ท่านพระอาจารย์มั่นท่านสอนอย่างนี้เสมอ ลาภสักการะย่อมฆ่าคนโง่ที่หลงงมงายได้
ท่านสอนว่า “ถ่วงหัว ทุบหาง” เหมือนกับเวลาเขาดักสัตว์ในป่า เขาเอาก้อนหินเทินกันไว้แบบหมิ่นเหม่เอาไม้ค้ำไว้ ใส่เหยื่อเข้าไปวางไว้ กระรอก กระแต ลิง ค่าง อะไรพวกนี้เห็นอาหารนั้น ก็รีบวิ่งปรี่เข้าไปเอาเหยื่อด้วยความอยาก เมื่อเข้าไปกินเหยื่อจะวิ่งชนไม้ที่ค้ำก้อนหินที่วางดักนั้น ก้อนหินนั้นก็จะหล่นลงมาทุบหัวตาย ในที่สุดสัตว์เหล่านั้นก็เป็นอาหารของมนุษย์ผู้ซึ่งฉลาดกว่า ภาษาทางภาคอีสานเขาเรียกว่า “ดักอีทุบ” สัตว์ตัวไหนหลงเข้าไปในกลลวงที่เขาหลอก ก็มีแต่ตายอย่างทรมานเท่านั้น
*จิตปราดเปรียวตลอดทาง สมณะที่ออกเจริญสมณธรรมตามป่าตามเขาก็เช่นเดียวกัน ไปเจอเสียงเยินยอสรรเสริญว่าขลังอย่างนั้น ดีอย่างนี้ มีลาภสักการะ มีคนนับถือมากเข้าแล้วลืมตน ลืมพระธรรมคำสอนของครูบาอาจารย์ จิตใจไพล่ไปยินดีในปัจจัยสี่เหล่านั้น ก็จะถูกสิ่งเหล่านั้นทับหัวใจ ทุบหัวใจ ให้กลายเป็นผู้ไร้ศีลธรรม ไร้ยางอาย พิจารณาอะไร นั่งภาวนาอย่างไรก็ยกจิตไม่ขึ้น จิตนั้นถูกกดทับด้วยกิเลสอย่างหยาบ
เมื่อพิจารณาถึงคำสอนของท่านพระอาจารย์มั่นที่แว่วมาอยู่เรื่อยๆ จึงไม่เกี่ยวยุ่งด้วยผู้คน นำธรรมะที่ท่านสอนมาพิจารณาตีให้แตกด้วยอริยสัจสี่ คลี่คลายไม่ลดละ จิตตอนนั้นปราดเปรียวหมุนโดยอัตโนมัติ
เมื่อพิจารณาไปหลายๆ อย่างด้วยปัญญาสามัญธรรมดานี่แหละ “โอ!...เขาหาอยู่หากินตัวเป็นเกลียว อดอยากลำบากแค้นแสนทุกข์แสนทน... เราก็มาหาธรรมลำบากก็ต้องทนเพื่อลดทุกข์ ปลดเปลื้องใจ เขาหากิน เราหาธรรม เขาแสวงเรื่องโลก เราแสวงธรรม"
ตกพลบค่ำก็นั่งภาวนา ถ้ามีทางพอเดิน ก็เดินจงกรม เผื่อว่าจะได้ไม่เก้อเขินเมื่อท่านพระอาจารย์มั่นทักถามเรื่องธรรมปฏิบัติ คือกลัวท่านดุเอา ว่าออกไปไม่ตั้งใจปฏิบัติ
หนักปัจจัยสี่ ไปที่ไหนรกรุงรัง
ท่านสอนว่า “ถ่วงหัว ทุบหาง” เหมือนกับเวลาเขาดักสัตว์ในป่า เขาเอาก้อนหินเทินกันไว้แบบหมิ่นเหม่เอาไม้ค้ำไว้ ใส่เหยื่อเข้าไปวางไว้ กระรอก กระแต ลิง ค่าง อะไรพวกนี้เห็นอาหารนั้น ก็รีบวิ่งปรี่เข้าไปเอาเหยื่อด้วยความอยาก เมื่อเข้าไปกินเหยื่อจะวิ่งชนไม้ที่ค้ำก้อนหินที่วางดักนั้น ก้อนหินนั้นก็จะหล่นลงมาทุบหัวตาย ในที่สุดสัตว์เหล่านั้นก็เป็นอาหารของมนุษย์ผู้ซึ่งฉลาดกว่า ภาษาทางภาคอีสานเขาเรียกว่า “ดักอีทุบ” สัตว์ตัวไหนหลงเข้าไปในกลลวงที่เขาหลอก ก็มีแต่ตายอย่างทรมานเท่านั้น
*จิตปราดเปรียวตลอดทาง สมณะที่ออกเจริญสมณธรรมตามป่าตามเขาก็เช่นเดียวกัน ไปเจอเสียงเยินยอสรรเสริญว่าขลังอย่างนั้น ดีอย่างนี้ มีลาภสักการะ มีคนนับถือมากเข้าแล้วลืมตน ลืมพระธรรมคำสอนของครูบาอาจารย์ จิตใจไพล่ไปยินดีในปัจจัยสี่เหล่านั้น ก็จะถูกสิ่งเหล่านั้นทับหัวใจ ทุบหัวใจ ให้กลายเป็นผู้ไร้ศีลธรรม ไร้ยางอาย พิจารณาอะไร นั่งภาวนาอย่างไรก็ยกจิตไม่ขึ้น จิตนั้นถูกกดทับด้วยกิเลสอย่างหยาบ
เมื่อพิจารณาถึงคำสอนของท่านพระอาจารย์มั่นที่แว่วมาอยู่เรื่อยๆ จึงไม่เกี่ยวยุ่งด้วยผู้คน นำธรรมะที่ท่านสอนมาพิจารณาตีให้แตกด้วยอริยสัจสี่ คลี่คลายไม่ลดละ จิตตอนนั้นปราดเปรียวหมุนโดยอัตโนมัติ
เมื่อพิจารณาไปหลายๆ อย่างด้วยปัญญาสามัญธรรมดานี่แหละ “โอ!...เขาหาอยู่หากินตัวเป็นเกลียว อดอยากลำบากแค้นแสนทุกข์แสนทน... เราก็มาหาธรรมลำบากก็ต้องทนเพื่อลดทุกข์ ปลดเปลื้องใจ เขาหากิน เราหาธรรม เขาแสวงเรื่องโลก เราแสวงธรรม"
ตกพลบค่ำก็นั่งภาวนา ถ้ามีทางพอเดิน ก็เดินจงกรม เผื่อว่าจะได้ไม่เก้อเขินเมื่อท่านพระอาจารย์มั่นทักถามเรื่องธรรมปฏิบัติ คือกลัวท่านดุเอา ว่าออกไปไม่ตั้งใจปฏิบัติ