วันนี้พี่หมอฝั่งธน..มาให้ความรู้ อาการแบบไหนเข้าข่าย ออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด การทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ
ระยะเวลานานต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ
โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ อาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง
พบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศ เนื่องจากพฤติกรรมของคนทำงานส่วนใหญ่ ที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่เป็นเวลานาน
โดยไม่ได้ขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึง และกล้ามเนื้ออักเสบได้
จึงเป็นสาเหตุหลักและปัจจัยสำคัญให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม
ลักษณะสัญญาณเตือนออฟฟิศซินโดรมที่พบได้บ่อย
- อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด ปวดเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก และปวดเป็นบริเวณกว้าง
- อาการทางระบบประสาท จะเป็นอาการชาบริเวณมือและแขน จากการที่ปลายประสาทถูกกดทับ
- อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ จะมีอาการ วูบ เย็น เหน็บ ซ่าและมีเหงื่อออกในบริเวณที่มีอาการปวด บริเวณคออาจมีอาการตาพร่า มึนงง หูอื้อ
การป้องกันออฟฟิศซินโดรม
คนไข้ควรออกกำลังกายหรือยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม
โดยเฉพาะพื้นที่ทำงาน จอคอมพิวเตอร์แนวตรงกับหน้า และอยู่เหนือกว่าระดับสายตาเล็กน้อย และตั้งห่างเท่ากับความยาวแขน
ปรับเก้าอี้ให้เท้าสามารถวางพื้นได้พอดี แป้นพิมพ์ทำมุม 90 องศากับระดับข้อศอก
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน คอยยืดเหยียดกล้ามเนื้อระหว่างทำงาน คอยเปลี่ยนอริยาบถเพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายฃ
หากจำเป็นต้องทำงานที่หน้าจอคอมพิมเตอร์นาน ๆ ควรพักสายตาอย่างน้อยทุก ๆ 10 นาที
เข้ารับการทำกายภาพบำบัด ฝังเข็ม หรือนวด เพื่อลดความเสี่ยง และลดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ค่ะ
อาการแบบไหนเข้าข่าย ออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด การทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ
ระยะเวลานานต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ
โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ อาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง
พบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศ เนื่องจากพฤติกรรมของคนทำงานส่วนใหญ่ ที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่เป็นเวลานาน
โดยไม่ได้ขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึง และกล้ามเนื้ออักเสบได้
จึงเป็นสาเหตุหลักและปัจจัยสำคัญให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม
ลักษณะสัญญาณเตือนออฟฟิศซินโดรมที่พบได้บ่อย
- อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด ปวดเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก และปวดเป็นบริเวณกว้าง
- อาการทางระบบประสาท จะเป็นอาการชาบริเวณมือและแขน จากการที่ปลายประสาทถูกกดทับ
- อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ จะมีอาการ วูบ เย็น เหน็บ ซ่าและมีเหงื่อออกในบริเวณที่มีอาการปวด บริเวณคออาจมีอาการตาพร่า มึนงง หูอื้อ
การป้องกันออฟฟิศซินโดรม
คนไข้ควรออกกำลังกายหรือยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม
โดยเฉพาะพื้นที่ทำงาน จอคอมพิวเตอร์แนวตรงกับหน้า และอยู่เหนือกว่าระดับสายตาเล็กน้อย และตั้งห่างเท่ากับความยาวแขน
ปรับเก้าอี้ให้เท้าสามารถวางพื้นได้พอดี แป้นพิมพ์ทำมุม 90 องศากับระดับข้อศอก
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน คอยยืดเหยียดกล้ามเนื้อระหว่างทำงาน คอยเปลี่ยนอริยาบถเพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายฃ
หากจำเป็นต้องทำงานที่หน้าจอคอมพิมเตอร์นาน ๆ ควรพักสายตาอย่างน้อยทุก ๆ 10 นาที
เข้ารับการทำกายภาพบำบัด ฝังเข็ม หรือนวด เพื่อลดความเสี่ยง และลดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ค่ะ