คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
อินทรีย์ 5 ในพระสูตรนี้ เป็น รูปขันธ์ (ปสาทรูป 5)
จิต ใจ เป็น วิญญาณขันธ์
สติ เป็น สังขารขันธ์ ที่เกิดพร้อมกับ จิตที่เป็นกุศลเท่านั้น
วิมุติ ถ้าหมายเอา จิตขณะหลุดพ้น เป็นวิญญาณขันธ์ ที่เป็นโลกุตระ (โลกุตระจิต)
นิพพาน ไม่เกี่ยวกับขันธ์ 5 เป็นสิ่งที่ โลกุตระจิต รับเป็นอารมณ์
จิต ใจ เป็น วิญญาณขันธ์
สติ เป็น สังขารขันธ์ ที่เกิดพร้อมกับ จิตที่เป็นกุศลเท่านั้น
วิมุติ ถ้าหมายเอา จิตขณะหลุดพ้น เป็นวิญญาณขันธ์ ที่เป็นโลกุตระ (โลกุตระจิต)
นิพพาน ไม่เกี่ยวกับขันธ์ 5 เป็นสิ่งที่ โลกุตระจิต รับเป็นอารมณ์
สมาชิกหมายเลข 6909567 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 1265297 ถูกใจ, P_vicha ถูกใจ, ทำหมู ถูกใจ, เอิงเอย ถูกใจ, มะม่วงหิมพานต์ ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 3402001 ถูกใจ, จางซานฟง ถูกใจ
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
พระไตรปิฎก
ศาสนาพุทธ
ใจ , สติ, วิมุตติ, นิพพาน เป็นคนละสิ่งกัน อย่างไรครับ?
๒. อุณณาภพราหมณสูตร
ว่าด้วยอุณณาภพราหมณ์
[๕๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่ออุณณาภะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม อินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกัน
ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์
ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่มีอารมณ์ต่างกัน
มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน และอะไรเล่าย่อมเสวย
อารมณ์อันเป็นโคจรของอินทรีย์ ๕ ประการนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีอารมณ์
ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์
พราหมณ์ ใจเป็นที่ยึดเหนี่ยวของอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่มีอารมณ์ต่างกัน
มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน และใจย่อมเสวยอารมณ์
อันเป็นโคจรของอินทรีย์ ๕ ประการนี้”
“ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของใจ”
“พราหมณ์ สติเป็นที่ยึดเหนี่ยวของใจ”
“ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของสติ”
“พราหมณ์ วิมุตติเป็นที่ยึดเหนี่ยวของสติ”
“ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของวิมุตติ”
“พราหมณ์ นิพพานเป็นที่ยึดเหนี่ยวของวิมุตติ”
“ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของนิพพาน”
“พราหมณ์ ท่านล่วงเลยปัญหาไป ไม่สามารถกำหนดที่สุดแห่งปัญหาได้ ด้วยว่า
พรหมจรรย์ที่บุคคลอยู่จบแล้ว หยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า
มีนิพพานเป็นที่สุด”
ลำดับนั้น อุณณาภพราหมณ์ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป
ครั้นอุณณาภพราหมณ์จากไปได้ไม่นาน พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนยอดหรือศาลาเรือนยอด มีหน้าต่างอยู่
ด้านทิศตะวันออก เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น แสง (ดวงอาทิตย์) ส่องเข้าไปทางหน้าต่าง
จะปรากฏที่ไหน”
“ที่ฝาด้านทิศตะวันตก พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ศรัทธาในตถาคตของ
อุณณาภพราหมณ์ตั้งมั่นหยั่งรากลงแล้วมั่นคง อันสมณะหรือพราหมณ์ เทวดาหรือมาร
พรหมหรือใครๆ ในโลกให้หวั่นไหวไม่ได้ ถ้าอุณณาภพราหมณ์พึงทำกาละในเวลา
นี้ไซร้ ย่อมไม่มีสังโยชน์ที่เป็นเครื่องประกอบให้อุณณาภพราหมณ์ต้องมาสู่โลกนี้อีก”
อุณณาภพราหมณสูตรที่ ๒ จบ
.......
จากพระสูตรนี้ ท่านแยก สติ และ วิมุตติ ออกมาเป็นคนละสิ่งกับใจ และอินทรีย์ 5
คำถาม
สติ และวิมุตติ นับเป็นขันธ์ใด ในขันธ์ทั้ง 5 หรือไม่ครับ?