บิ๊กตู่” เผย ครม.ทบทวนเยียวยาน้ำท่วมให้ถึงมือปชช.เร็วขึ้น ยันที่ผ่านมาจัดแผนบริหารน้ำไว้เยอะแม้เจอทั้งพายุ -ร่องความกดอากาศ-น้ำฝนมาก ยังไม่ท่วมเท่าปี 54
25 ต.ค.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ว่า ตอนนี้มีความคืบหน้า โดยที่ประชุมครม.ได้นำมาทบทวนตั้งแต่ปี 2554 และปี 2562-2563 มาพิจารณาดู ซึ่งตนได้เร่งรัดให้มีการจ่ายเยียวยาประชาชนในสิ่งที่ทำได้เร็ว เพราะเข้าใจว่าเดือดร้อนเยอะ ส่วนการดูแลพิเศษเพิ่มเติมทางกระทรวงมหาดไทยจะทำเสนอมาทั้งนี้สถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้มีความแตกต่างเนื่องจากมีวงกว้าง ซึ่งตนได้อธิบายเหตุผลไปแล้ว เจอทั้งพายุโนรู หย่อมความกดอากาศ ร่องมรสุม ส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนมากเกินที่จะรับได้ ฉะนั้นการระบายน้ำในช่องทางปกติจะเป็นปัญหาน้ำท่วมล้นข้ามฝั่งกระจายไปทั่ว ตนจึงได้เร่งรัดเมื่อการระบายน้ำปกติแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก น้ำทางเหนือลดลง ฉะนั้นน้ำเหล่านี้จะกลับสู่ระบบระบายน้ำปกติ ถ้าไม่ได้ก็ต้องเร่งการสูบเข้ามาเพิ่มเติม ซึ่งการลงพื้นที่เมื่อวันที่ 24 ต.ค. ตนไปดูมาแล้ว
เมื่อถามว่า ที่บอกว่ามีการเปลี่ยนแปลงในรอบ 16 ปี หมายถึงแผนการบริหารจัดการน้ำหรืออย่างไร นายกฯกล่าวว่า มีเยอะแยะที่รัฐบาลได้ทำมา ถ้าเราไม่เจอสถานการณ์พายุ หย่อมความกดอากาศต่ำ ปริมาณน้ำฝนที่มากผิดปกติ การระบายน้ำปกติสามารถระบายได้ เพราะเราทำอะไรไปเยอะพอสมควร วันนี้เนื่องจากว่าน้ำที่สะสมมาจากทางเหนือต้องค่อยๆระบายมาเรื่อยๆ ซึ่งมีการพร่องน้ำไว้ล่วงหน้าด้วยซ้ำ แต่ปรากฎว่าฝนมามากกว่า 2-3 เท่า และสะสมในพื้นที่ทำให้ระบบการระบายน้ำในระดับปกติกองไว้เต็มหมด แต่ก็ยังน้อยกว่าปี 2554 ทั้งที่ปริมาณน้ำไม่ต่างจากปี 2554 ซึ่งเราได้บริหารอย่างเต็มที่แล้ว ทั้งนี้เห็นใจคนที่เดือดร้อนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำฝั่งคลองได้รับผลกระทบแน่นอน เราก็จะเตรียมการในระยะต่อไปจะเพิ่มทำนบน้ำหรือไม่ซึ่งต้องดูในเรื่องงบประมาณแผนงานต่างๆต้องปรับ
.
กอนช. คาดสถานการณ์น้ำกลับสู่ภาวะปกติเร็วสุดปลายสัปดาห์แรกของเดือน พ.ย.ย้ำไม่ได้บริหารน้ำผิดพลาด ทุกอย่างวางแผนและวางมาตรการล่วงหน้าแล้ว
วันที่ 25 ต.ค.65 นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า คาดสถานการณ์ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำชี-มูล จะกลับสู่ภาวะปกติกลางเดือน พ.ย. 65 เตรียมแผนการฟื้นฟูความเสียหายจากอุทกภัยหลังน้ำลดในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศโดยเร็วที่สุด พร้อมระบุในปี 2565 ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของพายุ จำนวน 3 ลูก ได้แก่ พายุมู่หลาน หมาอ๊อน และโนรู รวมถึงได้รับอิทธิพลจากร่องความกดอากาศต่ำบริเวณภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงหนือ กลางและตะวันออก ส่งผลให้ปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศในช่วง 1 ม.ค. – 22 ต.ค. 65 มีปริมาณถึง 1,775 มิลลิเมตร (มม.) ซึ่งมากกว่าค่าปกติ 21% น้อยกว่าเมื่อปี 2554 อยู่เพียง 3 มม. หรือคิดเป็น 0.2% เท่านั้น
ขอย้ำว่า ไม่ได้บริหารน้ำผิดพลาด โดยมีการวางมาตรการ ไว้ถึง 13 มาตราการ บริหารและหารือทุกส่วนที่เกี่ยวข้องแบบบูรณาการ" เลขาธิการ สทนช. กล่าว
นายสุรสีห์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ สาเหตุที่ระบายน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ออกทางฝั่งตะวันออกและตะวันตกได้น้อย ในช่วงที่ผ่านมา พบว่าเกิดจากปัญหาต้นคลองใหญ่ในขณะที่ปลายคลองมีขนาดเล็ก โดยสำหรับคลองชัยนาท-ป่าสัก มีความจุต้นคลอง 210 ลบ.ม. ต่อวินาที และปลายคลอง 120 ลบ.ม. ต่อวินาที ซึ่งบริเวณปลายคลองมีน้ำท่วมอยู่แล้วจากปริมาณฝนตกในพื้นที่ รวมทั้งมีปริมาณน้ำท่า (Side Flow) มาเติม
จึงจำเป็นต้องเร่งระบายน้ำลงด้านท้ายของลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น ทำให้เกินศักยภาพของคันกั้นน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่งผลให้บางจุดเกิดน้ำล้นคลองและคันคลองขาด ไม่สามารถใช้ในควบคุมน้ำได้ นอกจากนี้ ยังพบปัญหาในบางจุดที่ประชาชนในพื้นที่ไม่ยินยอมให้มีการเสริมคันกั้นน้ำ ซึ่งส่งผลให้น้ำหลากแผ่กว้างในหลายพื้นที่มากขึ้นด้วย
สำหรับสถานการณ์ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาปัจจุบัน ขณะนี้ปริมาณน้ำเหนือจากแม่น้ำปิงและน่าน รวมถึงปริมาณฝนในพื้นที่ลดลง โดยคาดว่าสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะเข้าสู่สภาวะปกติช่วงกลางเดือน พ.ย. 65 เช่นเดียวกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูล จะเข้าสู่สภาวะปกติในช่วงเดียวกัน โดยคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้ กอนช. ได้เตรียมพร้อมการดำเนินการภายหลังน้ำลด โดยมีการประเมินและชี้เป้าพื้นที่ที่ระดับน้ำลด สำหรับประเด็นในเรื่องการผันน้ำไปยังกรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันตก จะมีการรับน้ำผ่านคลองทวีวัฒนา เพื่อรับน้ำจากทุ่งผักไห่ เจ้าเจ็ด ระบายผ่านโครงการพระยาบันลือ และพระพิมล ในขณะที่ฝั่งตะวันออก
มีการรับน้ำผ่านประตูระบายน้ำ รอยต่อระหว่างพื้นที่ชลประทานและ กทม. ซึ่งมีเกณฑ์การรับน้ำเข้า กทม. และในส่วนข้อกังวลว่าในปีนี้ พื้นที่ กทม. และปริมณฑล จะเสี่ยงน้ำท่วมหรือไม่นั้น ปัจจุบันทั้งปริมาณน้ำเหนือและน้ำฝนลดลงแล้ว ส่งผลให้มีการลดการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ทั้งนี้ ยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำหนุนเพิ่มขึ้นในช่วงปลายเดือน ต.ค.-ต้นเดือน พ.ย. 65 ด้วย ซึ่ง กอนช. จะมีการติดตามสถานการณฺน้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมกันนี้ ได้เตรียมแผนการฟื้นฟูความเสียหายจากอุทกภัยหลังน้ำลดในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ได้แก่
ช่วงวันที่ 25 ต.ค.-15 พ.ย. 65 จ.อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี
ช่วงวันที่ 1 พ.ย.-30 พ.ย. 65 จ.อ่างทอง นนทบุรี ปทุมธานี
และช่วงวันที่ 15 พ.ย. 30 ธ.ค. 65 จ.พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม
โดยจะมีการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการช่วยเหลือฟื้นฟูให้ทุกพื้นที่กลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติโดยเร็วที่สุด
โดยแผนเร่งด่วน ภายใน 1-2 ปีนี้ คือหาพื้นที่แก้มลิงเพิ่ม บริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา เช่น จังหวัด สุโขทัย อุทัยธานี นครสวรรค์ กำแพงเพชร คาดจะสามารถหน่วงและเก็บน้ำได้ไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านลูกบาศก์เมตร
ติดตามสถานการณ์น้ำในปีนี้กันค่ะ
เป็นความสามารถของรัฐบาลที่ดูแลน้ำให้เกิดความเสียหาย น้อยที่สุด ในขณะที่ปริมาณน้ำใกล้เคียงปี 2554
น้ำกำลังลดแล้วนะคะ
ลุงตู่สั่งเยียวยาทันทีเพื่อช่วยประชาชนให้หายจากความเดือดร้อน
💗มาลาริน💗กอนช. คาดสถานการณ์น้ำสู่ภาวะปกติต้นพ.ย./“บิ๊กตู่”เผย ครม.ทบทวนเยียวยาน้ำท่วมให้ถึงมือปชช.เร็วขึ้น