คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ถ้าจะสรุปฟันธงว่า เกี่ยวข้องกับเหตุใดเหตุหนึ่ง หรือ ภาพยนตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ก็คงไม่แน่ใจว่า มีข้อมูลมากพอที่จะสรุปแบบนั้น
แต่ถ้าถามว่า สื่อบันเทิง หรือสื่อต่างๆ มีอิทธิพลต่อค่านิยมของคนในสังคมมั้ย?
ก็ตอบว่า มีผลมากค่ะ
-------------------
เรามองในฐานะของคนทำงานด้านสื่อสารมวลชนนะคะ
ไม่ได้พูดถึงในกรณีหนังเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือกรณีใดโดยเฉพาะ
พูดถึงกรณีโดยรวมๆ ทั้งในประเทศ และตปท.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้การสื่อสารอะไรออกไปสู่สาธารณะ ผ่านทางช่องทางต่างๆ ผ่านทางสื่อต่างๆ
ไม่ว่าจะหนัง ละคร เพลง คลิป ฯลฯ
มันส่งผลมากมายสารพัดเลยค่ะ เยอะเกินกว่าที่คนเราจะคาดถึง
หากสรุปแบบสั้นๆ คือ มันส่งผลด้านลบก็ได้ ส่งผลด้านบวกก็ได้
ซึ่งมันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยมากๆ เช่น วิธีการนำเสนอ จุดมุ่งหมายของผู้สร้างงาน
ทัศนคติต่อเรื่องต่างๆ ฝีมือ ประสบการณ์ และอีกหลายปัจจัย
รวมทั้งปัจจัยในส่วนของคนเสพสื่อด้วย ซึ่งมีประสบการณ์ มีสติปัญญา มีวิจารณญาณไม่เหมือนกัน
มันเป็นปัญหาไม่ใช่เฉพาะในประเทศนี้ แต่ในประเทศใหญ่ๆ ก็มีปัญหาเหล่านี้ค่ะ
คือ การนำเสนออะไรสักอย่างสู่สาธารณะ มีคนได้เห็น ได้เสพ ได้สัมผัสมากมาย
ผู้คนก็หลากหลายนิสัย หลากหลายระดับของสติปัญญา
มันจะเกิดคุณประโยชน์ก็ได้กับบางคน และเกิดโทษก็ได้กับบางคน
ซึ่งผู้เกี่ยวข้องต้อง sensitive มากๆๆ ซึ่งมันก็ยากไม่น้อยค่ะ
เรื่องมันยาวและมีความละเอียดอ่อนลึกซึ้งมากพอสมควร
เราขอเขียนสั้นๆ ประมาณว่า
ตราบใดที่จุดมุ่งหมายหลักของการสร้างงาน เป็นการสร้างเพื่อตอบโจทย์ทางธุรกิจ
เช่น รายได้ ชื่อเสียง ความนิยม อะไรประมาณนี้
เค้าก็ต้องคำนึงถึงว่า ทำอะไร ทำอย่างไร แล้วคนจะอยากดู ดูแล้วชอบ
ส่วนเรื่องสะท้อนปัญหาสังคม หรือนำเสนอสาระอะไรสู่สังคมนั้น
เป็นประเด็นรองๆ ลงไป
ถ้าคนมีฝีมือ หาความลงตัวได้ดี ก็จะผสานเรื่องทางธุรกิจให้ลงตัวกับแก่นหลักที่ต้องการสื่อได้ดี
แต่อย่างที่บอกว่า มันก็ไม่ง่ายค่ะ
เพราะถ้าทำหนัง ไม่ใช่เพื่อการกุศล หรือมีจิตอุทิศตนเพื่อประโยชน์สาธารณะจริงๆ
เค้าก็ต้องการผลตอบรับทางธุรกิจ ต้องการกระแส ต้องการให้คนชอบ
ก็จะมีคนหน้าตาดีๆ มาเล่น มีฉากที่ดูแล้วสนุก มีการดำเนินเรื่องที่เร้าอารมณ์ ฯลฯ
นี่เป็นการปรุงแต่งรสตามปกติของหนังทั่วไป
ทีนี้ พอเอา "ด้านมืด" หรือ ด้านสีเทา มานำเสนอ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับคน อาชีพ หรือพฤติกรรมใดๆ
แม้สิ่งที่ทำจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี ตัวละครจะได้รับผลกรรม หรืออะไรก็แล้วแต่
แต่มันจะมีความน่าสนใจ น่าดึงดูด พูดง่ายๆ คือ ถึงรู้ว่าไม่ดี แต่มันมีความเท่แฝงอยู่
นี่คือ เรื่องยากค่ะ เพราะการสื่อสารสู่ผู้คนมากมาย ก็ต้องมีคนเห็นอะไรที่ไม่ดี แล้วกลัว ไม่อยากทำ
และก็ต้องมีอีกไม่น้อย ที่รู้ว่า มันไม่ดี แต่มันเท่อ่ะ
ซึ่งมันเป็นมานานแล้ว ไม่ว่าจะหนัง hollywood หนังชาติอื่นๆ หนังไทย
ไล่มาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายของพวกเรา เช่น การสูบบุหรี่ในหนัง hollywood
ความรุนแรงต่างๆ ในหนัง ตัวละครที่ติดยา พฤติกรรมเสี่ยงๆ ของตัวแสดงในหนัง ฯลฯ
เรื่องพวกนี้ มันเป็นดาบสองคม ทั้งนั้นค่ะ มันคุมยากจริงๆ
แต่... แต่ บางคนก็มีทางออกอื่นๆ เช่น ถ้าคนที่นำเสนอในลักษณะสารคดี หรือ realistic มากๆ
แล้วคุมการนำเสนอให้มันสะท้อนภาพความจริงที่มันโหดร้าย ที่มันน่าหดหู่
คือ ไม่พยายามปรุงแต่งรสชาติให้มันดูเท่ ดูดี ดูน่าเร้าอารมณ์
มันก็จะช่วยลดการสื่อสารที่ทำให้คนเสพสื่อ ตีความผิดๆ ไปได้
แต่อย่างว่าค่ะว่า ถ้าเน้นตอบโจทย์ทางธุรกิจ ก็ต้องเอาคนหน้าดี คนดัง มาแสดง
ต่อให้ตัวแสดงได้รับผลกรรมอย่างสาสมยังไง
แต่ภาพความเท่ มันก็จะไปโดนใจคนบางกลุ่มจนได้
ว่าจะเขียนสั้นๆ นี่แค่แตะๆ ประเด็นแรก ก็ยาวซะแล้ว 55
เอาเป็นว่า การนำเสนออะไรที่เป็นด้านมืด มันมีเรื่องที่ sensitive มากๆ ค่ะ
ที่คนในแวดวงสร้างสรรค์เอง หลายคนก็ยังไม่เข้าใจถึงผลกระทบของมันมากพอ
แล้วก็จะมีคนพูดว่า เพราะฉะนั้น ตัวละคร ตัวแสดงในหนัง ในละคร ก็ต้องมีคนดี ประเสริฐล้วนๆ
character แบนๆ มีด้านเดียวเสมอไป ทำให้เรื่องมันดูไม่สมจริง จืดชืด 555
ถึงว่าแหละค่ะ เราจะทำอะไร เพื่อวัถตุประสงค์อะไร คนสร้างงานก็ต้องชัดเจนในเป้าหมาย
ถ้าจะทำเพื่อผลทางธุรกิจ ชื่อเสียง รายได้ ความนิยม ก็ต้องใส่ใจเรื่องพวกนี้มากกว่าเรื่องอื่นๆ
แต่ถ้าจะทำเพื่อผลประโยชน์อื่นๆ ก็จะมีวิธีต่างออกไป
หรือถ้าจะผสมทั้งธุรกิจและประโยชน์ต่อสังคม ก็ต้องหาทางผสมให้ลงตัว
เหมือนทำอาหารมั้งคะ ถ้าจะให้มันอร่อยและมีประโยชน์ด้วย มันก็มีคนพยายามทำให้ลงตัวได้น่าชื่นชมมากมายค่ะ
---------------------------
แล้วในฐานะเป็นคนทำงานด้านสร้างสรรค์ ด้านสื่อสารมวลชน ถ้าเป็นตัวเรา เราจะทำยังไง?
อย่างที่บอกค่ะว่า มันไม่ง่ายเลย เข้าใจหัวอกของผู้สร้างงานทุกท่านค่ะ
ถ้าเป็นตัวเราเป็นผู้สร้างสรรค์งาน เราก็ต้องกลับไปที่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักในการสร้างงาน
ว่าเราต้องการสื่อสารอะไรสู่สังคม? เราจะจับประเด็นอะไร? อะไรคือแก่นของเรื่อง?
จะนำเสนอแบบไหนถึงจะเหมาะสมและตอบตรงกับวัตถุประสงค์? ..... ฯลฯ
ถ้าเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสังคม ด้านมืด หรือด้านสีเทา หรือเรื่องอื่นๆ ที่มัน sensitive
เราก็จะดูว่า มันหาวิธีสื่อสารยังไงให้บรรลุเป้าหมายอันเป็นประโยชน์ได้
แต่ถ้ามันคลุมเครือ คือ สื่อทั้งด้านที่จะก่อประโยชน์ และสื่อทั้งด้านที่จะก่อโทษ
เราก็คงต้องหาทางเลี่ยง หาทางปรับแก้
หรือไม่ก็ เราก็จะไม่จับประเด็นที่เราไม่มั่นใจว่า มันจะ mislead คนบางกลุ่มในสังคมหรือไม่?
อะไรประมาณนั้น ซึ่งก็คงแล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละผู้สร้างงานค่ะ
ใครสนใจประเด็นพวกนี้ อยากให้ลองหางานหนังสะท้อนปัญหาสังคมของประเทศอื่นๆ มาดู
จะเห็นได้ว่า มันมีการนำเสนอที่หลายรูปแบบ ต่างจากหนังหรือละครสมัยก่อน
ที่มักจะให้ตัวเอก (ที่เป็นด้านมืด) ได้แสดงความเท่ ได้แสดงความคูลๆ ชิคๆ เพื่อเอาใจคนดูไปก่อน
แล้วค่อยให้ตัวเอกรับผลกรรมในภายหลัง ซึ่งความเท่ ความดึงดูด มันได้ mislead คนบางกลุ่มไปแล้วแน่นอน
หลีกไม่พ้นเนอะ
ก็ต้องหาส่วนผสม และวิธีการกันดูค่ะ เหมือนทำอาหารอย่างที่เราเปรียบเทียบไว้
ถ้าเป้าหมายหลักคือ โภชนาการ ประโยชน์ต่อร่างกาย เชฟก็จะมีวิธีคิด วิธีประดิษฐ์อาหารไปแบบนึง
แต่ถ้าเป้าหมายหลักคือ เน้นอร่อย ถูกปากคนกิน หน้าตาน่ากิน เชฟก็จะมีวิธีคิด วิธีทำอีกแบบนึง
แต่ถ้าจะผสมสองเป้าหมายเข้าด้วยกัน ก็ต้องไปหาส่วนผสมที่ลงตัวของทั้งสองสิ่ง
คือ ทั้งอร่อย หน้าตาน่ากิน และยังมีประโยชน์ด้านโภชนาการด้วยค่ะ
ไม่ง่ายค่ะ แต่ถ้าตั้งเป้าแบบนี้ ก็มีคนทำได้มาแล้วไม่น้อยค่ะ
ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย และทัศนคติ ฝีมือ ฯลฯ ของผู้สร้างสรรค์งาน
ก็คงไม่แน่ใจว่า มีข้อมูลมากพอที่จะสรุปแบบนั้น
แต่ถ้าถามว่า สื่อบันเทิง หรือสื่อต่างๆ มีอิทธิพลต่อค่านิยมของคนในสังคมมั้ย?
ก็ตอบว่า มีผลมากค่ะ
-------------------
เรามองในฐานะของคนทำงานด้านสื่อสารมวลชนนะคะ
ไม่ได้พูดถึงในกรณีหนังเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือกรณีใดโดยเฉพาะ
พูดถึงกรณีโดยรวมๆ ทั้งในประเทศ และตปท.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้การสื่อสารอะไรออกไปสู่สาธารณะ ผ่านทางช่องทางต่างๆ ผ่านทางสื่อต่างๆ
ไม่ว่าจะหนัง ละคร เพลง คลิป ฯลฯ
มันส่งผลมากมายสารพัดเลยค่ะ เยอะเกินกว่าที่คนเราจะคาดถึง
หากสรุปแบบสั้นๆ คือ มันส่งผลด้านลบก็ได้ ส่งผลด้านบวกก็ได้
ซึ่งมันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยมากๆ เช่น วิธีการนำเสนอ จุดมุ่งหมายของผู้สร้างงาน
ทัศนคติต่อเรื่องต่างๆ ฝีมือ ประสบการณ์ และอีกหลายปัจจัย
รวมทั้งปัจจัยในส่วนของคนเสพสื่อด้วย ซึ่งมีประสบการณ์ มีสติปัญญา มีวิจารณญาณไม่เหมือนกัน
มันเป็นปัญหาไม่ใช่เฉพาะในประเทศนี้ แต่ในประเทศใหญ่ๆ ก็มีปัญหาเหล่านี้ค่ะ
คือ การนำเสนออะไรสักอย่างสู่สาธารณะ มีคนได้เห็น ได้เสพ ได้สัมผัสมากมาย
ผู้คนก็หลากหลายนิสัย หลากหลายระดับของสติปัญญา
มันจะเกิดคุณประโยชน์ก็ได้กับบางคน และเกิดโทษก็ได้กับบางคน
ซึ่งผู้เกี่ยวข้องต้อง sensitive มากๆๆ ซึ่งมันก็ยากไม่น้อยค่ะ
เรื่องมันยาวและมีความละเอียดอ่อนลึกซึ้งมากพอสมควร
เราขอเขียนสั้นๆ ประมาณว่า
ตราบใดที่จุดมุ่งหมายหลักของการสร้างงาน เป็นการสร้างเพื่อตอบโจทย์ทางธุรกิจ
เช่น รายได้ ชื่อเสียง ความนิยม อะไรประมาณนี้
เค้าก็ต้องคำนึงถึงว่า ทำอะไร ทำอย่างไร แล้วคนจะอยากดู ดูแล้วชอบ
ส่วนเรื่องสะท้อนปัญหาสังคม หรือนำเสนอสาระอะไรสู่สังคมนั้น
เป็นประเด็นรองๆ ลงไป
ถ้าคนมีฝีมือ หาความลงตัวได้ดี ก็จะผสานเรื่องทางธุรกิจให้ลงตัวกับแก่นหลักที่ต้องการสื่อได้ดี
แต่อย่างที่บอกว่า มันก็ไม่ง่ายค่ะ
เพราะถ้าทำหนัง ไม่ใช่เพื่อการกุศล หรือมีจิตอุทิศตนเพื่อประโยชน์สาธารณะจริงๆ
เค้าก็ต้องการผลตอบรับทางธุรกิจ ต้องการกระแส ต้องการให้คนชอบ
ก็จะมีคนหน้าตาดีๆ มาเล่น มีฉากที่ดูแล้วสนุก มีการดำเนินเรื่องที่เร้าอารมณ์ ฯลฯ
นี่เป็นการปรุงแต่งรสตามปกติของหนังทั่วไป
ทีนี้ พอเอา "ด้านมืด" หรือ ด้านสีเทา มานำเสนอ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับคน อาชีพ หรือพฤติกรรมใดๆ
แม้สิ่งที่ทำจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี ตัวละครจะได้รับผลกรรม หรืออะไรก็แล้วแต่
แต่มันจะมีความน่าสนใจ น่าดึงดูด พูดง่ายๆ คือ ถึงรู้ว่าไม่ดี แต่มันมีความเท่แฝงอยู่
นี่คือ เรื่องยากค่ะ เพราะการสื่อสารสู่ผู้คนมากมาย ก็ต้องมีคนเห็นอะไรที่ไม่ดี แล้วกลัว ไม่อยากทำ
และก็ต้องมีอีกไม่น้อย ที่รู้ว่า มันไม่ดี แต่มันเท่อ่ะ
ซึ่งมันเป็นมานานแล้ว ไม่ว่าจะหนัง hollywood หนังชาติอื่นๆ หนังไทย
ไล่มาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายของพวกเรา เช่น การสูบบุหรี่ในหนัง hollywood
ความรุนแรงต่างๆ ในหนัง ตัวละครที่ติดยา พฤติกรรมเสี่ยงๆ ของตัวแสดงในหนัง ฯลฯ
เรื่องพวกนี้ มันเป็นดาบสองคม ทั้งนั้นค่ะ มันคุมยากจริงๆ
แต่... แต่ บางคนก็มีทางออกอื่นๆ เช่น ถ้าคนที่นำเสนอในลักษณะสารคดี หรือ realistic มากๆ
แล้วคุมการนำเสนอให้มันสะท้อนภาพความจริงที่มันโหดร้าย ที่มันน่าหดหู่
คือ ไม่พยายามปรุงแต่งรสชาติให้มันดูเท่ ดูดี ดูน่าเร้าอารมณ์
มันก็จะช่วยลดการสื่อสารที่ทำให้คนเสพสื่อ ตีความผิดๆ ไปได้
แต่อย่างว่าค่ะว่า ถ้าเน้นตอบโจทย์ทางธุรกิจ ก็ต้องเอาคนหน้าดี คนดัง มาแสดง
ต่อให้ตัวแสดงได้รับผลกรรมอย่างสาสมยังไง
แต่ภาพความเท่ มันก็จะไปโดนใจคนบางกลุ่มจนได้
ว่าจะเขียนสั้นๆ นี่แค่แตะๆ ประเด็นแรก ก็ยาวซะแล้ว 55
เอาเป็นว่า การนำเสนออะไรที่เป็นด้านมืด มันมีเรื่องที่ sensitive มากๆ ค่ะ
ที่คนในแวดวงสร้างสรรค์เอง หลายคนก็ยังไม่เข้าใจถึงผลกระทบของมันมากพอ
แล้วก็จะมีคนพูดว่า เพราะฉะนั้น ตัวละคร ตัวแสดงในหนัง ในละคร ก็ต้องมีคนดี ประเสริฐล้วนๆ
character แบนๆ มีด้านเดียวเสมอไป ทำให้เรื่องมันดูไม่สมจริง จืดชืด 555
ถึงว่าแหละค่ะ เราจะทำอะไร เพื่อวัถตุประสงค์อะไร คนสร้างงานก็ต้องชัดเจนในเป้าหมาย
ถ้าจะทำเพื่อผลทางธุรกิจ ชื่อเสียง รายได้ ความนิยม ก็ต้องใส่ใจเรื่องพวกนี้มากกว่าเรื่องอื่นๆ
แต่ถ้าจะทำเพื่อผลประโยชน์อื่นๆ ก็จะมีวิธีต่างออกไป
หรือถ้าจะผสมทั้งธุรกิจและประโยชน์ต่อสังคม ก็ต้องหาทางผสมให้ลงตัว
เหมือนทำอาหารมั้งคะ ถ้าจะให้มันอร่อยและมีประโยชน์ด้วย มันก็มีคนพยายามทำให้ลงตัวได้น่าชื่นชมมากมายค่ะ
---------------------------
แล้วในฐานะเป็นคนทำงานด้านสร้างสรรค์ ด้านสื่อสารมวลชน ถ้าเป็นตัวเรา เราจะทำยังไง?
อย่างที่บอกค่ะว่า มันไม่ง่ายเลย เข้าใจหัวอกของผู้สร้างงานทุกท่านค่ะ
ถ้าเป็นตัวเราเป็นผู้สร้างสรรค์งาน เราก็ต้องกลับไปที่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักในการสร้างงาน
ว่าเราต้องการสื่อสารอะไรสู่สังคม? เราจะจับประเด็นอะไร? อะไรคือแก่นของเรื่อง?
จะนำเสนอแบบไหนถึงจะเหมาะสมและตอบตรงกับวัตถุประสงค์? ..... ฯลฯ
ถ้าเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสังคม ด้านมืด หรือด้านสีเทา หรือเรื่องอื่นๆ ที่มัน sensitive
เราก็จะดูว่า มันหาวิธีสื่อสารยังไงให้บรรลุเป้าหมายอันเป็นประโยชน์ได้
แต่ถ้ามันคลุมเครือ คือ สื่อทั้งด้านที่จะก่อประโยชน์ และสื่อทั้งด้านที่จะก่อโทษ
เราก็คงต้องหาทางเลี่ยง หาทางปรับแก้
หรือไม่ก็ เราก็จะไม่จับประเด็นที่เราไม่มั่นใจว่า มันจะ mislead คนบางกลุ่มในสังคมหรือไม่?
อะไรประมาณนั้น ซึ่งก็คงแล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละผู้สร้างงานค่ะ
ใครสนใจประเด็นพวกนี้ อยากให้ลองหางานหนังสะท้อนปัญหาสังคมของประเทศอื่นๆ มาดู
จะเห็นได้ว่า มันมีการนำเสนอที่หลายรูปแบบ ต่างจากหนังหรือละครสมัยก่อน
ที่มักจะให้ตัวเอก (ที่เป็นด้านมืด) ได้แสดงความเท่ ได้แสดงความคูลๆ ชิคๆ เพื่อเอาใจคนดูไปก่อน
แล้วค่อยให้ตัวเอกรับผลกรรมในภายหลัง ซึ่งความเท่ ความดึงดูด มันได้ mislead คนบางกลุ่มไปแล้วแน่นอน
หลีกไม่พ้นเนอะ
ก็ต้องหาส่วนผสม และวิธีการกันดูค่ะ เหมือนทำอาหารอย่างที่เราเปรียบเทียบไว้
ถ้าเป้าหมายหลักคือ โภชนาการ ประโยชน์ต่อร่างกาย เชฟก็จะมีวิธีคิด วิธีประดิษฐ์อาหารไปแบบนึง
แต่ถ้าเป้าหมายหลักคือ เน้นอร่อย ถูกปากคนกิน หน้าตาน่ากิน เชฟก็จะมีวิธีคิด วิธีทำอีกแบบนึง
แต่ถ้าจะผสมสองเป้าหมายเข้าด้วยกัน ก็ต้องไปหาส่วนผสมที่ลงตัวของทั้งสองสิ่ง
คือ ทั้งอร่อย หน้าตาน่ากิน และยังมีประโยชน์ด้านโภชนาการด้วยค่ะ
ไม่ง่ายค่ะ แต่ถ้าตั้งเป้าแบบนี้ ก็มีคนทำได้มาแล้วไม่น้อยค่ะ
ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย และทัศนคติ ฝีมือ ฯลฯ ของผู้สร้างสรรค์งาน
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
ทำไมรู้สึกว่าตั้งแต่หนังเรื่อง 4?ing สังคมเด็กวัยรุ่น เด็กช่าง สมัยนี้เหมือนจะรุนแรงขึ้น และทำตัวเลียนแบบหนังมากๆ