แตกประเด็นจาก
https://ppantip.com/topic/41859583
.
ก่อนอื่น ทักทายคุณธันวา สักนิดนะครับ
เพราะคุณธันวาเคยเล่นบอร์ดราชดำเนินอยู่ช่วงหนึ่งนานทีเดียว ในนามล็อคอิน TFEX
และถกเถียง ถกแย้งกับคนหล่ออย่างผม ล็อคอิน ตระกองขวัญ อยู่เป็นประจำ อันเป็นเรื่องธรรมดาของความเห็นต่างกัน
วันนี้ เห็นคุณธันวา เขียนถึงเรื่อง ตะวัน แบมม อดข้าวอดน้ำ
ซึ่งผมเห็นว่า คุณธันวา "หลงประเด็น" อย่างแรง และ "เข้าใจผิด" เนื้อหาการเรียกร้องของน้องสองคนอย่างมาก
เลยตั้งกระทู้นี้ครับ
.
คุณธันวา เขียนเพจว่า
...น้องและเพื่อนๆทำผิดกฎหมายชัดเจน สถาบันและศาลไม่เคยไปคุกคามหรือกลั่นแกล้งใครตามม.112
แต่พวกน้องต่างหากที่วิ่งเข้าใส่และจงใจฝ่าฝืน แถมยังเป็นการทำผิดซ้ำๆซากๆ เหมือนไม่มีจิตสำนึกว่าควรเคารพกฎหมาย
หากไม่เห็นด้วยก็เข้าสู่กระบวนการแก้ไขให้ได้ ไม่ใช่เอาชีวิตมากดดัน ชี้นิ้วใส่หน้าคนอื่นว่าไม่ยุติธรรม แต่ลืมมองตัวเองว่าเอาแต่ใจ...
.
ผิดมากครับ ผิดทั้งประเด็นและเนื้อหาที่ตะวันและแบมเอาชีวิตเข้าแลก
ไม่น่าเชื่อนะครับ ว่าคุณธันวาจะไม่รับรู้เนื้อหาและประเด็นที่น้องสองคนเขาเอาชีวิตเข้าแลกเรียกร้อง
ขอแยกสนทนาเป็นข้อ ๆ จากที่คุณธันวาเขียนไว้นะครับ
1. เรื่องผิดกฎหมายชัดเจน
ตรงนี้ เริ่มต้นก็ผิดแล้วครับ ในทางหลักการ จะผิดหรือไม่ ต้องรอคำพิพากษาอันถึงที่สุดครับ
รัฐธรรมนูญก็บัญญัติไว้ ว่าผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลย คือผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่าผิด
และทีสำคัญ รัฐธรรมนูญยังบอกอีกว่า จะปฏิบัติต่อผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยอย่างผู้กระทำผิดมิได้ และมีกฎหมายเรื่องการประกันตัวไว้ชัด
การที่คุณธันวา ชี้ว่า ผิดกฎหมายชัดเจน คุณธันวาทำตัวเป็นกฎหมายซะเองไปแล้วนะครับ
เรื่องแบบนี้ เป็นเรื่องข้อกฎหมาย ก็ต้องใช้วิธีคิดบนพื้นฐานทางกฎหมาย ไม่ใช่เอาเรื่องความรู้สึก ความเห็น มาใช้
.
2. เรื่องการกลั่นแกล้ง
คุณธันวาต้องตระหนักนะครับ ว่าอะไรก็ตาม หากไม่มีความเป็นธรรม ผู้ถูกกระทำย่อมเหมือนถูกกลั่นแกล้ง
คนทั่วไป เห็นเรื่องราว เห็นเหตุการณ์ ก็ย่อมพิจารณาได้ว่า เรื่องราวนั้น เหตุการณ์นั้น เป็นธรรมหรือไม่ เหมือนรังแกกลั่นแกล้งหรือไม่
ให้คุณธันวาพิจารณาด้วยใจเป็นธรรมนะครับ ด้วยการไปดูประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 112 115
ตอนนี้ มีเสียงเรียกร้องเหลือเกินครับ เรียกร้องให้ศาลทำตามกฎหมาย
เพราะดุลพินิจของศาลเรื่องการปล่อยตัวชั่วคราวนี่ สร้างความเคลือบแคลงมากครับว่าเหมาะสมและเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องที่ศาลลงมาทำเรื่องถอนประกันเอง ทั้งที่ไม่มีกฎหมายรองรับให้อำนาจหน้าที่ไว้
.
3. การทำผิดซ้ำ ๆ ซาก ๆ
นี่โยงไปข้อ 1 ครับ แสดงความเห็นเรื่องกฎหมาย ต้องอยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย
อย่างที่ว่ากันโดยทั่วไปนั่นแหละครับ ต่อให้ยิงคนตายกลางตลาด คนเห็นเป็นร้อย แต่ศาลท่านไม่ได้เห็นด้วย
ศาลท่านพิจารณาไปตามพยายหลักฐาน จะผิดหรือไม่ผิด ก็ว่ากันไปตามนั้น เป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมายครับ อย่าลืม
ตัวอย่างตะวัน เธอเคยบอกเล่าว่า ต่อหน้าศาลที่ไม่ให้เธอประกันตัว
ศาลพูดว่า คุณไปอยู่ตรงนั้นก็ผิดแล้ว ไม่ให้ประกันตัว ซึ่งตะวันรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม
และพอได้ประกันตัว ก็มีเงื่อนไขที่ล้นเกิน ออกจากบ้านไม่ได้ ชีวิตเหมือนติดคุกที่บ้าน สิทธิเสรีภาพโดนริดลอนไปสิ้น
การวางเงื่อนไขในการประกันตัวว่า ห้ามไปกระทำผิดซ้ำ ผิดอย่างยิ่งครับ
เพราะศาลเองยังไม่ได้ตัดสินเลยว่าผิด แต่กลับบอกว่า ห้ามไปกระทำผิดซ้ำ หมายความว่าอย่างไรครับ ?
อีกหลายกรณี
.
4. ไม่เห็นด้วยก็เข้าสู่กระบวนการแก้ไข
คุณธันวา ครับ การร้องขอความเป็นธรรมไม่ใช่ไม่มีนะครับ มี และเรียกร้องจนเหนื่อยใจ
ถึงที่สุด ก็ต้องใช้สันติวิธี ด้วยการอดอาหาร อดอาหารและน้ำ แบบเอาชีวิตเข้าแลก
ข้อเรียกร้องของน้องตะวันและแบม ไม่ใช่ข้อเรียกร้องที่เกินเลย ไม่ใช่การเอาแต่ใจ
แต่เป็นการเรียกร้องเพื่อร้องขอความเป็นธรรม และเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญให้การรับรองและปกป้องไว้แล้วเท่านั้น
คุณธันวา ควรไปดู พิจารณา ว่าตะวัน แบม เขามีหลักคิดในการเอาชีวิตเข้าแลกยังไง
อย่าสรุปคิดง่าย ๆ แบบสลิ่ม ที่ใช้แค่อคตินำทาง ไม่พยายามทำความเข้าใจอะไรเลย
การเอาชีวิตเข้าแลกตอนนี้ นี่แหละครับ น้องเขากำลังร้องขอการเข้าสู่กระบวนการแก้ไข
.
.
ตอนนี้ น้องสองคนอาการหนัก หากไม่ตายก็เสี่ยงต่อความพิการ
คุณธันวา ครับ เด็กสองคน อายุรวมกันไม่ถึง 50 แต่ความคิดเขายิ่งใหญ่
เขายืนอยู่บนหลักเหตุผล และเป็นเหตุผลที่ถูกต้องตามหลักการ เพียงแต่ขัดอารมณ์ความรู้สึกของคนไม่พอใจ
สมควรเหรอครับ ที่เขาต้องโดนความไม่เป็นธรรมลงโทษ กดข่ม รังแก กักขังอิสระภาพ ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพ ทำลายความเป็นคน
ผู้พิพากษาหนึ่งคน ยิงตัวตายถึงสองครั้ง เพื่อกระตุ้นให้กระบวนการยุติธรรมตื่น
และตอนนี้ เด็กสองคน กำลังยอมสละแม้ชีวิต เพื่อให้สังคมหันมาเห็นความไม่เป็นธรรมที่ไม่ควรเกิดขึ้น
คุณธันวา ว่าเป็นเรื่องประชด กดดัน เอาแต่ใจ อย่างนั้นเหรอครับ
.
คุณธันวา ลองไปศึกษาพัฒนาการของ 112 นะครับ
ง่าย ๆ เลย ดูในช่วง 2477 - 2499 ว่าตอนนั้นกฎหมายบัญญัติไว้อย่างไร ทำไมกฎหมายอยู่ได้ตั้งยี่สิบกว่าปีไม่มีผลเสียหาย
แต่พอแก้ไขกฎหมายในปี 2499 และอีกครั้งเรื่องเพิ่มโทษในปี 2519 ผลเสียหายก็เกิด ความขัดแย้งและปัญหาสังคมก็ขยายขึ้นเรื่อย ๆ
ลองไปดูนะครับ เพื่อศึกษาทำความเข้าใจว่า อะไรควรเป็น ควรเหมาะสมที่สุด
ไม่ใช่เอาแต่เย้ว ๆ แบบสลิ่มว่า ไม่เคยรักแกใคร ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน
ล่าสุด ครูใหญ่ชนะคดีหมิ่นประมาทปารีณา โดนปารีณาเอาคืนด้วยการแจ้ง 112
นี่แหละครับ คือหนึ่งของปัญหากฎหมายมาตรานี้
นะครับ
ถึงคุณธันวา ไกรฤกษ์ จาก ตระกองขวัญ
เพราะคุณธันวาเคยเล่นบอร์ดราชดำเนินอยู่ช่วงหนึ่งนานทีเดียว ในนามล็อคอิน TFEX
และถกเถียง ถกแย้งกับคนหล่ออย่างผม ล็อคอิน ตระกองขวัญ อยู่เป็นประจำ อันเป็นเรื่องธรรมดาของความเห็นต่างกัน
วันนี้ เห็นคุณธันวา เขียนถึงเรื่อง ตะวัน แบมม อดข้าวอดน้ำ
ซึ่งผมเห็นว่า คุณธันวา "หลงประเด็น" อย่างแรง และ "เข้าใจผิด" เนื้อหาการเรียกร้องของน้องสองคนอย่างมาก
เลยตั้งกระทู้นี้ครับ
ไม่น่าเชื่อนะครับ ว่าคุณธันวาจะไม่รับรู้เนื้อหาและประเด็นที่น้องสองคนเขาเอาชีวิตเข้าแลกเรียกร้อง
ขอแยกสนทนาเป็นข้อ ๆ จากที่คุณธันวาเขียนไว้นะครับ
1. เรื่องผิดกฎหมายชัดเจน
ตรงนี้ เริ่มต้นก็ผิดแล้วครับ ในทางหลักการ จะผิดหรือไม่ ต้องรอคำพิพากษาอันถึงที่สุดครับ
รัฐธรรมนูญก็บัญญัติไว้ ว่าผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลย คือผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่าผิด
และทีสำคัญ รัฐธรรมนูญยังบอกอีกว่า จะปฏิบัติต่อผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยอย่างผู้กระทำผิดมิได้ และมีกฎหมายเรื่องการประกันตัวไว้ชัด
การที่คุณธันวา ชี้ว่า ผิดกฎหมายชัดเจน คุณธันวาทำตัวเป็นกฎหมายซะเองไปแล้วนะครับ
เรื่องแบบนี้ เป็นเรื่องข้อกฎหมาย ก็ต้องใช้วิธีคิดบนพื้นฐานทางกฎหมาย ไม่ใช่เอาเรื่องความรู้สึก ความเห็น มาใช้
คุณธันวาต้องตระหนักนะครับ ว่าอะไรก็ตาม หากไม่มีความเป็นธรรม ผู้ถูกกระทำย่อมเหมือนถูกกลั่นแกล้ง
คนทั่วไป เห็นเรื่องราว เห็นเหตุการณ์ ก็ย่อมพิจารณาได้ว่า เรื่องราวนั้น เหตุการณ์นั้น เป็นธรรมหรือไม่ เหมือนรังแกกลั่นแกล้งหรือไม่
ให้คุณธันวาพิจารณาด้วยใจเป็นธรรมนะครับ ด้วยการไปดูประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 112 115
ตอนนี้ มีเสียงเรียกร้องเหลือเกินครับ เรียกร้องให้ศาลทำตามกฎหมาย
เพราะดุลพินิจของศาลเรื่องการปล่อยตัวชั่วคราวนี่ สร้างความเคลือบแคลงมากครับว่าเหมาะสมและเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องที่ศาลลงมาทำเรื่องถอนประกันเอง ทั้งที่ไม่มีกฎหมายรองรับให้อำนาจหน้าที่ไว้
นี่โยงไปข้อ 1 ครับ แสดงความเห็นเรื่องกฎหมาย ต้องอยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย
อย่างที่ว่ากันโดยทั่วไปนั่นแหละครับ ต่อให้ยิงคนตายกลางตลาด คนเห็นเป็นร้อย แต่ศาลท่านไม่ได้เห็นด้วย
ศาลท่านพิจารณาไปตามพยายหลักฐาน จะผิดหรือไม่ผิด ก็ว่ากันไปตามนั้น เป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมายครับ อย่าลืม
ตัวอย่างตะวัน เธอเคยบอกเล่าว่า ต่อหน้าศาลที่ไม่ให้เธอประกันตัว
ศาลพูดว่า คุณไปอยู่ตรงนั้นก็ผิดแล้ว ไม่ให้ประกันตัว ซึ่งตะวันรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม
และพอได้ประกันตัว ก็มีเงื่อนไขที่ล้นเกิน ออกจากบ้านไม่ได้ ชีวิตเหมือนติดคุกที่บ้าน สิทธิเสรีภาพโดนริดลอนไปสิ้น
การวางเงื่อนไขในการประกันตัวว่า ห้ามไปกระทำผิดซ้ำ ผิดอย่างยิ่งครับ
เพราะศาลเองยังไม่ได้ตัดสินเลยว่าผิด แต่กลับบอกว่า ห้ามไปกระทำผิดซ้ำ หมายความว่าอย่างไรครับ ?
อีกหลายกรณี
คุณธันวา ครับ การร้องขอความเป็นธรรมไม่ใช่ไม่มีนะครับ มี และเรียกร้องจนเหนื่อยใจ
ถึงที่สุด ก็ต้องใช้สันติวิธี ด้วยการอดอาหาร อดอาหารและน้ำ แบบเอาชีวิตเข้าแลก
ข้อเรียกร้องของน้องตะวันและแบม ไม่ใช่ข้อเรียกร้องที่เกินเลย ไม่ใช่การเอาแต่ใจ
แต่เป็นการเรียกร้องเพื่อร้องขอความเป็นธรรม และเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญให้การรับรองและปกป้องไว้แล้วเท่านั้น
คุณธันวา ควรไปดู พิจารณา ว่าตะวัน แบม เขามีหลักคิดในการเอาชีวิตเข้าแลกยังไง
อย่าสรุปคิดง่าย ๆ แบบสลิ่ม ที่ใช้แค่อคตินำทาง ไม่พยายามทำความเข้าใจอะไรเลย
การเอาชีวิตเข้าแลกตอนนี้ นี่แหละครับ น้องเขากำลังร้องขอการเข้าสู่กระบวนการแก้ไข