ชาวบ้านลุกฮือ ต้านคันดินรถไฟความเร็วสูง ชี้กระทบวิถีชีวิต วอนเห็นใจ-เดือดร้อน
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7496567
นครราชสีมา ชาวบ้านกุดจิกสูงเนินลุกฮือ ไม่เอาภูเขาคันดินโครงการรถไฟความเร็วสูง ชี้กระทบวิถีชีวิตประชาชน วอนเจ้ากระทรวงเห็นใจ เดือดร้อนจากเมกะโปรเจกต์
7 ก.พ. 66 – ชาวบ้านตำบลกุดจิก อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา กว่า 100 คน ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง นำโดย น.ส.จันทินา อัครปรีดี ตัวแทนราษฏรผู้ได้รับผลกระทบ นาย
วัธวุฒิ คลาดสูงเนิน นายก อบต.กุดจิก ได้ชุมนุมเรียกร้องให้หยุดดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วง กุดจิก-โคกกรวด ตัดผ่านพื้นที่ตำบลกุดจิก ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร เนื่องจากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้างแบบคันดิน
น.ส.
จันทินา เปิดเผยว่า จากกรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย มีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วง กุดจิก-โคกกรวด ตัดผ่านพื้นที่ตำบลกุดจิก โดยการก่อสร้างเป็นคันทางรถไฟระดับดินทั้งหมด เป็นระยะทาง 9.5 กิโลเมตร ซึ่งผู้รับเหมาได้ลงพื้นที่และเริ่มดำเนินการก่อสร้าง ตั้งแต่เดือน พ.ค. 64
ปรากฏว่าการก่อสร้างดังกล่าวได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิตของชุมชน ทั้งเรื่องปัญหาน้ำท่วมหนักบ้านเรือนราษฏร และพื้นที่ทางการเกษตรของชาวบ้านได้รับความเสียหาย เนื่องจากการก่อสร้างคันดินของโครงการดังกล่าวส่งผลให้การระบายน้ำล่าช้า
ด้านเศรษฐกิจ ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนตำบลกุดจิกต้องเปลี่ยนไป เพราะทางรถไฟระดับคันดินจะแบ่งชุมชนออกเป็นสองฝั่ง ยากต่อการพัฒนาความเจริญ ระดับคุณภาพชีวิตลดลง เพิ่มระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการ ส่งผลทำให้เศรษฐกิจค้าขายภายในชุมชนตกต่ำ
ขณะเดียวกัน การก่อสร้างทางระดับคันดิน ยังทำให้เส้นทางคมนาคมในเขตชุมชนหลายจุดเปลี่ยนแปลงจากเดิม พื้นผิวจราจรคับแคบ และจุดสะพานกลับรถที่อยู่ระยะไกล ทำให้การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างผู้คนสองฝั่งทางรถไฟเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพิ่มระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
นอกจากนี้ในชุมชนบ้านกุดจิก ยังมีโรงเรียนระดับประถม มัธยม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวม 4 แห่งคือ โรงเรียนบ้านกุดจิก (รัชชุศิริอนุกูล), โรงเรียนกุดจิกวิทยา, โรงเรียนบ้านสลักใด, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกุดจิก ที่ตั้งอยู่ทั้งสองฝั่งทางรถไฟ
เมื่อมีการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงตัดผ่าน โดยการก่อสร้างแบบถมคันดินและสะพานทางข้ามที่สูง ทำให้ทางรถไฟสายดังกล่าวแยกชุมชนออกเป็น 2 ฝั่ง ส่งผลกระทบด้านการศึกษา เช่น ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียนที่เดินทางสัญจร ส่งบุตรหลานไปโรงเรียน ส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก สตรี และผู้สูงอายุ ทำให้ได้รับความลำบาก เส้นทางการเดินทางสัญจรเปลี่ยนแปลงไป
น.ส.
จันทินา กล่าวอีกว่า ปัญหาดังกล่าวนี้เกิดจากการทำประชาพิจารณ์ที่ไม่โปร่งใส หน่วยงานรัฐไม่ได้เผยแผ่ข้อมูลข่าวสารของโครงการให้กับประชาชนทราบเท่าที่ควร และชาวบ้านทั้งหมดไม่เคยได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ประชุมหารือ รวมถึงการทำประชาพิจารณ์ อีกทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย ก็ไม่เคยแจ้งถึงรูปแบบของการก่อสร้าง สำรวจความคิดเห็น หรือรับฟังความเห็นของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
ด้าน นาย
วัธวุฒิ หนึ่งในแกนนำ กล่าวว่า พวกเราได้รวบรวมรายชื่อชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบที่เกิดจากการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง โดยมีความประสงค์ คือ
1. ขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทยระงับการดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง สัญญาที่ 3-4 ช่วงกุดจิก-โคกกรวด เป็นระยะทาง 9.5 กิโลเมตร และขอคืนพื้นที่ถนนเดิมให้แก่ประชาชน
2. ขอให้ดำเนินการปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระดับดิน เป็นยกเสาสูง (ตอม่อ) เท่านั้น หากหน่วยงานภาครัฐยังนิ่งเฉยเราจะมีการยกระดับการเรียกร้องต่อไป
อ.ธรรมศาสตร์ เขียนถึงนักการศึกษา อย่าปล่อยคนรุ่นใหม่สู้ลำพัง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3810653
อ.ธรรมศาสตร์ เขียนถึงนักการศึกษา อย่าปล่อยคนรุ่นใหม่สู้ลำพัง
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผศ.ดร.
อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยแพร่ข้อเขียนผ่านเฟซบุ๊กถึงเพื่อนนักการศึกษา มีเนื้อหากล่าวถึงบทบาทของครู สังคมที่กำลังมีปัญหา อนาคตของชาติที่ขึ้นอยู่กับคนรุ่นใหม่ ความดังนี้
ถึงเพื่อนนักการศึกษาทุกคนครับ
ผมเขียนจดหมายฉบับนี้ในฐานะนักการศึกษาคนหนึ่ง คนที่ยังเชื่อว่าอนาคตของประเทศชาติขึ้นอยู่กับคนรุ่นใหม่ที่จะต้องช่วยกอบกู้สังคมจากวิกฤตปัญหามากมายที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ในตอนนี้
ในบทบาทของครู ผมมักจะบอกนักศึกษาเสมอว่าขอให้เรามีความกล้าที่จะเผชิญกับปัญหา อย่าปฏิเสธมันด้วยการทำเป็นมองไม่เห็น เพราะการเลือกเผชิญหน้า ถึงแม้จะทำให้เราอึดอัด หรือเจ็บปวด แต่มันจะช่วยให้เราเรียนรู้และเติบโตได้ในที่สุด ถึงแม้สุดท้ายเราอาจจะทำไม่สำเร็จ แต่อย่างน้อยเราจะสามารถมองตาตัวเองในกระจกได้ว่าเราไม่ได้เลือกหนีปัญหาเพราะความขลาดกลัว
วันนี้สังคมไทยมีปัญหาจริงๆ ครับ และเราต้องอาศัยความกล้าที่จะเผชิญหน้ากับมัน ประวัติศาสตร์สอนเราว่าการเปลี่ยนแปลงในสังคมเกิดจากการที่มีคนจำนวนไม่มากเริ่มต้นตั้งคำถาม ท้าทาย และไม่สยบยอมต่อความคิดความเชื่อที่ครอบงำผู้คน ณ ช่วงเวลานั้น พวกเขายอมที่จะถูกเกลียดชัง เข้าใจผิด ใส่ร้ายป้ายสี หรือแม้กระทั่งทำลายล้างเพื่อให้เสียงของตัวเองดังไปที่ในต่างๆ ปลุกจิตสำนึกของผู้คนให้ตื่นขึ้น
ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นและได้ยินเสียงของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการสื่อสารถึงปัญหาที่สะสมทับถมในสังคมไทยมาเป็นเวลานาน พวกเขาพยายามเรียกร้องให้สังคมหันกลับมาตระหนักถึงปัญหาความอยุติธรรมและความไม่เท่าเทียมที่ดำรงอยู่รอบตัว ไม่ว่าเราจะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับพวกเขา แต่อย่างน้อยเราต้องไม่ลืมว่าอนาคตของประเทศไทยเป็นของพวกเขาด้วยเช่นกัน การเฉยเมย ไม่ยอมรับฟัง ปฏิเสธ ข่มขู่ หรือรุนแรงจนถึงขั้นลงโทษเพียงเพราะพวกเขากำลังตั้งคำถามหรือคิดต่างจากเรา นอกจากจะไม่ได้ช่วยสร้างความสงบสันติสุขดังที่หลายคนเชื่อและชอบอ้างแล้ว กลับยิ่งทำให้ปัญหาสะสมจนกลายเป็นชนวนที่พร้อมระเบิดสังคมให้แตกออกเป็นเสี่ยงๆ ในเร็ววัน
ถึงแม้ผมจะทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ ตะวัน และ แบม เลือก แต่ผมเคารพในการตัดสินใจของทั้งคู่ รวมทั้งของเยาวชนอีกเป็นจำนวนมากที่กำลังเรียกร้องสังคมที่ดีกว่า ที่ยุติธรรมกว่า ที่เท่าเทียมกว่าให้กับคนรุ่นของพวกเขา และรุ่นต่อๆ ไป พวกเขาเอาชีวิต เอาอิสรภาพ เข้าแลกกับสังคมที่ยุติธรรมและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คนทุกคน ไม่ใช่แค่ของพวกเขาหรือเพื่อนพ้องของพวกเขาเท่านั้น
หลายคนอาจสงสัยว่าชีวิตที่พวกเขากำลังเอาเข้าแลกนั้นจะคุ้มค่าหรือไม่ สมเหตุสมผลหรือไม่ หรือแม้กระทั่งว่าเสียงของพวกเขาจะถูก “ได้ยิน” จากผู้มีอำนาจในประเทศนี้บ้างหรือไม่ ผมเองยังไม่แน่ใจ แต่อย่างน้อยพวกเขาก็รู้ว่านี่คือทางเลือกที่พวกเขาสามารถทำได้ในสภาวะที่จิตสำนึกของผู้คนในบ้านเมืองส่วนใหญ่อยู่ในสภาพอัมพาตเช่นที่เป็นอยู่นี้
ในฐานะนักการศึกษา ผมเชื่อมั่นว่าผู้คนเปลี่ยนความคิดได้ สังคมเองก็เปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ถึงแม้จังหวะเวลาของการเปลี่ยนแปลงอาจจะคาดเดาได้ยาก หรือไม่ได้เป็นอย่างที่ใจเราต้องการเสมอไป แต่เราเลือกที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ครับ เราเลือกที่จะมองเห็นความทุกข์ยากของผู้คน เลือกที่จะได้ยินเสียงคร่ำครวญของผู้ที่ถูกลงโทษเพียงเพราะตั้งคำถามกับความไม่ชอบธรรมในสังคม เลือกที่จะส่งเสียงเล็กๆ ที่ดูไร้อำนาจของเราขยายออกไปให้ผู้คนที่ชินชา หรือเหนื่อยหน่ายกับความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นได้รับฟัง อย่างน้อยก็ขอให้เราไม่นิ่งดูดาย รอคอยความล่มสลายของสังคมที่คนรุ่นใหม่หมดสิ้นความหวังและเลิกล้มความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงใดๆ อีกต่อไป
ในฐานะนักการศึกษา เราสามารถเริ่มต้นบทสนทนากับคนใกล้ตัว กับลูกศิษย์ของเรา กับเพื่อนร่วมงาน หรือกับคนแปลกหน้า ชวนกันคิด ชวนกันตั้งคำถาม ชวนกันจินตนาการถึงสังคมที่ผู้คนมีความเท่าเทียมกัน สังคมที่ความยุติธรรมคือความเป็นปกติ สังคมที่เราสามารถทำตามความฝันได้โดยไม่ต้องร้องขอความเมตตาจากคนมีอำนาจ สังคมที่เราสามารถมีอิสรภาพในชีวิตโดยไม่ต้องแลกมาด้วยเลือดเนื้อของตัวเอง
อย่าปล่อยให้คนรุ่นใหม่สู้ตามลำพังเลยครับ ช่วยกันสู้ร่วมกับพวกเขา ในวิถีที่เราพอทำได้ เพื่ออนาคตของลูกหลานเรา และเพื่อให้ตัวเราสามารถบอกกับลูกศิษย์ในอนาคตว่า ครูเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมนี้เช่นกัน
ขอบคุณที่รับฟังครับ
อดิศร จันทรสุข
6 กุมภาพันธ์ 2566
#ตะวันแบม
https://www.facebook.com/adisornj/posts/pfbid02QquxcprTesJAGiYjaL1Qkpr5ZYym4hS7kJqNuHKJexKpopw45vCgnw7uSyidb1ywl
จี้คุมจีนช้อปบ้าน-ห้ามทำธุรกิจแข่ง ‘อสังหา’รุกรัฐเร่งออกกฎ ทัวร์ตี๋หมวยแลนดิ้งคึก
https://www.matichon.co.th/economy/news_3810446
จี้คุมจีนช้อปบ้าน-ห้ามทำธุรกิจแข่ง ‘อสังหา’รุกรัฐเร่งออกกฎ ทัวร์ตี๋หมวยแลนดิ้งคึก
จากกรณีมีทุนจีนเข้ามากว้านซื้อที่ดิน โรงแรมในพื้นที่ท่องเที่ยวและพื้นที่อุตสาหกรรมในไทย หลังประเทศจีนเปิดประเทศให้ชาวจีนสามารถเดินทางออกนอกประเทศได้แล้วนั้น
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ นาย
มีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า ยอมรับว่าถ้าการท่องเที่ยวเข้ามาถือเป็นโอกาสในการสร้างรายได้หลักให้กับระบบเศรษฐกิจไทย หากต่างชาติต้องการซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยอย่างเดียว ไม่ใช่เพื่อลงทุนหรือทำธุรกิจ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ เกิดผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง และป้องกันต่างชาติหรือชาวจีนไม่ให้ทำธุรกิจรองรับการท่องเที่ยวแข่งกับคนไทย
จึงมีข้อเสนอ 2 แนวงทาง คือหนึ่งให้ซื้อบ้านเพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น จำกัดการซื้อและซื้อได้เฉพาะโครงการจัดสรรที่ได้อนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย(มท.) และแนวทางที่สอง คือต้องมีการป้องกันไม่ให้ซื้อเพื่อทำธุรกิจ เพื่อเป็นการส่งเสริม ควรมีการนิรโทษกรรมสำหรับคนที่ซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยให้มาเสียภาษีและขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง จะได้มีฐานข้อมูลว่าคนซื้อเป็นใคร อยู่ที่ไหน ซื้อเพื่ออยู่อาศัยอย่างเดียวหรือไม่ และรัฐบาลต้องมีการแก้กฎหมายหรือออกประกาศกฎกระทรวงออกมารองรับ โดยเฉพาะการให้ต่างชาติมาซื้อบ้านในโครงการบ้านจัดสรร เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อในตลาด
นาย
อธิป พีชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ปัจจุบันมีต่างชาติที่ไม่ใช่เฉพาะจีนที่มาซื้อโรงแรมหรือธุรกิจพูลวิลล่าของไทย ซึ่งคนจีนที่ทำธุรกิจถูกกฎหมายก็มี ไม่ใช่มีเฉพาะกลุ่มทุนสีเทา แต่ก็ถูกเหมารวมกันหมด หลังมีเหตุตู้ห่าวเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่จะมาซื้อที่อยู่อาศัยไม่ว่าบ้านหรือคอนโดมิเนียม ต้องมีการตรวจสอบเส้นทางการเงิน ถ้ามีแหล่งที่มาถูกต้อง มีรายได้จากการทำธุรกิจในประเทศไทย มีการเสียภาษี แสดงว่าเป็นธุรกิจสีขาว แต่ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ว่าเงินมาจากไหน ไม่เสียภาษีหรือเลี่ยงภาษี ถือว่าเข้าข่ายธุรกิจสีเทา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทันทีที่กรุ๊ปทัวร์จีนคณะแรกเดินทางถึงสนามบินดอนเมือง ภายหลังกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของจีนอนุญาตให้บริษัทนำเที่ยวจัดกรุ๊ปทัวร์นำนักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางออกเที่ยวต่างประเทศได้ กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนบินตรงจากนครกว่างโจว สู่สนามบินดอนเมือง ด้วยสายการบินสปริงแอร์ไลน์ เที่ยวบิน 9C7419 ความจุผู้โดยสาร 180 ที่นั่ง ประกอบด้วย กรุ๊ปทัวร์จีน 2 คณะ รวมจำนวน 40 คน และนักท่องเที่ยวจีนผู้เดินทางด้วยตัวเอง (เอฟไอที) อีก 90 คน ทั้งนี้ ยังมีเที่ยวบินอื่นๆ อีก 13 เที่ยวบิน จากกรุงปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เฉิงตู
JJNY : ชาวบ้านลุกฮือต้านคันดินรถไฟครส.│อ.มธ.เขียนถึงนักการศึกษา│จี้คุมจีนช้อปบ้าน-ห้ามทำธุรกิจแข่ง│ทอท.ฟ้อง สมเกียรติ
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7496567
นครราชสีมา ชาวบ้านกุดจิกสูงเนินลุกฮือ ไม่เอาภูเขาคันดินโครงการรถไฟความเร็วสูง ชี้กระทบวิถีชีวิตประชาชน วอนเจ้ากระทรวงเห็นใจ เดือดร้อนจากเมกะโปรเจกต์
7 ก.พ. 66 – ชาวบ้านตำบลกุดจิก อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา กว่า 100 คน ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง นำโดย น.ส.จันทินา อัครปรีดี ตัวแทนราษฏรผู้ได้รับผลกระทบ นายวัธวุฒิ คลาดสูงเนิน นายก อบต.กุดจิก ได้ชุมนุมเรียกร้องให้หยุดดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วง กุดจิก-โคกกรวด ตัดผ่านพื้นที่ตำบลกุดจิก ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร เนื่องจากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้างแบบคันดิน
น.ส.จันทินา เปิดเผยว่า จากกรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย มีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วง กุดจิก-โคกกรวด ตัดผ่านพื้นที่ตำบลกุดจิก โดยการก่อสร้างเป็นคันทางรถไฟระดับดินทั้งหมด เป็นระยะทาง 9.5 กิโลเมตร ซึ่งผู้รับเหมาได้ลงพื้นที่และเริ่มดำเนินการก่อสร้าง ตั้งแต่เดือน พ.ค. 64
ปรากฏว่าการก่อสร้างดังกล่าวได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิตของชุมชน ทั้งเรื่องปัญหาน้ำท่วมหนักบ้านเรือนราษฏร และพื้นที่ทางการเกษตรของชาวบ้านได้รับความเสียหาย เนื่องจากการก่อสร้างคันดินของโครงการดังกล่าวส่งผลให้การระบายน้ำล่าช้า
ด้านเศรษฐกิจ ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนตำบลกุดจิกต้องเปลี่ยนไป เพราะทางรถไฟระดับคันดินจะแบ่งชุมชนออกเป็นสองฝั่ง ยากต่อการพัฒนาความเจริญ ระดับคุณภาพชีวิตลดลง เพิ่มระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการ ส่งผลทำให้เศรษฐกิจค้าขายภายในชุมชนตกต่ำ
ขณะเดียวกัน การก่อสร้างทางระดับคันดิน ยังทำให้เส้นทางคมนาคมในเขตชุมชนหลายจุดเปลี่ยนแปลงจากเดิม พื้นผิวจราจรคับแคบ และจุดสะพานกลับรถที่อยู่ระยะไกล ทำให้การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างผู้คนสองฝั่งทางรถไฟเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพิ่มระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
นอกจากนี้ในชุมชนบ้านกุดจิก ยังมีโรงเรียนระดับประถม มัธยม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวม 4 แห่งคือ โรงเรียนบ้านกุดจิก (รัชชุศิริอนุกูล), โรงเรียนกุดจิกวิทยา, โรงเรียนบ้านสลักใด, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกุดจิก ที่ตั้งอยู่ทั้งสองฝั่งทางรถไฟ
เมื่อมีการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงตัดผ่าน โดยการก่อสร้างแบบถมคันดินและสะพานทางข้ามที่สูง ทำให้ทางรถไฟสายดังกล่าวแยกชุมชนออกเป็น 2 ฝั่ง ส่งผลกระทบด้านการศึกษา เช่น ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียนที่เดินทางสัญจร ส่งบุตรหลานไปโรงเรียน ส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก สตรี และผู้สูงอายุ ทำให้ได้รับความลำบาก เส้นทางการเดินทางสัญจรเปลี่ยนแปลงไป
น.ส.จันทินา กล่าวอีกว่า ปัญหาดังกล่าวนี้เกิดจากการทำประชาพิจารณ์ที่ไม่โปร่งใส หน่วยงานรัฐไม่ได้เผยแผ่ข้อมูลข่าวสารของโครงการให้กับประชาชนทราบเท่าที่ควร และชาวบ้านทั้งหมดไม่เคยได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ประชุมหารือ รวมถึงการทำประชาพิจารณ์ อีกทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย ก็ไม่เคยแจ้งถึงรูปแบบของการก่อสร้าง สำรวจความคิดเห็น หรือรับฟังความเห็นของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
ด้าน นายวัธวุฒิ หนึ่งในแกนนำ กล่าวว่า พวกเราได้รวบรวมรายชื่อชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบที่เกิดจากการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง โดยมีความประสงค์ คือ
1. ขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทยระงับการดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง สัญญาที่ 3-4 ช่วงกุดจิก-โคกกรวด เป็นระยะทาง 9.5 กิโลเมตร และขอคืนพื้นที่ถนนเดิมให้แก่ประชาชน
2. ขอให้ดำเนินการปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระดับดิน เป็นยกเสาสูง (ตอม่อ) เท่านั้น หากหน่วยงานภาครัฐยังนิ่งเฉยเราจะมีการยกระดับการเรียกร้องต่อไป
อ.ธรรมศาสตร์ เขียนถึงนักการศึกษา อย่าปล่อยคนรุ่นใหม่สู้ลำพัง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3810653
อ.ธรรมศาสตร์ เขียนถึงนักการศึกษา อย่าปล่อยคนรุ่นใหม่สู้ลำพัง
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยแพร่ข้อเขียนผ่านเฟซบุ๊กถึงเพื่อนนักการศึกษา มีเนื้อหากล่าวถึงบทบาทของครู สังคมที่กำลังมีปัญหา อนาคตของชาติที่ขึ้นอยู่กับคนรุ่นใหม่ ความดังนี้
ถึงเพื่อนนักการศึกษาทุกคนครับ
ผมเขียนจดหมายฉบับนี้ในฐานะนักการศึกษาคนหนึ่ง คนที่ยังเชื่อว่าอนาคตของประเทศชาติขึ้นอยู่กับคนรุ่นใหม่ที่จะต้องช่วยกอบกู้สังคมจากวิกฤตปัญหามากมายที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ในตอนนี้
ในบทบาทของครู ผมมักจะบอกนักศึกษาเสมอว่าขอให้เรามีความกล้าที่จะเผชิญกับปัญหา อย่าปฏิเสธมันด้วยการทำเป็นมองไม่เห็น เพราะการเลือกเผชิญหน้า ถึงแม้จะทำให้เราอึดอัด หรือเจ็บปวด แต่มันจะช่วยให้เราเรียนรู้และเติบโตได้ในที่สุด ถึงแม้สุดท้ายเราอาจจะทำไม่สำเร็จ แต่อย่างน้อยเราจะสามารถมองตาตัวเองในกระจกได้ว่าเราไม่ได้เลือกหนีปัญหาเพราะความขลาดกลัว
วันนี้สังคมไทยมีปัญหาจริงๆ ครับ และเราต้องอาศัยความกล้าที่จะเผชิญหน้ากับมัน ประวัติศาสตร์สอนเราว่าการเปลี่ยนแปลงในสังคมเกิดจากการที่มีคนจำนวนไม่มากเริ่มต้นตั้งคำถาม ท้าทาย และไม่สยบยอมต่อความคิดความเชื่อที่ครอบงำผู้คน ณ ช่วงเวลานั้น พวกเขายอมที่จะถูกเกลียดชัง เข้าใจผิด ใส่ร้ายป้ายสี หรือแม้กระทั่งทำลายล้างเพื่อให้เสียงของตัวเองดังไปที่ในต่างๆ ปลุกจิตสำนึกของผู้คนให้ตื่นขึ้น
ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นและได้ยินเสียงของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการสื่อสารถึงปัญหาที่สะสมทับถมในสังคมไทยมาเป็นเวลานาน พวกเขาพยายามเรียกร้องให้สังคมหันกลับมาตระหนักถึงปัญหาความอยุติธรรมและความไม่เท่าเทียมที่ดำรงอยู่รอบตัว ไม่ว่าเราจะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับพวกเขา แต่อย่างน้อยเราต้องไม่ลืมว่าอนาคตของประเทศไทยเป็นของพวกเขาด้วยเช่นกัน การเฉยเมย ไม่ยอมรับฟัง ปฏิเสธ ข่มขู่ หรือรุนแรงจนถึงขั้นลงโทษเพียงเพราะพวกเขากำลังตั้งคำถามหรือคิดต่างจากเรา นอกจากจะไม่ได้ช่วยสร้างความสงบสันติสุขดังที่หลายคนเชื่อและชอบอ้างแล้ว กลับยิ่งทำให้ปัญหาสะสมจนกลายเป็นชนวนที่พร้อมระเบิดสังคมให้แตกออกเป็นเสี่ยงๆ ในเร็ววัน
ถึงแม้ผมจะทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ ตะวัน และ แบม เลือก แต่ผมเคารพในการตัดสินใจของทั้งคู่ รวมทั้งของเยาวชนอีกเป็นจำนวนมากที่กำลังเรียกร้องสังคมที่ดีกว่า ที่ยุติธรรมกว่า ที่เท่าเทียมกว่าให้กับคนรุ่นของพวกเขา และรุ่นต่อๆ ไป พวกเขาเอาชีวิต เอาอิสรภาพ เข้าแลกกับสังคมที่ยุติธรรมและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คนทุกคน ไม่ใช่แค่ของพวกเขาหรือเพื่อนพ้องของพวกเขาเท่านั้น
หลายคนอาจสงสัยว่าชีวิตที่พวกเขากำลังเอาเข้าแลกนั้นจะคุ้มค่าหรือไม่ สมเหตุสมผลหรือไม่ หรือแม้กระทั่งว่าเสียงของพวกเขาจะถูก “ได้ยิน” จากผู้มีอำนาจในประเทศนี้บ้างหรือไม่ ผมเองยังไม่แน่ใจ แต่อย่างน้อยพวกเขาก็รู้ว่านี่คือทางเลือกที่พวกเขาสามารถทำได้ในสภาวะที่จิตสำนึกของผู้คนในบ้านเมืองส่วนใหญ่อยู่ในสภาพอัมพาตเช่นที่เป็นอยู่นี้
ในฐานะนักการศึกษา ผมเชื่อมั่นว่าผู้คนเปลี่ยนความคิดได้ สังคมเองก็เปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ถึงแม้จังหวะเวลาของการเปลี่ยนแปลงอาจจะคาดเดาได้ยาก หรือไม่ได้เป็นอย่างที่ใจเราต้องการเสมอไป แต่เราเลือกที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ครับ เราเลือกที่จะมองเห็นความทุกข์ยากของผู้คน เลือกที่จะได้ยินเสียงคร่ำครวญของผู้ที่ถูกลงโทษเพียงเพราะตั้งคำถามกับความไม่ชอบธรรมในสังคม เลือกที่จะส่งเสียงเล็กๆ ที่ดูไร้อำนาจของเราขยายออกไปให้ผู้คนที่ชินชา หรือเหนื่อยหน่ายกับความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นได้รับฟัง อย่างน้อยก็ขอให้เราไม่นิ่งดูดาย รอคอยความล่มสลายของสังคมที่คนรุ่นใหม่หมดสิ้นความหวังและเลิกล้มความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงใดๆ อีกต่อไป
ในฐานะนักการศึกษา เราสามารถเริ่มต้นบทสนทนากับคนใกล้ตัว กับลูกศิษย์ของเรา กับเพื่อนร่วมงาน หรือกับคนแปลกหน้า ชวนกันคิด ชวนกันตั้งคำถาม ชวนกันจินตนาการถึงสังคมที่ผู้คนมีความเท่าเทียมกัน สังคมที่ความยุติธรรมคือความเป็นปกติ สังคมที่เราสามารถทำตามความฝันได้โดยไม่ต้องร้องขอความเมตตาจากคนมีอำนาจ สังคมที่เราสามารถมีอิสรภาพในชีวิตโดยไม่ต้องแลกมาด้วยเลือดเนื้อของตัวเอง
อย่าปล่อยให้คนรุ่นใหม่สู้ตามลำพังเลยครับ ช่วยกันสู้ร่วมกับพวกเขา ในวิถีที่เราพอทำได้ เพื่ออนาคตของลูกหลานเรา และเพื่อให้ตัวเราสามารถบอกกับลูกศิษย์ในอนาคตว่า ครูเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมนี้เช่นกัน
ขอบคุณที่รับฟังครับ
อดิศร จันทรสุข
6 กุมภาพันธ์ 2566
#ตะวันแบม
https://www.facebook.com/adisornj/posts/pfbid02QquxcprTesJAGiYjaL1Qkpr5ZYym4hS7kJqNuHKJexKpopw45vCgnw7uSyidb1ywl
จี้คุมจีนช้อปบ้าน-ห้ามทำธุรกิจแข่ง ‘อสังหา’รุกรัฐเร่งออกกฎ ทัวร์ตี๋หมวยแลนดิ้งคึก
https://www.matichon.co.th/economy/news_3810446
จี้คุมจีนช้อปบ้าน-ห้ามทำธุรกิจแข่ง ‘อสังหา’รุกรัฐเร่งออกกฎ ทัวร์ตี๋หมวยแลนดิ้งคึก
จากกรณีมีทุนจีนเข้ามากว้านซื้อที่ดิน โรงแรมในพื้นที่ท่องเที่ยวและพื้นที่อุตสาหกรรมในไทย หลังประเทศจีนเปิดประเทศให้ชาวจีนสามารถเดินทางออกนอกประเทศได้แล้วนั้น
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ นายมีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า ยอมรับว่าถ้าการท่องเที่ยวเข้ามาถือเป็นโอกาสในการสร้างรายได้หลักให้กับระบบเศรษฐกิจไทย หากต่างชาติต้องการซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยอย่างเดียว ไม่ใช่เพื่อลงทุนหรือทำธุรกิจ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ เกิดผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง และป้องกันต่างชาติหรือชาวจีนไม่ให้ทำธุรกิจรองรับการท่องเที่ยวแข่งกับคนไทย
จึงมีข้อเสนอ 2 แนวงทาง คือหนึ่งให้ซื้อบ้านเพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น จำกัดการซื้อและซื้อได้เฉพาะโครงการจัดสรรที่ได้อนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย(มท.) และแนวทางที่สอง คือต้องมีการป้องกันไม่ให้ซื้อเพื่อทำธุรกิจ เพื่อเป็นการส่งเสริม ควรมีการนิรโทษกรรมสำหรับคนที่ซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยให้มาเสียภาษีและขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง จะได้มีฐานข้อมูลว่าคนซื้อเป็นใคร อยู่ที่ไหน ซื้อเพื่ออยู่อาศัยอย่างเดียวหรือไม่ และรัฐบาลต้องมีการแก้กฎหมายหรือออกประกาศกฎกระทรวงออกมารองรับ โดยเฉพาะการให้ต่างชาติมาซื้อบ้านในโครงการบ้านจัดสรร เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อในตลาด
นายอธิป พีชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ปัจจุบันมีต่างชาติที่ไม่ใช่เฉพาะจีนที่มาซื้อโรงแรมหรือธุรกิจพูลวิลล่าของไทย ซึ่งคนจีนที่ทำธุรกิจถูกกฎหมายก็มี ไม่ใช่มีเฉพาะกลุ่มทุนสีเทา แต่ก็ถูกเหมารวมกันหมด หลังมีเหตุตู้ห่าวเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่จะมาซื้อที่อยู่อาศัยไม่ว่าบ้านหรือคอนโดมิเนียม ต้องมีการตรวจสอบเส้นทางการเงิน ถ้ามีแหล่งที่มาถูกต้อง มีรายได้จากการทำธุรกิจในประเทศไทย มีการเสียภาษี แสดงว่าเป็นธุรกิจสีขาว แต่ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ว่าเงินมาจากไหน ไม่เสียภาษีหรือเลี่ยงภาษี ถือว่าเข้าข่ายธุรกิจสีเทา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทันทีที่กรุ๊ปทัวร์จีนคณะแรกเดินทางถึงสนามบินดอนเมือง ภายหลังกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของจีนอนุญาตให้บริษัทนำเที่ยวจัดกรุ๊ปทัวร์นำนักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางออกเที่ยวต่างประเทศได้ กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนบินตรงจากนครกว่างโจว สู่สนามบินดอนเมือง ด้วยสายการบินสปริงแอร์ไลน์ เที่ยวบิน 9C7419 ความจุผู้โดยสาร 180 ที่นั่ง ประกอบด้วย กรุ๊ปทัวร์จีน 2 คณะ รวมจำนวน 40 คน และนักท่องเที่ยวจีนผู้เดินทางด้วยตัวเอง (เอฟไอที) อีก 90 คน ทั้งนี้ ยังมีเที่ยวบินอื่นๆ อีก 13 เที่ยวบิน จากกรุงปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เฉิงตู