กรมธนารักษ์ลุยปรับราคาประเมินที่ดินใหม่ทั่วไทย 32 ล้านโฉนด ประกาศใช้ 1 ม.ค. 59 นี้ รับนโยบายจัดเก็บภาษีที่ดินฯ เผยราคาที่ดินทั่วประเทศขยับขึ้น 10-15% แนวรถไฟฟ้าในเมืองฮอต"สีลม" ครองแชมป์แพงสุด แตะ 9 แสนถึง 1 ล้านบาท/ตร.ว. ที่ดินหัวเมืองใหญ่ "ภูเก็ต-เชียงใหม่-โคราช-ขอนแก่น" แข่งกันพุ่งขึ้น พื้นที่เขต ศก.พิเศษรับอานิสงส์เต็ม ๆ
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า วันที่ 1 ม.ค. 2559 กรมธนารักษ์จะประกาศราคาประเมินที่ดินฉบับใหม่ที่จะใช้ในอีก 4 ปีข้างหน้า รอบบัญชี 2559-2562 แม้รัฐบาลจะชะลอร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ...ออกไป ตามเป้าหมายมีแผนจะประเมินที่ดินเป็นรายแปลงให้ครบ 32 ล้านแปลง จากปัจจุบันทำไปแล้ว 8 ล้านแปลง โดยจะเร่งให้ครบ 100% ภายใน 1 ปี ซึ่งอาจไม่ทัน เพราะงบประมาณปี 2558 ตั้งไว้เพียง 200 ล้านบาท และไปตั้งในปีงบฯ 2559 อีกกว่า 2,000 ล้านบาท แต่ถ้าให้เสร็จปีนี้ต้องขอใช้งบฯกลาง หรือแปลงงบฯรายการอื่นมาใช้
สำหรับราคาประเมินที่ดินรอบนี้ ในส่วนกลางราคาไม่น่าขยับขึ้นมากนัก เนื่องจากประเมินเป็นรายแปลงอยู่แล้ว แต่ต่างจังหวัดจะปรับขึ้นพอสมควร เมื่อมีการประเมินเป็นรายแปลง จากเดิมประเมินรายบล็อก ซึ่งได้ราคาประเมินออกมาค่อนข้างต่ำ และการประเมินเป็นรายแปลงจะได้ราคาใกล้เคียงความจริงมากกว่าด้วย
แม้นายกรัฐมนตรีจะให้ชะลอภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกไป ก็ไม่เกี่ยวกับการทำงานของกรมธนารักษ์ เนื่องจากกรมมีหน้าที่ประเมินราคาที่ดินให้สะท้อนความเป็นจริง เพื่อช่วยให้สามารถเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เป็นฐานข้อมูลสำหรับการซื้อขายที่ดิน และให้สถาบันการเงินนำไปใช้
1 ม.ค. 59 ปรับราคาประเมินใหม่
แหล่งข่าวจากกรมธนารักษ์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่ากรมอยู่ระหว่างเร่งรัดสำรวจราคาที่ดินทั่วประเทศนำมาประเมินราคาใหม่ให้สอดรับกับสถานการณ์และสภาพพื้นที่ในปัจจุบัน โดยบางส่วนจะทยอยแล้วเสร็จและนำเสนอให้คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาราคาได้ตั้งแต่เดือน มิ.ย.นี้เป็นต้นไป
"การประเมินราคาที่ดินใหม่ชะลอไม่ได้ ต้องเร่งประเมินแบบรายแปลงทั่วประเทศ 32 ล้านแปลงให้เสร็จในปีครึ่ง ตามที่รัฐบาลให้โจทย์มา เพราะต้องเตรียมพร้อมในการนำมาประเมินเพื่อเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอนาคต ส่วนภาษีจะบังคับใช้หรือไม่เป็นเรื่องของรัฐบาล"
ทั้งนี้ ในอนาคตจะมีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นรายโฉนดว่า ผู้ถือครองแต่ละคนจะต้องเสียภาษีเท่าใด เจ้าของที่ดินเป็นใครบ้าง โดยนำราคาประเมินที่ดินเป็นรายแปลงมาเป็นฐานคำนวณการเสียภาษี ภายในสิ้นปี 2558 นี้ คาดว่าจะทำราคาประเมินที่ดินรายแปลงได้ 12 ล้านแปลง จากปัจจุบันอยู่ที่ 8 ล้านแปลง ส่วนใหญ่เป็นที่ดินต่างจังหวัด เนื่องจากในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ประเมินเป็นรายแปลงหมดแล้ว อีก 20 ล้านแปลงต้องดำเนินการให้เสร็จในปี 2560
ทำเลรถไฟฟ้ายังแพงสุด
แหล่งข่าวกล่าวว่า ภาพรวมราคาประเมินที่ดินทั่วประเทศฉบับใหม่จะปรับสูงขึ้น เมื่อเทียบกับราคาประเมินในรอบบัญชีปัจจุบัน ปี 2555-2558 โดยจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอย่างน้อย 10-15% ขึ้นไป จากรอบบัญชีปัจจุบันซึ่งราคาที่ดินทั่วประเทศปรับเพิ่มขึ้น 21.34% จากรอบบัญชีก่อนหน้านี้ แยกเป็นพื้นที่ กทม.ปรับขึ้น 17.13% และภูมิภาค 21.40% โดยพื้นที่ราคาประเมินปรับขึ้น อาทิ แนวรถไฟฟ้าทั้งสายเดิม เช่น ย่านสีลม บางแปลงปรับขึ้นถึงตารางวาละ 9 แสนบาท ถึง 1 ล้านบาท จากปัจจุบันราคาประเมินอยู่ที่ 8.5 แสนบาท/ตารางวา ขณะที่แปลงที่ดินในเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้าง เช่น สายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ สีม่วงช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ซึ่งเจริญเติบโตมากขึ้นก็ปรับสูงขึ้นเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้มีสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งราคาซื้อขายในตลาดปรับขึ้นไปล่วงหน้าแล้ว เพราะการจัดทำราคาประเมินกรมจะเก็บราคาซื้อขายย้อนหลัง 2 ปี ที่แจ้งจดทะเบียนกับกรมที่ดินเป็นหลัก โดยเฉลี่ยคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10-20% ขึ้นอยู่กับพื้นที่ สำหรับพื้นที่ใจกลางเมืองส่วนใหญ่ราคาที่ดินชนเพดานแล้ว
ขณะที่ที่ดินหลายจังหวัดในพื้นที่ภูมิภาค จุดที่ราคาประเมินการปรับเพิ่มขึ้น เช่น จังหวัดหัวเมืองหลัก เมืองใหญ่ เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น เป็นต้น รวมถึงจังหวัดติดชายแดนที่จะมีการพัฒนาเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น จ.ตาก มุกดาหาร ตราด สระแก้ว สงขลา หนองคาย
เปิดทำเลแชมป์ที่ดินราคาแพงสุด
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในส่วนของราคาประเมินที่ดินรอบบัญชี 2555-2558 บริเวณที่ราคาประเมินสูงสุดของประเทศอยู่ใน กทม. ได้แก่ ย่านถนนสีลม (แยกศาลาแดง-แยกนราธิวาส) ราคา 8.5 แสนบาท/ตารางวา ถนนราชดำริ (แยกราชประสงค์-คลองแสนแสบ) ถนนพระรามที่ 1 (แยกปทุมวัน-แยกราชประสงค์) ถนนเพลินจิต ตลอดสาย ตารางวาละ 8 แสนบาท ถนนราชดำริ (แยกศาลาแดง-แยกราชประสงค์) และถนนเยาวราช ตารางวาละ 7 แสนบาทตลอดทั้งสาย
ส่วนต่างจังหวัด จุดที่ราคาประเมินที่ดินสูงสุดของภาคใต้อยู่ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา บนถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 ถนนประชาธิปัตย์ และถนนเสน่หานุสรณ์ ตารางวาละ 4 แสนบาท ภาคเหนือ ถนนวิชยานนท์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ตารางวาละ 2.5 แสนบาท ภาคอีสาน ถนนศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ตารางวาละ 2 แสนบาท ภาคกลาง ถนนงามวงศ์วาน อ.เมือง จ.นนทบุรี, ถนนศรีสมุทร ถนนประโคนชัย ถนนด่านเก่า และถนนกายสิทธิ์ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ตารางวาละ 1.5 แสนบาท ภาคตะวันออก ถนนเลียบหาดพัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ตารางวาละ 1.5 แสนบาท ภาคตะวันตก ติดชายทะเลหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตารางวาละ 1.5 แสนบาท
บิ๊กตู่ชี้ภาษีที่ดินฯเพื่ออนาคต
ด้านความเคลื่อนไหวของรัฐบาล หลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศชะลอร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ให้กระทรวงการคลังศึกษาให้ชัดเจนอีกครั้ง ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ที่ดินฯเป็นภาษีเพื่ออนาคต วันนี้เห็นว่ายังเดือดร้อนจึงให้ชะลอไปนิดหนึ่งก่อน ต้องการให้อธิบายก่อนว่าโครงสร้างภาษีประเทศไทยเป็นอย่างไร
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า รายได้รัฐมาจากหลายทาง ส่วนหนึ่งคือภาษีเพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งภาษีมีหลายส่วน เช่น เงินงบประมาณส่วนกลาง ที่จะใช้พัฒนาประเทศทั้งหมด และขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นภาษีท้องที่ แนวคิดมาตรการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก็เพื่อเป็นรายได้ให้กับท้องถิ่น เพราะใช้กฎหมายเดิมมานานแล้ว จึงต้องปรับโครงสร้างการจัดเก็บภาษีให้เหมาะสมกับประเทศไทย และสถานการณ์ในตอนนี้ แต่จะปรับอย่างไรกำลังพิจารณา แต่ถ้าไม่มีการจัดเก็บภาษีส่วนนี้ เงินที่จะมาพัฒนาท้องถิ่นก็ไม่มี
รัฐควักให้ท้องถิ่น 2.6 แสนล้าน
"วันนี้รัฐต้องจ่ายเงินให้ อปท.ประมาณสองแสนหกหมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งเป็นเงินเพิ่มเติม เพราะ อปท.จัดเก็บรายได้ได้แค่ 15% หรือเจ็ดหมื่นกว่าล้านบาท เท่ากับในส่วนของ อปท.จะต้องใช้เงินจากการจัดเก็บภาษีสามแสนกว่าล้านบาท ดังนั้นถ้าไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้หรือเก็บได้น้อยลงเรื่อย ๆ ท้องถิ่นก็จะไม่มีเงิน รัฐจำเป็นต้องเอาเงินส่วนกลางไปให้ อปท. ทำให้เงินส่วนกลางที่ควรเอาไว้ลงทุนหรือทำอย่างอื่นหายไป" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
เมื่อถามว่าจะใช้เวลาทบทวนนานเท่าใด พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า จะทบทวนไปเรื่อย ๆ จะทบทวนทั้งระบบ และจะสร้างความเข้าใจกับประชาชนว่ามีภาษีอะไรบ้าง ภาษีนิติบุคคล ภาษีบุคคลธรรมดา ภาษีสรรพสามิต จะอธิบายทั้งโครงสร้างให้ประชาชนเข้าใจ ประเทศไทยเก็บภาษีต่ำที่สุดแล้ว ทั้งนี้ ก่อนจะมีมาตรการออกมาจะสร้างความเข้าใจก่อน
เมื่อถามว่าร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯจะออกมาประกาศใช้ได้ทันรัฐบาลนี้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "เดี๋ยวดูก่อน จะให้ผมอยู่แค่ไหนเล่า"
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า ปัจจุบัน อปท.มีการจัดเก็บภาษีอยู่แล้ว พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เป็นส่วนที่นำไปใช้คนละงานกัน ไม่ใช่มีเงินตรงไหนก็ใช้หมด มันมีกติกาอยู่ว่าเงินที่เก็บมาแล้วจะทำอะไรบ้าง มีวิธีเดียวคือต้องเอางบฯกลางเพิ่มเข้าไป ฉะนั้นต้องไปดูข้อกฎหมายว่าสามารถนำมาใช้ได้หรือไม่ แต่จำนวนเงินภาษีก็ไม่ได้มากมายอะไร
ชี้ภาษที่ดินส่งผลดีต่ออสังหาฯ
นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการ บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เปิดเผยว่า การที่นายกฯเลื่อนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ตนมองว่ากฎหมายฉบับนี้คงไม่มีแนวโน้มที่จะบังคับใช้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต แต่หากผลักดันประกาศใช้ได้จะส่งผลดีต่อดีเวลอปเปอร์ เพราะที่ดินจะมีการกระจายมากขึ้น อย่างที่ดินในทำเลสุขุมวิทซึ่งมีราคาแพง เจ้าของบางรายอาจจะปล่อยขายเพื่อลดภาระ จากที่ต้องแบกรับภาษีในอัตราที่สูง
นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ตัดสินใจชะลอการบังคับใช้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ถือว่าดี แม้ว่าประกาศใช้แล้วก็ยังไม่เก็บภาษีในทันที เพราะความคิดเห็นจากประชาชนช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับอัตราภาษี ส่วนใหญ่ออกมาคัดค้าน หากปล่อยไปอีกระยะหนึ่งจะกระทบความเชื่อมั่นผู้ซื้อที่อยู่อาศัย และเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจได้
ราคาที่ดินทั่วปท.ขยับ15% ประเมินใหม่32ล้านแปลง-รับกม.ภาษี
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า วันที่ 1 ม.ค. 2559 กรมธนารักษ์จะประกาศราคาประเมินที่ดินฉบับใหม่ที่จะใช้ในอีก 4 ปีข้างหน้า รอบบัญชี 2559-2562 แม้รัฐบาลจะชะลอร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ...ออกไป ตามเป้าหมายมีแผนจะประเมินที่ดินเป็นรายแปลงให้ครบ 32 ล้านแปลง จากปัจจุบันทำไปแล้ว 8 ล้านแปลง โดยจะเร่งให้ครบ 100% ภายใน 1 ปี ซึ่งอาจไม่ทัน เพราะงบประมาณปี 2558 ตั้งไว้เพียง 200 ล้านบาท และไปตั้งในปีงบฯ 2559 อีกกว่า 2,000 ล้านบาท แต่ถ้าให้เสร็จปีนี้ต้องขอใช้งบฯกลาง หรือแปลงงบฯรายการอื่นมาใช้
สำหรับราคาประเมินที่ดินรอบนี้ ในส่วนกลางราคาไม่น่าขยับขึ้นมากนัก เนื่องจากประเมินเป็นรายแปลงอยู่แล้ว แต่ต่างจังหวัดจะปรับขึ้นพอสมควร เมื่อมีการประเมินเป็นรายแปลง จากเดิมประเมินรายบล็อก ซึ่งได้ราคาประเมินออกมาค่อนข้างต่ำ และการประเมินเป็นรายแปลงจะได้ราคาใกล้เคียงความจริงมากกว่าด้วย
แม้นายกรัฐมนตรีจะให้ชะลอภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกไป ก็ไม่เกี่ยวกับการทำงานของกรมธนารักษ์ เนื่องจากกรมมีหน้าที่ประเมินราคาที่ดินให้สะท้อนความเป็นจริง เพื่อช่วยให้สามารถเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เป็นฐานข้อมูลสำหรับการซื้อขายที่ดิน และให้สถาบันการเงินนำไปใช้
1 ม.ค. 59 ปรับราคาประเมินใหม่
แหล่งข่าวจากกรมธนารักษ์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่ากรมอยู่ระหว่างเร่งรัดสำรวจราคาที่ดินทั่วประเทศนำมาประเมินราคาใหม่ให้สอดรับกับสถานการณ์และสภาพพื้นที่ในปัจจุบัน โดยบางส่วนจะทยอยแล้วเสร็จและนำเสนอให้คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาราคาได้ตั้งแต่เดือน มิ.ย.นี้เป็นต้นไป
"การประเมินราคาที่ดินใหม่ชะลอไม่ได้ ต้องเร่งประเมินแบบรายแปลงทั่วประเทศ 32 ล้านแปลงให้เสร็จในปีครึ่ง ตามที่รัฐบาลให้โจทย์มา เพราะต้องเตรียมพร้อมในการนำมาประเมินเพื่อเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอนาคต ส่วนภาษีจะบังคับใช้หรือไม่เป็นเรื่องของรัฐบาล"
ทั้งนี้ ในอนาคตจะมีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นรายโฉนดว่า ผู้ถือครองแต่ละคนจะต้องเสียภาษีเท่าใด เจ้าของที่ดินเป็นใครบ้าง โดยนำราคาประเมินที่ดินเป็นรายแปลงมาเป็นฐานคำนวณการเสียภาษี ภายในสิ้นปี 2558 นี้ คาดว่าจะทำราคาประเมินที่ดินรายแปลงได้ 12 ล้านแปลง จากปัจจุบันอยู่ที่ 8 ล้านแปลง ส่วนใหญ่เป็นที่ดินต่างจังหวัด เนื่องจากในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ประเมินเป็นรายแปลงหมดแล้ว อีก 20 ล้านแปลงต้องดำเนินการให้เสร็จในปี 2560
ทำเลรถไฟฟ้ายังแพงสุด
แหล่งข่าวกล่าวว่า ภาพรวมราคาประเมินที่ดินทั่วประเทศฉบับใหม่จะปรับสูงขึ้น เมื่อเทียบกับราคาประเมินในรอบบัญชีปัจจุบัน ปี 2555-2558 โดยจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอย่างน้อย 10-15% ขึ้นไป จากรอบบัญชีปัจจุบันซึ่งราคาที่ดินทั่วประเทศปรับเพิ่มขึ้น 21.34% จากรอบบัญชีก่อนหน้านี้ แยกเป็นพื้นที่ กทม.ปรับขึ้น 17.13% และภูมิภาค 21.40% โดยพื้นที่ราคาประเมินปรับขึ้น อาทิ แนวรถไฟฟ้าทั้งสายเดิม เช่น ย่านสีลม บางแปลงปรับขึ้นถึงตารางวาละ 9 แสนบาท ถึง 1 ล้านบาท จากปัจจุบันราคาประเมินอยู่ที่ 8.5 แสนบาท/ตารางวา ขณะที่แปลงที่ดินในเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้าง เช่น สายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ สีม่วงช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ซึ่งเจริญเติบโตมากขึ้นก็ปรับสูงขึ้นเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้มีสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งราคาซื้อขายในตลาดปรับขึ้นไปล่วงหน้าแล้ว เพราะการจัดทำราคาประเมินกรมจะเก็บราคาซื้อขายย้อนหลัง 2 ปี ที่แจ้งจดทะเบียนกับกรมที่ดินเป็นหลัก โดยเฉลี่ยคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10-20% ขึ้นอยู่กับพื้นที่ สำหรับพื้นที่ใจกลางเมืองส่วนใหญ่ราคาที่ดินชนเพดานแล้ว
ขณะที่ที่ดินหลายจังหวัดในพื้นที่ภูมิภาค จุดที่ราคาประเมินการปรับเพิ่มขึ้น เช่น จังหวัดหัวเมืองหลัก เมืองใหญ่ เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น เป็นต้น รวมถึงจังหวัดติดชายแดนที่จะมีการพัฒนาเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น จ.ตาก มุกดาหาร ตราด สระแก้ว สงขลา หนองคาย
เปิดทำเลแชมป์ที่ดินราคาแพงสุด
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในส่วนของราคาประเมินที่ดินรอบบัญชี 2555-2558 บริเวณที่ราคาประเมินสูงสุดของประเทศอยู่ใน กทม. ได้แก่ ย่านถนนสีลม (แยกศาลาแดง-แยกนราธิวาส) ราคา 8.5 แสนบาท/ตารางวา ถนนราชดำริ (แยกราชประสงค์-คลองแสนแสบ) ถนนพระรามที่ 1 (แยกปทุมวัน-แยกราชประสงค์) ถนนเพลินจิต ตลอดสาย ตารางวาละ 8 แสนบาท ถนนราชดำริ (แยกศาลาแดง-แยกราชประสงค์) และถนนเยาวราช ตารางวาละ 7 แสนบาทตลอดทั้งสาย
ส่วนต่างจังหวัด จุดที่ราคาประเมินที่ดินสูงสุดของภาคใต้อยู่ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา บนถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 ถนนประชาธิปัตย์ และถนนเสน่หานุสรณ์ ตารางวาละ 4 แสนบาท ภาคเหนือ ถนนวิชยานนท์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ตารางวาละ 2.5 แสนบาท ภาคอีสาน ถนนศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ตารางวาละ 2 แสนบาท ภาคกลาง ถนนงามวงศ์วาน อ.เมือง จ.นนทบุรี, ถนนศรีสมุทร ถนนประโคนชัย ถนนด่านเก่า และถนนกายสิทธิ์ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ตารางวาละ 1.5 แสนบาท ภาคตะวันออก ถนนเลียบหาดพัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ตารางวาละ 1.5 แสนบาท ภาคตะวันตก ติดชายทะเลหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตารางวาละ 1.5 แสนบาท
บิ๊กตู่ชี้ภาษีที่ดินฯเพื่ออนาคต
ด้านความเคลื่อนไหวของรัฐบาล หลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศชะลอร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ให้กระทรวงการคลังศึกษาให้ชัดเจนอีกครั้ง ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ที่ดินฯเป็นภาษีเพื่ออนาคต วันนี้เห็นว่ายังเดือดร้อนจึงให้ชะลอไปนิดหนึ่งก่อน ต้องการให้อธิบายก่อนว่าโครงสร้างภาษีประเทศไทยเป็นอย่างไร
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า รายได้รัฐมาจากหลายทาง ส่วนหนึ่งคือภาษีเพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งภาษีมีหลายส่วน เช่น เงินงบประมาณส่วนกลาง ที่จะใช้พัฒนาประเทศทั้งหมด และขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นภาษีท้องที่ แนวคิดมาตรการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก็เพื่อเป็นรายได้ให้กับท้องถิ่น เพราะใช้กฎหมายเดิมมานานแล้ว จึงต้องปรับโครงสร้างการจัดเก็บภาษีให้เหมาะสมกับประเทศไทย และสถานการณ์ในตอนนี้ แต่จะปรับอย่างไรกำลังพิจารณา แต่ถ้าไม่มีการจัดเก็บภาษีส่วนนี้ เงินที่จะมาพัฒนาท้องถิ่นก็ไม่มี
รัฐควักให้ท้องถิ่น 2.6 แสนล้าน
"วันนี้รัฐต้องจ่ายเงินให้ อปท.ประมาณสองแสนหกหมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งเป็นเงินเพิ่มเติม เพราะ อปท.จัดเก็บรายได้ได้แค่ 15% หรือเจ็ดหมื่นกว่าล้านบาท เท่ากับในส่วนของ อปท.จะต้องใช้เงินจากการจัดเก็บภาษีสามแสนกว่าล้านบาท ดังนั้นถ้าไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้หรือเก็บได้น้อยลงเรื่อย ๆ ท้องถิ่นก็จะไม่มีเงิน รัฐจำเป็นต้องเอาเงินส่วนกลางไปให้ อปท. ทำให้เงินส่วนกลางที่ควรเอาไว้ลงทุนหรือทำอย่างอื่นหายไป" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
เมื่อถามว่าจะใช้เวลาทบทวนนานเท่าใด พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า จะทบทวนไปเรื่อย ๆ จะทบทวนทั้งระบบ และจะสร้างความเข้าใจกับประชาชนว่ามีภาษีอะไรบ้าง ภาษีนิติบุคคล ภาษีบุคคลธรรมดา ภาษีสรรพสามิต จะอธิบายทั้งโครงสร้างให้ประชาชนเข้าใจ ประเทศไทยเก็บภาษีต่ำที่สุดแล้ว ทั้งนี้ ก่อนจะมีมาตรการออกมาจะสร้างความเข้าใจก่อน
เมื่อถามว่าร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯจะออกมาประกาศใช้ได้ทันรัฐบาลนี้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "เดี๋ยวดูก่อน จะให้ผมอยู่แค่ไหนเล่า"
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า ปัจจุบัน อปท.มีการจัดเก็บภาษีอยู่แล้ว พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เป็นส่วนที่นำไปใช้คนละงานกัน ไม่ใช่มีเงินตรงไหนก็ใช้หมด มันมีกติกาอยู่ว่าเงินที่เก็บมาแล้วจะทำอะไรบ้าง มีวิธีเดียวคือต้องเอางบฯกลางเพิ่มเข้าไป ฉะนั้นต้องไปดูข้อกฎหมายว่าสามารถนำมาใช้ได้หรือไม่ แต่จำนวนเงินภาษีก็ไม่ได้มากมายอะไร
ชี้ภาษที่ดินส่งผลดีต่ออสังหาฯ
นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการ บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เปิดเผยว่า การที่นายกฯเลื่อนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ตนมองว่ากฎหมายฉบับนี้คงไม่มีแนวโน้มที่จะบังคับใช้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต แต่หากผลักดันประกาศใช้ได้จะส่งผลดีต่อดีเวลอปเปอร์ เพราะที่ดินจะมีการกระจายมากขึ้น อย่างที่ดินในทำเลสุขุมวิทซึ่งมีราคาแพง เจ้าของบางรายอาจจะปล่อยขายเพื่อลดภาระ จากที่ต้องแบกรับภาษีในอัตราที่สูง
นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ตัดสินใจชะลอการบังคับใช้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ถือว่าดี แม้ว่าประกาศใช้แล้วก็ยังไม่เก็บภาษีในทันที เพราะความคิดเห็นจากประชาชนช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับอัตราภาษี ส่วนใหญ่ออกมาคัดค้าน หากปล่อยไปอีกระยะหนึ่งจะกระทบความเชื่อมั่นผู้ซื้อที่อยู่อาศัย และเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจได้