
เป็นการกล่าวแบบมั่ว ๆ มีอคติแบบเต็ม ๆ
และไม่ได้อ้างอิงจากวิทยาศาสตร์เลย
ขอแถมเรื่อง "กล่องโฟม" ให้ด้วยนะครับ
กล่องโฟมใส่อาหารร้อน ๆ จากเตา ก็ไม่อันตรายนะ
กล่องโฟม ผลิตจากพลาสติก Polystyrene (PS)
นำมาฉีดขึ้นรูป และทำให้พองตัวเป็น texture ของโฟม
Polystyrene นั้น จะมีอุณหภูมิสลายตัว
(Degradation Temperature : Td)
ประมาณ 220 ℃ ซึ่งอาหารในกล่องที่ใส่มา
อย่างข้าวผัดร้อน ๆ จากเตา เนี่ย จะร้อนแค่ 80 - 85 ℃ เท่านั้น
ดังนั้น Polystyrene ที่ผิวกล่อง foam จะไม่สลายตัว (ไม่สลายพันธะ)
ให้สาร Styrene monomer ออกมาอย่างแน่นอนครับ
ส่วนเรื่องของ น้ำมัน หรือ อาหารทอดต่าง ๆ
ที่ร้อนจนละลายกล่อง foam ได้นั้น
ขอเรียนว่าอุณหภูมิระดับนี้ก็ยังไม่สามารถ
สลายพันธะ ของ Polystyrene ได้
ดังนั้น Styrene monomer ก็จะออกมาไม่ได้ ครับ
คือการละลาย น่ะ โฟมมันละลายแน่ตามที่เราเห็น ๆ กันอยู่
แต่เป็นการละลายที่ไม่มีการสลายพันธะ สิ่งที่ละลายออกมา
ก็ยังคงเป็น Polystyrene เช่นเดิม
อีกประเด็นหนึ่ง คือ สาร Styrene monomer
ที่จะเข้าขั้นอันตรายต่อร่างกายนั้นจะสูงถึง 5 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ขณะที่สาร Styrene monomer ตกค้างตามภาชนะโฟม
จากกระบวนการผลิตนั้น มีค่าต่ำมากจากเกณฑ์อันตราย
ในบรรดาพลาสติกเชิงพาณิชย์
ถุงพลาสติกแบบ High density Polypropylene
หรือ "ถุงร้อน" ที่ทุกร้านใช้กัน เป็นพลาสติกที่ปลอดภัยที่สุดแล้วครับ
มันคือ Food grade plastic ทนความร้อนได้ 100 ℃
ซึ่งอาหารทั่วไปที่ตักขายกันจะร้อนน้อยกว่า 100 ℃ อยู่แล้ว
ดังนั้น จึงไม่มีการสลายตัวระดับโมเลกุลของเนื้อ Polypropylene
และที่เคยมีการพูดกันเรื่องสาร Bisphenol A (BPA) นั้น
BPA เป็นสารเคมีที่ใช้ในการผลิตพลาสติกหลายประเภท
แต่ปัจจุบันนี้ ก็ไม่มีการใช้ BPA ในกระบวนการผลิตถุงร้อน
พูดง่าย ๆ คือ High density Polypropylene นั้น
เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่ปราศจาก BPA
หรือ .... หากสมมุติว่ามี ผง หรือ เศษพลาสติกจากถุง
ปะปนในอาหาร แล้วเรากินเข้าไป
พวกผง Polypropylene เหล่านั้นจะไม่ถูกดูดซึม
ในระบบย่อยอาหารของกระเพาะ - ลำไส้เล็ก เลย
เพราะกรด HCL ในกรเพาะ และ เอนไซม์ในลำไส้เล็ก
ย่อย Polypropylene ไม่ได้ และ แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่
ก็ย่อยสลาย Polypropylene ไม่ได้
ดังนั้น พวกผง/เศษ Polypropylene จะออกกับอุจจาระ ครับ
ดังนั้น ท่าน จขกท.สบายใจได้เลย
เพิ่มเติม
พวกคำกล่าวที่ท่านคงเคยเห็น ว่า ....
- อาหารร้อนใส่ในถุงพลาสติกสามารถนำไปสู่มะเร็งได้หลายชนิด
- อาหารร้อนในถุงพลาสติก จะทำให้เนื้อพลาสติกปริมาณเล็กน้อย
ละลายเข้าไปในอาหาร
เป็นการกล่าวแบบมั่ว ๆ มีอคติแบบเต็ม ๆ
และไม่ได้อ้างอิงจากวิทยาศาสตร์เลย
ขอแถมเรื่อง "กล่องโฟม" ให้ด้วยนะครับ
กล่องโฟมใส่อาหารร้อน ๆ จากเตา ก็ไม่อันตรายนะ
กล่องโฟม ผลิตจากพลาสติก Polystyrene (PS)
นำมาฉีดขึ้นรูป และทำให้พองตัวเป็น texture ของโฟม
Polystyrene นั้น จะมีอุณหภูมิสลายตัว
(Degradation Temperature : Td)
ประมาณ 220 ℃ ซึ่งอาหารในกล่องที่ใส่มา
อย่างข้าวผัดร้อน ๆ จากเตา เนี่ย จะร้อนแค่ 80 - 85 ℃ เท่านั้น
ดังนั้น Polystyrene ที่ผิวกล่อง foam จะไม่สลายตัว (ไม่สลายพันธะ)
ให้สาร Styrene monomer ออกมาอย่างแน่นอนครับ
ส่วนเรื่องของ น้ำมัน หรือ อาหารทอดต่าง ๆ
ที่ร้อนจนละลายกล่อง foam ได้นั้น
ขอเรียนว่าอุณหภูมิระดับนี้ก็ยังไม่สามารถ
สลายพันธะ ของ Polystyrene ได้
ดังนั้น Styrene monomer ก็จะออกมาไม่ได้ ครับ
คือการละลาย น่ะ โฟมมันละลายแน่ตามที่เราเห็น ๆ กันอยู่
แต่เป็นการละลายที่ไม่มีการสลายพันธะ สิ่งที่ละลายออกมา
ก็ยังคงเป็น Polystyrene เช่นเดิม
อีกประเด็นหนึ่ง คือ สาร Styrene monomer
ที่จะเข้าขั้นอันตรายต่อร่างกายนั้นจะสูงถึง 5 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ขณะที่สาร Styrene monomer ตกค้างตามภาชนะโฟม
จากกระบวนการผลิตนั้น มีค่าต่ำมากจากเกณฑ์อันตราย
แสดงความคิดเห็น
ความปลอดภัยของถุงร้อน เมื่อเทียบกับใบตอง, แก้ว, โลหะ แล้วอยู่ในระดับไหนครับ
เลยอยากรู้ว่า
1. จริงๆ แล้ว ถุงร้อนถือว่ามีความปลอดภัยสูงเทียบเท่าสเตนเลส หรือแก้วไหมครับ (คือไม่ต้องห่วงเรื่องการละลายปนเปื้อน)
2. ถ้าเทียบกับใบตองสมัยก่อน (ที่มักควบคุมความสะอาดไม่ได้ เช่นมีฝุ่นติดมาหรือไม่ ถึงจะใช้ผ้าเช็ดก็ตาม) ถุงร้อนถือว่าเป็นอย่างไร ผู้ผลิตเคยมีการเปรียบเทียบไหม
ทั้งนี้เพื่อหาคำตอบว่า ควรลดความกังวลและ Bias หรือควรกังวลต่อไป แล้วปฏิบัติตามที่เคยทำมาคือถูกต้องที่สุด ขอบคุณครับ