วิถีพอเพียงที่หลายคนคิดว่า.....เกษียณแล้วมาทำเกษตร วิถีชนบท นอกจากปรับตัวแล้ว ต้องปรับแนวคิดก่อนมานะครับ

ผมว่าจะทำ กท. ให้เป็นข้อคิด เป็นข้อมูล เตือนใจ ให้กำลังใจ คนที่มุ่งหวังว่าหากเกษียณแล้วจะไปอยู่ต่างจังหวัด ทำเกษตรพอเพียง หากพื้นที่น้อย ยิ่งต้องพืชไร่สวนผสมเลยครับ 
  บ้านก็ตามชอบ เรียบง่าย แต่ให้ปลอดภัย จะเห็นชัดว่ารูปแบบตัวบ้านจะแตกต่างจากเกษตรกรทั่วๆ ไป คือ เราจะระวังมากขึ้น ในเรื่องความปลอดภัย 
             ยิ่งหากเราไปต่างถิ่น ยังไงก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ผมมีกล้องวงจรปิดหลายจุด 
ห้องพักต่างๆ ใช้ระบบปิดล๊อกดีหน่อย สัตว์เลี้ยงสำคัญ โดยเฉพาะ สุนัข ช่วยได้เยอะครับ แต่ต้องฝึกเขาหน่อย เรื่องไม่กินอาหารคนแปลกหน้า ไม่เห่าพร่ำเพรื่อ และควรฝึกให้เขาคุ้นกับเป็ดไก่แต่เล็กๆ ครับ หากคุณต้องการเลี้ยงเป็ดไก่ด้วย ไม่งั้น เขาฝัดเรียบ แถมไปทะเลาะกับเพื่อนบ้านด้วย เพราะอาจไปกินไก่ของเพื่อนบ้าน 
วิถีชนบท หนีความวุ่นวายในเมือง เจอเสียงดังในชนบท หนีเสือปะจระเข้ 

             หลายคน ตั้งความหวัง เบื่อเมืองหลวงเต็มทน หวังไปเอาหัวใจไปไว้ชนบทเพื่อความสงบ ไปดูที่อยู่ อย่าไปแค่แป๊บเดียว ไปดูหลายๆ ช่วงเวลา  ตี 4 ตี 5 เสียงระฆังวัด ไหวไหม มีงานเทศกาล เปิดเครื่องเสียงแต่เช้า ไหวไหม 
             คนที่อยากหนีเมืองหลวง ส่วนใหญ่ จะทำงานระบบ Office คือ ตื่นเช้า นั่งรถ ภายใต้จราจรหนาแน่น เข้างานให้ทัน 8 โมงเช้า ทำงานๆๆ พักเที่ยงกินอาหาร บ่ายทำงาน เย็นๆ เลิกงาน รถติดกว่าจะถึงบ้าน อาบน้ำพักผ่อน ชมทีวี ดู YouTube 
             พอวันหยุด ก็ตื่นสายๆ อยากนอนชดเชยให้เต็มอิ่ม เปิดแอร์นอนสบายๆ เงียบๆ 
แต่ชนบท ไม่ใช่ใช่เลย 
             วัดตีระฆัง ทุกวัน ไม่มีวันหยุด หากมีงานบุญ งานบวช ก็บอกไม่ได้ว่าห้ามจัดวันหยุด เสาร์อาทิตย์ เพราะตูจะนอน แถมว่า หากใครใกล้ชุมชนหน่อย ก็จะมีเสียงตามสาย ของผู้ใหญ่บ้าน เปิดเสียงออกลำโพง ปลุกให้ตื่นทุกวัน เรื่องแบบนี้ ต้องฝึกทำใจให้ได้ก่อน ไม่งั้นมาอยู่จริงแล้วเครียด 
             ทุ่งนา ไร่-สวน เป็นที่ทำงานธรรมชาติ ต้องปรับเวลาทำงานใหม่ ทิ้งวิธีแบบเดิมให้หมด 
              ผม นับว่าโชคดี มีคุณตา (อากง) ทำการเกษตรมาก่อน เป็นชาวสวน เลยรู้ว่า งานที่เกี่ยวกับการเกษตร ไม่ได้ออกบ้าน 8 โมงเช้า กลับเข้าบ้าน 5 โมงเย็น เหมือนที่ทำงาน Office กันนะครับ  
             ผมเจอหลายคน ทั้งที่รู้จักกันและเพื่อนๆ มาบ่นให้ฟัง ว่าไม่ไหว คิดผิด อยากเกษียณมาทำเกษตร ไม่นึกว่ามันจะหนักสาหัสเพียงนี้ 
             ผมก็ถามว่า มันสาหัสเพียงไหน ส่วนใหญ่ จะบอกคล้ายๆ กัน คือ สู้แดดไม่ไหว ร้อน มดกัด ผื่นเยอะ แพ้โน้นนี้  รำคาญเสียงตามสายบ้างหล่ะ ปัญหาเพื่อนบ้าน เสียงงานบุญงานสวดศพ โน้นนี้ และส่วนใหญ่ คือ ออกสวนไร่นา 8 โมงเช้า เข้าบ้านเย็น ตามแบบเดิมที่เคยทำงานมา นี่หล่ะ คือปัญหาหล่ะครับ 
              เรื่องเวลานอน ต้องปรับเวลา เพราะงานเกษตร จะนอนหัวค่ำ ตื่นเช้ามากๆ คือ ตื่นตามพระ ตื่นมาล้างหน้า แปรงฟัน เต็มที่ก็กาแฟสักแก้ว เตรียมอาหาร แต่ยังไม่กิน พอฟ้าสว่าง ไปสวน ไปนา เปิดระบบน้ำ ให้ปุ๋ยผ่านระบบท่อ ใส่เสื้อแขนยาว หมวก ถุงมือ รองเท้าหนัง กลัวยุงก็ยาพ่นหรือโลชั่นช่วย ต้องปรับให้ชินไปสักพักก่อน อุปกรณ์เครื่องมือ ที่ต้องใช้ไปตกแต่งกิ่ง ตัดกล้วย 
               เอาคาดไปโกย พวกวัชพืช พอสัก 8 โมงกว่าๆ เดินกลับเข้าบ้าน (ส่วนใหญ่ คนที่เกษียณไป มักจะมีสวน ไร่นา ใกล้บ้านพัก นอกจากชาวบ้าน ที่ทำเกษตรชำนาญ มักซื้อที่เพิ่ม ไกลจากตัวบ้าน และทำหลายแห่ง)  กลับมาล้างไม้ล้างมือ กินข้าว กินเสร็จ ก็ออกไปทำงาน หากแดดไม่แรงก็ตกแต่งกิ่ง กำจัดวัชพืช เปิดน้ำเข้านา ก็ว่าไป 
                 เที่ยงๆ พัก มากินอาหารเที่ยง บ่ายๆ แดดแรง นอนพัก ทำงานในร่ม เตรียมวัตถุดิบอาหารสัตว์ อย่าออกไปสู้แดด เกษตรกรอาชีพหากไม่จำเป็นเขาก็ไม่ออกไปสู้แดดแน่นอน ไปให้อาหารสัตว์ แดดร่มหน่อยก็ไปออกงานเกษตรต่อ ทำยั่นเย็น ตะวันตกดินโน้น ถึงกลับเข้าบ้าน มาอาบน้ำล้างตัว กินอาหารเย็น ส่วนแม่บ้านก็เตรียมอาหารเย็นตั้งแต่ช่วงเย็นๆ (แม่บ้าน ของเกษตรกรอาชีพ ส่วนใหญ่ก็ช่วยงานเกษตรอยู่แล้ว มักจะเลิกพร้อมๆ กัน ระหว่างบ่ายๆ ที่ทำงานเกษตร หลายคนก็จะดักปลา ดักกุ้งฝอย เก็บผักมาทำอาหารเย็นเลย เช่น เจอหัวปลี ก็ฟันเก็บไว้ ขนุนอ่อนก็เอามาแกงหรือยำ  แทงหน่อไม้เอาไว้ เลิกกเอากลับมาทำอาหารที่บ้านช่วงหัวค่ำ 

  

      อย่างแปลงนาผมก็แบ่งแยกไว้ 3 แปลง ปลูกข้าวเหนียวบ้าง , ข้าวหอมมะลิบ้าง , ข้าวพันธุ์อื่นๆ บ้าง เน้นทำเมล็ดพันธุ์ บางทีก็เอามาสีกินเองนะครับ 
  
                   หากเราทำบ่อเลี้ยงปลาไว้ ก็ดักปลาเอามาทำอาหารเย็นหรืออาหารค่ำ งานเกษตรส่วนใหญ่ กินแบบ Dinner เพราะกว่าจะเลิก วันไหนงานไม่ยุ่งก็ดักปลาเยอะหน่อย ได้ปลามากก็ได้หลายเมนูครับ ปลาบางอย่างก็ซื้อจากชาวบ้าน เช่น ปลาช่อน อันนี้ชอบมาก เราซื้อจากชาวบ้านก็ไม่แพงเลย เรียกว่า ต้นทุนชีวิตต่ำนะครับ 
  
                    พืชผักสวนครัว ก็ต้องพยายามปลูกเอาไว้ ให้มีใช้ตลอด จะลดการซื้อได้มาก ของผมมะนาวช่วงที่ออกเยอะๆ ก็เอามาคั้นน้ำไว้ แล้วใส่ถุงเล็กๆ แช่ช่องน้ำแข็งอยู่ได้นานมากๆๆ ไม่เคยขาด แม่ช่วงมะนาวแพง ก็ไม่ต้องซื้อ 
 
พวกกระเพรานี้ ที่ปลูกไม่ค่อยได้ดีหรอก แต่ที่นกมาปลูกให้ แหม เยี่ยมเลย 
       บางทีก็จะเจอพวกกระเพราป่า ขึ้นเอง โคนแดง ก้านบนอ่อน แต่ฉุนดีจัง ผัดกินอร่อยครับ 

พวกดีปลี พวกนี้ ปลูกทิ้งๆ ไว้ มาต่ำผัดกระเพรา ให้อาหารเป็นยา ดีจังเลยครับ 



             หน่อไม้ บางช่วงออกเยอะก็ดองไว้ ทำแกงได้ มะขามก็เก็บมาแกะเปลือก-แกะเมล็ดออก ทำส้มมะขาม ทำไม่ไหวก็ชวนเพื่อนบ้านมา แบ่งกันไป 

บางช่วงออกเยอะก็แบ่งเพื่อนบ้าน เขาก็เอาอย่างอื่นมาให้ เพื่อนบ้านปลูกแตง เอามาให้ตั้งเยอะ 
แตงกว่า จากเพื่อนบ้าน 


             คือ เหลือให้ต้องซื้อน้อยสุด เช่น กระเทียม หอมแดง เนื้อสัตว์ พวกไข่นี้เราเลี้ยงเป็นไก่ เก็บไข่ไว้กินได้ครับ พริก กระเพรา ยี่หร่า ขิง ข่า ตะใคร ใบมะกรูด ฯลฯ
            ผักกินใบ-กินผล ก็ควรต้องมี ชะพลู ม่อน มะม่วงหิมพานต์ มะเขือต่างๆ มะเดื่อชุมพร เพกา ฯลฯ 

ปลูกหมด ฝรั่ง เงาะ ทุเรียน ขนุน ลำใย มะเฟือง มะม่วง ชมพูมะเมี่ยว อย่างละต้นสองต้น 
         ไม้ยืนต้นก็ต้องปลูกไว้ ผมลงพวกต้นยางนา , มะค่า , พยอม ,และพวกกันเกราไว้หลายต้น 
            พวกไม้หายากก็ลงไว้บ้าง เช่น ต้นอินจันทร์  มะขวิด เป็นต้น 

             แดดแรงๆ อย่าไปลุย หมดแรง เราไม่ได้ทำแบบนี้มาตั้งแต่เล็กๆ ไม่มีทางไหวแน่นอน อย่างลงนา ไถ่หว่าน ผมทำเองได้ แรกๆ ก็จ้างชาวบ้านเก่งๆ มาสอนและทำกับเรา เทรนเรา 
              เปิดน้ำเข้านา ไม่ต้องจ้าง จ้างอีกทีช่วงเกี่ยว อะไรแบบนั้นนะครับ 
        พืชบางอย่าง มันก็ขึ้นเองเพียบเลย เช่น ตำลึงหวานหรืออ่อมแซบ ดอกสวยงามดีครับ 
 
มุมประจำยามดื่มด่ำน้ำอมฤต ฮ่าๆๆ ความงดงามในยามแสงอาทิตย์อัสดง 
         ทุกๆ วัน ก็งามแตกต่างไป ก็ระวังเรื่องยุงนิดหน่อย มุมประจำนี้ จะเห็นในทุกๆ ช่วงของการเพาะปลูก ที่ชอบนั่งมุมนี้เพราะมันช่องลม ยุงน้อย มองแสงอาทิตย์ลับขอบฟ้าพอดี มีกลิ่นหอมๆ ของดอกพุดด้วย ออกดอกได้ตลอดปี 
 
      เดี๋ยวต่อช่วงสุดท้ายอีกหน่อยนะครับ ปลูกทั้งไม้ดอก ไม่....... ฮ่าๆๆ  แต่กว่าจะปลูกสร้างได้ ก็ทำเรื่อยๆ มีทั้งเรือนแบบซื้อยกมาวาง และสร้างขึ้นใหม่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่