นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยเติบโตต่อเนื่อง เครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญมีตัวเลขยืนยัน เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่ง
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการ ติดตามและประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อการกำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพ และกำชับทุกหน่วยงานเร่งเดินหน้าตามนโยบายทางเศรษฐกิจที่ได้กำหนดไว้ ส่งเสริมความเชื่อมั่นของนักลงทุน ผู้ประกอบการ ส่งเสริม กระตุ้นทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาประเทศ
การเปรียบเทียบเครื่องชี้เศรษฐกิจที่สำคัญตัวแรก ได้แก่ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ซึ่งพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ไทยมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง อยู่ที่ 4.5 %YoY และสูงกว่ากลุ่มประเทศ Big-4 สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งมีตัวเลขอยู่ที่ 1.9 %YoY 2.3 %YoY 1.5 %YoY และ 3.9 %YoY เรียงตามลำดับ
ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไทยก็ต่ำกว่าสหรัฐฯ ยูโรโซน และค่าเฉลี่ยของ ASEAN-5 (สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย) โดยในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ในขณะที่ในเดือนพฤศจิกายน 2565 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 และธันวาคม 2565 อยู่ที่ร้อยละ 5.9
ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (%) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศ Big-4 และค่าเฉลี่ยของ ASEAN-5 ของไทยอยู่ในระดับที่ต่ำ เอื้อต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดยในปี 2564 อยู่ที่ 0.50% เดือนพฤศจิกายน 2565 อยู่ที่ 1.00 % และธันวาคม 2565 อยู่ที่ 1.25 % และสุดท้าย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI for Manufacturing) ภาคอุตสาหกรรมของไทยอยู่ในระดับที่สูงกว่ากลุ่มประเทศ Big-4 และค่าเฉลี่ย ASEAN-5 และอยู่สูงกว่าระดับ 50 จุด ซึ่งบ่งชี้ถึงภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัว
เครื่องชี้เศรษฐกิจที่สำคัญเหล่านี้แสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมถึงโอกาส และแนวโน้มทางเศรษฐกิจของไทย ที่ยังมีการเติบโต มีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งยืนยันว่ารัฐบาลพร้อมที่จะให้การสนับสนุน รวมทั้งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างกลไกการทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้เต็มศักยภาพ ยั่งยืน และสมดุล
#ลุงตู่ #ลุงตู่ตูน
https://www.facebook.com/superLungtoo/posts/pfbid0iCVfps59Q4ydb61nbRsMejWYR7uWXUjEsWgTnD3yXaYjAFEsyieHayMa53FsKrL6l?locale=th_TH
นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยเติบโตต่อเนื่อง เครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญมีตัวเลขยืนยัน เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่ง
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการ ติดตามและประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อการกำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพ และกำชับทุกหน่วยงานเร่งเดินหน้าตามนโยบายทางเศรษฐกิจที่ได้กำหนดไว้ ส่งเสริมความเชื่อมั่นของนักลงทุน ผู้ประกอบการ ส่งเสริม กระตุ้นทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาประเทศ
การเปรียบเทียบเครื่องชี้เศรษฐกิจที่สำคัญตัวแรก ได้แก่ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ซึ่งพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ไทยมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง อยู่ที่ 4.5 %YoY และสูงกว่ากลุ่มประเทศ Big-4 สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งมีตัวเลขอยู่ที่ 1.9 %YoY 2.3 %YoY 1.5 %YoY และ 3.9 %YoY เรียงตามลำดับ
ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไทยก็ต่ำกว่าสหรัฐฯ ยูโรโซน และค่าเฉลี่ยของ ASEAN-5 (สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย) โดยในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ในขณะที่ในเดือนพฤศจิกายน 2565 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 และธันวาคม 2565 อยู่ที่ร้อยละ 5.9
ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (%) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศ Big-4 และค่าเฉลี่ยของ ASEAN-5 ของไทยอยู่ในระดับที่ต่ำ เอื้อต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดยในปี 2564 อยู่ที่ 0.50% เดือนพฤศจิกายน 2565 อยู่ที่ 1.00 % และธันวาคม 2565 อยู่ที่ 1.25 % และสุดท้าย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI for Manufacturing) ภาคอุตสาหกรรมของไทยอยู่ในระดับที่สูงกว่ากลุ่มประเทศ Big-4 และค่าเฉลี่ย ASEAN-5 และอยู่สูงกว่าระดับ 50 จุด ซึ่งบ่งชี้ถึงภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัว
เครื่องชี้เศรษฐกิจที่สำคัญเหล่านี้แสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมถึงโอกาส และแนวโน้มทางเศรษฐกิจของไทย ที่ยังมีการเติบโต มีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งยืนยันว่ารัฐบาลพร้อมที่จะให้การสนับสนุน รวมทั้งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างกลไกการทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้เต็มศักยภาพ ยั่งยืน และสมดุล
#ลุงตู่ #ลุงตู่ตูน
https://www.facebook.com/superLungtoo/posts/pfbid0iCVfps59Q4ydb61nbRsMejWYR7uWXUjEsWgTnD3yXaYjAFEsyieHayMa53FsKrL6l?locale=th_TH