สวัสดีครับทุกคน พี่หมอเชื่อว่า เพื่อน ๆ หลาย ๆ คน คงจะมีคุณพ่อ คุณแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ที่เป็นผู้สูงวัยอยู่ที่บ้าน ซึ่งท่าน ๆ เหล่านั้นอาจจะมีพฤติกรรมบางอย่างที่แปลกไปจากเดิม เช่น พูดหรือถามอะไรซ้ำๆ ขี้หลงขี้ลืม ทำอะไรช้าลง อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากสมองที่ทำงานได้ไม่ดีเหมือนก่อน วันนี้พี่หมอเลยอยากมาชวนทุกคนทำความเข้าใจเรื่องนี้กัน เผื่อจะได้วิธีที่เอาไปช่วยปู่ ย่า ตา ยาย ของเรา ชะลออาการฝ่อหรือเสื่อมของสมองได้บ้างครับ ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจ “ภาวะสมองฝ่อ” กันก่อนดีกว่า
🧠
สมองฝ่อคืออะไร
ภาวะสมองฝ่อ (Cerebral atrophy หรือ Brain atrophy) คือ ภาวะสูญเสียเซลล์สมองและการเชื่อมกันของเซลล์สมอง อาจเกิดทั่วทุกบริเวณของสมองหรือแค่เฉพาะบางส่วนก็ได้ แม้โดยทั่วไปภาวะสมองฝ่ออาจเกิดจากความเสื่อมตามอายุ แต่ในทางการแพทย์ ภาวะสมองฝ่อมักหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่าการเปลี่ยนแปลงที่ควรจะเป็นตามอายุ
🤔
สมองฝ่อ กับ สมองเสื่อม ต่างกันอย่างไร
จริง ๆ แล้ว ภาวะสมองฝ่อ (Cerebral atrophy) และสมองเสื่อม (Dementia) มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก โดยภาวะสมองเสื่อมทำให้เกิดการตายของเซลล์สมองและทำให้เกิดภาวะสมองฝ่อได้ นอกจากนี้ภาวะสมองเสื่อมยังทำให้มีความผิดปกติในหลายด้าน นอกจากระบบประสาทและสมอง โดยจะมีผลทั้งด้านความคิด ความจำ การเคลื่อนไหว พฤติกรรม อารมณ์ ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยครับ
😐
อาการของภาวะสมองฝ่อ
อาการของภาวะสมองฝ่อมีได้หลายอาการและความรุนแรง ขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีการสูญเสียเซลล์สมอง เช่น
-
สมองเสื่อม คือ มีการสูญเสียความทรงจำ คิดได้ช้า ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่สามารถคิด วางแผน และจัดการอย่างเป็นระบบ มีปัญหาด้านการพูด การเคลื่อนไหว อารมณ์ ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
-
อาการชัก อาจมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง การกลอกตาผิดปกติ กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก อาการชัก การสูญเสียความรู้สึกตัว
-
ความผิดปกติด้านการพูด เช่น การพูดลำบาก พูดคำซ้ำ ๆ เลือกใช้คำไม่ถูกต้องกับสถานการณ์ พูดไม่ปะติดปะต่อ พูดประโยคที่ไม่สัมพันธ์กันหรือไม่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ พูดไม่จบประโยค หรือสูญเสียความเข้าใจด้านภาษา
👨🦳
ภาวะสมองฝ่อพบได้ในวัยใด?
ภาวะสมองฝ่อจะเป็นความเปลี่ยนแปลงตามปกติของอายุ จึงทำให้พบได้มากในผู้สูงอายุ แต่ก็สามารถพบในช่วงอายุอื่นได้เช่นเดียวกัน โดยอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น
👥
ใครที่มีความเสี่ยงต่อภาวะสมองฝ่อ
ที่เห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ ผู้ที่มีอายุมากครับ นอกจากนี้กลุ่มเสี่ยงก็มีคนที่มีประวัติโรคทางพันธุกรรมหรือโรคทางระบบประสาทในครอบครัว เช่น Huntington’s disease หรือโรคอัลไซเมอร์ คนที่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะและสมอง คนที่ดื่มสุรามาก สูบบุหรี่จัด มีความเสี่ยงทั้งนั้นเลยนะครับ
💁♀️
สาเหตุที่ทำให้สมองฝ่อ
- ความเสื่อมตามอายุ อาการจะค่อยเป็นค่อยไปเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น
- การบาดเจ็บทางสมอง ทั้งภาวะสมองขาดเลือด เช่น หลอดเลือดสมองตีบ แตก ตัน การบาดเจ็บโดยตรงต่อสมอง ทำให้เซลล์สมองขาดเลือดและตายในที่สุด
- โรคและความเจ็บป่วยอื่น ๆ เช่น อัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมชนิดต่าง ๆ ความผิดปกติของการเจริญเติบโตทางสมองแต่กำเนิด โรคทางกรรมพันธุ์ เช่น Huntington’s disease หรือ Leukodystrophies และโรคทางภูมิคุ้มกัน เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)
- การติดเชื้อ เช่น โรคเอดส์ โรคไข้สมองอักเสบ และโรคซิฟิลิสระบบประสาท
- การมีสารบางชนิด เช่น สารโฮโมซิสเทอีน (Homocysteine) มากเกินไป
🩺
การวินิจฉัยภาวะสมองฝ่อ
คุณหมอจะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจตามภาวะที่สงสัย เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (Computerized tomography –CT) การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging - MRI) หรือ ตรวจเลือดเพื่อหาสารเคมีบางอย่างก่อนการเกิดภาวะสมองเสื่อม ซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้แล้วนะครับ
⭐
การป้องกันภาวะสมองฝ่อ
มีหลายวิธีที่จะช่วยป้องกันหรือชะลอภาวะสมองฝ่อให้เกิดช้าลงหรือลดความรุนแรงลงได้ เช่น
- การทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด เช่น การเล่นหมากรุก การคิดเลข ปัญหาเชาว์
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หากมีอาการที่สงสัย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายหรือตรวจเพิ่มเติม
📖
กิจกรรมที่ช่วยป้องกันและชะลอภาวะสมองฝ่อ เช่น
- ฝึกความจำ การคิดทบทวนเรื่องต่าง ๆ เช่น การเขียนไดอารีชีวิตประจำวัน การร้องเพลงโดยไม่ดูเนื้อเพลง การสวดมนต์โดยไม่อ่านจากหนังสือ
- ฝึกการคิดคำนวณ โดยใช้สมองคิดเองมากขึ้น คิดในใจ นับนิ้ว ใช้กระดาษทด ลดการใช้เครื่องคิดเลข
- ฝึกการใช้ภาษา โดยการเข้าสังคม พูดคุยกับผู้อื่น หรือการเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ
- ฝึกความคิดสร้างสรรค์ เช่น การวาดภาพจากจินตนาการ การจัดดอกไม้ การแต่งกลอน ทำอาหารเมนูใหม่ ๆ ทำสิ่งที่ไม่เคยทำ เป็นต้น
- ฝึกการวางแผนและแก้ปัญหา อาจฝึกจากสถานการณ์จริง เช่น การวางแผนจ่ายตลาด หรือสถานการณ์สมมติ เพื่อให้แก้ไขสถานการณ์ที่เหมาะสมได้
- ฝึกการใช้งานสมองทั้งสองซีก เคลื่อนไหวร่างกายทั้งสองข้างให้ประสานกัน เช่น การเต้นลีลาศ รำมวยจีน ทำงานประดิษฐ์ เล่นดนตรี
ลองเอาไปแนะนำผู้สูงอายุที่บ้านกันดูนะครับ
💊
วิตามิน B ช่วยชะลอสมองฝ่อได้จริงหรือไม่?
สาเหตุของภาวะสมองฝ่อมีหลายสาเหตุ สาเหตุหนึ่งคือการมีสารโฮโมซิสเทอีน (Homocysteine) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการย่อยสลายโปรตีนชนิดหนึ่งมากเกินไป โดยปกติร่างกายจะพยายามกำจัดสารโฮโมซิสเทอีนให้กลายเป็นสารซิสทีนซึ่งไม่เป็นอันตรายแก่ร่างกายแทน แต่อาจมีบางปัจจัยที่ทำให้การกำจัดสารโฮโมซิสเทอีนผิดปกติไป ส่งผลให้มีสารนี้ในปริมาณมาก เช่น พันธุกรรมที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับเรื่องของเอนไซม์ ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนสารโฮโมซิสเทอีนให้กลายเป็นสารซิสทีนได้ การขาดวิตามิน เช่น วิตามิน B และกรดโฟลิก การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนบางชนิดมากเกินไป การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
มีงานวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่ได้รับวิตามิน B เสริมมีอัตราการเกิดสมองฝ่อน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับวิตามิน B เสริม ดังนั้นการได้รับวิตามิน B เสริมจึงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการชะลอภาวะสมองฝ่อได้
👩⚕
การรักษาภาวะสมองฝ่อ
หากภาวะสมองฝ่อเกิดจากสาเหตุที่รักษาได้ เช่น เกิดจากโรคต่าง ๆ การรักษาตัวโรคสามารถทำให้อาการของสมองฝ่อดีขึ้นได้ แต่อาการอาจไม่หายขาด และปัจจุบันมียาที่ใช้รักษาภาวะสมองฝ่อ และ สมองเสื่อม ที่มีการรับรองว่าได้ผล โดยเฉพาะถ้าได้รับการรักษาโดยเร็วครับ
สุดท้ายนี้ พี่หมอแนะนำว่าการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและการทำกิจกรรมที่ช่วยชะลออาการสมองฝ่อ เช่น กิจกรรมที่ใช้ความคิด น่าจะเป็นแนวทางที่ดีกว่าการรักษานะครับ อย่าลืมแชร์ข้อมูลดี ๆ ให้กับคนที่บ้านนะครับ จะได้สุขภาพดีกันไปนาน ๆ ครับ 😊
ภาวะสมองฝ่อในผู้สูงอายุ สามารถชะลอได้
ภาวะสมองฝ่อ (Cerebral atrophy หรือ Brain atrophy) คือ ภาวะสูญเสียเซลล์สมองและการเชื่อมกันของเซลล์สมอง อาจเกิดทั่วทุกบริเวณของสมองหรือแค่เฉพาะบางส่วนก็ได้ แม้โดยทั่วไปภาวะสมองฝ่ออาจเกิดจากความเสื่อมตามอายุ แต่ในทางการแพทย์ ภาวะสมองฝ่อมักหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่าการเปลี่ยนแปลงที่ควรจะเป็นตามอายุ
🤔สมองฝ่อ กับ สมองเสื่อม ต่างกันอย่างไร
จริง ๆ แล้ว ภาวะสมองฝ่อ (Cerebral atrophy) และสมองเสื่อม (Dementia) มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก โดยภาวะสมองเสื่อมทำให้เกิดการตายของเซลล์สมองและทำให้เกิดภาวะสมองฝ่อได้ นอกจากนี้ภาวะสมองเสื่อมยังทำให้มีความผิดปกติในหลายด้าน นอกจากระบบประสาทและสมอง โดยจะมีผลทั้งด้านความคิด ความจำ การเคลื่อนไหว พฤติกรรม อารมณ์ ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยครับ
😐อาการของภาวะสมองฝ่อ
อาการของภาวะสมองฝ่อมีได้หลายอาการและความรุนแรง ขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีการสูญเสียเซลล์สมอง เช่น
- สมองเสื่อม คือ มีการสูญเสียความทรงจำ คิดได้ช้า ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่สามารถคิด วางแผน และจัดการอย่างเป็นระบบ มีปัญหาด้านการพูด การเคลื่อนไหว อารมณ์ ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
- อาการชัก อาจมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง การกลอกตาผิดปกติ กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก อาการชัก การสูญเสียความรู้สึกตัว
- ความผิดปกติด้านการพูด เช่น การพูดลำบาก พูดคำซ้ำ ๆ เลือกใช้คำไม่ถูกต้องกับสถานการณ์ พูดไม่ปะติดปะต่อ พูดประโยคที่ไม่สัมพันธ์กันหรือไม่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ พูดไม่จบประโยค หรือสูญเสียความเข้าใจด้านภาษา
👨🦳ภาวะสมองฝ่อพบได้ในวัยใด?
ภาวะสมองฝ่อจะเป็นความเปลี่ยนแปลงตามปกติของอายุ จึงทำให้พบได้มากในผู้สูงอายุ แต่ก็สามารถพบในช่วงอายุอื่นได้เช่นเดียวกัน โดยอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น
👥ใครที่มีความเสี่ยงต่อภาวะสมองฝ่อ
ที่เห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ ผู้ที่มีอายุมากครับ นอกจากนี้กลุ่มเสี่ยงก็มีคนที่มีประวัติโรคทางพันธุกรรมหรือโรคทางระบบประสาทในครอบครัว เช่น Huntington’s disease หรือโรคอัลไซเมอร์ คนที่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะและสมอง คนที่ดื่มสุรามาก สูบบุหรี่จัด มีความเสี่ยงทั้งนั้นเลยนะครับ
💁♀️สาเหตุที่ทำให้สมองฝ่อ
- ความเสื่อมตามอายุ อาการจะค่อยเป็นค่อยไปเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น
- การบาดเจ็บทางสมอง ทั้งภาวะสมองขาดเลือด เช่น หลอดเลือดสมองตีบ แตก ตัน การบาดเจ็บโดยตรงต่อสมอง ทำให้เซลล์สมองขาดเลือดและตายในที่สุด
- โรคและความเจ็บป่วยอื่น ๆ เช่น อัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมชนิดต่าง ๆ ความผิดปกติของการเจริญเติบโตทางสมองแต่กำเนิด โรคทางกรรมพันธุ์ เช่น Huntington’s disease หรือ Leukodystrophies และโรคทางภูมิคุ้มกัน เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)
- การติดเชื้อ เช่น โรคเอดส์ โรคไข้สมองอักเสบ และโรคซิฟิลิสระบบประสาท
- การมีสารบางชนิด เช่น สารโฮโมซิสเทอีน (Homocysteine) มากเกินไป
🩺การวินิจฉัยภาวะสมองฝ่อ
คุณหมอจะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจตามภาวะที่สงสัย เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (Computerized tomography –CT) การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging - MRI) หรือ ตรวจเลือดเพื่อหาสารเคมีบางอย่างก่อนการเกิดภาวะสมองเสื่อม ซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้แล้วนะครับ
⭐การป้องกันภาวะสมองฝ่อ
มีหลายวิธีที่จะช่วยป้องกันหรือชะลอภาวะสมองฝ่อให้เกิดช้าลงหรือลดความรุนแรงลงได้ เช่น
- การทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด เช่น การเล่นหมากรุก การคิดเลข ปัญหาเชาว์
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หากมีอาการที่สงสัย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายหรือตรวจเพิ่มเติม
📖กิจกรรมที่ช่วยป้องกันและชะลอภาวะสมองฝ่อ เช่น
- ฝึกความจำ การคิดทบทวนเรื่องต่าง ๆ เช่น การเขียนไดอารีชีวิตประจำวัน การร้องเพลงโดยไม่ดูเนื้อเพลง การสวดมนต์โดยไม่อ่านจากหนังสือ
- ฝึกการคิดคำนวณ โดยใช้สมองคิดเองมากขึ้น คิดในใจ นับนิ้ว ใช้กระดาษทด ลดการใช้เครื่องคิดเลข
- ฝึกการใช้ภาษา โดยการเข้าสังคม พูดคุยกับผู้อื่น หรือการเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ
- ฝึกความคิดสร้างสรรค์ เช่น การวาดภาพจากจินตนาการ การจัดดอกไม้ การแต่งกลอน ทำอาหารเมนูใหม่ ๆ ทำสิ่งที่ไม่เคยทำ เป็นต้น
- ฝึกการวางแผนและแก้ปัญหา อาจฝึกจากสถานการณ์จริง เช่น การวางแผนจ่ายตลาด หรือสถานการณ์สมมติ เพื่อให้แก้ไขสถานการณ์ที่เหมาะสมได้
- ฝึกการใช้งานสมองทั้งสองซีก เคลื่อนไหวร่างกายทั้งสองข้างให้ประสานกัน เช่น การเต้นลีลาศ รำมวยจีน ทำงานประดิษฐ์ เล่นดนตรี
ลองเอาไปแนะนำผู้สูงอายุที่บ้านกันดูนะครับ
💊วิตามิน B ช่วยชะลอสมองฝ่อได้จริงหรือไม่?
สาเหตุของภาวะสมองฝ่อมีหลายสาเหตุ สาเหตุหนึ่งคือการมีสารโฮโมซิสเทอีน (Homocysteine) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการย่อยสลายโปรตีนชนิดหนึ่งมากเกินไป โดยปกติร่างกายจะพยายามกำจัดสารโฮโมซิสเทอีนให้กลายเป็นสารซิสทีนซึ่งไม่เป็นอันตรายแก่ร่างกายแทน แต่อาจมีบางปัจจัยที่ทำให้การกำจัดสารโฮโมซิสเทอีนผิดปกติไป ส่งผลให้มีสารนี้ในปริมาณมาก เช่น พันธุกรรมที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับเรื่องของเอนไซม์ ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนสารโฮโมซิสเทอีนให้กลายเป็นสารซิสทีนได้ การขาดวิตามิน เช่น วิตามิน B และกรดโฟลิก การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนบางชนิดมากเกินไป การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
มีงานวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่ได้รับวิตามิน B เสริมมีอัตราการเกิดสมองฝ่อน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับวิตามิน B เสริม ดังนั้นการได้รับวิตามิน B เสริมจึงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการชะลอภาวะสมองฝ่อได้
👩⚕การรักษาภาวะสมองฝ่อ
หากภาวะสมองฝ่อเกิดจากสาเหตุที่รักษาได้ เช่น เกิดจากโรคต่าง ๆ การรักษาตัวโรคสามารถทำให้อาการของสมองฝ่อดีขึ้นได้ แต่อาการอาจไม่หายขาด และปัจจุบันมียาที่ใช้รักษาภาวะสมองฝ่อ และ สมองเสื่อม ที่มีการรับรองว่าได้ผล โดยเฉพาะถ้าได้รับการรักษาโดยเร็วครับ
สุดท้ายนี้ พี่หมอแนะนำว่าการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและการทำกิจกรรมที่ช่วยชะลออาการสมองฝ่อ เช่น กิจกรรมที่ใช้ความคิด น่าจะเป็นแนวทางที่ดีกว่าการรักษานะครับ อย่าลืมแชร์ข้อมูลดี ๆ ให้กับคนที่บ้านนะครับ จะได้สุขภาพดีกันไปนาน ๆ ครับ 😊