-------------------------------------------------ใครใคร่ดูคลิป ดู ....เพราะเนื้อหาที่เขียนข้างล่างเป็นสรุปของในคลิป-------------------------------
ก่อนอื่นต้องนิยามคำว่า กัมมันตภาพรังสี ก่อน
กัมมันตภาพรังสี (radioactivity) หมายถึง อนุภาคที่ที่ถูกปล่อยออกมาจากนิวเคลียสที่ไม่เสถียร อนุภาคนี้มีพลังงานสูงมาก มากพอที่จะไปกระแทกอิเล็กตรอนของสสารอื่นให้หลุดออกจากอะตอม อนุภาคนี้สามารถถูกนับด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Geiger counter มีหน่วยเป็น sievert
จากในคลิป ดร. Derek เดินทางไปรอบโลกเพื่อจะตรวจสอบดูว่าสถานที่ต่างๆที่เล่าลือกันว่ามีกัมตภาพรังสีสูงนั้นมันสูงแค่ไหน โดยเปรียบเทียบกับ กล้วย
กล้วย!! ใช่เลยกล้วยนั่นแหละ กล้วยมีโพแทสเซียมสูงซึ่งโพแทสเซียมบางอันในกล้วยเป็นสารกัมมันตภาพรังสีโดยธรรมชาติ ... โอ้ว ... แต่ไม่ต้องกลัวไป มันไม่ได้มีปริมาณมากขนาดที่จะเป็นอันตรายกับคนหรอกค่ะ เพราะงั้นก็กินๆไปเถอะ .... กล้วย 1 ลูก โดยเฉลี่ยมีกัมมันตภาพรังสีประมาณ 0.1 ไมโครซีเวอร์ น้อยมักๆ ลองมาเทียบดูกับปริมาณกัมมันตภาพรังสีที่อยู่ในธรรมชาติ ในธรรมชาติปกติทั่วๆไปเราจะได้รับกัมมันตภาพรังสีประมาณ 0.1-0.2 ไมโครซีเวอร์ต่อชม. ...... เอาล่ะ มาเริ่มการเดินทางกัน
สถานที่แรกที่แรกที่ดร.เดริคไปคือ ...ฮิโรชิม่า... สถานที่ที่ถูกบอมด้วยระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลก และเค้าวัดได้ 0.3 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.
สถานที่ต่อไปคือเหมืองแร่ยูเรเนียมเก่าในสาธารณรัฐเชค ที่ที่มารี คูรีค้นพบและทำแร่ไปศึกษา ... ที่นี่วัดได้ 1.7 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.
อีกที่คือห้องทำงานของมารี คูรีในปารีส .... วัดได้ประมาณ 1.3 ไมโครซีเวอร์ต่อชม. ที่ลูกบิดประตูห้อง
แล้ว ดร.เดริคก็บินไป New Mexico (...คือบินรอบโลกเพื่อทำคลิป...อิจฉา) สถานที่ที่ได้ใช้ทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ ... ที่นี่วัดได้ 0.8 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.
....สถานที่ต่อไป....ทายซิ ว่าที่ไหน.... หุหุ มันคือบนเครื่องบินค่ะ เมื่อเราอยู่ที่สูงมากๆ ชั้นบรรยากาศก็เบาบางลง ทำให้เราได้รับ cosmic rayที่มาจากอวกาศมากขึ้น ที่ความสูง 30,000 feet เราจะได้รับกัมมันตภาพรังสีประมาณ 2 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.
ต่อมา...สถานที่ชื่อดังอีกที่ เชอร์โนบิล สถานที่เกิดเหตุสารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปี 1986 ... ที่นี่วัดได้ 5 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.
ที่ต่อมา..สดๆร้อนๆเลย กับ โรงไฟฟ้าในฟุกุชิมา ที่นี่อ่านได้ 10 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.
มาอีกที่ แวะกลับไปแถวเชอร์โนบิล....แต่ไม่ได้ไปที่โรงไฟฟ้า แต่ไปที่โรงพยาบาลที่นักดับเพลิงพาผู้ประสบเหตุจากเหตุการณ์เชอร์โนบิลมารักษา ที่ชั้นใต้ดินเป็นที่ทิ้งชุดของนักดับเพลิงที่เพิ่งมารู้ตัวที่หลังว่าโดนสารกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อน ... ที่นี่วัดได้ 500 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.
แต่รู้หรือไม่เวลาเราไปทำ CT scan เราจะได้รับรังสี 7000 ไมโครซีเวอร์ ซึ่งเทียบแล้วก็เท่ากับ รังสีที่เราได้รับจากธรรมชาติเป็นเวลา 3 ปี
คนที่อยู่แถวฟุกุชิม่า ก็จะไ้ด้รับรังสีทั้งชีวิตรวมกันได้เพิ่มขึ้น 10,000 ไมโครซีเวอร์
แต่ช้าก่อน ... พนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีในอเมกาถูกจำกัดให้รับรังสีตลอดชีวิตได้ไม่เกิน 50,000 ไมโครซีเวอร์ต่อปี เพราะงั้นคนในฟุกุชิม่ายังปลอดภัยกว่าคนที่ทำงานเกี่ยวกับรังสีโดยตรงเยอะ
แต่ โน ..อาชีพนี้ยังไม่ใช่อาชีพที่รับรังสีมากที่สุด อาชีพที่รับรังสีมากสุดคือ ........ นักบินอวกาศ......นักบินอวกาศจะรับรังสี 80,000 ไมโครซีเวอร์ภายในเวลาแค่6เดือน
แต่ถ้าคิดว่าเราอยู่บนโลกแล้วปลอดภัยกว่านักบินอวกาศนั้น.....คิดผิดถนัด......เพราะมีคนกลุ่มนึงที่โดนรังสีมากพอๆกับนักบินอวกาศ ...... คือออออออ...........
..........................................................................
ผู้สูบบุหรี่.....................................................................................
ผู้สูบบุหรี่โดยเฉลี่ยจะได้รับกัมมันตภาพรังสีประมาณ 160,000 ไมโครซีเวอร์ทุกปี (เดาว่าคำนวณจากบุหรี่6มวนต่อวัน...)
คนสูบบุหรี่ไม่ใช่แค่รับสารพิษเท่านั้น แต่ยังได้กัมมันตภาพรังสีเป็นของแถมไปด้วย ..... ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ
ปล. กระทู้นี้ได้แรงบันดาลใจจากกระทู้ "ใครชอบสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เชิญทางนี้หน่อยครับ" ที่เนื้อหาไม่ค่อยถูกจริตกับชาวหว้ากอเท่าไหร่ .... เลยเขียนกระทู้นี้ขึ้นมา....คิดว่าคงถูกจริตมากกว่า ฮ่าๆๆ
ปล2. เจ้าของกระทู้เป็นแฟนคลับ Veritasium ค่า ... ดร. Derek ทำให้วิทยาศาสตร์ที่ดูน่าเบื่อเป็นสิ่งที่ตื่นเต้น น่าค้นหาได้ตลอด ... แต่คลิปนี้พอมานั่งแปลแล้วทำให้รู้สึกว่าหน่วยที่ใช้เทียบตอนหลังๆมันงงๆอยู่นะ
edit: ใครที่สนใจอ่านเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีในยาสูบ เชิญอ่านต่อได้ที่link นี้ค่ะ
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2509609/
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2672370/
สถานที่ที่มีกัมมันตภาพรังสีมากที่สุดในโลก
-------------------------------------------------ใครใคร่ดูคลิป ดู ....เพราะเนื้อหาที่เขียนข้างล่างเป็นสรุปของในคลิป-------------------------------
ก่อนอื่นต้องนิยามคำว่า กัมมันตภาพรังสี ก่อน
กัมมันตภาพรังสี (radioactivity) หมายถึง อนุภาคที่ที่ถูกปล่อยออกมาจากนิวเคลียสที่ไม่เสถียร อนุภาคนี้มีพลังงานสูงมาก มากพอที่จะไปกระแทกอิเล็กตรอนของสสารอื่นให้หลุดออกจากอะตอม อนุภาคนี้สามารถถูกนับด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Geiger counter มีหน่วยเป็น sievert
จากในคลิป ดร. Derek เดินทางไปรอบโลกเพื่อจะตรวจสอบดูว่าสถานที่ต่างๆที่เล่าลือกันว่ามีกัมตภาพรังสีสูงนั้นมันสูงแค่ไหน โดยเปรียบเทียบกับ กล้วย
กล้วย!! ใช่เลยกล้วยนั่นแหละ กล้วยมีโพแทสเซียมสูงซึ่งโพแทสเซียมบางอันในกล้วยเป็นสารกัมมันตภาพรังสีโดยธรรมชาติ ... โอ้ว ... แต่ไม่ต้องกลัวไป มันไม่ได้มีปริมาณมากขนาดที่จะเป็นอันตรายกับคนหรอกค่ะ เพราะงั้นก็กินๆไปเถอะ .... กล้วย 1 ลูก โดยเฉลี่ยมีกัมมันตภาพรังสีประมาณ 0.1 ไมโครซีเวอร์ น้อยมักๆ ลองมาเทียบดูกับปริมาณกัมมันตภาพรังสีที่อยู่ในธรรมชาติ ในธรรมชาติปกติทั่วๆไปเราจะได้รับกัมมันตภาพรังสีประมาณ 0.1-0.2 ไมโครซีเวอร์ต่อชม. ...... เอาล่ะ มาเริ่มการเดินทางกัน
สถานที่แรกที่แรกที่ดร.เดริคไปคือ ...ฮิโรชิม่า... สถานที่ที่ถูกบอมด้วยระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลก และเค้าวัดได้ 0.3 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.
สถานที่ต่อไปคือเหมืองแร่ยูเรเนียมเก่าในสาธารณรัฐเชค ที่ที่มารี คูรีค้นพบและทำแร่ไปศึกษา ... ที่นี่วัดได้ 1.7 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.
อีกที่คือห้องทำงานของมารี คูรีในปารีส .... วัดได้ประมาณ 1.3 ไมโครซีเวอร์ต่อชม. ที่ลูกบิดประตูห้อง
แล้ว ดร.เดริคก็บินไป New Mexico (...คือบินรอบโลกเพื่อทำคลิป...อิจฉา) สถานที่ที่ได้ใช้ทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ ... ที่นี่วัดได้ 0.8 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.
....สถานที่ต่อไป....ทายซิ ว่าที่ไหน.... หุหุ มันคือบนเครื่องบินค่ะ เมื่อเราอยู่ที่สูงมากๆ ชั้นบรรยากาศก็เบาบางลง ทำให้เราได้รับ cosmic rayที่มาจากอวกาศมากขึ้น ที่ความสูง 30,000 feet เราจะได้รับกัมมันตภาพรังสีประมาณ 2 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.
ต่อมา...สถานที่ชื่อดังอีกที่ เชอร์โนบิล สถานที่เกิดเหตุสารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปี 1986 ... ที่นี่วัดได้ 5 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.
ที่ต่อมา..สดๆร้อนๆเลย กับ โรงไฟฟ้าในฟุกุชิมา ที่นี่อ่านได้ 10 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.
มาอีกที่ แวะกลับไปแถวเชอร์โนบิล....แต่ไม่ได้ไปที่โรงไฟฟ้า แต่ไปที่โรงพยาบาลที่นักดับเพลิงพาผู้ประสบเหตุจากเหตุการณ์เชอร์โนบิลมารักษา ที่ชั้นใต้ดินเป็นที่ทิ้งชุดของนักดับเพลิงที่เพิ่งมารู้ตัวที่หลังว่าโดนสารกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อน ... ที่นี่วัดได้ 500 ไมโครซีเวอร์ต่อชม.
แต่รู้หรือไม่เวลาเราไปทำ CT scan เราจะได้รับรังสี 7000 ไมโครซีเวอร์ ซึ่งเทียบแล้วก็เท่ากับ รังสีที่เราได้รับจากธรรมชาติเป็นเวลา 3 ปี
คนที่อยู่แถวฟุกุชิม่า ก็จะไ้ด้รับรังสีทั้งชีวิตรวมกันได้เพิ่มขึ้น 10,000 ไมโครซีเวอร์
แต่ช้าก่อน ... พนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีในอเมกาถูกจำกัดให้รับรังสีตลอดชีวิตได้ไม่เกิน 50,000 ไมโครซีเวอร์ต่อปี เพราะงั้นคนในฟุกุชิม่ายังปลอดภัยกว่าคนที่ทำงานเกี่ยวกับรังสีโดยตรงเยอะ
แต่ โน ..อาชีพนี้ยังไม่ใช่อาชีพที่รับรังสีมากที่สุด อาชีพที่รับรังสีมากสุดคือ ........ นักบินอวกาศ......นักบินอวกาศจะรับรังสี 80,000 ไมโครซีเวอร์ภายในเวลาแค่6เดือน
แต่ถ้าคิดว่าเราอยู่บนโลกแล้วปลอดภัยกว่านักบินอวกาศนั้น.....คิดผิดถนัด......เพราะมีคนกลุ่มนึงที่โดนรังสีมากพอๆกับนักบินอวกาศ ...... คือออออออ...........
..........................................................................ผู้สูบบุหรี่.....................................................................................
ผู้สูบบุหรี่โดยเฉลี่ยจะได้รับกัมมันตภาพรังสีประมาณ 160,000 ไมโครซีเวอร์ทุกปี (เดาว่าคำนวณจากบุหรี่6มวนต่อวัน...)
คนสูบบุหรี่ไม่ใช่แค่รับสารพิษเท่านั้น แต่ยังได้กัมมันตภาพรังสีเป็นของแถมไปด้วย ..... ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ
ปล. กระทู้นี้ได้แรงบันดาลใจจากกระทู้ "ใครชอบสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เชิญทางนี้หน่อยครับ" ที่เนื้อหาไม่ค่อยถูกจริตกับชาวหว้ากอเท่าไหร่ .... เลยเขียนกระทู้นี้ขึ้นมา....คิดว่าคงถูกจริตมากกว่า ฮ่าๆๆ
ปล2. เจ้าของกระทู้เป็นแฟนคลับ Veritasium ค่า ... ดร. Derek ทำให้วิทยาศาสตร์ที่ดูน่าเบื่อเป็นสิ่งที่ตื่นเต้น น่าค้นหาได้ตลอด ... แต่คลิปนี้พอมานั่งแปลแล้วทำให้รู้สึกว่าหน่วยที่ใช้เทียบตอนหลังๆมันงงๆอยู่นะ
edit: ใครที่สนใจอ่านเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีในยาสูบ เชิญอ่านต่อได้ที่link นี้ค่ะ http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2509609/
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2672370/