เมื่อวานนี้ (10 ม.ค.) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วม สำหรับโครงการพัฒนาปรับปรุงท่าเรือสงขลา ซึ่งโครงการดังกล่าว กรมธนารักษ์เป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมดำเนินโครงการฯ โดยวิธีการประมูล
ผลลัพธ์ของโครงการพัฒนาปรับปรุงท่าเรือสงขลานั้น จะทำให้ท่าเรือสงขลามีขีดความสามารถในการรองรับสินค้าผ่านหน้าท่าได้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ประมาณ 2 ล้านตัน เป็นปริมาณมากกว่า 3.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.9 เท่า มีจำนวนตู้สินค้าประมาณ 180,000 TEU เพิ่มเป็นมากกว่า 450,000 TEU เพิ่มขึ้น 2.5 เท่า
** TEU; Twenty foot Equivalent Unit คือหน่วยนับจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ โดยใช้ตู้ขนาด 20 ฟุตเป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ
สัญญาดังกล่าวเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ภายใต้ พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ซึ่งจะเกิดผลประโยชน์ดังนี้
รายได้กลับคืนสู่ภาครัฐรวมทั้งสิ้น 7,357.78 ล้านบาท (ตลอดอายุสัญญา 25 ปี) ประกอบด้วย
(1) งบลงทุนของเอกชนในการปรับปรุงท่าเรือสงขลา จำนวน 2,387.90 ล้านบาท
(2) ค่าตอบแทนรายปีที่เอกชนต้องชำระให้กับทางราชการ จำนวน 2,881.00 ล้านบาท
(3) ค่าตอบแทนล่วงหน้า จำนวน 488.88 ล้านบาท
(4) ค่าตอบแทนเพิ่มเติม (ร้อยละ 45 ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีการปรับอัตราค่าภาระของท่าเรือ) จำนวน 1,600.00 ล้านบาท
ผลประโยชน์ของชาติประกอบด้วย
1) ท่าเรือสงขลาจะสามารถรองรับขนาดเรือที่เข้าใช้บริการท่าเรือน้ำลึกสงขลาได้มากขึ้น รวมทั้งรองรับจำนวนตู้คอนเทนเนอร์และน้ำหนักได้เพิ่มขึ้น
(2) ลดค่าใช้จ่ายต้นทุนขนย้ายสินค้าส่งออก เนื่องจากสามารถบรรทุกสินค้าส่งออกทางเรือไปยังประเทศปลายทางได้โดยตรง
(3) ผู้ใช้ร่องน้ำรายอื่นที่ใช้ร่องน้ำร่วมกันจะได้รับประโยชน์จากการขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำสงขลานี้ด้วย เช่น กลุ่มเรือเดินเข้าออกท่าเรือของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
(4) สนับสนุนการขนส่งสินค้าทางทะเล รองรับการขยายตัวของปริมาณสินค้าผ่านท่าเรือน้ำลึกสงขลา และเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือน้ำลึกบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่างให้สามารถรองรับการขนถ่ายสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์ไปยังประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ธุรกิจการนำเข้าและส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศและท้องถิ่น
โครงการพัฒนาปรับปรุงท่าเรือสงขลานี้ เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และ 3 แกนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศ ของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
#ยุทธศาสตร์ชาติ20ปี #3แกนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศ
#โครงสร้างพื้นฐาน #ท่าเรือสงขลา
#สร้างไทยไปด้วยกัน #ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
#PMOC #ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี
@@@ โครงการพัฒนาปรับปรุงท่าเรือสงขลา @@@
ผลลัพธ์ของโครงการพัฒนาปรับปรุงท่าเรือสงขลานั้น จะทำให้ท่าเรือสงขลามีขีดความสามารถในการรองรับสินค้าผ่านหน้าท่าได้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ประมาณ 2 ล้านตัน เป็นปริมาณมากกว่า 3.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.9 เท่า มีจำนวนตู้สินค้าประมาณ 180,000 TEU เพิ่มเป็นมากกว่า 450,000 TEU เพิ่มขึ้น 2.5 เท่า
** TEU; Twenty foot Equivalent Unit คือหน่วยนับจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ โดยใช้ตู้ขนาด 20 ฟุตเป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ
สัญญาดังกล่าวเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ภายใต้ พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ซึ่งจะเกิดผลประโยชน์ดังนี้
รายได้กลับคืนสู่ภาครัฐรวมทั้งสิ้น 7,357.78 ล้านบาท (ตลอดอายุสัญญา 25 ปี) ประกอบด้วย
(1) งบลงทุนของเอกชนในการปรับปรุงท่าเรือสงขลา จำนวน 2,387.90 ล้านบาท
(2) ค่าตอบแทนรายปีที่เอกชนต้องชำระให้กับทางราชการ จำนวน 2,881.00 ล้านบาท
(3) ค่าตอบแทนล่วงหน้า จำนวน 488.88 ล้านบาท
(4) ค่าตอบแทนเพิ่มเติม (ร้อยละ 45 ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีการปรับอัตราค่าภาระของท่าเรือ) จำนวน 1,600.00 ล้านบาท
ผลประโยชน์ของชาติประกอบด้วย
1) ท่าเรือสงขลาจะสามารถรองรับขนาดเรือที่เข้าใช้บริการท่าเรือน้ำลึกสงขลาได้มากขึ้น รวมทั้งรองรับจำนวนตู้คอนเทนเนอร์และน้ำหนักได้เพิ่มขึ้น
(2) ลดค่าใช้จ่ายต้นทุนขนย้ายสินค้าส่งออก เนื่องจากสามารถบรรทุกสินค้าส่งออกทางเรือไปยังประเทศปลายทางได้โดยตรง
(3) ผู้ใช้ร่องน้ำรายอื่นที่ใช้ร่องน้ำร่วมกันจะได้รับประโยชน์จากการขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำสงขลานี้ด้วย เช่น กลุ่มเรือเดินเข้าออกท่าเรือของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
(4) สนับสนุนการขนส่งสินค้าทางทะเล รองรับการขยายตัวของปริมาณสินค้าผ่านท่าเรือน้ำลึกสงขลา และเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือน้ำลึกบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่างให้สามารถรองรับการขนถ่ายสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์ไปยังประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ธุรกิจการนำเข้าและส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศและท้องถิ่น
โครงการพัฒนาปรับปรุงท่าเรือสงขลานี้ เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และ 3 แกนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศ ของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
#ยุทธศาสตร์ชาติ20ปี #3แกนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศ
#โครงสร้างพื้นฐาน #ท่าเรือสงขลา
#สร้างไทยไปด้วยกัน #ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
#PMOC #ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี