คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
การชิงอำนาจระหว่างพระราชวงศ์อาจเกิดขึ้นได้เสมอถ้ามีปัจจัยเกื้อหนุนครับ ยิ่งการขึ้นครองราชสมบัติในสมัยโบราณยึดโยงกับฐานอำนาจบารมีทางการเมืองเป็นสำคัญ ในฐานะกรมพระราชวังหลังที่มีฐานอำนาจวังหลังเป็นของตนเอง รับประกันไม่ได้ว่าจะไม่มีความขัดแย้งกับวังหลวงหรือวังหน้า
ในสมัยอยุทธยามีตัวอย่างมาแล้วคือ สมเด็จพระเพทราชาตั้งนายจบคชประสิทธิ์ ทรงบาศขวากรมช้าง ซึ่งมีกำลังมากและเป็นผู้ร่วมคิดชิงราชสมบัติขึ้นเป็นกรมพระราชวังหลัง รับพระบัญชา ไม่นานก็ระแวงและหาเหตุสำเร็จโทษในข้อหากบฏ (พงศาวดารรุ่นหลังว่าพระเพทราชาร่วมมือกับพระเจ้าเสือวางแผนตั้งข้อหากำจัด)
หลังจากนั้นจึงไม่มีตำแหน่งวังหลังรับพระบัญชาในสมัยอยุทธยาอีก ในสมัยพระเจ้าเสือก็โปรดให้โอรสทั้งสองเจ้าฟ้าเพชร เจ้าฟ้าพร รับพระบัณฑูรอย่างวังหน้าเหมือนกัน จึงเรียกทั้งสององค์ว่า พระบัณฑูรใหญ่ พระบัณฑูรน้อย ตามลำดับ
สถานะของกรมพระราชวังหลังในรัชกาลที่ 1 อยู่ในระดับสูง เป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอองค์ใหญ่ ในสมัยกรุงธนบุรีมีตำแหน่งเป็นถึงพระยาสุริยอภัยเจ้าเมืองนครราชสีมา และมีผลงานสำคัญคือรบชนะกรมขุนอนุรักษ์สงครามในช่วงจลาจลกรุงธนบุรีซึ่งส่งผลให้รัชกาลที่ 1 ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ มีผลงานในสงครามเก้าทัพจนได้เลื่อนเป็นกรมพระราชวังหลัง ตลอดรัชกาลยังทำหน้าที่เป็นแม่ทัพรับศึกพม่าอีกหลายครั้ง จึงไม่แปลกที่จะมีฐานอำนาจและไพร่พลในสังกัดอยู่มาก
หลังกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทสวรรคตแล้ว เกิดศึกพม่ารุกรานเชียงแสนอีกใน พ.ศ. 2347 กรมพระราชวังหลังทรงอาสาไปปราบพม่า แต่รัชกาลที่ 1 ทรงห้ามว่า "เธอชรามากแล้ว อย่าไปเลย ให้เจ้านายหนุ่ม ๆ เขาไปกันเถิด" ภายหลังยังทรงเพิ่มพระเกียรติยศ ให้ทรงพระราชยานผูกแปดได้ในราชการใหญ่โต ให้ทรงเครื่องสูงมีระบายสามชั้นหน้าพรหมพักตร์
รัชกาลที่ 2 มีพระชนม์น้อยกว่ากรมพระราชวังหลัง 20 กว่าปี แม้จะตามเสด็จรัชกาลที่ 1 ออกศึกสงครามบ่อยครั้ง (เช่นเดียวกับสมเด็จพระเจ้าหลานเธออีกหลายองค์) ตั้งแต่สมัยธนบุรี แต่ไม่เคยมีผลงานโดดเด่นในการศึกชัดเจน ไม่เคยเป็นแม่ทัพใหญ่บัญชาการศึกด้วยพระองค์เองเลย มากสุดปรากฏเพียงเป็นยกกระบัตรในสงครามตีเมืองทวาย
เมื่อกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทสวรรคต รัชกาลที่ 1 ทรงปล่อยตำแหน่งวังหน้าไว้ 3 ปี ระหว่างนั้นองเชียงสือมีหนังสือขอให้ยกรัชกาลที่ 2 เป็นวังหน้าว่า "สมเด็จพระอนุชาธิราช ซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวรฯ สวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระชราลงทุกวัน ยังแต่พระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานเธอ มีกำลังมากเสมอกันอยู่ การข้างหน้ากลัวจะไม่เรียบร้อย ขอให้ยกสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ขึ้นดำรงที่เป็นกรมพระราชวังบวรฯ จะได้มีกำลังและพาหนะมากขึ้น บ้านเมืองจึงจะเรียบร้อย"
แต่รัชกาลที่ 1 ก็ไม่ทรงตั้ง จนกรมพระราชวังหลังทิวงคตไปสักพักแล้วจึงสถาปนารัชกาลที่ 2 ขึ้นเป็นวังหน้ารับพระบัณฑูร ยกเจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์โอรสองค์รองให้รับพระบัณฑูรเหมือนกัน เป็นพระบัณฑูรใหญ่ พระบัณฑูรน้อยเหมือนเจ้าฟ้าเพชรเจ้าฟ้าพรในสมัยพระเจ้าเสือ ไม่ตั้งวังหลังอีก
เป็นไปว่ารัชกาลที่ 1 อาจทรงไม่วางพระทัยในฐานอำนาจของวังหลังเต็มที่ เกรงจะเกิดปัญหา จึงทรงรั้งรอไม่ยอมยกรัชกาลที่ 2 ขึ้น จึงรอจนวังหลังทิวงคตแล้วจึงทรงวางพระทัยยกขึ้นได้
ในหนังสือ "กรมพระราชวังหลัง" ที่เรียบเรียงโดยเชื้อสายวังหลัง ระบุว่าใน พ.ศ. 2349 กรมพระราชวังหลังทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายว่า
"บัดนี้ข้าพระพุทธเจ้ามีอายุล่วงได้ ๖๐ ปีเศษ แลได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณมา ๒๕ ปีแล้ว และกรมพระราชวังบวรก็เสด็จสวรรคตแล้ว ทุกวันนี้พระมหากรุณาธิคุณก็ทรงพระชราภาพมากแล้ว ทั้งข้าพระพุทธเจ้าก็ชราภาพมากแล้วด้วย เพราะฉะนั้นขอพระราชทานพระบารมีได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ ขึ้นเป็นพระบัณฑูรน้อย"
รัชกาลที่ 1 ทรงทราบเจตนากรมพระราชวังหลังจึงพอพระทัย แต่ยังไม่ทรงดำเนินการ กรมพระราชวังหลังทิวงคตเสียก่อน
ผมยังสงสัยในเรื่องหนังสือนี้อยู่ แต่ถ้าเรื่องเป็นจริง เข้าใจได้ว่ารัชกาลที่ 1 ทรงทราบเจตนากรมพระราชวังหลังแน่แล้วว่าไม่คิดชิงราชสมบัติ และยอมสนับสนุนให้รัชกาลที่ 2 เป็นวังหน้า จึงทรงยอมตั้งพระโอรสทั้งสองให้รับพระบัณฑูรในที่สุดครับ
ในสมัยอยุทธยามีตัวอย่างมาแล้วคือ สมเด็จพระเพทราชาตั้งนายจบคชประสิทธิ์ ทรงบาศขวากรมช้าง ซึ่งมีกำลังมากและเป็นผู้ร่วมคิดชิงราชสมบัติขึ้นเป็นกรมพระราชวังหลัง รับพระบัญชา ไม่นานก็ระแวงและหาเหตุสำเร็จโทษในข้อหากบฏ (พงศาวดารรุ่นหลังว่าพระเพทราชาร่วมมือกับพระเจ้าเสือวางแผนตั้งข้อหากำจัด)
หลังจากนั้นจึงไม่มีตำแหน่งวังหลังรับพระบัญชาในสมัยอยุทธยาอีก ในสมัยพระเจ้าเสือก็โปรดให้โอรสทั้งสองเจ้าฟ้าเพชร เจ้าฟ้าพร รับพระบัณฑูรอย่างวังหน้าเหมือนกัน จึงเรียกทั้งสององค์ว่า พระบัณฑูรใหญ่ พระบัณฑูรน้อย ตามลำดับ
สถานะของกรมพระราชวังหลังในรัชกาลที่ 1 อยู่ในระดับสูง เป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอองค์ใหญ่ ในสมัยกรุงธนบุรีมีตำแหน่งเป็นถึงพระยาสุริยอภัยเจ้าเมืองนครราชสีมา และมีผลงานสำคัญคือรบชนะกรมขุนอนุรักษ์สงครามในช่วงจลาจลกรุงธนบุรีซึ่งส่งผลให้รัชกาลที่ 1 ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ มีผลงานในสงครามเก้าทัพจนได้เลื่อนเป็นกรมพระราชวังหลัง ตลอดรัชกาลยังทำหน้าที่เป็นแม่ทัพรับศึกพม่าอีกหลายครั้ง จึงไม่แปลกที่จะมีฐานอำนาจและไพร่พลในสังกัดอยู่มาก
หลังกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทสวรรคตแล้ว เกิดศึกพม่ารุกรานเชียงแสนอีกใน พ.ศ. 2347 กรมพระราชวังหลังทรงอาสาไปปราบพม่า แต่รัชกาลที่ 1 ทรงห้ามว่า "เธอชรามากแล้ว อย่าไปเลย ให้เจ้านายหนุ่ม ๆ เขาไปกันเถิด" ภายหลังยังทรงเพิ่มพระเกียรติยศ ให้ทรงพระราชยานผูกแปดได้ในราชการใหญ่โต ให้ทรงเครื่องสูงมีระบายสามชั้นหน้าพรหมพักตร์
รัชกาลที่ 2 มีพระชนม์น้อยกว่ากรมพระราชวังหลัง 20 กว่าปี แม้จะตามเสด็จรัชกาลที่ 1 ออกศึกสงครามบ่อยครั้ง (เช่นเดียวกับสมเด็จพระเจ้าหลานเธออีกหลายองค์) ตั้งแต่สมัยธนบุรี แต่ไม่เคยมีผลงานโดดเด่นในการศึกชัดเจน ไม่เคยเป็นแม่ทัพใหญ่บัญชาการศึกด้วยพระองค์เองเลย มากสุดปรากฏเพียงเป็นยกกระบัตรในสงครามตีเมืองทวาย
เมื่อกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทสวรรคต รัชกาลที่ 1 ทรงปล่อยตำแหน่งวังหน้าไว้ 3 ปี ระหว่างนั้นองเชียงสือมีหนังสือขอให้ยกรัชกาลที่ 2 เป็นวังหน้าว่า "สมเด็จพระอนุชาธิราช ซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวรฯ สวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระชราลงทุกวัน ยังแต่พระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานเธอ มีกำลังมากเสมอกันอยู่ การข้างหน้ากลัวจะไม่เรียบร้อย ขอให้ยกสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ขึ้นดำรงที่เป็นกรมพระราชวังบวรฯ จะได้มีกำลังและพาหนะมากขึ้น บ้านเมืองจึงจะเรียบร้อย"
แต่รัชกาลที่ 1 ก็ไม่ทรงตั้ง จนกรมพระราชวังหลังทิวงคตไปสักพักแล้วจึงสถาปนารัชกาลที่ 2 ขึ้นเป็นวังหน้ารับพระบัณฑูร ยกเจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์โอรสองค์รองให้รับพระบัณฑูรเหมือนกัน เป็นพระบัณฑูรใหญ่ พระบัณฑูรน้อยเหมือนเจ้าฟ้าเพชรเจ้าฟ้าพรในสมัยพระเจ้าเสือ ไม่ตั้งวังหลังอีก
เป็นไปว่ารัชกาลที่ 1 อาจทรงไม่วางพระทัยในฐานอำนาจของวังหลังเต็มที่ เกรงจะเกิดปัญหา จึงทรงรั้งรอไม่ยอมยกรัชกาลที่ 2 ขึ้น จึงรอจนวังหลังทิวงคตแล้วจึงทรงวางพระทัยยกขึ้นได้
ในหนังสือ "กรมพระราชวังหลัง" ที่เรียบเรียงโดยเชื้อสายวังหลัง ระบุว่าใน พ.ศ. 2349 กรมพระราชวังหลังทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายว่า
"บัดนี้ข้าพระพุทธเจ้ามีอายุล่วงได้ ๖๐ ปีเศษ แลได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณมา ๒๕ ปีแล้ว และกรมพระราชวังบวรก็เสด็จสวรรคตแล้ว ทุกวันนี้พระมหากรุณาธิคุณก็ทรงพระชราภาพมากแล้ว ทั้งข้าพระพุทธเจ้าก็ชราภาพมากแล้วด้วย เพราะฉะนั้นขอพระราชทานพระบารมีได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ ขึ้นเป็นพระบัณฑูรน้อย"
รัชกาลที่ 1 ทรงทราบเจตนากรมพระราชวังหลังจึงพอพระทัย แต่ยังไม่ทรงดำเนินการ กรมพระราชวังหลังทิวงคตเสียก่อน
ผมยังสงสัยในเรื่องหนังสือนี้อยู่ แต่ถ้าเรื่องเป็นจริง เข้าใจได้ว่ารัชกาลที่ 1 ทรงทราบเจตนากรมพระราชวังหลังแน่แล้วว่าไม่คิดชิงราชสมบัติ และยอมสนับสนุนให้รัชกาลที่ 2 เป็นวังหน้า จึงทรงยอมตั้งพระโอรสทั้งสองให้รับพระบัณฑูรในที่สุดครับ
แสดงความคิดเห็น
เห็นตำแหน่ง วังหลัง กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข แล้วเกิดคำถามขึ้นมาว่า
พอในความเป็นจริงสิ้นไปก่อน รอดตัวมาได้ สมัยหลังเลยไม่มีการตั้งใครเป็นวังหลังต่ออีกเลย เพื่อแก้ปัญหาที่ว่ามาด้านบน เป็นไปได้ไหมที่จะเป้นไปตามนี้?