เอเอฟพี - ฟาน ถิ เญียว ทำงานผลิตรองเท้าให้แบรนด์ระดับโลก เช่น Timberland และ K-Swiss มานานนับสิบปี แต่ตอนนี้เธอกลายเป็นหนึ่งในแรงงานชาวเวียดนามหลายหมื่นคนที่ถูกเลิกจ้าง เนื่องจากผู้บริโภคตะวันตกลดการใช้จ่าย
พนักงานโรงงานเกือบครึ่งล้านคนถูกบังคับให้ทำงานน้อยลงเนื่องจากคำสั่งซื้อลดลงในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ ที่เป็นหนึ่งในผู้ส่งออกเสื้อผ้า รองเท้า และเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่ที่สุดของโลก
วิกฤตค่าครองชีพในยุโรปและสหรัฐฯ ที่เป็นตลาดหลักสำหรับสินค้าที่ผลิตในเวียดนาม ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในตะวันตกลดลง
แรงงานหญิงที่คิดเป็น 80% ของแรงงานทั้งหมดในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้
เมื่อต้นเดือนก่อน เญียว อายุ 31 ปี ที่อาศัยอยู่ในห้องขนาด 9 ตารางเมตรในนครโฮจิมินห์พร้อมกับลูกชาย 2 คน และสามี ได้รับแจ้งว่าเธอไม่ต้องกลับไปทำงานที่บริษัท Ty Hung ผู้ผลิตรองเท้าจากไต้หวันที่ผลิตสินค้าแบรนด์ดังตะวันตกหลายรายอีกต่อไป
“พวกเขาบอกเราว่าพวกเขาไม่มีคำสั่งซื้อมากพอ” เญียวกล่าวถึงประกาศของบริษัท Ty Hung ที่จะปลดพนักงานออก 1,200 คน จากทั้งหมด 1,800 คน
“ฉันตกใจและกลัวมาก ได้แต่ร้องไห้ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้นอกจากต้องยอมรับ” เญียว กล่าว
งานของเญียวได้ค่าจ้างเพียง 220 ดอลลาร์ต่อเดือน ในเมืองที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 370 ดอลลาร์ แต่อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินดังกล่าวถือว่าปกติ และเพิ่มขึ้นจากงานเก็บเห็ดที่เธอเคยทำตอนวัยรุ่นท่ามกลางความร้อนของเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง
ในตอนนี้ เญียวมีเพียงเงินชดเชย 2 เดือนสำหรับประทังชีวิต ซึ่งเธอต้องดูแลครอบครัวด้วยเงินเพียงไม่กี่ดอลลาร์ต่อวัน
“ไม่มีใครช่วยเรา ฉันจะต้องผ่านมันไปให้ได้ด้วยตัวเอง” เญียว กล่าว
สมาพันธ์แรงงานเวียดนามระบุว่า นับตั้งแต่เดือน ก.ย. บริษัทมากกว่า 1,200 แห่ง ที่ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจต่างชาติในภาคเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และเฟอร์นิเจอร์ ถูกบังคับให้ต้องเลิกจ้างพนักงาน หรือลดชั่วโมงการทำงานลง เนื่องด้วยคำสั่งซื้อจากสหรัฐฯ ลดลง 30-40% และจากยุโรปลดลง 60% เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นที่เป็นผลพวงจากสงครามในยูเครน
สมาพันธุ์ยังระบุว่า แรงงานมากกว่า 470,000 คน ถูกลดชั่วโมงการทำงานในช่วง 4 เดือนหลังของปี และมีแรงงานตกงานถึง 40,000 คน โดย 30,000 คนในนั้นเป็นแรงงานหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
บริษัท Pouyuen จากไต้หวัน ผู้ผลิตรองเท้า Nike ให้พนักงานของบริษัทลางานหมุนเวียนโดยที่ยังได้รับเงินเดือน ขณะที่รายงานระบุว่าบริษัท Samsung Electronics ที่เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ได้เริ่มลดการผลิตสมาร์ทโฟนจากโรงงานทางภาคเหนือ
แรงงานระบุว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะเลวร้ายกว่าช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 เนื่องจากพวกเขาได้รับการช่วยเหลือจากการบริจาคอาหารภายใต้มาตรการกักกันเข้มงวดที่บังคับให้พวกเขาต้องอยู่กับบ้าน และจากนั้น ความต้องการได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้ง เมื่อยกเลิกข้อจำกัดในปลายปี 2564
“มันไม่ง่ายที่จะหางานใหม่เหมือนเมื่อก่อน” เหวียน ถิ เทิม อายุ 35 ปี กล่าว หลังถูกบริษัทผลิตเครื่องนุ่งห่มของเกาหลีใต้ ที่ผลิตเสื้อผ้าให้ Walmart ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของสหรัฐฯ เลิกจ้างงาน
นับตั้งแต่ตกงาน เทิมที่มีลูกเล็ก 3 คน และใช้ชีวิตอยู่ในย่านชานเมืองของนครโฮจิมินห์ ขายบะหมี่แห้งและส้มให้ผู้คนที่สัญจรไปมา
เจิ่น เหวียด แอ็ง รองประธานสมาคมธุรกิจนครโฮจิมินห์ กล่าวว่า ภาวะชะลอตัวเกิดขึ้น เนื่องจากธุรกิจส่งออกในเวียดนามดำเนินกิจการของพวกเขาอย่างเต็มกำลังในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 และเมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อทั่วโลกและความต้องการในการบริโภคหดตัว จึงนำไปสู่การระงับคำสั่งซื้อ เป็นเหตุให้สต๊อกสินค้าเกินดุลเป็นจำนวนมาก
X
แต่ภาวะชะลอตัวในเวียดนามน่าจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เหวียด แอ็ง กล่าว
การปรับลดกำลังการผลิตในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้สินค้าขาดแคลนในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 และสถานการณ์มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นซ้ำในปีต่อไป
เหวียด แอ็ง กล่าวว่า ปี 2566 จะเป็นช่วงที่เราเพิ่มการผลิตเพื่อชดเชย
แต่ก่อนถึงตอนนั้น แรงงานเช่นเญียว และเทิมที่เป็นกระดูกสันหลังของแรงงานค่าแรงต่ำที่ช่วยให้เวียดนามกลายเป็นศูนย์กลางทางการผลิตที่สำคัญและถูกมองว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากจีน ต้องหาหนทางที่จะทำให้ครอบครัวของพวกเขาอยู่รอดได้
“ฉันไม่เคยมีความฝันหรูหราถึงสิ่งที่ต้องการในชีวิต ความปรารถนาเดียวของฉันคือมีรายได้มากพอที่จะอยู่รอดต่อไป” เญียว กล่าว.
https://mgronline.com/indochina/detail/9650000118611
แรงงานเวียดนามถูกเลิกจ้างอื้อหลังตะวันตกลดนำเข้าสินค้า ผลพวงสงครามยูเครน
พนักงานโรงงานเกือบครึ่งล้านคนถูกบังคับให้ทำงานน้อยลงเนื่องจากคำสั่งซื้อลดลงในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ ที่เป็นหนึ่งในผู้ส่งออกเสื้อผ้า รองเท้า และเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่ที่สุดของโลก
วิกฤตค่าครองชีพในยุโรปและสหรัฐฯ ที่เป็นตลาดหลักสำหรับสินค้าที่ผลิตในเวียดนาม ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในตะวันตกลดลง
แรงงานหญิงที่คิดเป็น 80% ของแรงงานทั้งหมดในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้
เมื่อต้นเดือนก่อน เญียว อายุ 31 ปี ที่อาศัยอยู่ในห้องขนาด 9 ตารางเมตรในนครโฮจิมินห์พร้อมกับลูกชาย 2 คน และสามี ได้รับแจ้งว่าเธอไม่ต้องกลับไปทำงานที่บริษัท Ty Hung ผู้ผลิตรองเท้าจากไต้หวันที่ผลิตสินค้าแบรนด์ดังตะวันตกหลายรายอีกต่อไป
“พวกเขาบอกเราว่าพวกเขาไม่มีคำสั่งซื้อมากพอ” เญียวกล่าวถึงประกาศของบริษัท Ty Hung ที่จะปลดพนักงานออก 1,200 คน จากทั้งหมด 1,800 คน
“ฉันตกใจและกลัวมาก ได้แต่ร้องไห้ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้นอกจากต้องยอมรับ” เญียว กล่าว
งานของเญียวได้ค่าจ้างเพียง 220 ดอลลาร์ต่อเดือน ในเมืองที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 370 ดอลลาร์ แต่อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินดังกล่าวถือว่าปกติ และเพิ่มขึ้นจากงานเก็บเห็ดที่เธอเคยทำตอนวัยรุ่นท่ามกลางความร้อนของเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง
ในตอนนี้ เญียวมีเพียงเงินชดเชย 2 เดือนสำหรับประทังชีวิต ซึ่งเธอต้องดูแลครอบครัวด้วยเงินเพียงไม่กี่ดอลลาร์ต่อวัน
“ไม่มีใครช่วยเรา ฉันจะต้องผ่านมันไปให้ได้ด้วยตัวเอง” เญียว กล่าว
สมาพันธ์แรงงานเวียดนามระบุว่า นับตั้งแต่เดือน ก.ย. บริษัทมากกว่า 1,200 แห่ง ที่ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจต่างชาติในภาคเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และเฟอร์นิเจอร์ ถูกบังคับให้ต้องเลิกจ้างพนักงาน หรือลดชั่วโมงการทำงานลง เนื่องด้วยคำสั่งซื้อจากสหรัฐฯ ลดลง 30-40% และจากยุโรปลดลง 60% เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นที่เป็นผลพวงจากสงครามในยูเครน
สมาพันธุ์ยังระบุว่า แรงงานมากกว่า 470,000 คน ถูกลดชั่วโมงการทำงานในช่วง 4 เดือนหลังของปี และมีแรงงานตกงานถึง 40,000 คน โดย 30,000 คนในนั้นเป็นแรงงานหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
บริษัท Pouyuen จากไต้หวัน ผู้ผลิตรองเท้า Nike ให้พนักงานของบริษัทลางานหมุนเวียนโดยที่ยังได้รับเงินเดือน ขณะที่รายงานระบุว่าบริษัท Samsung Electronics ที่เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ได้เริ่มลดการผลิตสมาร์ทโฟนจากโรงงานทางภาคเหนือ
แรงงานระบุว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะเลวร้ายกว่าช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 เนื่องจากพวกเขาได้รับการช่วยเหลือจากการบริจาคอาหารภายใต้มาตรการกักกันเข้มงวดที่บังคับให้พวกเขาต้องอยู่กับบ้าน และจากนั้น ความต้องการได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้ง เมื่อยกเลิกข้อจำกัดในปลายปี 2564
“มันไม่ง่ายที่จะหางานใหม่เหมือนเมื่อก่อน” เหวียน ถิ เทิม อายุ 35 ปี กล่าว หลังถูกบริษัทผลิตเครื่องนุ่งห่มของเกาหลีใต้ ที่ผลิตเสื้อผ้าให้ Walmart ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของสหรัฐฯ เลิกจ้างงาน
นับตั้งแต่ตกงาน เทิมที่มีลูกเล็ก 3 คน และใช้ชีวิตอยู่ในย่านชานเมืองของนครโฮจิมินห์ ขายบะหมี่แห้งและส้มให้ผู้คนที่สัญจรไปมา
เจิ่น เหวียด แอ็ง รองประธานสมาคมธุรกิจนครโฮจิมินห์ กล่าวว่า ภาวะชะลอตัวเกิดขึ้น เนื่องจากธุรกิจส่งออกในเวียดนามดำเนินกิจการของพวกเขาอย่างเต็มกำลังในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 และเมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อทั่วโลกและความต้องการในการบริโภคหดตัว จึงนำไปสู่การระงับคำสั่งซื้อ เป็นเหตุให้สต๊อกสินค้าเกินดุลเป็นจำนวนมาก
X
แต่ภาวะชะลอตัวในเวียดนามน่าจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เหวียด แอ็ง กล่าว
การปรับลดกำลังการผลิตในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้สินค้าขาดแคลนในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 และสถานการณ์มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นซ้ำในปีต่อไป
เหวียด แอ็ง กล่าวว่า ปี 2566 จะเป็นช่วงที่เราเพิ่มการผลิตเพื่อชดเชย
แต่ก่อนถึงตอนนั้น แรงงานเช่นเญียว และเทิมที่เป็นกระดูกสันหลังของแรงงานค่าแรงต่ำที่ช่วยให้เวียดนามกลายเป็นศูนย์กลางทางการผลิตที่สำคัญและถูกมองว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากจีน ต้องหาหนทางที่จะทำให้ครอบครัวของพวกเขาอยู่รอดได้
“ฉันไม่เคยมีความฝันหรูหราถึงสิ่งที่ต้องการในชีวิต ความปรารถนาเดียวของฉันคือมีรายได้มากพอที่จะอยู่รอดต่อไป” เญียว กล่าว.
https://mgronline.com/indochina/detail/9650000118611