คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5609/2542 (โดยย่อ)
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย
ว่าด้วยกฎระเบียบทางวินัย ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้พนักงาน
ละเว้น หรือหลีกเลี่ยงการกระทำอันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหาย
แก่ชื่อเสียง ทรัพย์สิน ผลประโยชน์ของจำเลย
หรือการกระทำอันเป็นการขัดต่อศีลธรรมประเพณีอันดีงาม
พนักงานทุกคน จะต้องไม่กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าว
ทั้งในหรือนอกเวลาทำงาน ขณะที่อยู่ภายใน หรือนอกสถานที่ทำงาน
ถ้าพนักงานกระทำการใด ที่อาจทำให้จำเลยผู้เป็นนายจ้าง
ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง หรือในทางอื่นใดแล้ว
จำเลยย่อมมีอำนาจพิจารณาลงโทษตามระเบียบข้อบังคับได้
โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลย มีชู้กับพนักงานชายของจำเลย
แม้จะไม่ได้เกิดขึ้นภายในบริเวณ หรือในเวลาทำงาน
ก็ถือได้ว่า เป็นการไม่รักษาเกียรติ และเป็นการประพฤติชั่ว
ซึ่งเป็นการละเมิดต่อศีลธรรมอันดีอย่างร้ายแรง
และเป็นที่รู้กันทั่วไป ในหมู่พนักงานของจำเลย
การกระทำของโจทก์และชายชู้ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อการปกครองบังคับบัญชาพนักงานองจำเลย
รวมทั้งชื่อเสียงของจำเลยด้วย
การกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
และกรณีไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙
จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย
ว่าด้วยกฎระเบียบทางวินัย ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้พนักงาน
ละเว้น หรือหลีกเลี่ยงการกระทำอันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหาย
แก่ชื่อเสียง ทรัพย์สิน ผลประโยชน์ของจำเลย
หรือการกระทำอันเป็นการขัดต่อศีลธรรมประเพณีอันดีงาม
พนักงานทุกคน จะต้องไม่กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าว
ทั้งในหรือนอกเวลาทำงาน ขณะที่อยู่ภายใน หรือนอกสถานที่ทำงาน
ถ้าพนักงานกระทำการใด ที่อาจทำให้จำเลยผู้เป็นนายจ้าง
ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง หรือในทางอื่นใดแล้ว
จำเลยย่อมมีอำนาจพิจารณาลงโทษตามระเบียบข้อบังคับได้
โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลย มีชู้กับพนักงานชายของจำเลย
แม้จะไม่ได้เกิดขึ้นภายในบริเวณ หรือในเวลาทำงาน
ก็ถือได้ว่า เป็นการไม่รักษาเกียรติ และเป็นการประพฤติชั่ว
ซึ่งเป็นการละเมิดต่อศีลธรรมอันดีอย่างร้ายแรง
และเป็นที่รู้กันทั่วไป ในหมู่พนักงานของจำเลย
การกระทำของโจทก์และชายชู้ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อการปกครองบังคับบัญชาพนักงานองจำเลย
รวมทั้งชื่อเสียงของจำเลยด้วย
การกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
และกรณีไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙
จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์
แสดงความคิดเห็น
ชู้สาว