JJNY : โรม : ศึกสีกากีห้ำหั่น│ย้อนรอยคำตัดสินยุบ“อนาคตใหม่”│ttb analytics ชี้ศก.ไทยฟื้นตัวช้า│แม่นาวัลนีชี้ถูกแบล็คเมล์

รังสิมันต์ โรม : ศึกสีกากีห้ำหั่นผลประโยชน์มหาศาล จับตาตาอยู่ได้ประโยชน์ ถ้าบิ๊กโจ๊กไม่ได้เป็น ผบ.ตร.
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4438635
 
 
The Politics ข่าวบ้าน การเมือง สัมภาษณ์พิเศษ รังสิมันต์ โรม ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร วิเคราะห์ศึกแตกหักวงการสีกากี ระหว่าง “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล กับ “บิ๊กต่อ” พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล  ผบ.ตร. ไม่เคยมององค์กรตำรวจมีเอกภาพเลย เมื่อไรที่ต้องรบกัน แต่ละฝ่ายก็มีอาวุธพร้อมที่จะต่อสู้ พร้อมห้ำหั่นกันได้เสมอ ชัยชนะไม่ได้มองถึงเอาคนไปติดคุก แต่หวังเจรจา ตกลงผลประโยชน์กัน ถึงเวลาที่ต้องสังคายนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



“ก้าวไกล”ชวนย้อนรอยคำตัดสินยุบ“อนาคตใหม่”24 กุมภาฯนี้
https://siamrath.co.th/n/516430

เพจ พรรคก้าวไกล - Move Forward Party โพสต์ข้อความระบุว่า
 
21 กุมภาพันธ์ - 4 ปีให้หลัง ครั้งยุบพรรคอนาคตใหม่
 
โอกาสนี้ขอเชิญทุกคนมาร่วมฟัง
 
SOL Bar Talk Special เสาร์นี้!
 
กางให้ดู อำนาจยุบพรรคการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญ มาจากไหน? มาร่วมย้อนรอยคำตัดสินยุบพรรคที่สนใจอย่าง พรรคไทยรักไทย ไทยรักษาชาติ และอนาคตใหม่ พร้อมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคำถามที่ว่า “ถ้ายุบพรรคการเมืองต่อไป ประเทศไทยจะเสียอะไรบ้าง?”
พบกัน
 
วันเสาร์ที่ 24 ก.พ. 2567 เวลา 15.00 - 17.00 น.
 
ที่ SOL Bar & Bistro อาคารอนาคตใหม่ ชั้น 2

https://www.facebook.com/MoveForwardPartyThailand/posts/pfbid0CcbFsFi3B5dJZr61Eoh4MvHdHe58uQj7v7ms9KryCbnyKpXvPTCB4h4mLkVk7T7fl



ttb analytics ชี้ศก.ไทยฟื้นตัวช้า-เผชิญท้าทายรอบด้าน คาดปีนี้โต 2.6% โควิด ทำปัญหาเชิงโครงสร้างรุนแรงขึ้น
https://www.matichon.co.th/economy/news_4438683

ttb analytics ระบุศก.ไทยฟื้นตัวช้า-เผชิญความท้าทายรอบด้าน คาดปีนี้โต 2.6% ชี้วิกฤตโควิด จุดชนวนปัญหาเชิงโครงสร้างรุนแรงขึ้น หวั่นกระทบความสามารถในการแข่งขันธุรกิจ แถมถูกสินค้าจีนตีตลาดล่าสุดไทยขาดดุลการค้าจีนถึง 3.7 หมื่นล.ดอลลาร์
 
เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า แม้ภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2566 ที่ผ่านมา ยังพอมีแรงสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว แต่ภาพรวมการใช้จ่ายของภาคประชาชนกลับเห็นสัญญาณเปราะบางขึ้น สะท้อนจากการบริโภคภาคเอกชนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับร้านอาหารและโรงแรม (เช่น การใช้จ่ายสินค้าจำเป็น ค่าสาธารณูปโภค ค่าเช่า ค่าซื้อยานพาหนะ ฯลฯ) ขยายตัวได้เพียง 0.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) สวนทางกับการใช้จ่ายในส่วนของร้านอาหารและโรงแรมเติบโตถึง 46.5%
ttb analytics มองว่าเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังไม่กลับสู่ระดับก่อนวิกฤตโควิด-19 แม้ระดับการขยายตัวของเศรษฐกิจในปัจจุบันสามารถปิดช่องว่างผลผลิตได้แล้ว (ช่องว่างผลผลิต หรือ Output Gap หมายถึงส่วนต่างระหว่างการเติบโตของเศรษฐกิจปัจจุบันเทียบระดับศักยภาพ) แต่เป็นการปิด Output Gap เทียบกับระดับศักยภาพใหม่ที่ลดลง กล่าวคือ เศรษฐกิจไทยมักจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงเพิ่มขึ้นทุกครั้งหลังเกิดวิกฤต ทำให้เศรษฐกิจในระยะสั้นฟื้นตัวช้ามาก ส่วนในระยะยาวมีแนวโน้มขยายตัวต่ำเฉลี่ยไม่ถึง 2.0% ต่อปี อีกทั้งโมเมนตัมเศรษฐกิจไทยยังฟื้นได้ช้ากว่าหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีกว่าในอดีต
 
ทั้งนี้ ttb analytics ประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัว 2.6% ดีขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัว 1.9% แต่เป็นการฟื้นตัวที่ค่อนข้างเชื่องช้าและยังมีความเสี่ยงรอบด้าน แม้เศรษฐกิจในช่วงต้นปีได้แรงส่งจากการบริโภคและการท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้นตามอานิสงส์ของช่วงเทศกาล แต่แรงขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเติบโตในระยะสั้นอาจมีเพียงการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ขณะที่การลงทุนโดยรวมฟื้นตัวล่าช้า รวมถึงการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้จำกัด สำหรับเงินเฟ้อปี 2567 มีแนวโน้มต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย แต่ยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 0.8% ท่ามกลางการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นมาก ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน) ของไทยในปัจจุบันอยู่ที่ราว 2.0% ซึ่งสูงกว่าประเทศคู่เทียบอย่างมาเลเซียและเกาหลีใต้ และสูงกว่าสหรัฐฯ ที่ระดับ 1.0%
 
ชี้วิกฤตโควิด-19 จุดชนวนปัญหาเชิงโครงสร้างภาคการผลิตไทยรุนแรงขึ้น
 
โครงสร้างเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัย หากพิจารณาตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจที่ยังไม่ได้รวมผลของส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ (Change in Inventory) และส่วนต่างทางสถิติ (Statistical Discrepancy) จะเห็นว่าตัวเลขในฝั่งอุปสงค์ (Demand Side) แตกต่างกับการเติบโตของเศรษฐกิจในฝั่งอุปทาน (Supply Side) อย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี 2565 เนื่องจากส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือและส่วนต่างทางสถิติมีบทบาทต่อการเติบโตของเศรษฐกิจมากขึ้น สะท้อนจากตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจฝั่งอุปทานในปี 2566 ขยายตัวได้เพียง 2.1%YoY ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจฝั่งอุปสงค์กลับขยายตัวถึง 4.5%YoY เหล่านี้สะท้อนการปรับตัวของวัฎจักรธุรกิจทำได้ค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในฝั่งอุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นตามสภาพเศรษฐกิจและพฤติกรรมทางสังคม
 
ทั้งนี้ ผู้ผลิตในประเทศสูญเสียความสามารถในการแข่งขันจากสินค้านำเข้าจากจีนที่เข้ามาในตลาดของไทย โดยการปรับตัวของโครงสร้างภาคผลิตไทยทำได้ช้าจึงแข่งขันได้ยาก จากข้อจำกัดในเรื่องห่วงโซ่อุปทานในแต่ละอุตสาหกรรมและลักษณะเฉพาะด้านโครงสร้างธุรกิจ อีกทั้งการเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ในทางกลับกัน สินค้าอุปโภคบริโภคที่นำเข้าจากจีนมีข้อได้เปรียบจากราคาที่ค่อนข้างถูกตามการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) รวมถึงการฉกฉวยข้อได้เปรียบจากระเบียบการยกเว้นภาษีขาเข้าศุลกากรของไทย ส่งผลให้ไทยนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากจีนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยสูงถึง 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือคิดเป็น 20% ของมูลค่านำเข้าจากจีนทั้งหมด
ขณะเดียวกัน ผู้ค้าในประเทศก็เริ่มเผชิญข้อจำกัดจากการที่จีนเข้ามาทำตลาดในประเทศโดยตรง หากพิจารณาตัวเลขหมวดย่อยการเติบโตทางเศรษฐกิจในฝั่งอุปทาน พบว่า กิจกรรมภาคการค้าปลีกค้าส่งในปี 2566 ขยายตัวได้ดีถึง 3.8%YoY สวนทางกับกิจกรรมในภาคการผลิต (Manufacturing) ที่หดตัว 3.2% ซึ่งส่วนหนึ่งจากความนิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้มูลค่าตลาดค้าปลีกออนไลน์ (E-Commerce) ในประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว จนทำให้ระยะหลัง ผู้ค้าในประเทศเองก็กำลังเผชิญการแข่งขันที่ยากลำบากขึ้นจากการทำตลาดเองโดยตรง (B2C) ของผู้ผลิตและผู้ค้าจีนที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคชาวไทยได้ง่ายขึ้น
 
มองไปข้างหน้า ttb analytics ชี้ว่า ผู้ประกอบการในประเทศอาจต้องเผชิญการแข่งขันในประเทศที่รุนแรงขึ้น เนื่องจากความเสี่ยงที่สถานการณ์สินค้าจีนทะลักไทยจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น (ทั้งมิติของปริมาณและการกระจายไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ มากขึ้น) จากผลพวงของเศรษฐกิจจีนชะลอตัวและประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มชะลอลงกว่าในอดีตจากผลกระทบของวิกฤตภาคอสังหาริมทรัพย์
แต่ภาคการผลิตจีนยังคงรักษาอัตรากำลังการผลิตในระดับสูงเพื่อคงระดับการจ้างงานในประเทศต่อไป จึงเกิดเป็น “ภาวะการผลิตมากเกินไป” (Overproduction) ขณะที่ผู้ผลิตจีนก็มีข้อจำกัดทางการค้าจากประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์มากขึ้น ทำให้ไม่สามารถระบายสินค้าไปยังคู่ค้าหลักเดิมอย่างสหรัฐฯ ได้เหมือนในอดีต ส่งผลให้จีนปรับเปลี่ยนการส่งออกไปยังตลาดอาเซียนซึ่งได้เปรียบเรื่องทำเลที่ตั้งที่ใกล้เคียงเพิ่มขึ้น
สอดคล้องกับตัวเลขมูลค่าส่งออกจีนไปตลาดอาเซียนขยายตัวเร่งขึ้นในระยะหลัง จนทำให้สัดส่วนส่งออกไปตลาดอาเซียนในปัจจุบันใหญ่กว่าที่ส่งออกไปสหรัฐฯ เช่นเดียวกับไทยมีการนำเข้าสินค้าจากจีนขยายตัวเฉลี่ยสูงถึง 9.2% ในช่วงปี 2563-2566 คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าสูงถึง 7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้ากับจีนสูงสุดเมื่อเทียบกับคู่ค้าสำคัญหรือขาดดุลการค้าราว 3.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่