สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
สำหรับความผิดปกติจากการได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลันนั้น แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มอาการ คือ
เกรย์ (หน่วยที่วัดว่า วัตถุรับรังสีไปเท่าใด)
1. ความผิดปกติอันเกี่ยวข้องกับระบบไขกระดูก (Bone marrow syndrome)
หรืออาจเรียกว่า ความผิดปกติอันเกี่ยวข้องกับระบบผลิตเลือด (hematopoietic syndrome) ความผิดปกติแบบนี้ สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลันทั่วทั้งร่างกายที่ปริมาณ รังสี 0.7 เกรย์ โดยอาจปรากฎอาการผิดปกติเพียงเล็กน้อยเมื่อได้รับรังสีปริมาณ 0.3 เกรย์ โดยสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในผู้ป่วย กลุ่มนี้ คือ การติดเชื้อและการเสียเลือดอันเนื่องมาจากไขกระดูกถูกทำลาย
2. ความผิดปกติอันเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal syndrome)
ความผิดปกติ โดยสมบูรณ์จะเกิดขึ้นเมื่อได้รับรังสีเฉียบพลันทั่วร่างกายสูงเกิน 10 เกรย์ โดยความผิดปกติแบบอ่อน ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อได้รับรังสีประมาณ 6 เกรย์ ทั้งนี้ อัตราการรอดชีวิตเมื่อได้รับรังสีสูงระดับนี้มีน้อย หากระบบทางเดินอาหารเปลี่ยนแปลง ได้รับความเสียหาย จะทำให้เกิดการติดเชื้อ เสียสมดุลของน้ำและเกลือแร่ โดยผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์
3. ความผิดปกติอันเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินโลหิตและระบบประสาทกลาง (Cardiovascular (CV)/Central Nervous System (CNS)
ความผิดปกติโดยสมบูรณ์จะเกิดขึ้น ถ้าได้รับรังสีโดยเฉียบพลันทั่วร่างกายสูงเกินกว่า 50 เกรย์ โดยความผิดปกติของระบบ CV และ CNS จะเริ่มปรากฎให้เห็นเมื่อได้รับรังสีสูงถึง 20 เกรย์ โดยทั่วไปผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 3 วัน อันเนื่องมาจากความล้มเหลวของระบบการไหลเวียนโลหิต และแรงดันที่สูงขึ้นภายในโพรงกะโหลก อันเนื่องมาจากการสะสมของของเหลวที่มีสาเหตุมาจากการบวม หรือการอับเสบของ หลอดเลือดและเยื่อหุ้มสมอง (Meningitis)
นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีความผิดปกติทางผิวหนังเกิดขึ้นด้วย โดยผู้ป่วยอาจได้รับรังสีปริมาณสูงพอที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผิวหนัง ได้ โดยที่ไม่ปรากฎอาการของความผิดปกติในระบบอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งถ้าเป็นการได้รับรังสีสูงเฉียบพลัน จากรังสีบีตา หรือรังสีเอ็กซ์ ในบางกรณีผู้ป่วยอาจได้รับรังสีที่ผิวหนังอันเป็นผลมาจากการเปรอะเปื้อนของ วัสดุกัมมันตรังสีที่ติดอยู่กับผิวหนัง หรือเสื้อผ้าของผู้ป่วย
เมื่อเซลล์ในชั้นล่างของผิวหนังถูกทำลายด้วยรังสีจะปรากฎอาการอักเสบ เป็นผื่นแดง หรือตกสะเก็ดของผิวหนัง ในบางครั้ง ถ้ารากของเส้นขนถูกทำลายอาจเป็นผลให้เกิดการหลุดร่วงของเส้นขนขึ้นได้ ภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง อาจเกิดอาการเป็นผื่นแดงร่วมกับอาการคันของผิวหนังขึ้น หลังจากนั้น อาการเหล่านี้อาจหายไปเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 2-3 วัน ถึงหลายสัปดาห์ จากนั้นผิวหนังจะมีอาการแดงมากขึ้น และตามมาด้วยการแตกและอักเสบเป็นแผลของผิวหนังบริเวณที่ได้รับรังสี
ส่วน ผู้ที่รอดชีวิต อาจต้องเผชิญกับผลของรังสีในอวัยวะอื่น ๆ เช่น การเป็นหมัน , แท้ง , ผมร่วง , ปอดอักเสบ และรังสีสามารถก่อให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมาภายหลังได้ เช่น เกิดต้อกระจก และเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในอีกหลาย ๆ ปีต่อมา
เกรย์ (หน่วยที่วัดว่า วัตถุรับรังสีไปเท่าใด)
1. ความผิดปกติอันเกี่ยวข้องกับระบบไขกระดูก (Bone marrow syndrome)
หรืออาจเรียกว่า ความผิดปกติอันเกี่ยวข้องกับระบบผลิตเลือด (hematopoietic syndrome) ความผิดปกติแบบนี้ สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลันทั่วทั้งร่างกายที่ปริมาณ รังสี 0.7 เกรย์ โดยอาจปรากฎอาการผิดปกติเพียงเล็กน้อยเมื่อได้รับรังสีปริมาณ 0.3 เกรย์ โดยสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในผู้ป่วย กลุ่มนี้ คือ การติดเชื้อและการเสียเลือดอันเนื่องมาจากไขกระดูกถูกทำลาย
2. ความผิดปกติอันเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal syndrome)
ความผิดปกติ โดยสมบูรณ์จะเกิดขึ้นเมื่อได้รับรังสีเฉียบพลันทั่วร่างกายสูงเกิน 10 เกรย์ โดยความผิดปกติแบบอ่อน ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อได้รับรังสีประมาณ 6 เกรย์ ทั้งนี้ อัตราการรอดชีวิตเมื่อได้รับรังสีสูงระดับนี้มีน้อย หากระบบทางเดินอาหารเปลี่ยนแปลง ได้รับความเสียหาย จะทำให้เกิดการติดเชื้อ เสียสมดุลของน้ำและเกลือแร่ โดยผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์
3. ความผิดปกติอันเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินโลหิตและระบบประสาทกลาง (Cardiovascular (CV)/Central Nervous System (CNS)
ความผิดปกติโดยสมบูรณ์จะเกิดขึ้น ถ้าได้รับรังสีโดยเฉียบพลันทั่วร่างกายสูงเกินกว่า 50 เกรย์ โดยความผิดปกติของระบบ CV และ CNS จะเริ่มปรากฎให้เห็นเมื่อได้รับรังสีสูงถึง 20 เกรย์ โดยทั่วไปผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 3 วัน อันเนื่องมาจากความล้มเหลวของระบบการไหลเวียนโลหิต และแรงดันที่สูงขึ้นภายในโพรงกะโหลก อันเนื่องมาจากการสะสมของของเหลวที่มีสาเหตุมาจากการบวม หรือการอับเสบของ หลอดเลือดและเยื่อหุ้มสมอง (Meningitis)
นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีความผิดปกติทางผิวหนังเกิดขึ้นด้วย โดยผู้ป่วยอาจได้รับรังสีปริมาณสูงพอที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผิวหนัง ได้ โดยที่ไม่ปรากฎอาการของความผิดปกติในระบบอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งถ้าเป็นการได้รับรังสีสูงเฉียบพลัน จากรังสีบีตา หรือรังสีเอ็กซ์ ในบางกรณีผู้ป่วยอาจได้รับรังสีที่ผิวหนังอันเป็นผลมาจากการเปรอะเปื้อนของ วัสดุกัมมันตรังสีที่ติดอยู่กับผิวหนัง หรือเสื้อผ้าของผู้ป่วย
เมื่อเซลล์ในชั้นล่างของผิวหนังถูกทำลายด้วยรังสีจะปรากฎอาการอักเสบ เป็นผื่นแดง หรือตกสะเก็ดของผิวหนัง ในบางครั้ง ถ้ารากของเส้นขนถูกทำลายอาจเป็นผลให้เกิดการหลุดร่วงของเส้นขนขึ้นได้ ภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง อาจเกิดอาการเป็นผื่นแดงร่วมกับอาการคันของผิวหนังขึ้น หลังจากนั้น อาการเหล่านี้อาจหายไปเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 2-3 วัน ถึงหลายสัปดาห์ จากนั้นผิวหนังจะมีอาการแดงมากขึ้น และตามมาด้วยการแตกและอักเสบเป็นแผลของผิวหนังบริเวณที่ได้รับรังสี
ส่วน ผู้ที่รอดชีวิต อาจต้องเผชิญกับผลของรังสีในอวัยวะอื่น ๆ เช่น การเป็นหมัน , แท้ง , ผมร่วง , ปอดอักเสบ และรังสีสามารถก่อให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมาภายหลังได้ เช่น เกิดต้อกระจก และเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในอีกหลาย ๆ ปีต่อมา
แสดงความคิดเห็น
คนโดนกัมมันตภาพรังสีเข้มข้น ตายทันทีมีอาการอย่างไรคะ
ได้อ่านเรื่องเชอร์โนบิลเลยสงสัย
1. เขาบอกว่าตอนแรกที่ระเบิด เขาส่งคนงานเข้าไปดู โดยไม่บอกคนงานว่ามันอันตรายแค่ไหนและมีรังสีรั่วไหล ให้ใส่หน้ากากกันแก็ซเข้าไปช่วยอะไรไม่ได้เลย พอเข้าไปก็ตายทันที ประมาณนั้น อยากถามว่ากรณีแบบนี้ เดินเข้าไปตรงรังสีเข้มข้นมากๆ ก็ล้มตายไปเลย หรือเจ็บปวด ร้อนแสบ หรือหัวใจวายไปเลยคะ (จริงๆก็คงไม่มีใครรอดมานั่งเล่าหรอกเนอะ แต่ว่าอยากได้ความรู้วิทยาศาสตร์อธิบายถึงอาการที่น่าจะเป็น หากโดนรังสีเข้มข้น)
2. ตอนที่ระเบิดแล้วมีคนงานตายทันทีนั้น ตายเพราะแรงระเบิดใช่ไหม (กระแทก ระเบิดแรง) หรือเพราะกัมตภาพรังสี
3. ถ้ามีคนโดนรังสีแบบอ่อนๆ ไม่เข้มข้นมาก จนเป็นมะเร็งและกลายพันธุ์ไป ตอนโดนแรกๆ (ที่ยังไม่เป็นมะเร็ง หรือกลายพันธุ์) เขาจะรู้สึกอะไรไหม แบบร้อนๆ อุ่นๆ
เท่าที่สงสัยมีแค่นี้ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ