‘โทนี่’ อย่างขิง ชำแหละนโยบายพรรค ที่ทำให้ประชาชน ยังไม่ลืม ‘ไทยรักไทย’
https://www.matichon.co.th/politics/news_3663137
‘โทนี่’ อย่างขิง ชำแหละนโยบายพรรค ที่ทำให้ประชาชน ยังไม่ลืม ‘ไทยรักไทย’
เมื่อช่วงค่ำวันที่ 8 พฤศจิกายน เฟซบุ๊ก
CARE • แคร์ คิด เคลื่อน ไทย ได้ไลฟ์สด การพูดคุยกับ
โทนี วู้ดซัม หรือ นาย
ทักษิณ ชินวัตร ในหัวข้อ ทำนโยบายสาธารณะไม่เป็น หรือเห็นแก่เงินของใคร
โดยช่วงหนึ่ง นาย
ทักษิณ กล่าวว่า วันนี้หลายพรรคออกนโยบายมาสวยหรู แต่การเขียนนโยบายต้องถามประชาชน ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างหนึ่ง เรื่องมัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง สามารถนำมาผสมผสานกับคำว่า เต็มคาราเบล ได้ โดยไม่ว่า รัฐบาลจะออกนโยบายอย่างไร ผู้ที่เกี่ยวข้อง และได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ จะต้องไปด้วยกันได้ ไม่ใช่ทำให้ฝ่ายหนึ่งอู้ฟู่ ส่วนอีกลำบาก แบบนี้ไม่ใช่นโยบายสาธารณะที่ถูกต้อง
นาย
ทักษิณ กล่าวว่า นโยบายสาธารณะที่ถูกต้อง จะต้องประสาน และกลมกลืน ไปกับสังคมให้ได้ เหมือนจะแต่งเพลงซักเพลง ก็ต้องแต่งให้กลมกลืน ซึ่งความจริงนายกรัฐมนตรีเขาเก่ง เพราะแต่งเพลงเก่ง แต่ยังออกนโยบายที่ประสาน และกลมกลืนไม่เป็น ซึ่งการวางนโยบายให้กลมกลืนนั้น จะต้องเข้าใจว่า ประชาชนที่เกี่ยวข้องคิดอย่างไร ผู้ที่ได้รับผลกระทบคิดอย่างไร เราจะบรรเทาผลกระทบนั้นอย่างไร งบประมาณรัฐบาลเป็นอย่างไร รวมถึงรายได้ของประชาชนเป็นอย่างไร
แต่นโยบายแต่ละพรรคการเมืองที่ฟังๆ ดู วันนี้ คิดอย่างอื่นไม่เป็น คิดอย่างเดียวจะหาเสียง และเป็นนโยบายที่จะทำให้ประเทศเป็นรัฐสวัสดิการ ซึ่งชื่อดูง่ายและสบายดี แต่อย่างลืมว่า ไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา งบลงทุนในแต่ละปีมีอยู่ประมาณ 7 แสนล้านบาท ยังไม่เพียงพอ และทุกวันนี้กู้มาโปะหนี้บ้าง มาแจกบ้าง เหลืองบสำหรับใช้พัฒนาประเทศยังไม่เพียงพอ ผลสุดท้ายเหลือแท่งไอติม ให้คนดูดนิดเดียว
“เป็นรัฐสวัสดิการดีจริง ทุกคนอยากได้ แต่ทำไม่ได้ และถ้าทำได้เตรียมเป็นประเทศล้มละลาย เพราะความสามารถในการชำระหนี้จะมีปัญหา ดังนั้น การกำหนดนโยบายจะต้องคำนึงว่า จะเอารายได้มาจากไหน ถ้าจะกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้เกิดการหมุนเวียน แต่ประเทศไทยที่ยังมีปัญหา ว่า ทำอย่างไรจึงจะสร้างรายได้ให้กับประชาชน เพื่อจะนำมาสู่การจัดเก็บภาษี ซึ่งเป็นรายได้ของประเทศ เพื่อนำภาษีเหล่านั้นไปชำระหนี้ และนำไปพัฒนาประเทศ ซึ่งต้องคิดถึงความต่อเนื่อง แต่ตอนนี้เราคิดกันทีละมติ ซึ่งยังไม่เห็นประเทศที่พัฒนาแล้วทำกัน
ทุกวันนี้ ที่ประชาชนยังไม่ลืมพรรคไทยรักไทย เพราะตอนนั้นทุกอาชีพมีรายได้เพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และอยู่ได้ เพราะเน้นเรื่องการสร้างรายได้ ตามสโลแกน เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส ใช้ได้จนตาย ดังนั้น รัฐบาลมีหน้าที่ในการสร้างโอกาสให้กับประชาชน ถ้ารัฐบาลไม่สร้างแล้วประชาชนจะอยู่อย่างไร วันนี้ที่เด็กออกมาเดินขบวน เพราะไม่เห็นถึงโอกาส ไม่เห็นอนาคต เพราะรัฐไม่รู้จะสร้างอย่างไร ประเทศจะอยู่อย่างไร ระบบการเงินการคลังของเราจะอยู่ได้ไหม” นาย
ทักษิณ กล่าว
'ทักษิณ' โยงเถ้าแก่สั่งมา! ล้มกฎหมายสุรา รัฐปาดหน้าออกกฎกระทรวง
https://siamrath.co.th/n/397796
เพจเฟซบุ๊ก CARE แคร์ คิด เคลื่อน ไทย เผยแพร่ไลฟ์สดการสนทนาของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ใช้ชื่อ "โทนี วู้ดซัม" ในหัวข้อ "ที่ดิน สุรา กัญชา…มั่วเต็มคาราเบล : ทำนโยบายสาธารณะไม่เป็น หรือเห็นแก่เงินของใคร"ระบุว่า
"เรื่องกฎหมายสุราที่ไม่ผ่านสภา แถมออกกฎกระทรวงมาปาดหน้าอีก เพราะ มีเถ้าแก่สั่งมา"
.
เรื่องกฎหมายสุราที่ไม่ผ่านสภา แถมออกกฎกระทรวงมาปาดหน้าอีก เพราะ มีเถ้าแก่สั่งมา ผมจะบอกให้ว่า การผูกขาดสุราและเบียร์เป็นการป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เติบโต เรื่องสุราเนี่ย ผมทำมาก่อนตั้งแต่สมัยไทยรักไทย อ.พันศักดิ์เขามาเสนอผม อ.พันศักดิ์นี่แหล่ะ ตัวสร้างโอกาสให้ชาวบ้านเลย เพราะสุราพื้นบ้านเขามีมานานแล้ว ไม่ใช่เหล้าเถื่อน
.
แต่ที่วันนี้เป็นเหล้าเถื่อน เพราะกฎกติกาออกมาเยอะแยะไปหมดทำให้กลายเป็นของเถื่อน เพราะ ว่าจะได้ใบอนุญาต รอจนแก่ตายกันพอดี ผับที่เมืองนอกเนี่ย เขาทำเบียร์กันเองหมด แค่ขอตรวจให้อนุญาตถูกต้อง ซึ่งเขาสามารถขออนุญาตออนไลน์ได้ทั้งหมด แต่เราดันแกล้งเซ่อ ออกกฎหมายเพื่อกันคนตัวเล็ก คนตัวใหญ่กินจนอ้วน ดังนั้นวันนี้ต้องทำให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ต้องเกิด ให้ชนชั้นกลางได้เกิดบ้าง บอกเลย พอเถอะ เจ้าสัวอิ่มจนอ้วกแล้ว ให้คนชั้นกลางได้เติบโตบ้างเถอะ
.
#Tonywoodsome
#CARETalk
#คิดเคลื่อนไทย
ปภ.เผย จนถึงวันนี้ยังมี 9 จังหวัด ‘น้ำท่วม’ กระทบประชาชนกว่า 1 แสนครัวเรือน
https://www.matichon.co.th/local/news_3663755
ปภ.รายงานมีน้ำท่วมในพื้นที่รวม 9 จังหวัด ประสานเร่งคลี่คลายสถานการณ์และช่วยเหลือผู้ประสบภัย
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 9 พฤศจิกายน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานมีน้ำท่วมในพื้นที่ รวม 9 จังหวัด ได้แก่ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และนครปฐม รวม 34 อำเภอ 235 ตำบล 1,475 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 103,653 ครัวเรือน ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานจังหวัดดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเร่งระบายน้ำเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ภัย สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ให้เร่งฟื้นฟูพื้นที่เพื่อให้ประชาชนกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทยและความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง รวมถึงมีการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขัง ระหว่างวันที่ 28 กันยายน-8 พฤศจิกายน 2565 ได้เกิดน้ำท่วมในพื้นที จำนวน 59 จังหวัด รวม 353 อำเภอ 1,879 ตำบล 11,770 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 528,063 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 12 ราย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 9 จังหวัด 34 อำเภอ 235 ตำบล 1,475 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 103,653 ครัวเรือน ภาพรวมระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่องทุกจังหวัด ดังนี้
1.
มหาสารคาม น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย อำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอเชียงยืน รวม 16 ตำบล 115 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,964 ครัวเรือน
2.
กาฬสินธุ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอฆ้องชัย และอำเภอกมลาไสย รวม 7 ตำบล 42 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 370 ครัวเรือน
3.
ศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ รวม 4 ตำบล 34 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,709 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย
4.
อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอตาลสุม และอำเภอดอนมดแดง รวม 20 ตำบล 104 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,026 ครัวเรือน อพยพประชาชน 281 ชุมชน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 72 จุด
5.
ชัยนาท น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอวัดสิงห์ และอำเภอมโนรมย์ รวม 11 ตำบล 41 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,750 ครัวเรือน
6.
อ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอป่าโมก อำเภอไชโย อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอแสวงหา รวม 49 ตำบล 298 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 19,705 ครัวเรือน
7.
พระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางซ้าย และอำเภอลาดบัวหลวง รวม 53 ตำบล 312 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 33,725 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย
8.
สุพรรณบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง รวม 25 ตำบล
185 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,811 ครัวเรือน
9.
นครปฐม น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามพราน อำเภอบางเลน และอำเภอนครชัยศรี
รวม 50 ตำบล 344 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,593 หมู่บ้าน
สำหรับการให้ความช่วยเหลือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งระบายน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว โดยทำความสะอาดบ้านเรือนประชาชน สิ่งสาธารณประโยชน์ สถานที่ราชการ และซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค รวมถึงเส้นทางคมนาคมให้ใช้งานได้ตามปกติ เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังต่อไป
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์
“ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอพพลิเคชั่น “THAI DISASTER ALERT”
JJNY : ‘โทนี่’ ชำแหละนโยบายพรรค | ทักษิณโยงเถ้าแก่สั่งมา!| 9จว.‘น้ำท่วม’กว่า 1 แสนครัวเรือน|วัสดุก่อสร้าง ต.ค.ขึ้นยกแผง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3663137
‘โทนี่’ อย่างขิง ชำแหละนโยบายพรรค ที่ทำให้ประชาชน ยังไม่ลืม ‘ไทยรักไทย’
เมื่อช่วงค่ำวันที่ 8 พฤศจิกายน เฟซบุ๊ก CARE • แคร์ คิด เคลื่อน ไทย ได้ไลฟ์สด การพูดคุยกับ โทนี วู้ดซัม หรือ นายทักษิณ ชินวัตร ในหัวข้อ ทำนโยบายสาธารณะไม่เป็น หรือเห็นแก่เงินของใคร
โดยช่วงหนึ่ง นายทักษิณ กล่าวว่า วันนี้หลายพรรคออกนโยบายมาสวยหรู แต่การเขียนนโยบายต้องถามประชาชน ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างหนึ่ง เรื่องมัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง สามารถนำมาผสมผสานกับคำว่า เต็มคาราเบล ได้ โดยไม่ว่า รัฐบาลจะออกนโยบายอย่างไร ผู้ที่เกี่ยวข้อง และได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ จะต้องไปด้วยกันได้ ไม่ใช่ทำให้ฝ่ายหนึ่งอู้ฟู่ ส่วนอีกลำบาก แบบนี้ไม่ใช่นโยบายสาธารณะที่ถูกต้อง
นายทักษิณ กล่าวว่า นโยบายสาธารณะที่ถูกต้อง จะต้องประสาน และกลมกลืน ไปกับสังคมให้ได้ เหมือนจะแต่งเพลงซักเพลง ก็ต้องแต่งให้กลมกลืน ซึ่งความจริงนายกรัฐมนตรีเขาเก่ง เพราะแต่งเพลงเก่ง แต่ยังออกนโยบายที่ประสาน และกลมกลืนไม่เป็น ซึ่งการวางนโยบายให้กลมกลืนนั้น จะต้องเข้าใจว่า ประชาชนที่เกี่ยวข้องคิดอย่างไร ผู้ที่ได้รับผลกระทบคิดอย่างไร เราจะบรรเทาผลกระทบนั้นอย่างไร งบประมาณรัฐบาลเป็นอย่างไร รวมถึงรายได้ของประชาชนเป็นอย่างไร
แต่นโยบายแต่ละพรรคการเมืองที่ฟังๆ ดู วันนี้ คิดอย่างอื่นไม่เป็น คิดอย่างเดียวจะหาเสียง และเป็นนโยบายที่จะทำให้ประเทศเป็นรัฐสวัสดิการ ซึ่งชื่อดูง่ายและสบายดี แต่อย่างลืมว่า ไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา งบลงทุนในแต่ละปีมีอยู่ประมาณ 7 แสนล้านบาท ยังไม่เพียงพอ และทุกวันนี้กู้มาโปะหนี้บ้าง มาแจกบ้าง เหลืองบสำหรับใช้พัฒนาประเทศยังไม่เพียงพอ ผลสุดท้ายเหลือแท่งไอติม ให้คนดูดนิดเดียว
“เป็นรัฐสวัสดิการดีจริง ทุกคนอยากได้ แต่ทำไม่ได้ และถ้าทำได้เตรียมเป็นประเทศล้มละลาย เพราะความสามารถในการชำระหนี้จะมีปัญหา ดังนั้น การกำหนดนโยบายจะต้องคำนึงว่า จะเอารายได้มาจากไหน ถ้าจะกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้เกิดการหมุนเวียน แต่ประเทศไทยที่ยังมีปัญหา ว่า ทำอย่างไรจึงจะสร้างรายได้ให้กับประชาชน เพื่อจะนำมาสู่การจัดเก็บภาษี ซึ่งเป็นรายได้ของประเทศ เพื่อนำภาษีเหล่านั้นไปชำระหนี้ และนำไปพัฒนาประเทศ ซึ่งต้องคิดถึงความต่อเนื่อง แต่ตอนนี้เราคิดกันทีละมติ ซึ่งยังไม่เห็นประเทศที่พัฒนาแล้วทำกัน
ทุกวันนี้ ที่ประชาชนยังไม่ลืมพรรคไทยรักไทย เพราะตอนนั้นทุกอาชีพมีรายได้เพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และอยู่ได้ เพราะเน้นเรื่องการสร้างรายได้ ตามสโลแกน เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส ใช้ได้จนตาย ดังนั้น รัฐบาลมีหน้าที่ในการสร้างโอกาสให้กับประชาชน ถ้ารัฐบาลไม่สร้างแล้วประชาชนจะอยู่อย่างไร วันนี้ที่เด็กออกมาเดินขบวน เพราะไม่เห็นถึงโอกาส ไม่เห็นอนาคต เพราะรัฐไม่รู้จะสร้างอย่างไร ประเทศจะอยู่อย่างไร ระบบการเงินการคลังของเราจะอยู่ได้ไหม” นายทักษิณ กล่าว
'ทักษิณ' โยงเถ้าแก่สั่งมา! ล้มกฎหมายสุรา รัฐปาดหน้าออกกฎกระทรวง
https://siamrath.co.th/n/397796
เพจเฟซบุ๊ก CARE แคร์ คิด เคลื่อน ไทย เผยแพร่ไลฟ์สดการสนทนาของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ใช้ชื่อ "โทนี วู้ดซัม" ในหัวข้อ "ที่ดิน สุรา กัญชา…มั่วเต็มคาราเบล : ทำนโยบายสาธารณะไม่เป็น หรือเห็นแก่เงินของใคร"ระบุว่า
"เรื่องกฎหมายสุราที่ไม่ผ่านสภา แถมออกกฎกระทรวงมาปาดหน้าอีก เพราะ มีเถ้าแก่สั่งมา"
.
เรื่องกฎหมายสุราที่ไม่ผ่านสภา แถมออกกฎกระทรวงมาปาดหน้าอีก เพราะ มีเถ้าแก่สั่งมา ผมจะบอกให้ว่า การผูกขาดสุราและเบียร์เป็นการป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เติบโต เรื่องสุราเนี่ย ผมทำมาก่อนตั้งแต่สมัยไทยรักไทย อ.พันศักดิ์เขามาเสนอผม อ.พันศักดิ์นี่แหล่ะ ตัวสร้างโอกาสให้ชาวบ้านเลย เพราะสุราพื้นบ้านเขามีมานานแล้ว ไม่ใช่เหล้าเถื่อน
.
แต่ที่วันนี้เป็นเหล้าเถื่อน เพราะกฎกติกาออกมาเยอะแยะไปหมดทำให้กลายเป็นของเถื่อน เพราะ ว่าจะได้ใบอนุญาต รอจนแก่ตายกันพอดี ผับที่เมืองนอกเนี่ย เขาทำเบียร์กันเองหมด แค่ขอตรวจให้อนุญาตถูกต้อง ซึ่งเขาสามารถขออนุญาตออนไลน์ได้ทั้งหมด แต่เราดันแกล้งเซ่อ ออกกฎหมายเพื่อกันคนตัวเล็ก คนตัวใหญ่กินจนอ้วน ดังนั้นวันนี้ต้องทำให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ต้องเกิด ให้ชนชั้นกลางได้เกิดบ้าง บอกเลย พอเถอะ เจ้าสัวอิ่มจนอ้วกแล้ว ให้คนชั้นกลางได้เติบโตบ้างเถอะ
.
#Tonywoodsome
#CARETalk
#คิดเคลื่อนไทย
ปภ.เผย จนถึงวันนี้ยังมี 9 จังหวัด ‘น้ำท่วม’ กระทบประชาชนกว่า 1 แสนครัวเรือน
https://www.matichon.co.th/local/news_3663755
ปภ.รายงานมีน้ำท่วมในพื้นที่รวม 9 จังหวัด ประสานเร่งคลี่คลายสถานการณ์และช่วยเหลือผู้ประสบภัย
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 9 พฤศจิกายน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานมีน้ำท่วมในพื้นที่ รวม 9 จังหวัด ได้แก่ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และนครปฐม รวม 34 อำเภอ 235 ตำบล 1,475 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 103,653 ครัวเรือน ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานจังหวัดดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเร่งระบายน้ำเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ภัย สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ให้เร่งฟื้นฟูพื้นที่เพื่อให้ประชาชนกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทยและความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง รวมถึงมีการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขัง ระหว่างวันที่ 28 กันยายน-8 พฤศจิกายน 2565 ได้เกิดน้ำท่วมในพื้นที จำนวน 59 จังหวัด รวม 353 อำเภอ 1,879 ตำบล 11,770 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 528,063 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 12 ราย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 9 จังหวัด 34 อำเภอ 235 ตำบล 1,475 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 103,653 ครัวเรือน ภาพรวมระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่องทุกจังหวัด ดังนี้
1. มหาสารคาม น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย อำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอเชียงยืน รวม 16 ตำบล 115 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,964 ครัวเรือน
2. กาฬสินธุ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอฆ้องชัย และอำเภอกมลาไสย รวม 7 ตำบล 42 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 370 ครัวเรือน
3. ศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ รวม 4 ตำบล 34 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,709 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย
4. อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอตาลสุม และอำเภอดอนมดแดง รวม 20 ตำบล 104 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,026 ครัวเรือน อพยพประชาชน 281 ชุมชน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 72 จุด
5. ชัยนาท น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอวัดสิงห์ และอำเภอมโนรมย์ รวม 11 ตำบล 41 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,750 ครัวเรือน
6. อ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอป่าโมก อำเภอไชโย อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอแสวงหา รวม 49 ตำบล 298 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 19,705 ครัวเรือน
7. พระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางซ้าย และอำเภอลาดบัวหลวง รวม 53 ตำบล 312 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 33,725 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย
8. สุพรรณบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง รวม 25 ตำบล
185 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,811 ครัวเรือน
9. นครปฐม น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามพราน อำเภอบางเลน และอำเภอนครชัยศรี
รวม 50 ตำบล 344 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,593 หมู่บ้าน
สำหรับการให้ความช่วยเหลือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งระบายน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว โดยทำความสะอาดบ้านเรือนประชาชน สิ่งสาธารณประโยชน์ สถานที่ราชการ และซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค รวมถึงเส้นทางคมนาคมให้ใช้งานได้ตามปกติ เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังต่อไป
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์
“ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอพพลิเคชั่น “THAI DISASTER ALERT”