ผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการการุณยฆาต ในประเด็นที่ว่า การการุณยฆาตบาปหรือไม่
จากตัวอย่าง 136คน พบว่ามี ผู้แสดงความคิดเห็นว่าการการุณยฆาตบาปจำนวณ 44 คน คิดเป็นร้อยละ 32.8 และเห็นว่าไม่บาป 90 คน คิดเป็นร้อยละ 67.2
จากผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างพระแสดงความคิดเห็นว่าบาปจำนวน 21 รูปคิดเป็นร้อยละ 87.5 โดยให้เหตุผลว่า “ผิดศีล 5 การฆ่าตัวเองหรือฆ่าสัตว์ตัดชีวิตคือบาป” “การที่ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาหรือไม่เจตนาเป็นบาป” และเห็นว่าไม่บาป 3 รูปคิดเป็นร้อยละ 12.5 โดยให้เหตุผลว่า “การที่มนุษย์คนหนึ่งต้องอยู่ด้วยความทุกข์ทรมานนั้นย่อมเป็นตราบาปในชีวิตยิ่งกว่าการจากไปด้วยความสงบ การจากไปด้วยความสงบนั้นไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดบาปเพราะไม่ได้มีความทุกข์เกิดขึ้นในจิตใจของตน”
จากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาที่ศึกษาศาสนาพุทธซึ่งเป็นฆราวาสมีความเห็นว่าบาป 4 คนคิดเป็นร้อยละ14.29 ให้ความเห็นว่า “เพราะถ้าหากพูดถึงตามหลักศาสนาแล้วการการุณยฆาตบาปเพราะเป็นการเลือกทำให้ตัวตายหรือหมดลมหายใจ ซึ่งไม่ต่างไปจากการฆ่าตัวตาย แต่ถ้าหากพูดถึงหลักการแพทย์ การุณยฆาตเป็นตัวเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการยุติความเจ็บปวดที่ต้องทน โดยต่างจากการฆ่าตัวตายออกไปคือ บุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้กระทำแทนตัวผู้ป่วย ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่าเรื่องนี้มีหลายมุมมอง อยู่ที่เราเลือกมองจากมุมไหน แต่สุดท้ายแล้วถ้าหากเราทุกข์ใจมาก ๆ กับอาการป่วยของตัวเอง การได้ยุติความทรมานนั้นด้วยความตายเป็นเรื่องที่ช่วยได้เยอะมากกว่าการทนอยู่ทั้ง ๆ ที่มีชีวิต แต่ความสุขของชีวิตนั้นได้ดับสลายไปจนไม่อาจรับรู้ได้ถึงความสุขแล้ว มันเหมือนกับการที่ร่างกายมีชีวิตเหมือนปกติ แต่จิตใจและจิตวิญญาณนั้น หายไปจนไม่สามารถเอากลับมาได้แล้ว จะทุกข์ทรมานน้อยกว่าถ้าหากได้พบกับการจากไปที่ตัวเองเป็นคนเลือกเพื่อยุติความทรมาน”และไม่บาป 24 คนคิดเป็นร้อยละ 85.71 โดยให้เหตุผลว่า “สำหรับดิฉันการุณยฆาตคือการปล่อยวางอีกแบบหนึ่ง คือการปล่อยวางสังขารของคนที่ไม่อยากเจ็บปวดแล้ว พอแล้วกับชีวิต และคิดว่าการตัดสินใจกาการุณยฆาตไม่ส่งผลกระทบกับคนที่มีชีวิตอยู่รอบข้างสักเท่าไหร่”
จากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรทางการแพทย์มีความเห็นว่าบาป 7 คนคิดเป็นร้อยละ 29.17 ให้เหตุผลว่า “การทำลายชีวิต ทำร้ายตัวเอง” “ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ” และไม่บาป 17 คนคิดเป็นร้อยละ 70.83 ให้เหตุผลว่า “ก่อนอื่นผมต้องขอบอกก่อนคำว่า “อิสระ” คำนี้มีความหมาย เราพร้อมที่จะไม่โดยที่ไม่มีอะไรต้องให้คิดและพะวง เมื่อชีวิตมาอยู่จุดที่พร้อมที่สุดและสมบูรณ์ ไม่ขัดกลับหลักศาสนา และหลักทางกฎหมาย ดังนั้นผมจึงเชื่อว่าการการุณอย่าฆาต นั้นไม่ถือว่าปาบแต่อย่างใด”
กลุ่มบุคคลทั่วไปมีความเห็นว่าบาป 12 คนคิดเป็นร้อยละ 20.29 โดยให้เหตุผลว่า “แม้การการุณยฆาตจะมีเหตุผลส่วนบุคคล แต่การทำลายหนึ่งชีวิตแม้กระทั่งตนเอง ก็ถือว่าเป็นบาป” “เป็นการฆ่าตัวตาย” และไม่บาป 46 คนคิดเป็นร้อยละ 79.31 โดยให้เหตุผลว่า “แม้การการุณยฆาตจะมีเหตุผลส่วนบุคคล แต่การทำลายหนึ่งชีวิตแม้กระทั่งตนเอง ก็ถือว่าเป็นบาป” “บาปบุญไม่มีอยู่จริง ร่างกายเราสิทธิ์ทุกอย่างเป็นของเรา จะเลือกตายด้วยวิธีไหนก็ไม่ผิด”
จากผลสำรวจประชากรโดยภาพรวมมีผู้เข้าทำแบบสำรวจจำนวน 136 ยินยอมทำแบบสำรวจ 134 คนและไม่ยินยอมทำแบบสำรวจ 2 คน ผู้ยินยอมทำแบบสำรวจคิดเป็นร้อยละ 67 มีความเห็นว่าไม่บาปจำนวน 90 คนคิดเป็นร้อยละ 67.2 และบาปจำนวน 44 คนคิดเป็นร้อยละ 32.8 จากผลสำรวจสามารถสรุปได้ว่าบุคคลทั่วไปในสังคมที่นับถือศาสนาพุทธเป็นหลักในกลุ่มประชากรที่หลากหลายมีความคิดเห็นว่าการการุณยฆาตเป็นสิ่งที่สามารถทำได้และไม่เป็นบาปแต่ในขณะเดียวกันในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระซึ่งเป็นบุคคลากรทางศาสนาเป็นกลุ่มตัวอย่างเดียวที่มีความคิดเห็นว่าบาปมากกว่าไม่บาป
ผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการการุณยฆาต ในประเด็นที่ว่า การการุณยฆาตบาปหรือไม่
จากตัวอย่าง 136คน พบว่ามี ผู้แสดงความคิดเห็นว่าการการุณยฆาตบาปจำนวณ 44 คน คิดเป็นร้อยละ 32.8 และเห็นว่าไม่บาป 90 คน คิดเป็นร้อยละ 67.2
จากผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างพระแสดงความคิดเห็นว่าบาปจำนวน 21 รูปคิดเป็นร้อยละ 87.5 โดยให้เหตุผลว่า “ผิดศีล 5 การฆ่าตัวเองหรือฆ่าสัตว์ตัดชีวิตคือบาป” “การที่ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาหรือไม่เจตนาเป็นบาป” และเห็นว่าไม่บาป 3 รูปคิดเป็นร้อยละ 12.5 โดยให้เหตุผลว่า “การที่มนุษย์คนหนึ่งต้องอยู่ด้วยความทุกข์ทรมานนั้นย่อมเป็นตราบาปในชีวิตยิ่งกว่าการจากไปด้วยความสงบ การจากไปด้วยความสงบนั้นไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดบาปเพราะไม่ได้มีความทุกข์เกิดขึ้นในจิตใจของตน”
จากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาที่ศึกษาศาสนาพุทธซึ่งเป็นฆราวาสมีความเห็นว่าบาป 4 คนคิดเป็นร้อยละ14.29 ให้ความเห็นว่า “เพราะถ้าหากพูดถึงตามหลักศาสนาแล้วการการุณยฆาตบาปเพราะเป็นการเลือกทำให้ตัวตายหรือหมดลมหายใจ ซึ่งไม่ต่างไปจากการฆ่าตัวตาย แต่ถ้าหากพูดถึงหลักการแพทย์ การุณยฆาตเป็นตัวเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการยุติความเจ็บปวดที่ต้องทน โดยต่างจากการฆ่าตัวตายออกไปคือ บุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้กระทำแทนตัวผู้ป่วย ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่าเรื่องนี้มีหลายมุมมอง อยู่ที่เราเลือกมองจากมุมไหน แต่สุดท้ายแล้วถ้าหากเราทุกข์ใจมาก ๆ กับอาการป่วยของตัวเอง การได้ยุติความทรมานนั้นด้วยความตายเป็นเรื่องที่ช่วยได้เยอะมากกว่าการทนอยู่ทั้ง ๆ ที่มีชีวิต แต่ความสุขของชีวิตนั้นได้ดับสลายไปจนไม่อาจรับรู้ได้ถึงความสุขแล้ว มันเหมือนกับการที่ร่างกายมีชีวิตเหมือนปกติ แต่จิตใจและจิตวิญญาณนั้น หายไปจนไม่สามารถเอากลับมาได้แล้ว จะทุกข์ทรมานน้อยกว่าถ้าหากได้พบกับการจากไปที่ตัวเองเป็นคนเลือกเพื่อยุติความทรมาน”และไม่บาป 24 คนคิดเป็นร้อยละ 85.71 โดยให้เหตุผลว่า “สำหรับดิฉันการุณยฆาตคือการปล่อยวางอีกแบบหนึ่ง คือการปล่อยวางสังขารของคนที่ไม่อยากเจ็บปวดแล้ว พอแล้วกับชีวิต และคิดว่าการตัดสินใจกาการุณยฆาตไม่ส่งผลกระทบกับคนที่มีชีวิตอยู่รอบข้างสักเท่าไหร่”
จากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรทางการแพทย์มีความเห็นว่าบาป 7 คนคิดเป็นร้อยละ 29.17 ให้เหตุผลว่า “การทำลายชีวิต ทำร้ายตัวเอง” “ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ” และไม่บาป 17 คนคิดเป็นร้อยละ 70.83 ให้เหตุผลว่า “ก่อนอื่นผมต้องขอบอกก่อนคำว่า “อิสระ” คำนี้มีความหมาย เราพร้อมที่จะไม่โดยที่ไม่มีอะไรต้องให้คิดและพะวง เมื่อชีวิตมาอยู่จุดที่พร้อมที่สุดและสมบูรณ์ ไม่ขัดกลับหลักศาสนา และหลักทางกฎหมาย ดังนั้นผมจึงเชื่อว่าการการุณอย่าฆาต นั้นไม่ถือว่าปาบแต่อย่างใด”
กลุ่มบุคคลทั่วไปมีความเห็นว่าบาป 12 คนคิดเป็นร้อยละ 20.29 โดยให้เหตุผลว่า “แม้การการุณยฆาตจะมีเหตุผลส่วนบุคคล แต่การทำลายหนึ่งชีวิตแม้กระทั่งตนเอง ก็ถือว่าเป็นบาป” “เป็นการฆ่าตัวตาย” และไม่บาป 46 คนคิดเป็นร้อยละ 79.31 โดยให้เหตุผลว่า “แม้การการุณยฆาตจะมีเหตุผลส่วนบุคคล แต่การทำลายหนึ่งชีวิตแม้กระทั่งตนเอง ก็ถือว่าเป็นบาป” “บาปบุญไม่มีอยู่จริง ร่างกายเราสิทธิ์ทุกอย่างเป็นของเรา จะเลือกตายด้วยวิธีไหนก็ไม่ผิด”
จากผลสำรวจประชากรโดยภาพรวมมีผู้เข้าทำแบบสำรวจจำนวน 136 ยินยอมทำแบบสำรวจ 134 คนและไม่ยินยอมทำแบบสำรวจ 2 คน ผู้ยินยอมทำแบบสำรวจคิดเป็นร้อยละ 67 มีความเห็นว่าไม่บาปจำนวน 90 คนคิดเป็นร้อยละ 67.2 และบาปจำนวน 44 คนคิดเป็นร้อยละ 32.8 จากผลสำรวจสามารถสรุปได้ว่าบุคคลทั่วไปในสังคมที่นับถือศาสนาพุทธเป็นหลักในกลุ่มประชากรที่หลากหลายมีความคิดเห็นว่าการการุณยฆาตเป็นสิ่งที่สามารถทำได้และไม่เป็นบาปแต่ในขณะเดียวกันในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระซึ่งเป็นบุคคลากรทางศาสนาเป็นกลุ่มตัวอย่างเดียวที่มีความคิดเห็นว่าบาปมากกว่าไม่บาป