ทำไมขุดเหมืองกัมมันตภาพรังสีแล้วไม่ตายครับ เราไม่โดนรังสีที่มันปล่อยออกมาหรอครับ

ผมรู้ครับว่ามันทำได้ และปลอดภัย แต่ก็ยังไม่เข้าใจชัดๆอ่อๆจริงๆ
คือสมมุติ อะ พอขุดเจอปุ้บ มันก็ปล่อยอะตอมหรือประจุต่างๆเข้ามาโดนตัวเราแล้วนะ

แล้วจะยังไงอะครับ ก็โดนแล้ว นี้ไง
หรือถ้าบอกว่าใส่ชุด แล้วต้องใส่แค่ไหน รัดกุมแค่ไหนอะไรยังไงต่างๆ ฯลฯ
หรือต่อให้ยังขุดยังไม่ถึง มันก็ทะลุโลกขึ้นมาได้ไหมครับ ถ้าขุดไปใกล้ๆมัน

หรือยังไงครับ หรือถ้าไม่ต้องใส่ชุด แล้วมันจะเซฟยังไงครับ
ผมหาๆอ่านดู เห็นว่ามันต้องถูกกระตุ้นด้วยนิวตรอน (by human manually?)
ก่อน ถึงจะเริ่มเป็นไปในแบบที่เริ่มสำแดงฤทธอะไรแบบนั้น

งั้นแบบนี้พื้นฐานประมาณนึงก็เซฟ ไม่ใช่เป็นในแบบที่ผมเข้าใจแล้ว หรอครับ

คือมีหลักการหรือรายละเอียดอะไรอีกไหมครับ ตรงนี้ เกี่ยวกับการขุดแร่พวกนี้ ที่ผมยังไม่รู้

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ขออธิบายกลไกการแพร่กัมมันตรังสีในเหมืองก่อนนะครับ

ขอยกตัวอย่างเป็นเหมือง Uranium
Uranium ที่พบในเหมือง  จะเป็นลักษณะของ "สายแร่"

สายแร่แบบในภาพจะมีความเข้มข้น Uranium ต่ำมากครับ
ประมาณ 200 - 400 PPM by weight เท่านั้น
อย่างก้อนสายแร่ Uranium ในภาพ
หากหนัก 1 กิโลกรัม  ก็จะมี Uranium-238 แบบเพียว ๆ
ประมาณ 1,000 × (400/1,000,000) = 0.4 กรัม  เท่านั้น

Uranium อ่อน ๆ เหล่านี้จะสลายตัวเป็นธาตุ Radium
กลายเป็นก๊าซ Radon  ซึ่งแก้ส Radon ถือเป็นแก้สกัมมันตรังสี
ตรงนี้แหละที่จะอันตราย  เพราะแก้สนี้แพร่กระจายได้ง่าย
(ส่วน ละออง / ฝุ่น ของแร่  ชุดสามารถป้องกันได้)

แต่  เนื่องจากความเข้มข้นที่ต่ำมากของ Uranium ตั้งแต่แรก
ทำให้แก้ส Radon ที่ตรวจพบในเหมือง
อยู่ในระดับที่ต่ำมาก  เทียบเท่าการแพร่กัมมันตรังสี
เพียง 1 - 3 mSv/ปี  ( Sv คือหน่วยวัดปริมาณรังสี "Sievert" )
ในขณะที่ค่ามาตรฐานระดับอันตราย คือ 100 mSv/ปี

ส่วนการกระทบ  กระแทก  กระตุ้น  ใด ๆ
ไม่มีผลเลยครับ  อยู่เฉย ๆ มันก็แพร่กัมมันตรังสีออกมาอยู่แล้ว
การกระตุ้น  กระทบกระแทก  จะไม่ทำให้มันแพร่มากขึ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่