( คำเตือน : บทความนี้สปอยภาพยนตร์ )
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับ ‘พุฒิพงษ์ นาคทอง’ ผู้กำกับหน้าใหม่ด้วยนะครับ ทำหนัง 3 เรื่องในเวลาเพียงไม่กี่ปี อย่าง 4Kings , 4Kings2 และ วัยหนุ่ม2544 ทุกเรื่องรายได้แตะระดับ 100 ล้านบาท แม้ผลงานทุกเรื่องจะก่อ ‘ดรามา’ มีคำถามเสมอว่า ‘สร้างมาให้เด็กและเยาวชนเลียนแบบในสิ่งที่ไม่ดีหรือ?’ ก็ตาม เด็กช่างเอย คนคุกเอย แต่ถ้าใครเข้าไปดู เอาละมันอาจจะมีบางตัวละครที่ดูเท่เหลือเกิน แต่ภาพรวมของหนังทั้ง 3 เรื่องจะไม่ได้ชี้นำว่าการเป็นแบบตัวละครมันดีน่าเลียนแบบ
.
ส่วนสิ่งที่ผมจะเขียนในบทความนี้ ผมไม่รู้นะว่าคุณพุฒิพงษ์ตั้งใจจะสื่อออกมาในหนังทั้ง 3 เรื่องหรือเปล่า? แต่มันเป็นสิ่งที่ทำให้คนที่ได้ดูหนังได้เห็นเลยว่า ‘ประเทศไทยยุค 90-2000’ ที่หลายคนโหยหากันว่าสวยงามอย่างนั้นอย่างนี้ มันก็มี ‘ด้านมืด’ ที่ไม่น่ามองอยู่เหมือนกัน เพียงแต่บางคนอาจจะไม่เคยได้เจอ หรือเคยเจอแต่ไม่มาก หรือยังมีหลักบางอย่างให้ยึด หรือโชคดี ฯลฯ ที่ทำให้ชะตากรรมไม่จมดิ่งไปสุดแบบบางตัวละครในหนังทั้ง 3 เรื่องข้างต้น
.
- ยุคที่กลุ่มคนระดับล่างสุดในสังคมต้องดิ้นรนโดยไม่มีกลไกช่วยเหลือใดๆ และเสี่ยงก้าวสู่โลกมืด :
.
ใน 4Kings2 เราจะเห็นตัวละคร ‘ยาท’ เด็กบ้านที่กับคนอื่นๆ คือทำตัวปกติแต่จะชอบไล่ล่าฆ่าและทรมานพวกเด็กช่าง เพราะมีปมที่ตาซึ่งเป็นคนขับรถเมล์ถูกกระสุนปืนลูกหลงจากการทะเลาะวิวาทกันของเด็กช่างและต้องกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ยาทไม่ได้เรียนหนังสือและหาเงินมาดูแลตาด้วยการเป็นลูกน้องมาเฟียที่ค้ายาเสพติด ขณะที่ในวัยหนุ่ม 2544 ‘เผือก’ ตัวเอกของเรื่อง เป็นลูกของแม่เลี้ยงเดี่ยวที่มีรายได้จากการเป็นเอเยนต์ยาเสพติดรายย่อย ทั้งยาทและเผือกยังมีความเหมือนกันตรงที่เติบโตในชุมชนแออัด
.
ปัจจุบันเรามีหน่วยงาน เช่น กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ( กสศ. ) , หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ ( บพท. ) ที่มาช่วยเหลือ ‘ครัวเรือนยากจนพิเศษ’ ซึ่งหมายถึงครัวเรือนที่นอกจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองจะมีรายได้น้อยแล้ว โดยมากยังมีปัญหา เช่น พ่อหรือแม่ ( หรือทั้งพ่อและแม่ ) เสียชีวิตหรือทำผิดถูกตัดสินจำคุก มีสมาชิกในครัวเรือนที่เป็นประชากรพึ่งพิงหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ ( สูงอายุ พิการ ป่วยติดบ้าน-ติดเตียง ) สภาพบ้านเรือนทรุดโทรม อยู่ในสภาพแวดล้อมรายรอบที่เต็มไปด้วยปัจจัยเสี่ยง ( ชุมชนที่มีการระบาดของยาเสพติด , พื้นที่ที่มีสถานการณ์ความรุนแรง )
.
เพราะข้อค้นพบที่ผ่านมา ลำพังมาตรการช่วยเหลือครัวเรือนรายได้น้อยตามปกติ เช่น หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ( บัตรทอง 30 บาท ) กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ( กยศ. ) ไม่เพียงพอจะผลักดันให้ประชากรในครัวเรือนประเภทนี้หลุดพ้นจากความยากจนได้ และยังคงส่งต่อ ‘มรดกความจน’ จากรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูก เนื่องจากครัวเรือนยากจนพิเศษ มีปัญหาหลายอย่างทับซ้อนกัน (เช่น ถ้าส่งลูกไปเรียน จะเอาค่าเดินทางที่ไหน? หรือจะมีใครดูแลสมาชิกที่มีภาระพึ่งพา ออกมาทำงานเลยดีกว่า) จึงต้องการมาตรการพิเศษเป็นการเฉพาะของแต่ละครัวเรือนและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งในและนอกภาครัฐ โดยมี บพท. และ กสศ. เป็นเจ้าภาพประสานทุกฝ่ายมาดูแลในทุกมิติ เช่น ผู้พิการ ผู้ป่วย จะดูแลอย่างไร จะพัฒนาอาชีพพ่อแม่ผู้ปกครองให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างไร เด็กจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการไปเรียนได้อย่างไร ฯลฯ
.
แต่ก็ต้องบอกว่า กสศ. และ บพท. เป็นหน่วยงานใหม่มาก เพราะเพิ่งเกิดในปี 2561 และ 2562 ตามลำดับ ขณะที่ กยศ. นั้นคณะรัฐมนตรีมีมติตั้งแต่ปี 2539 แต่กว่าจะก่อตั้งได้ต้องรอถึงปี 2541 ส่วนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ดูแลบัตรทอง 30 บาท ก่อตั้งในปี 2545 และแน่นอนว่าทุกหน่วยงานตั้งแล้วไม่ใช่ปัญหาจะถูกแก้ให้หายไปทั้งหมดในทันที กว่ากระบวนการแก้ไขจะเป็นรูปเป็นร่างก็ต้องรอคอยไปอีกหลายปีหลังจากนั้นเสมอ อีกทั้งด้วยทรัพยากรที่จำกัดก็ไม่ใช่จะแก้ได้ทุกเรื่องแม้กระทั่งในปัจจุบันก็ตาม แต่อย่างน้อยการที่มีหน่วยงานหรือกลไกเหล่านี้ขึ้นมา มันก็เป็นหลักยึดได้ว่าถ้ามีปัญหายังมีโอกาสหาตัวช่วย เมื่อเทียบกับสังคมยุคก่อนที่จะมีหน่วยงานหรือกลไกพวกนี้ แต่ละคนต้องดิ้นรนกันเอง วัดดวงเอา และหลายครั้งต้องดำดิ่งสู่โลกมืด
.
( ได้ข่าวว่าพล็อตหนังเรื่องต่อไปของคุณพุฒิพงษ์จะเล่าเรื่อง ‘มือปืน’ แต่ผมนี่อยากยุให้เล่าเรื่อง ‘โสเภณี , Sex Worker’ อยู่นะ เพราะยุคก่อนมีเรื่องเล่าทั้งตกเขียว ครัวเรือนยากจนในชนบทขายลูกสาวเข้าซ่อง หรือครัวเรือนยากจนและแม้แต่ชนชั้นกลาง สมาชิกที่เป็นเด็กสาวหรือหญิงสาว บางทีก็ต้องแอบไปทำหรือไม่ก็ยอมเป็นเด็กเสี่ย-เมียน้อย เพื่อหาเงินมาดูแลสมาชิกในครอบครัวที่ป่วยหนัก เพราะยุคนั้นยังไม่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ท่ามกลางสังคมที่ปากว่าตาขยิบ หลายคนใช้บริการหรือไม่ใช้แต่ก็ได้ประโยชน์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่หน้าบางเกินกว่าจะยอมรับให้เป็นอาชีพถูกกฎหมายและมีศักดิ์ศรีเท่าอาชีพอื่นๆ จนกลายเป็นหนึ่งในแหล่งเงินสีเทาเข้ากระเป๋าคนบางกลุ่ม )
.
- ยุคที่การอบรมสั่งสอนและสื่อสารเชิงบวกยังไม่เป็นที่ตระหนัก ( หรือแม้แต่รับรู้ ) ของสังคมไทย :
.
ใน 4Kings เราจะเห็นภาพการด่าทอแบบใส่อารมณ์แต่ไม่ค่อยจะมีเหตุผลและไม่ค่อยรับฟังที่พ่อเลี้ยงกระทำกับ ‘บิลลี่’ เป็นประจำ ส่วนใน 4Kings2 ครอบครัวของ ‘รก’ ที่ดูจะค่อนข้างร่ำรวยหน่อย พ่อแม่ก็มุ่งแต่จะทำงานและออกงานสังคม ไม่ค่อยได้ใส่ใจลูก แม้กระทั่งในวันที่ลูกถูกทำร้ายมาอย่างหนักกลับยังห่วงภาพลักษณ์ของตัวเองมากกว่า (จนตัดสินใจกลับไปก่อเหตุที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม ) และยิ่งหนักขึ้นในวัยหนุ่ม 2544 ตั้งแต่วัยเด็กของเผือก ที่ครูประจำชั้นกดดันให้เผือกบอกว่าแม่ทำงานอะไร พอบอกว่าขายยาเสพติดก็โดนเพื่อนล้อ แล้วเมื่อ ‘ภา’ เพื่อนนักเรียนหญิงในชั้นเดียวกันลุกขึ้นมาคอบโต้นักเรียนคนอื่นๆ แทนเผือก กลับถูกครูเหมารวมว่าใช้ความรุนแรง โดยมองข้ามสาเหตุต้นตอของเรื่องราว
.
เช่นเดียวกับเมื่อเข้าไปอยู่ในเรือนจำ ไม่มีใครสนใจว่าทำไมเผือกถึงมีเรื่องจนต้องเข้าคุก หรือการมีเรื่องในคุกใครหาเรื่องใครก่อน-ใครถูกรังแกถึงได้ตอบโต้ แม้กระทั่ง ‘พัศดี’ ที่ดูโหดๆ ทำเอาหลายคนที่ดูหนังอาจจะเกลียดตั้งแต่ฉากแรกๆ ตอนฉากท้ายๆ ก่อนหนังจบ กลับซื้อข้าวหมูแดง ( เมนูธรรมดาๆ สำหรับคนทั่วไปที่อยู่นอกกำแพง แต่ถือว่าพิเศษแล้วสำหรับคนอยู่ในคุก ) มาให้เผือกแล้วบอกว่าของอร่อยแบบนี้ถ้าอยากกินต้องไปกินข้างนอก ( แต่ก็อย่างที่เห็นคือเผือกต้องย้ายจากทัณฑสถานวัยหนุ่มไปสู่เรือนจำ สถานที่คุมขังที่กฎระเบียบเข้มงวดกว่า และไม่รู้ว่าจะได้ออกมาสู่โลกข้างนอกอีกหรือไม่ )
.
แม้คนไทยจะคุ้นเคยกับคำว่า ‘พระเดช’ และ ‘พระคุณ’ เป็นคำคู่กันนาน แต่พระคุณหรือการอบรมสั่งสอนและสื่อสารแบบเชิงบวกโดยมากคนไทยไม่ค่อยตระหนัก หรือจริงๆ อาจใช้คำว่าไม่รู้ได้เลยด้วยซ้ำ เพราะเรื่องนี้น่าจะเพิ่งเป็นกระแสไม่ถึง 10 ปีล่าสุด ( นับจากปี 2567 ที่บทความนี้เขียน ) และไม่ใช่เฉพาะครัวเรือนยากจน แม้แต่ชนชั้นกลางและสูง ในสมัยก่อนก็เอะอะๆ ก็พระเดช ดุด่าและปากว่ามือถึง ลงมือทำร้ายร่างกายกันอย่างเดียวในการอบรมสั่งสอนผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครอง เชื่อว่าต้องโหดอยู่เสมอเพื่อกดอีกฝ่ายให้อยู่จะได้ไม่ก่อเรื่อง
.
สถานที่แบบ ‘บ้านกาญจนาภิเษก’ สถานพินิจฯ ( หรือ ‘คุกเด็ก’ ) ที่พยายามจะทำให้เป็นต้นแบบสถานที่คุมขังอื่นๆ ทั่วประเทศไทย ที่ไม่จำเป็นต้องเอาความโหดความแรงเข้ากดข่มผู้ถูกคุมขังอย่างเดียวอยู่ตลอดเวลา และเชื่ออย่างจริงใจว่าแม้แต่คนที่เคยทำอะไรเลวร้ายมาก็ยังสามารถพูดคุยสร้างความเข้าใจให้กลับตัวได้ เพิ่งเกิดขึ้นในปี 2545 และกว่าจะกลายเป็นต้นแบบได้ก็ต้องต่อสู้กับทัศนคติทั้งของคนในระบบราชการด้วยกันและสังคมภายนอก ขณะที่เรือนจำซึ่งมีคำขวัญว่า ‘คืนคนดีสู่สังคม’ แม้จะยังมีเรื่องราวความรุนแรงหลังกำแพงอยู่ แต่ระยะหลังๆ เท่าที่ทราบคือความ ‘เถื่อน’ ลดลงไปกว่าแต่ก่อน
.
( รวมถึงในค่ายฝึกทหารเกณฑ์และโรงเรียนทหาร เท่าที่เคยรับรู้จากคนรุ่นก่อนที่มีประสบการณ์ คือสมัยก่อนมีเรื่องเถื่อนๆ แรงๆ อยู่มาก แต่ระยะหลังๆ ก็ค่อยๆ ลดลงไปตามลำดับ )
.
หรือพ่อแม่ผู้ปกครองที่เชื่อว่าตัวเองทำงานหาเงินส่งลูกหลานให้กินให้ใช้ให้เรียนหนังสือก็พอแล้วยังจะเอาอะไรอีก ช่วยเป็นเด็กดีอยู่ในโอวาทไม่นอกลู่นอกทางหน่อยไม่ได้หรือไง แม้ในอดีตไม่ใช่ว่าจะไม่มีสื่ออย่างภาพยนตร์หรือละครที่สะท้อนปัญหาวัยรุ่นที่พ่อแม่ไม่เคยรับฟัง แต่ทุกอย่างก็ยังดำเนินไปแบบนั้นเสมอมา จนหลังๆ เอาเป็นว่าไม่ถึง 10 ปีนี่ละครับ ที่มีหลายหน่วยงานพยายามผลักดันองค์ความรู้เรื่องการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนและสื่อสารเชิงบวกไปสู่ผู้ใหญ่ที่ต้องดูแลผู้ใต้ปกครองให้มากที่สุดทั้งในระดับครอบครัว โรงเรียน สถานที่ทำงาน ฯลฯ
.
ทำให้แม้ปัจจุบันสังคมไทยยังไม่ได้ปฏิเสธความรุนแรงแบบ 100% อย่างประเทศโลกที่ 1 แต่ก็ตระหนักมากขึ้นว่าการใช้ความรุนแรงเข้ากำราบควรเป็นวิธีการสุดท้ายที่จะหยิบมาใช้ ขณะเดียวกันยังมีหน่วยงานทั้งในและนอกภาครัฐให้ร้องเรียนหากผู้มีอำนาจเหนือกว่ากระทำอะไรที่ลุแก่อำนาจเกินกว่าเหตุมากไป
.
- ยุคที่เจ้าหน้าที่สามารถทำร้ายร่างกาย ทรมานผู้ถูกจับกุมคุมขังอย่างไรก็ได้
.
ในวัยหนุ่ม 2544 ฉากเปิดเรื่องจะเห็นเผือกที่กำลังให้ข้อมูลกับแพทย์ในเรื่องที่มาที่ไปก่อนจะก่อคดีขึ้น แต่ถูกตำรวจที่คุมตัวมาทำร้ายร่างกายเพราะเห็นว่าตอบอะไรแล้วมันดูขัดหูขัดตาจนแพทย์ต้องร้องห้าม และด้วยหน้าตาที่สะบักสะบอมมาก่อนนั้น ผมไม่แน่ใจว่าคนอื่นๆ ที่ดูหนังจะคิดเหมือนผมหรือไม่ แต่ผมเดาว่าเผือกน่าจะถูกซ้อมมาก่อนด้วยจนดูเบลอๆ มึนๆ ไปแล้ว เช่นเดียวกับเมื่อไปถึงทัณฑสถานวัยหนุ่ม เผือกถามพัศดีอย่างซื่อๆ ว่าทำไมตนเองเป็นคนฝั่งธนฯ แต่ถูกส่งไปอยู่กับกลุ่มนักโทษบ้านคลองเตย กลับได้รับคำตอบเป็นการถูกพัศดีทำร้ายร่างกาย
.
ถ้าจำกันได้ ไม่กี่ปีก่อนนี้เพิ่งมีคดี ‘ถุงดำ’ และเพราะการที่มีคลิปวีดีโอการทรมานผู้ต้องหาของตำรวจให้เห็นจะๆ ทำให้ทุกภาคส่วนสนับสนุนให้รัฐสภาเร่งออกกฎหมายห้ามการทรมานและการลงโทษด้วยวิธีทารุณโหดร้าย และผ่านออกมาจริงๆ ก็ช่วงปลายปี 2565 และมีผลบังคับใช้ในปี 2566 กำหนดขั้นตอนที่ชัดเจนในการจับกุม ควบคุมตัวและสอบสวน ทั้งที่ก่อนหน้านั้นมีการเรียกร้องมาแล้วเป็นสิบๆ ปี เพราะมีปัญหาอยู่มาก เรื่องเล่าจากคนรุ่นก่อนว่าเจ้าหน้าที่พาคนที่จับได้ไปไหนก็ไม่รู้ บางทีกลับมาในสภาพบอบช้ำ แต่บางครั้งก็หายสาบสูญไปดื้อๆ ไม่รู้เป็นหรือตาย รวมถึงสารพัดวิธีทรมานที่งัดมาใช้ให้รับสารภาพ ซึ่งระยะหลังๆ กระบวนการยุติธรรมเริ่มเปลี่ยนแปลง ให้น้ำหนักกับพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มากกว่าคำรับสารภาพของผู้ต้องหา
.
- ยุคที่ความหลากหลายทางเพศยังไม่ได้รับการยอมรับ และสังคมไทยยังเข้าใจชีวิตของคนกลุ่มนี้น้อยมาก
.
ในวัยหนุ่ม 2544 มีตัวละคร ‘ฟลุค’ ชายหนุ่มที่มีจิตใจเป็นหญิงสาว เป็นตัวละครที่รันทดที่สุดในเรื่อง เป็น LGBT ในยุคที่สังคมไทยยังไม่เปิดกว้าง ถูกจับแบบเคราะห์ร้ายเพราะตำรวจค้นเจอยาเสพติดซึ่งเป็นของชายที่คบกันทิ้งไว้ และต้องเข้าไปเจอชะตากรรมที่น่าหดหู่หลังกำแพง
.
ในปี 2567 ประเทศไทยผ่านกฎหมายรับรองการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน และจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2568 แต่ย้อนไปราว 20-30 ปีก่อน ใครที่ทันยุคนั้นน่าจะเคยได้ยินข่าวว่าประเภทชายรักชาย-หญิงรักหญิง ต้องฝืนใจแต่งงานกับคนต่างเพศ แล้วก็กลายเป็นปัญหาครอบครัวในภายหลัง หรือความเชื่อผิดๆ เช่น กะเทยสามารถมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายคนใดก็ได้ ทำให้การที่สาวประเภทสองถูกล่วงละเมิดสังคมไม่มีอารมณ์โกรธแค้นรุนแรงเท่ากับหญิงแท้ถูกล่วงละเมิด หรือวลี ‘เปลี่ยนทอมให้เป็นเธอ’ เชื่อว่าการให้ผู้หญิงที่เป็นทอมมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายจะทำให้เลิกเป็นหญิงรักหญิงได้
(มีต่อ)
TonyMao_NK51 ( ใช้แทนอมยิ้มที่ถูกแบน )
จาก‘4Kings’ถึง‘วัยหนุ่ม2544’กับการฉายภาพที่ไม่น่ามองของยุค90-2000(สปอยแน่นอน)
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับ ‘พุฒิพงษ์ นาคทอง’ ผู้กำกับหน้าใหม่ด้วยนะครับ ทำหนัง 3 เรื่องในเวลาเพียงไม่กี่ปี อย่าง 4Kings , 4Kings2 และ วัยหนุ่ม2544 ทุกเรื่องรายได้แตะระดับ 100 ล้านบาท แม้ผลงานทุกเรื่องจะก่อ ‘ดรามา’ มีคำถามเสมอว่า ‘สร้างมาให้เด็กและเยาวชนเลียนแบบในสิ่งที่ไม่ดีหรือ?’ ก็ตาม เด็กช่างเอย คนคุกเอย แต่ถ้าใครเข้าไปดู เอาละมันอาจจะมีบางตัวละครที่ดูเท่เหลือเกิน แต่ภาพรวมของหนังทั้ง 3 เรื่องจะไม่ได้ชี้นำว่าการเป็นแบบตัวละครมันดีน่าเลียนแบบ
.
ส่วนสิ่งที่ผมจะเขียนในบทความนี้ ผมไม่รู้นะว่าคุณพุฒิพงษ์ตั้งใจจะสื่อออกมาในหนังทั้ง 3 เรื่องหรือเปล่า? แต่มันเป็นสิ่งที่ทำให้คนที่ได้ดูหนังได้เห็นเลยว่า ‘ประเทศไทยยุค 90-2000’ ที่หลายคนโหยหากันว่าสวยงามอย่างนั้นอย่างนี้ มันก็มี ‘ด้านมืด’ ที่ไม่น่ามองอยู่เหมือนกัน เพียงแต่บางคนอาจจะไม่เคยได้เจอ หรือเคยเจอแต่ไม่มาก หรือยังมีหลักบางอย่างให้ยึด หรือโชคดี ฯลฯ ที่ทำให้ชะตากรรมไม่จมดิ่งไปสุดแบบบางตัวละครในหนังทั้ง 3 เรื่องข้างต้น
.
- ยุคที่กลุ่มคนระดับล่างสุดในสังคมต้องดิ้นรนโดยไม่มีกลไกช่วยเหลือใดๆ และเสี่ยงก้าวสู่โลกมืด :
.
ใน 4Kings2 เราจะเห็นตัวละคร ‘ยาท’ เด็กบ้านที่กับคนอื่นๆ คือทำตัวปกติแต่จะชอบไล่ล่าฆ่าและทรมานพวกเด็กช่าง เพราะมีปมที่ตาซึ่งเป็นคนขับรถเมล์ถูกกระสุนปืนลูกหลงจากการทะเลาะวิวาทกันของเด็กช่างและต้องกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ยาทไม่ได้เรียนหนังสือและหาเงินมาดูแลตาด้วยการเป็นลูกน้องมาเฟียที่ค้ายาเสพติด ขณะที่ในวัยหนุ่ม 2544 ‘เผือก’ ตัวเอกของเรื่อง เป็นลูกของแม่เลี้ยงเดี่ยวที่มีรายได้จากการเป็นเอเยนต์ยาเสพติดรายย่อย ทั้งยาทและเผือกยังมีความเหมือนกันตรงที่เติบโตในชุมชนแออัด
.
ปัจจุบันเรามีหน่วยงาน เช่น กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ( กสศ. ) , หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ ( บพท. ) ที่มาช่วยเหลือ ‘ครัวเรือนยากจนพิเศษ’ ซึ่งหมายถึงครัวเรือนที่นอกจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองจะมีรายได้น้อยแล้ว โดยมากยังมีปัญหา เช่น พ่อหรือแม่ ( หรือทั้งพ่อและแม่ ) เสียชีวิตหรือทำผิดถูกตัดสินจำคุก มีสมาชิกในครัวเรือนที่เป็นประชากรพึ่งพิงหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ ( สูงอายุ พิการ ป่วยติดบ้าน-ติดเตียง ) สภาพบ้านเรือนทรุดโทรม อยู่ในสภาพแวดล้อมรายรอบที่เต็มไปด้วยปัจจัยเสี่ยง ( ชุมชนที่มีการระบาดของยาเสพติด , พื้นที่ที่มีสถานการณ์ความรุนแรง )
.
เพราะข้อค้นพบที่ผ่านมา ลำพังมาตรการช่วยเหลือครัวเรือนรายได้น้อยตามปกติ เช่น หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ( บัตรทอง 30 บาท ) กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ( กยศ. ) ไม่เพียงพอจะผลักดันให้ประชากรในครัวเรือนประเภทนี้หลุดพ้นจากความยากจนได้ และยังคงส่งต่อ ‘มรดกความจน’ จากรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูก เนื่องจากครัวเรือนยากจนพิเศษ มีปัญหาหลายอย่างทับซ้อนกัน (เช่น ถ้าส่งลูกไปเรียน จะเอาค่าเดินทางที่ไหน? หรือจะมีใครดูแลสมาชิกที่มีภาระพึ่งพา ออกมาทำงานเลยดีกว่า) จึงต้องการมาตรการพิเศษเป็นการเฉพาะของแต่ละครัวเรือนและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งในและนอกภาครัฐ โดยมี บพท. และ กสศ. เป็นเจ้าภาพประสานทุกฝ่ายมาดูแลในทุกมิติ เช่น ผู้พิการ ผู้ป่วย จะดูแลอย่างไร จะพัฒนาอาชีพพ่อแม่ผู้ปกครองให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างไร เด็กจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการไปเรียนได้อย่างไร ฯลฯ
.
แต่ก็ต้องบอกว่า กสศ. และ บพท. เป็นหน่วยงานใหม่มาก เพราะเพิ่งเกิดในปี 2561 และ 2562 ตามลำดับ ขณะที่ กยศ. นั้นคณะรัฐมนตรีมีมติตั้งแต่ปี 2539 แต่กว่าจะก่อตั้งได้ต้องรอถึงปี 2541 ส่วนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ดูแลบัตรทอง 30 บาท ก่อตั้งในปี 2545 และแน่นอนว่าทุกหน่วยงานตั้งแล้วไม่ใช่ปัญหาจะถูกแก้ให้หายไปทั้งหมดในทันที กว่ากระบวนการแก้ไขจะเป็นรูปเป็นร่างก็ต้องรอคอยไปอีกหลายปีหลังจากนั้นเสมอ อีกทั้งด้วยทรัพยากรที่จำกัดก็ไม่ใช่จะแก้ได้ทุกเรื่องแม้กระทั่งในปัจจุบันก็ตาม แต่อย่างน้อยการที่มีหน่วยงานหรือกลไกเหล่านี้ขึ้นมา มันก็เป็นหลักยึดได้ว่าถ้ามีปัญหายังมีโอกาสหาตัวช่วย เมื่อเทียบกับสังคมยุคก่อนที่จะมีหน่วยงานหรือกลไกพวกนี้ แต่ละคนต้องดิ้นรนกันเอง วัดดวงเอา และหลายครั้งต้องดำดิ่งสู่โลกมืด
.
( ได้ข่าวว่าพล็อตหนังเรื่องต่อไปของคุณพุฒิพงษ์จะเล่าเรื่อง ‘มือปืน’ แต่ผมนี่อยากยุให้เล่าเรื่อง ‘โสเภณี , Sex Worker’ อยู่นะ เพราะยุคก่อนมีเรื่องเล่าทั้งตกเขียว ครัวเรือนยากจนในชนบทขายลูกสาวเข้าซ่อง หรือครัวเรือนยากจนและแม้แต่ชนชั้นกลาง สมาชิกที่เป็นเด็กสาวหรือหญิงสาว บางทีก็ต้องแอบไปทำหรือไม่ก็ยอมเป็นเด็กเสี่ย-เมียน้อย เพื่อหาเงินมาดูแลสมาชิกในครอบครัวที่ป่วยหนัก เพราะยุคนั้นยังไม่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ท่ามกลางสังคมที่ปากว่าตาขยิบ หลายคนใช้บริการหรือไม่ใช้แต่ก็ได้ประโยชน์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่หน้าบางเกินกว่าจะยอมรับให้เป็นอาชีพถูกกฎหมายและมีศักดิ์ศรีเท่าอาชีพอื่นๆ จนกลายเป็นหนึ่งในแหล่งเงินสีเทาเข้ากระเป๋าคนบางกลุ่ม )
.
- ยุคที่การอบรมสั่งสอนและสื่อสารเชิงบวกยังไม่เป็นที่ตระหนัก ( หรือแม้แต่รับรู้ ) ของสังคมไทย :
.
ใน 4Kings เราจะเห็นภาพการด่าทอแบบใส่อารมณ์แต่ไม่ค่อยจะมีเหตุผลและไม่ค่อยรับฟังที่พ่อเลี้ยงกระทำกับ ‘บิลลี่’ เป็นประจำ ส่วนใน 4Kings2 ครอบครัวของ ‘รก’ ที่ดูจะค่อนข้างร่ำรวยหน่อย พ่อแม่ก็มุ่งแต่จะทำงานและออกงานสังคม ไม่ค่อยได้ใส่ใจลูก แม้กระทั่งในวันที่ลูกถูกทำร้ายมาอย่างหนักกลับยังห่วงภาพลักษณ์ของตัวเองมากกว่า (จนตัดสินใจกลับไปก่อเหตุที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม ) และยิ่งหนักขึ้นในวัยหนุ่ม 2544 ตั้งแต่วัยเด็กของเผือก ที่ครูประจำชั้นกดดันให้เผือกบอกว่าแม่ทำงานอะไร พอบอกว่าขายยาเสพติดก็โดนเพื่อนล้อ แล้วเมื่อ ‘ภา’ เพื่อนนักเรียนหญิงในชั้นเดียวกันลุกขึ้นมาคอบโต้นักเรียนคนอื่นๆ แทนเผือก กลับถูกครูเหมารวมว่าใช้ความรุนแรง โดยมองข้ามสาเหตุต้นตอของเรื่องราว
.
เช่นเดียวกับเมื่อเข้าไปอยู่ในเรือนจำ ไม่มีใครสนใจว่าทำไมเผือกถึงมีเรื่องจนต้องเข้าคุก หรือการมีเรื่องในคุกใครหาเรื่องใครก่อน-ใครถูกรังแกถึงได้ตอบโต้ แม้กระทั่ง ‘พัศดี’ ที่ดูโหดๆ ทำเอาหลายคนที่ดูหนังอาจจะเกลียดตั้งแต่ฉากแรกๆ ตอนฉากท้ายๆ ก่อนหนังจบ กลับซื้อข้าวหมูแดง ( เมนูธรรมดาๆ สำหรับคนทั่วไปที่อยู่นอกกำแพง แต่ถือว่าพิเศษแล้วสำหรับคนอยู่ในคุก ) มาให้เผือกแล้วบอกว่าของอร่อยแบบนี้ถ้าอยากกินต้องไปกินข้างนอก ( แต่ก็อย่างที่เห็นคือเผือกต้องย้ายจากทัณฑสถานวัยหนุ่มไปสู่เรือนจำ สถานที่คุมขังที่กฎระเบียบเข้มงวดกว่า และไม่รู้ว่าจะได้ออกมาสู่โลกข้างนอกอีกหรือไม่ )
.
แม้คนไทยจะคุ้นเคยกับคำว่า ‘พระเดช’ และ ‘พระคุณ’ เป็นคำคู่กันนาน แต่พระคุณหรือการอบรมสั่งสอนและสื่อสารแบบเชิงบวกโดยมากคนไทยไม่ค่อยตระหนัก หรือจริงๆ อาจใช้คำว่าไม่รู้ได้เลยด้วยซ้ำ เพราะเรื่องนี้น่าจะเพิ่งเป็นกระแสไม่ถึง 10 ปีล่าสุด ( นับจากปี 2567 ที่บทความนี้เขียน ) และไม่ใช่เฉพาะครัวเรือนยากจน แม้แต่ชนชั้นกลางและสูง ในสมัยก่อนก็เอะอะๆ ก็พระเดช ดุด่าและปากว่ามือถึง ลงมือทำร้ายร่างกายกันอย่างเดียวในการอบรมสั่งสอนผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครอง เชื่อว่าต้องโหดอยู่เสมอเพื่อกดอีกฝ่ายให้อยู่จะได้ไม่ก่อเรื่อง
.
สถานที่แบบ ‘บ้านกาญจนาภิเษก’ สถานพินิจฯ ( หรือ ‘คุกเด็ก’ ) ที่พยายามจะทำให้เป็นต้นแบบสถานที่คุมขังอื่นๆ ทั่วประเทศไทย ที่ไม่จำเป็นต้องเอาความโหดความแรงเข้ากดข่มผู้ถูกคุมขังอย่างเดียวอยู่ตลอดเวลา และเชื่ออย่างจริงใจว่าแม้แต่คนที่เคยทำอะไรเลวร้ายมาก็ยังสามารถพูดคุยสร้างความเข้าใจให้กลับตัวได้ เพิ่งเกิดขึ้นในปี 2545 และกว่าจะกลายเป็นต้นแบบได้ก็ต้องต่อสู้กับทัศนคติทั้งของคนในระบบราชการด้วยกันและสังคมภายนอก ขณะที่เรือนจำซึ่งมีคำขวัญว่า ‘คืนคนดีสู่สังคม’ แม้จะยังมีเรื่องราวความรุนแรงหลังกำแพงอยู่ แต่ระยะหลังๆ เท่าที่ทราบคือความ ‘เถื่อน’ ลดลงไปกว่าแต่ก่อน
.
( รวมถึงในค่ายฝึกทหารเกณฑ์และโรงเรียนทหาร เท่าที่เคยรับรู้จากคนรุ่นก่อนที่มีประสบการณ์ คือสมัยก่อนมีเรื่องเถื่อนๆ แรงๆ อยู่มาก แต่ระยะหลังๆ ก็ค่อยๆ ลดลงไปตามลำดับ )
.
หรือพ่อแม่ผู้ปกครองที่เชื่อว่าตัวเองทำงานหาเงินส่งลูกหลานให้กินให้ใช้ให้เรียนหนังสือก็พอแล้วยังจะเอาอะไรอีก ช่วยเป็นเด็กดีอยู่ในโอวาทไม่นอกลู่นอกทางหน่อยไม่ได้หรือไง แม้ในอดีตไม่ใช่ว่าจะไม่มีสื่ออย่างภาพยนตร์หรือละครที่สะท้อนปัญหาวัยรุ่นที่พ่อแม่ไม่เคยรับฟัง แต่ทุกอย่างก็ยังดำเนินไปแบบนั้นเสมอมา จนหลังๆ เอาเป็นว่าไม่ถึง 10 ปีนี่ละครับ ที่มีหลายหน่วยงานพยายามผลักดันองค์ความรู้เรื่องการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนและสื่อสารเชิงบวกไปสู่ผู้ใหญ่ที่ต้องดูแลผู้ใต้ปกครองให้มากที่สุดทั้งในระดับครอบครัว โรงเรียน สถานที่ทำงาน ฯลฯ
.
ทำให้แม้ปัจจุบันสังคมไทยยังไม่ได้ปฏิเสธความรุนแรงแบบ 100% อย่างประเทศโลกที่ 1 แต่ก็ตระหนักมากขึ้นว่าการใช้ความรุนแรงเข้ากำราบควรเป็นวิธีการสุดท้ายที่จะหยิบมาใช้ ขณะเดียวกันยังมีหน่วยงานทั้งในและนอกภาครัฐให้ร้องเรียนหากผู้มีอำนาจเหนือกว่ากระทำอะไรที่ลุแก่อำนาจเกินกว่าเหตุมากไป
.
- ยุคที่เจ้าหน้าที่สามารถทำร้ายร่างกาย ทรมานผู้ถูกจับกุมคุมขังอย่างไรก็ได้
.
ในวัยหนุ่ม 2544 ฉากเปิดเรื่องจะเห็นเผือกที่กำลังให้ข้อมูลกับแพทย์ในเรื่องที่มาที่ไปก่อนจะก่อคดีขึ้น แต่ถูกตำรวจที่คุมตัวมาทำร้ายร่างกายเพราะเห็นว่าตอบอะไรแล้วมันดูขัดหูขัดตาจนแพทย์ต้องร้องห้าม และด้วยหน้าตาที่สะบักสะบอมมาก่อนนั้น ผมไม่แน่ใจว่าคนอื่นๆ ที่ดูหนังจะคิดเหมือนผมหรือไม่ แต่ผมเดาว่าเผือกน่าจะถูกซ้อมมาก่อนด้วยจนดูเบลอๆ มึนๆ ไปแล้ว เช่นเดียวกับเมื่อไปถึงทัณฑสถานวัยหนุ่ม เผือกถามพัศดีอย่างซื่อๆ ว่าทำไมตนเองเป็นคนฝั่งธนฯ แต่ถูกส่งไปอยู่กับกลุ่มนักโทษบ้านคลองเตย กลับได้รับคำตอบเป็นการถูกพัศดีทำร้ายร่างกาย
.
ถ้าจำกันได้ ไม่กี่ปีก่อนนี้เพิ่งมีคดี ‘ถุงดำ’ และเพราะการที่มีคลิปวีดีโอการทรมานผู้ต้องหาของตำรวจให้เห็นจะๆ ทำให้ทุกภาคส่วนสนับสนุนให้รัฐสภาเร่งออกกฎหมายห้ามการทรมานและการลงโทษด้วยวิธีทารุณโหดร้าย และผ่านออกมาจริงๆ ก็ช่วงปลายปี 2565 และมีผลบังคับใช้ในปี 2566 กำหนดขั้นตอนที่ชัดเจนในการจับกุม ควบคุมตัวและสอบสวน ทั้งที่ก่อนหน้านั้นมีการเรียกร้องมาแล้วเป็นสิบๆ ปี เพราะมีปัญหาอยู่มาก เรื่องเล่าจากคนรุ่นก่อนว่าเจ้าหน้าที่พาคนที่จับได้ไปไหนก็ไม่รู้ บางทีกลับมาในสภาพบอบช้ำ แต่บางครั้งก็หายสาบสูญไปดื้อๆ ไม่รู้เป็นหรือตาย รวมถึงสารพัดวิธีทรมานที่งัดมาใช้ให้รับสารภาพ ซึ่งระยะหลังๆ กระบวนการยุติธรรมเริ่มเปลี่ยนแปลง ให้น้ำหนักกับพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มากกว่าคำรับสารภาพของผู้ต้องหา
.
- ยุคที่ความหลากหลายทางเพศยังไม่ได้รับการยอมรับ และสังคมไทยยังเข้าใจชีวิตของคนกลุ่มนี้น้อยมาก
.
ในวัยหนุ่ม 2544 มีตัวละคร ‘ฟลุค’ ชายหนุ่มที่มีจิตใจเป็นหญิงสาว เป็นตัวละครที่รันทดที่สุดในเรื่อง เป็น LGBT ในยุคที่สังคมไทยยังไม่เปิดกว้าง ถูกจับแบบเคราะห์ร้ายเพราะตำรวจค้นเจอยาเสพติดซึ่งเป็นของชายที่คบกันทิ้งไว้ และต้องเข้าไปเจอชะตากรรมที่น่าหดหู่หลังกำแพง
.
ในปี 2567 ประเทศไทยผ่านกฎหมายรับรองการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน และจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2568 แต่ย้อนไปราว 20-30 ปีก่อน ใครที่ทันยุคนั้นน่าจะเคยได้ยินข่าวว่าประเภทชายรักชาย-หญิงรักหญิง ต้องฝืนใจแต่งงานกับคนต่างเพศ แล้วก็กลายเป็นปัญหาครอบครัวในภายหลัง หรือความเชื่อผิดๆ เช่น กะเทยสามารถมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายคนใดก็ได้ ทำให้การที่สาวประเภทสองถูกล่วงละเมิดสังคมไม่มีอารมณ์โกรธแค้นรุนแรงเท่ากับหญิงแท้ถูกล่วงละเมิด หรือวลี ‘เปลี่ยนทอมให้เป็นเธอ’ เชื่อว่าการให้ผู้หญิงที่เป็นทอมมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายจะทำให้เลิกเป็นหญิงรักหญิงได้
(มีต่อ)
TonyMao_NK51 ( ใช้แทนอมยิ้มที่ถูกแบน )