JJNY : ‘ก้าวไกล’ จัดทีมสู้กลับ ‘ส.ว.อุปกิต’│“ทวี”มั่นใจประชาชาติได้ 15 ที่นั่ง│กสม.ผิดหวังครม.│เชื่อรัสเซียยึดไม่สำเร็จ

‘ก้าวไกล’ จัดทีมกม.สู้กลับ ‘ส.ว.อุปกิต’ ขู่ ใช้อำนาจศาล เรียกพยานสอบเพิ่ม จนดิ้นไม่หลุด
https://www.matichon.co.th/politics/news_3829823
 
 
‘ก้าวไกล’ จัดทีมกม.สู้กลับ ‘ส.ว.อุปกิต’ ขู่ ใช้อำนาจศาล เรียกพยานสอบฟอกเงินยาเสพติดเพิ่ม จนดิ้นไม่หลุด
 
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี นายอุปกิต ปาจรียางกูร สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ฟ้อง นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก.ก. ฐานหมิ่นประมาท โดยการโฆษณาเรียกค่าเสียหาย 100 ล้านบาท เนื่องจากการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่เปิดข้อมูลว่า นายอุปกิต เกี่ยวข้องกับกระบวนการฟอกเงินยาเสพติด และให้ตึกเป็นที่ทำการ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ว่า

การถูกฟ้องร้องหลังการอภิปรายมีเกือบทุกครั้งที่พูดถึงผู้ที่ไม่ได้อยู่ในห้องประชุมสภาฯ ซึ่งก็ต้องสู้คดีไป เพราะเป็นการทำหน้าที่ได้สุจริต ไม่ได้มีเจตนาไปใส่ความใคร และมีข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ในชั้นศาล จึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลอะไร เมื่อมีการฟ้อง เราก็มีทนายสู้ อย่างไรก็ตาม การฟ้องมีหลายแบบ คือ การฟ้องเพื่อหวังผลแพ้ชนะ กับการฟ้องแก้เกี้ยว ต้องดูเนื้อฟ้องว่าเป็นอย่างไร การฟ้องของนายอุปกิต อาจจะยิ่งทำให้มีอำนาจในการออกหมายเรียกพยานเอกสาร และพยานวัตถุ จนสามารถสอบลึกลงไปอีก
 
สุดท้ายจะเป็นผลดีกับผู้ฟ้องหรือไม่ต้องดูกัน แต่อาจจะถอนฟ้องก็ได้ เพราะจำเลยสามารถสู้คดีได้อย่างเต็มที่ และอาศัยอำนาจศาลไปเรียกคนมาสอบ จนลึกกว่าเดิมหรือไม่ และจะได้เห็นว่า การฟ้องเรียกค่าเสียหาย 100 ล้านบาท จะคุ้มค่าหรือไม่ เพราะอาจจะไม่ชนะ จึงขอให้นายอุปกิตลองกลับไปทบทวนดู



“ทวี” มั่นใจประชาชาติได้ ส.ส. 15 ที่นั่งขึ้นไป เพราะงานสภาที่โดดเด่น
https://www.dailynews.co.th/news/2010838/

การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเร็วๆ นี้ พรรคประชาชาติ มีการส่งผู้สมัครในภาคใต้ไม่ต่ำกว่า 20 เขตเลือกตั้ง ที่มีการประกาศตัวไปแล้วใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 12 เขต เลือกตั้งใน จ.สงขลา พรรคส่งผู้สมัครในเขตเลือกตั้งที่ 7 และ 8 ซึ่งเป็นพื้นที่พรรคมีฐานเสียงสนับสนุนจากคนในพื้นที่

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.ปัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชน ซึ่งลงพื้นที่ช่วยผู้สมัคร ส.ส. ใน จ.สุราษฎร์ธานี และ นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเร็วๆ นี้ พรรคประชาชาติ มีการส่งผู้สมัครในภาคใต้ไม่ต่ำกว่า 20 เขตเลือกตั้ง ที่มีการประกาศตัวไปแล้วใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 12 เขตเลือกตั้ง ใน จ.สงขลา พรรคส่งผู้สมัครในเขตเลือกตั้งที่ 7 และ 8 ซึ่งเป็นพื้นที่พรรคมีฐานเสียงสนับสนุนจากคนในพื้นที่ และใน จ.สตูล ทั้ง 2 เขต ส่วนในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนขณะนี้มีผู้สมัครแล้วใน จ.นครศรีธรรมราช และ สุราษฎร์ธานี ส่วนพื้นที่อื่นๆ คณะกรรมการของพรรค อยู่ระหว่างการพิจารณา
 
พรรคประชาชาติ ไม่ใช่พรรคของคนมุสลิม อย่างที่บางฝ่ายเข้าใจ เพียงแต่ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา ในปี 2562 พรรคได้ ส.ส. ในพื้นที่ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 6 ที่นั่ง แต่พรรคประชาชาติ มีการเดินสายพบประชาชนในทุกจังหวัดของประเทศไทย รวมทั้ง กทม. เพื่อนำเสนอนโยบายของพรรค ที่เน้นการกำจัดการคอร์รัปชั่น แก้ปัญหาความเหลี่อมล้ำ การศึกษาที่เท่าเทียม และการจัดการศึกษาเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องรับผิดชอบ โดยเป็นการเรียนฟรี และประชาชนทุกคนต้องได้รับเงินสวัสดิการ เมื่ออายุ 60 ปี อย่างเท่าเทียม เกษตรกรทุกสาขาอาชีพ จะต้องได้รับการส่งเสริมและช่วยเหลือแบบถาวร เกษตรกรต้องมีที่ดินทำกินตามจำนวนสมาชิกของแต่ละครัวเรียน

ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาเรื่องของความไม่สงบ เรื่องของยาเสพติด เรื่องของการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เรื่องการส่งเสริมด้านอัตลักษณ์ของชาวมาลายู จะต้องได้รับการส่งเสริม ปัญหาความยากจน ต้องได้รับการแก้ไข และเรื่องของภาษามาลายู ต้องเป็นภาษาที่ 2 ของพื้นที่ รวมทั้งเรื่องของศาสนาที่เป็นหลักในการทำให้คนเป็นคนดี ซึ่งพรรคเน้นในการส่งเสริมศาสนาทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลามอย่างเท่าเทียม พรรคประชาชาติ เน้นในการส่งเสริมพหุวัฒนธรรม เพื่อให้ทุกคนในพื้นที่ไม่ว่าจะนับถือศาสนาอะไร ต้องได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ที่ผ่านมา พรรคประชาติ ได้รับการชื่นชมจากประชาชนในเรื่องบทบาทของ ส.ส. ในสภาผู้แทน ที่นำเสนอปัญหาเรื่องการคอร์รัปชั่น เช่นที่ดินที่เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ การให้สัมปทานเส้นทางรถไฟใน กทม. และการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายอีกหลายเรื่อง ที่ ส.ส.พรรคประชาชาติ “เกาะติด” และดำเนินการให้รัฐบาลแก้ไขอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัญหาปัญหาของของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งด้านการใช้งบประมาณของฝ่ายความมั่นคง และเรื่องผลกระทบกับประชาชนในการละเมิดสิทธิเสรีภาพ ความไม่เป็นธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น และประชาชนร้องเรียนขอความช่วยเหลือ ซึ่ง ส.ส. และผู้บริหารของพรรค จะลงพื้นที่ติดตามความเดือดร้อนและช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง
 
ดังนั้นในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคประชาชาติ จึงเชื่อมั่นว่า จะได้ ส.ส. ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากกว่าครั้งที่ผ่านมา และจะมี ส.ส. ใน จ.สงขลา สตูล นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ซึ่งผู้สมัครของพรรคได้เสียงตอบรับจากประชาชนที่ดีมาก



กสม. ผิดหวัง ครม. มีมติเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายป้องกันการทรมานและอุ้มหายออกไปอีก 7 เดือน
https://prachatai.com/journal/2023/02/102809
 
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ผิดหวัง ครม. มีมติเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายป้องกันการทรมานและอุ้มหายออกไปอีก 7 เดือน หวั่นกระทบความน่าเชื่อถือของประเทศในการคุ้มครองสิทธิประชาชน

เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2566 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และนายชนินทร์ เกตุปราชญ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ครั้งที่ 7/2566 โดยมี 3 วาระสำคัญดังนี้
 
1. กสม. เตรียมเสนอ ครม. สั่งการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหากรณีกรมธนารักษ์กำหนดให้ที่ดินแปลง “สนามยิงปืนทุ่งฟ้าผ่า” ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของราษฎร จ.จันทบุรี เป็นที่ราชพัสดุ
 
นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเมื่อต้นปี 2564 กรณีราษฎรในพื้นที่ตำบลท่าช้าง และตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ได้รับความเดือดร้อนจากการที่กรมธนารักษ์ และธนารักษ์พื้นที่จันทบุรี คัดค้านการออกโฉนดที่ดินแปลงสนามยิงปืนทุ่งฟ้าผ่า และประกาศให้ที่ดินแปลงดังกล่าวเนื้อที่กว่า 4,000 ไร่ เป็นที่ราชพัสดุ ทั้งที่ราษฎรได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวมาแล้วหลายชั่วอายุคน ทำให้ราษฎรกว่า 1,200 คน ได้รับความเดือดร้อน และยังถูกเร่งรัดให้เข้าสู่กระบวนการเช่าที่ดินราชพัสดุ โดย กสม. ได้ตรวจสอบและปรากฏข้อเท็จจริงว่าที่ดินแปลงหวงห้ามนี้ เคยมีบุคคลครอบครองทำประโยชน์มาก่อนตามที่ราษฎรกล่าวอ้าง ปัจจุบันราษฎรบางรายมีแบบการแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) มีโฉนดที่ดิน โฉนดตราจอง และเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ซึ่งจากการตรวจสอบและประชุมรับฟังข้อเท็จจริงเพื่อแก้ไขปัญหาข้อพิพาทร่วมกับทุกฝ่ายเมื่อเดือนมีนาคม 2564 ได้ข้อยุติร่วมกันว่า ธนารักษ์พื้นที่จังหวัดจันทบุรี ได้ชะลอการทำสัญญาเช่าไว้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 แล้ว จึงมีมติให้ยุติเรื่อง โดยในการตรวจสอบครั้งนั้น กสม. ได้มีข้อเสนอแนะต่อกรมธนารักษ์ ธนารักษ์พื้นที่จันทบุรี และจังหวัดจันทบุรี ให้จัดสรรงบประมาณ และอัตรากำลัง เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนที่ทางกายภาพที่ดินแปลง “สนามยิงปืนทุ่งฟ้าผ่า” เป็นกรณีเร่งด่วน พร้อมสอบสวนการได้มาของที่ดินแต่ละแปลงโดยให้ราษฎรผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน และหามาตรการแก้ไขปัญหาให้ราษฎรแต่ละกลุ่มที่ครอบครองที่ดินทั้งที่มีและไม่มีเอกสารหลักฐานอย่างเหมาะสม โดยในระหว่างการจัดทำแผนที่ทางกายภาพและการแก้ไขปัญหาการครอบครองที่ดินรายแปลงยังไม่แล้วเสร็จ ให้ชะลอการทำสัญญาเช่าที่ราชพัสดุไว้ก่อน ทั้งนี้ให้จังหวัดจันทบุรีกำกับดูแลการทำแผนที่กายภาพให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
 
กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ได้พิจารณาผลดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีดังกล่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อเสนอแนะของ กสม. โดยได้รับทราบว่า กรมธนารักษ์ได้อนุมัติงบประมาณสำหรับการจัดทำแผนที่ทางกายภาพที่ดินแปลงสนามยิงปืนทุ่งฟ้าผ่า สำนักงานธนารักษ์พื้นที่จันทบุรีได้สำรวจรังวัดจัดทำแผนที่ทางกายภาพเป็นกรณีเร่งด่วนตามที่กสม. ขอให้ดำเนินการ และได้ชะลอการทำสัญญาเช่าที่ราชพัสดุไว้ก่อนจนกว่าการแก้ไขปัญหาจะแล้วเสร็จ นอกจากนี้จังหวัดจันทบุรี ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนที่ทางกายภาพในที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นการเฉพาะแล้ว
 
อย่างไรก็ดี กสม. เห็นว่า ปัจจุบันระยะเวลาได้ล่วงเลยมาพอสมควร แต่การดำเนินการของกรมธนารักษ์ และสำนักงานธนารักษ์พื้นที่จันทบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาข้อพิพาทตามข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะของ กสม. ยังไม่เป็นที่ยุติ ที่ดินแปลงสนามยิงปืนทุ่งฟ้าผ่าไม่ได้อยู่ในพื้นที่เป้าหมายการแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐทับซ้อนกับแนวเขตที่ดินของประชาชน (One Map) และมีราษฎรที่จะได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ประกอบกับคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ได้ให้ความสำคัญกับกรณีพิพาทดังกล่าว ดังนั้น เพื่อเป็นการเร่งรัดการดำเนินการของส่วนราชการ จึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็วต่อไป

2. กสม. นับถอยหลังติดตามเป้าหมาย “การขจัดการไร้รัฐ” ในประเทศไทย ปี 2567

นายชนินทร์ เกตุปราชญ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการไร้รัฐ ไร้สัญชาติ มาอย่างต่อเนื่อง โดย กสม. ชุดปัจจุบัน ได้พิจารณาและกำหนดให้ประเด็น “สถานะบุคคล” เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่จะขับเคลื่อนและสร้างผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของ กสม.
 
จากการติดตามการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลในประเทศไทย พบว่า ตั้งแต่ปี 2548 รัฐบาลไทยใช้ความพยายามอย่างยิ่งในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อขจัดหรือลดการไร้รัฐไร้สัญชาติอย่างเป็นระบบ โดยมีพัฒนาการเชิงบวกทั้งการรับแจ้งเกิดและออกสูติบัตรแบบถ้วนทั่ว (universal birth registration) การพิจารณากำหนดสถานะบุคคลและให้สัญชาติกับบุตรของบุคคลที่เดินทางเข้าเมืองและมีความผสมกลมกลืนกับสังคมไทยในลักษณะต่าง ๆ และการอนุญาตให้สิทธิในการอยู่อาศัยและการเข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะการศึกษาและสุขภาพ โดยในปี 2557 รัฐบาลไทยได้ประกาศเป็นหุ้นส่วนที่ดีของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) โดยได้รับการหยิบยกเป็นตัวอย่างของภูมิภาคในการแก้ไขปัญหาและป้องกันการเกิดปัญหาบุคคลไร้รัฐในประเทศ พร้อมกับเข้าเป็นประเทศร่วมก่อตั้งและเป็นผู้นำในกลุ่ม Group of Friends (GoF) ของโครงการ Global Campaign to End Statelessness by 2024 (#IBelong Campaign) ของ UNHCR ซึ่งมีเป้าหมายขจัดปัญหาการไร้รัฐให้หมดไปภายใน 10 ปี คือ ในปี 2567 (ค.ศ. 2024) ด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่