พลิกโฉมจับกุม! 'อัยการธนกฤต' เปิดสาระสำคัญ พ.ร.บ.ป้องกันการทรมาน-อุ้มหายฯ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7432899
‘อัยการธนกฤต’ เปิดสาระสำคัญ พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและอุ้มหาย จนท.รัฐคุมตัวทุกคดีต้องแจ้งอัยการ ฝ่ายปกครอง พบเหตุให้แจ้งศาล มีอำนาจสั่งยุติทรมาน-อุ้มหาย
เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.65 ดร.
ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายพัฒนากฎหมาย สำนักงานวิชาการ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวให้ความเห็นข้อกฎหมาย ถึงสาระสำคัญที่น่าสนใจโดยสังเขปของพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย ฯ ความว่า พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 25 ต.ค.65 จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ.66 เป็นต้นไป
โดยการบัญญัติ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฯ มาบังคับใช้นี้ เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture andother Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment (CAT) ) ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 2 ต.ค.50 และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 พ.ย.50 และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance (CED) ) ซึ่งประเทศไทยลงนามในอนุสัญญาแล้ว เมื่อวันที่ 9 ม.ค.55 แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันเพื่อเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญา
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ประเทศไทยเพียงแต่ลงนามในอนุสัญญาเท่านั้น แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคี ทำให้ประเทศไทยยังไม่ผูกพันตามพันธกรณีในอนุสัญญาฉบับนี้ (CED) แต่ตามอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ.1969 มาตรา 18 กำหนดให้ประเทศไทย ซึ่งลงนามในอนุสัญญาแล้วต้องผูกพันที่จะหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ อันเป็นการทำลายวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายของอนุสัญญานี้ด้วย พ.ร.บ. ป้องกัน และปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฯ เป็นกฎหมาย ที่ใช้บังคับกับการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐใน 3 ฐานความผิดดังต่อไปนี้
1. การกระทำความผิดฐานกระทำทรมาน
2. การกระทำความผิดฐานกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
และ 3. การกระทำความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย
สาระสำคัญที่น่าสนใจของ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฯ กล่าวโดยสังเขปเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน และมีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ
2. เมื่อมีการควบคุมตัวบุคคลใด เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบจะต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับและควบคุมตัว จนกระทั่งส่งตัวให้พนักงานสอบสวนหรือปล่อยตัวบุคคลดังกล่าวไป
3. เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐควบคุมตัวบุคคลใด เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องแจ้งอัยการและนายอำเภอในท้องที่ที่มีการควบคุมตัวโดยทันที สำหรับในกรุงเทพมหานครให้แจ้งอัยการและผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
หากอัยการ นายอำเภอ หรือ ผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง ผู้รับแจ้ง แล้วแต่กรณี เห็นว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่า จะมีการทรมาน การกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการกระทำให้บุคคลสูญหาย ให้ยื่นคำร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา เพื่อให้ศาลมีคำสั่งยุติการกระทำดังกล่าว เมื่อศาลได้รับคำร้องแล้ว ให้ศาลไต่สวนฝ่ายเดียว
4. เมื่อบุคคลใดพบเห็นหรือทราบการทรมาน การกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการกระทำให้บุคคลสูญหาย สามารถแจ้งพนักงานฝ่ายปกครอง อัยการ พนักงานสอบสวน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย หรือคณะอนุกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ ได้โดยทันที
ทั้งนี้ ให้ผู้รับแจ้งดังกล่าวข้างต้นยื่นคำร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา เพื่อให้ศาลมีคำสั่งยุติการกระทำดังกล่าว และเมื่อศาลได้รับคำร้องแล้ว ให้ศาลทำการไต่สวนฝ่ายเดียว
5. นอกจากพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ให้พนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่ พนักงานฝ่ายปกครองตำแหน่งตั้งแต่ปลัดอำเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปในสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ และอัยการ เป็นพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนและรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และดำเนินคดีความผิดตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฯ และความผิดอื่นที่เกี่ยวพันกัน
6. ในกรณีที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษทำการสอบสวนคดีความผิดตาม พ.ร.บ. นี้คดีใดให้คดีนั้นเป็นคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
7. กรณีการสอบสวนที่กระทำโดยหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่อัยการ ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแจ้งเหตุแห่งคดีให้อัยการทราบ เพื่อให้อัยการเข้าตรวจสอบหรือกำกับการสอบสวนโดยทันที
8. ให้พนักงานสอบสวนหรืออัยการแล้วแต่กรณี แจ้งให้ผู้เสียหายทราบถึงสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. นี้ และสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย ในกรณีที่ผู้เสียหายมีสิทธิและประสงค์ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทน ให้อัยการเรียกค่าสินไหมทดแทนแทนผู้เสียหายด้วย
9. ให้ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีความผิดตาม พ.ร.บ. นี้
ส.ส.ลำปางอัด “ประยุทธ์” ห่วงแต่อำนาจไม่สนประชาชน
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_472722/
ส.ส.ลำปาง อัด”ประยุทธ์” หวังต่ออำนาจไม่สนความเดือดร้อนประชาชน ทำกฝผ.ติดลบกว่า 1.6 แสนล้าน แนะใช้งบกลางอุ้มเพื่อลดภาระประชาชน
นาย
กิตติกร โล่ห์สุนทร ส.ส.ลำปาง พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน ในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือกกพ.มีมติรับทราบภาระต้นทุนค่าเอฟทีประจำรอบประจำเดือน ม.ค. – เม.ย.66 ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.03 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้รัฐบาล หวังลดภาระต้นทุนคงค้างที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. แบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ภายหลังจากที่พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกนโยบายที่ขัดกับความเป็นจริง
ทั้งนี้การออกนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาลส่งผลให้กระแสเงินเงินสดของ กฝผ.ติดลบ จนถึงปัจจุบันที่ 160,000 ล้านบาท การแบกรับต้นทุนของ กฝผ. ส่งผลกระทบการบริหารต้นทุนการของกฝผ.กระทบไปด้วย ทั้งนี้เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ คิดแต่จะหาเสียงผ่านนโยบายรัฐเพียงอย่างเดียว ส่งผลหน่วยงานของรัฐต้องรับผลกระทบตามไปด้วย
นาย
กิตติกร กล่าวด้วยว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการพลังงาน อยากให้รัฐบาล แก้ปัญหาโดยต้องหางบประมาณมาสนับสนุนและลดหนี้ของการไฟฟ้า จะใช้วิธีการกู้เงินโดยรัฐบาลค้ำประกันหรือใช้งบประมาณกลางของนายกรัฐมนตรี มาลดภาระหนี้ของกฝผ.ลงอาจจะใช้ประมาณ 85,000 ล้าน ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะไม่มีภาระดอกเบี้ย
ซึ่งพล.อ.
ประยุทธ์สามารถทำได้เลย แต่ทำไมเลือกไม่ทำ ซึ่งการไม่ดำเนินการอะไรของรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนเพื่อขอลดค่าไฟฟ้าพร้อมจ่าย หรือ ใช้งบกลางมาสนับสนุนให้กับกฝผ.ต้องเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หากไม่ทำอะไรเลยจะเป็นการซ้ำเติมทั้งประชาชน
และผู้ประกอบการ เพราะการที่คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. ในฐานะตัวแทนภาคเอกชนมองว่า หากขึ้นค่าไฟฟ้าจะส่งผลให้ต้นทุนผู้ประกอบการสูงขึ้น และกระทบกับความสามารถ ทางการแข่งขันรวมทั้งจำต้อง ปรับราคาสินค้า ซึ่งกระทบกับประชาชน ทั้งนี้พล.อ.ประยุทธ์ในฐานะผู้นำประเทศไม่ควรห่วง แต่การสืบทอดอำนาจการเมือง ท่านต้องห่วงประชาชนด้วย
‘ราวกับสมรภูมิรบ’ พายุฤดูหนาวถล่มสหรัฐฯ แคนาดา ตายเพิ่มเป็น 59 ศพแล้ว (คลิป)
https://www.thairath.co.th/news/foreign/2588076
สหรัฐฯ แคนาดา สุดยะเยือก เผชิญพายุฤดูหนาวกำลังแรง บวกกับเกิดปรากฏการณ์ ‘บอมบ์ไซโคลน’ คร่าชีวิตผู้คนแล้วกว่าครึ่งร้อย ขณะที่เมืองบัฟฟาโลในรัฐนิวยอร์ก ราวกับตกอยู่ใน‘สมรภูมิรบ’ ทุกอย่างนิ่งสนิท
เมื่อ 27 ธ.ค. 2565 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานความคืบหน้าของภัยพิบัติ พายุฤดูหนาวกำลังแรงพัดกระหน่ำทั่วทวีปอเมริกาเหนือ ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ ‘บอมบ์ ไซโคลน’ ทำให้สหรัฐฯและแคนาดา ต้องเผชิญกับสภาพอากาศหนาวเย็นจัดอุณหภูมิลดต่ำระดับติดลบหลายองศา เกิดหิมะตกหนัก มาตั้งแต่ก่อนถึงวันคริสต์มาสนั้น ล่าสุด เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็นอย่างน้อย 59 ศพแล้ว
ที่สหรัฐฯ มีผู้เสียชีวิตจากอิทธิพลของพายุฤดูหนาวแล้ว 55 ราย โดยในจำนวนนี้อยู่ที่เขตอีรี เคาน์ตี รัฐนิวยอร์ก 25 รายในขณะที่แคนาดา มีผู้เสียชีวิต 4 ราย จากอุบัติเหตุรถยนต์พลิกคว่ำบนถนนที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งที่รัฐบริติช โคลัมเบีย
โดยเฉพาะ เมืองบัฟฟาโล เมืองใหญ่อันดับ 2 ในรัฐนิวยอร์กของสหรัฐฯ ได้เผชิญกับอากาศหนาวเย็นยะเยือกระดับติดลบหลายองศา เกิดหิมะตกหนักจนกลายเป็นน้ำแข็ง ปกคลุมถนน อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ แทบไม่มีผู้คนออกมาบนท้องถนน ทุกอย่างนิ่งสนิท จนราวกับตกอยู่ใน ‘
สมรภูมิสงคราม’ เลยทีเดียว
ที่มา :
news.sky.com
JJNY : พลิกโฉมจับกุม! | ส.ส.ลำปางอัด “ประยุทธ์” ห่วงแต่อำนาจ| พายุฤดูหนาวถล่มสหรัฐฯ แคนาดา | มะนาวแพงรับปีใหม่
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7432899
‘อัยการธนกฤต’ เปิดสาระสำคัญ พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและอุ้มหาย จนท.รัฐคุมตัวทุกคดีต้องแจ้งอัยการ ฝ่ายปกครอง พบเหตุให้แจ้งศาล มีอำนาจสั่งยุติทรมาน-อุ้มหาย
เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.65 ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายพัฒนากฎหมาย สำนักงานวิชาการ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวให้ความเห็นข้อกฎหมาย ถึงสาระสำคัญที่น่าสนใจโดยสังเขปของพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย ฯ ความว่า พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 25 ต.ค.65 จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ.66 เป็นต้นไป
โดยการบัญญัติ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฯ มาบังคับใช้นี้ เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture andother Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment (CAT) ) ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 2 ต.ค.50 และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 พ.ย.50 และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance (CED) ) ซึ่งประเทศไทยลงนามในอนุสัญญาแล้ว เมื่อวันที่ 9 ม.ค.55 แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันเพื่อเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญา
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ประเทศไทยเพียงแต่ลงนามในอนุสัญญาเท่านั้น แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคี ทำให้ประเทศไทยยังไม่ผูกพันตามพันธกรณีในอนุสัญญาฉบับนี้ (CED) แต่ตามอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ.1969 มาตรา 18 กำหนดให้ประเทศไทย ซึ่งลงนามในอนุสัญญาแล้วต้องผูกพันที่จะหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ อันเป็นการทำลายวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายของอนุสัญญานี้ด้วย พ.ร.บ. ป้องกัน และปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฯ เป็นกฎหมาย ที่ใช้บังคับกับการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐใน 3 ฐานความผิดดังต่อไปนี้
1. การกระทำความผิดฐานกระทำทรมาน
2. การกระทำความผิดฐานกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
และ 3. การกระทำความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย
สาระสำคัญที่น่าสนใจของ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฯ กล่าวโดยสังเขปเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน และมีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ
2. เมื่อมีการควบคุมตัวบุคคลใด เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบจะต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับและควบคุมตัว จนกระทั่งส่งตัวให้พนักงานสอบสวนหรือปล่อยตัวบุคคลดังกล่าวไป
3. เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐควบคุมตัวบุคคลใด เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องแจ้งอัยการและนายอำเภอในท้องที่ที่มีการควบคุมตัวโดยทันที สำหรับในกรุงเทพมหานครให้แจ้งอัยการและผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
หากอัยการ นายอำเภอ หรือ ผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง ผู้รับแจ้ง แล้วแต่กรณี เห็นว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่า จะมีการทรมาน การกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการกระทำให้บุคคลสูญหาย ให้ยื่นคำร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา เพื่อให้ศาลมีคำสั่งยุติการกระทำดังกล่าว เมื่อศาลได้รับคำร้องแล้ว ให้ศาลไต่สวนฝ่ายเดียว
4. เมื่อบุคคลใดพบเห็นหรือทราบการทรมาน การกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการกระทำให้บุคคลสูญหาย สามารถแจ้งพนักงานฝ่ายปกครอง อัยการ พนักงานสอบสวน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย หรือคณะอนุกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ ได้โดยทันที
ทั้งนี้ ให้ผู้รับแจ้งดังกล่าวข้างต้นยื่นคำร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา เพื่อให้ศาลมีคำสั่งยุติการกระทำดังกล่าว และเมื่อศาลได้รับคำร้องแล้ว ให้ศาลทำการไต่สวนฝ่ายเดียว
5. นอกจากพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ให้พนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่ พนักงานฝ่ายปกครองตำแหน่งตั้งแต่ปลัดอำเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปในสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ และอัยการ เป็นพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนและรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และดำเนินคดีความผิดตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฯ และความผิดอื่นที่เกี่ยวพันกัน
6. ในกรณีที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษทำการสอบสวนคดีความผิดตาม พ.ร.บ. นี้คดีใดให้คดีนั้นเป็นคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
7. กรณีการสอบสวนที่กระทำโดยหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่อัยการ ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแจ้งเหตุแห่งคดีให้อัยการทราบ เพื่อให้อัยการเข้าตรวจสอบหรือกำกับการสอบสวนโดยทันที
8. ให้พนักงานสอบสวนหรืออัยการแล้วแต่กรณี แจ้งให้ผู้เสียหายทราบถึงสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. นี้ และสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย ในกรณีที่ผู้เสียหายมีสิทธิและประสงค์ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทน ให้อัยการเรียกค่าสินไหมทดแทนแทนผู้เสียหายด้วย
9. ให้ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีความผิดตาม พ.ร.บ. นี้
ส.ส.ลำปางอัด “ประยุทธ์” ห่วงแต่อำนาจไม่สนประชาชน
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_472722/
ส.ส.ลำปาง อัด”ประยุทธ์” หวังต่ออำนาจไม่สนความเดือดร้อนประชาชน ทำกฝผ.ติดลบกว่า 1.6 แสนล้าน แนะใช้งบกลางอุ้มเพื่อลดภาระประชาชน
นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ส.ส.ลำปาง พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน ในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือกกพ.มีมติรับทราบภาระต้นทุนค่าเอฟทีประจำรอบประจำเดือน ม.ค. – เม.ย.66 ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.03 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้รัฐบาล หวังลดภาระต้นทุนคงค้างที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. แบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ภายหลังจากที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกนโยบายที่ขัดกับความเป็นจริง
ทั้งนี้การออกนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาลส่งผลให้กระแสเงินเงินสดของ กฝผ.ติดลบ จนถึงปัจจุบันที่ 160,000 ล้านบาท การแบกรับต้นทุนของ กฝผ. ส่งผลกระทบการบริหารต้นทุนการของกฝผ.กระทบไปด้วย ทั้งนี้เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ คิดแต่จะหาเสียงผ่านนโยบายรัฐเพียงอย่างเดียว ส่งผลหน่วยงานของรัฐต้องรับผลกระทบตามไปด้วย
นายกิตติกร กล่าวด้วยว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการพลังงาน อยากให้รัฐบาล แก้ปัญหาโดยต้องหางบประมาณมาสนับสนุนและลดหนี้ของการไฟฟ้า จะใช้วิธีการกู้เงินโดยรัฐบาลค้ำประกันหรือใช้งบประมาณกลางของนายกรัฐมนตรี มาลดภาระหนี้ของกฝผ.ลงอาจจะใช้ประมาณ 85,000 ล้าน ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะไม่มีภาระดอกเบี้ย
ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์สามารถทำได้เลย แต่ทำไมเลือกไม่ทำ ซึ่งการไม่ดำเนินการอะไรของรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนเพื่อขอลดค่าไฟฟ้าพร้อมจ่าย หรือ ใช้งบกลางมาสนับสนุนให้กับกฝผ.ต้องเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หากไม่ทำอะไรเลยจะเป็นการซ้ำเติมทั้งประชาชน
และผู้ประกอบการ เพราะการที่คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. ในฐานะตัวแทนภาคเอกชนมองว่า หากขึ้นค่าไฟฟ้าจะส่งผลให้ต้นทุนผู้ประกอบการสูงขึ้น และกระทบกับความสามารถ ทางการแข่งขันรวมทั้งจำต้อง ปรับราคาสินค้า ซึ่งกระทบกับประชาชน ทั้งนี้พล.อ.ประยุทธ์ในฐานะผู้นำประเทศไม่ควรห่วง แต่การสืบทอดอำนาจการเมือง ท่านต้องห่วงประชาชนด้วย
‘ราวกับสมรภูมิรบ’ พายุฤดูหนาวถล่มสหรัฐฯ แคนาดา ตายเพิ่มเป็น 59 ศพแล้ว (คลิป)
https://www.thairath.co.th/news/foreign/2588076
สหรัฐฯ แคนาดา สุดยะเยือก เผชิญพายุฤดูหนาวกำลังแรง บวกกับเกิดปรากฏการณ์ ‘บอมบ์ไซโคลน’ คร่าชีวิตผู้คนแล้วกว่าครึ่งร้อย ขณะที่เมืองบัฟฟาโลในรัฐนิวยอร์ก ราวกับตกอยู่ใน‘สมรภูมิรบ’ ทุกอย่างนิ่งสนิท
เมื่อ 27 ธ.ค. 2565 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานความคืบหน้าของภัยพิบัติ พายุฤดูหนาวกำลังแรงพัดกระหน่ำทั่วทวีปอเมริกาเหนือ ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ ‘บอมบ์ ไซโคลน’ ทำให้สหรัฐฯและแคนาดา ต้องเผชิญกับสภาพอากาศหนาวเย็นจัดอุณหภูมิลดต่ำระดับติดลบหลายองศา เกิดหิมะตกหนัก มาตั้งแต่ก่อนถึงวันคริสต์มาสนั้น ล่าสุด เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็นอย่างน้อย 59 ศพแล้ว
ที่สหรัฐฯ มีผู้เสียชีวิตจากอิทธิพลของพายุฤดูหนาวแล้ว 55 ราย โดยในจำนวนนี้อยู่ที่เขตอีรี เคาน์ตี รัฐนิวยอร์ก 25 รายในขณะที่แคนาดา มีผู้เสียชีวิต 4 ราย จากอุบัติเหตุรถยนต์พลิกคว่ำบนถนนที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งที่รัฐบริติช โคลัมเบีย
โดยเฉพาะ เมืองบัฟฟาโล เมืองใหญ่อันดับ 2 ในรัฐนิวยอร์กของสหรัฐฯ ได้เผชิญกับอากาศหนาวเย็นยะเยือกระดับติดลบหลายองศา เกิดหิมะตกหนักจนกลายเป็นน้ำแข็ง ปกคลุมถนน อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ แทบไม่มีผู้คนออกมาบนท้องถนน ทุกอย่างนิ่งสนิท จนราวกับตกอยู่ใน ‘สมรภูมิสงคราม’ เลยทีเดียว
ที่มา : news.sky.com