JJNY : เวิลด์แบงก์ชี้คนไทยยากจนเพิ่มขึ้น│พท.ร่วมเปิด‘ดิวาลี’│"ธนาธร"เปิด"แรงงานก้าวหน้า"│ศาลเกาหลีใต้ ตัดสินคุกคนไทย

เวิลด์แบงก์ชี้คนไทยยากจนเพิ่มขึ้น-ครัวเรือนในชนบทมีรายได้ลดลง
https://www.khaosod.co.th/economics/news_7327931
 
 
ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดตัวรายงานการวิเคราะห์รายได้ในชนบท-โอกาสและความท้าทายของเกษตรกร (Rural Income Diagnostic-Challenges and Opportunities for Rural Farmers) พบว่า ประเทศไทยมีความคืบหน้าในการลดความยากจนจาก 58% ในปี 2533 เป็น 6.8% ในปี 2563 โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงและการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อย่างไรก็ตาม 79% ของคนยากจนยังคงอยู่ในพื้นที่ชนบทและส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
 
รายงานวิเคราะห์นี้ชี้ให้เห็นว่า การลดความยากจนของประเทศไทยชะลอตัวลงตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา โดยความยากจนเพิ่มขึ้นในปี 2559 2561 และ 2563 สะท้อนถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง รายได้จากภาคการเกษตรและภาคธุรกิจที่ซบเซา และวิกฤตโควิด-19 ในปี 2563 อัตราความยากจนในพื้นที่ชนบทสูงกว่าในเขตเมืองมากกว่า 3% และจำนวนคนจนในชนบทมีจำนวนมากกว่าคนจนในเมืองเกือบ 2.3 ล้านคน การกระจายความยากจนยังมีความแตกต่างในแต่ละภูมิภาค โดยอัตราความยากจนในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงเป็นสองเท่าของอัตราความยากจนเฉลี่ยของประเทศ
 
“ประเทศไทยมีศักยภาพในการสนับสนุนครัวเรือนในชนบทให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและยั่งยืน” ฟาบริซิโอ ซาร์โคเน ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวและว่า “ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังปรับตัวให้เข้ากับชีวิตวิถีใหม่ (New normal) หลังการระบาดของโควิด มาตรการเชิงนโยบายที่เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การสนับสนุนการเพาะปลูกพืชผลที่มีความหลากหลายและมีมูลค่าสูง การปรับปรุงการเข้าถึงตลาดผ่านการเชื่อมต่อในพื้นที่ชนบทที่ดีขึ้น รวมถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้จะสามารถแก้ไขข้อจำกัดต่างๆ ที่คนยากจนในชนบทต้องเผชิญได้”
 
จากการศึกษาพบว่า การระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อยู่ในเขตเมืองอย่างรุนแรง เนื่องมาจากมาตรการที่จำกัดการเคลื่อนย้าย การปิดกิจการ และการเลิกจ้างงาน อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในเมืองจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผลกระทบของวิกฤตที่มีต่อเศรษฐกิจในชนบทจะยังคงมีผลอยู่อย่างยาวนานขึ้น ผลกาารสำรวจทางโทรศัพท์เพื่อติดตามสถานการณ์โรคโควิด-19 ของธนาคารโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า 70% ของครัวเรือนในชนบทมีรายได้ลดลงตั้งแต่เดือนมี.ค. 2563
 
การวิเคราะห์ยังพบว่า ในปี 2562 ประเทศไทยมีอัตราความไม่เท่าเทียมกันของรายได้สูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกด้วยค่าสัมประสิทธิ์จีนี (Gini coefficient) ที่ 43.3% โดยครัวเรือนในชนบทมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ประมาณ 68% ของครัวเรือนในเขตเมือง หลายครัวเรือนในชนบทยังคงขาดการศึกษา มีผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงจำนวนมาก และมีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก
เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต
 
นาเดีย เบลฮัจ ฮัสซีน เบลกิธ นักเศรษฐศาสตร์ความยากจนของธนาคารโลก กล่าวว่า “มาตรการด้านนโยบายที่มีความเชื่อมโยงหลากหลายมิติเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะ จะมีความสำคัญต่อการสนับสนุนครัวเรือนในชนบท เกษตรกรส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อยและขาดทักษะทางดิจิทัล อีกทั้งประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรสูงอายุ ดังนั้น การสร้างทักษะให้เกษตรกรที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้พวกเขาสามารถปรับตัวให้เข้ากับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยังได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่อีกด้วย”
 

 
เพื่อไทย ร่วมเปิดเทศกาล ‘ดิวาลี’ ไล่ความมืดมิดในอดีต มีชัยชนะเหนือฝ่ายร้าย
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3631780
 
“เพื่อไทย” ร่วมพิธีเปิดงาน “ดิวาลีเทศกาลแห่งแสงสว่าง” พร้อมจุดเทียนชัย สัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้นใหม่ เปรียบเสมือนชัยชนะฝ่ายดีเหนือฝ่ายร้าย
 
เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 21 ตุลาคม นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายจักรพงษ์ แสงมณี กรรมการบริหารพรรค, น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รองเลขาธิการพรรค, น.ส.ชญาภา สินธุไพร รองโฆษกพรรค และ ส.ก.พรรค พท. ร่วมพิธีเปิดงานดิวาลีเทศกาลแห่งแสงสว่างหรือ Deepavali Bangkok Festival 2022 จัดโดย กรุงเทพมหานคร ร่วมกับสมาคมอินเดียแห่งประเทศไทย (IAT)  เครือข่ายพันธมิตรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจของกลุ่มผู้ประกอบการชาวไทยเชื้อสายอินเดีย กลุ่มชาวอินเดียในประเทศไทย จัดขึ้นที่ย่านลิตเติลอินเดีย, พาหุรัด และคลองโอ่งอ่าง กรุงเทพมหานคร มีพิธีเปิดเมื่อเย็นที่ผ่านมา โดยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิด
  
ทั้งนี้ นพ.ชลน่านได้ร่วมบูชาองค์พระพิฆเนศและพระแม่ลักษมี จุดเทียนชัย และกล่าวอวยพรในโอกาสเฉลิมฉลองเทศกาลดิวาลีว่า รู้สึกเป็นเกียรติ และขอบคุณที่ได้มีโอกาสมาร่วมพิธีเปิดงานดังกล่าว เพราะความหมายของเทศกาลดิวาลี คือเทศกาลที่จะเป็นการนำแสงสว่างอันสดใสในอนาคตมาไล่ความความมืดมิดในอดีต ขอร่วมตั้งจิตอธิษฐานต่อองค์เทพเจ้าเพื่อให้นำพาสิ่งที่ดีกว่าประเสริฐกว่าในอนาคตมาสู่ชีวิตที่ดีของพวกเราทุกคน
 
นพ.ชลน่านกล่าวต่อว่า เทศกาลดิวาลีเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองสำหรับคนเชื้อสายอินเดียทั้งชาวฮินดู ชาวซิกข์ และเชนที่จัดขึ้นทั่วโลก สิ่งที่เห็นวันนี้คือความสว่างไสวจากแสงในตะเกียงดวงน้อย นับร้อยนับพันที่ทวีกำลังเป็นพลังแสงอันยิ่งใหญ่ รอยยิ้มและความสุข เทศกาลนี้จะเป็นจุดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนเชื้อสายอินเดียที่มาร่วมงานเฉลิมฉลอง เยี่ยมเยือนพี่น้องครอบครัวที่มาอาศัยอยู่ในแผ่นดินไทยภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร ซึ่งจะก่อให้เกิดความผูกพันแน่นแฟ้นต่อแผ่นดินไทยยาวนานยิ่งขึ้น
 
การร่วมแรงร่วมใจในการจัดงานเทศกาลดิวาลีให้ยิ่งใหญ่มากขึ้นในทุกปี จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจและส่งเสริมเชิญชวนนักท่องเที่ยวจากประเทศอินเดียและนักท่องเที่ยวเชื้อสายอินเดียจากทั่วโลก รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติได้เดินทางมาร่วมเฉลิมฉลอง และท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้นภายหลังการระบาดโควิด-19 สิ้นลง เพิ่มรายได้เพิ่มเงินในกระเป๋าแก่ผู้คนในชุมชนลิตเติลอินเดีย ย่านเมืองเก่าแห่งนี้ และฟื้นเศรษฐกิจท่องเที่ยวของไทยอย่างมีนัยสำคัญ
 
“ขออำนวยพรให้คนไทยเชื้อสายอินเดีย ประสบแต่ความสุข ความสดใส เหมือนแสงสว่างแห่งการบูชาเทพเจ้าด้วยจิตใจอันศรัทธาอย่างเปี่ยมล้น จะดลบันดาลพรให้ประสบความมั่งคั่ง เกิดปัญญา ปลอดภัย ไร้อุปสรรค และส่งเสริมให้ทุกท่านพบเจอแต่สิ่งที่ดี ส่งเสริมนำผลให้อนาคตของประเทศเราได้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นตลอดไปเหมือนแสงสว่างที่ทอดยาวไกลของเทศกาลดิวาลีนี้” นพ.ชลน่านกล่าว


 
"ธนาธร" เปิดหลักสูตร "แรงงานก้าวหน้า" หวังฟื้นสหภาพแรงงาน ขับเคลื่อนสังคม

https://www.thairath.co.th/news/politic/2533240

"ธนาธร" เปิดอบรมหลักสูตร "แรงงานก้าวหน้า" หวังฟื้นขบวนการแรงงานกลับมาขับเคลื่อนสังคม ผลักดันประเด็นการเมือง หลังจากถูกรัฐบาลเผด็จการตั้งแต่ยุคก่อน ตัดตอนสหภาพแรงงานให้อ่อนแอมานานหลายสิบปี
 
วันที่ 22 ต.ค. นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า กล่าวเปิดหลักสูตร “แรงงานก้าวหน้า” ซึ่งเป็นหลักสูตรให้ความรู้ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวของแรงงานทั่วโลกและขบวนการแรงงานไทย ไปจนถึงการจัดตั้งและขับเคลื่อนสหภาพแรงงานที่มีพลัง โดยมีผู้ร่วมสอนเป็นนักวิชาการและผู้นำสหภาพแรงงานอาวุโส
   
นายธนาธร กล่าวว่า เป้าหมายสำคัญของหลักสูตรนี้ คือการทำให้ขบวนการแรงงานกลับมาถือธงนำในการขับเคลื่อนการเมือง สร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมอีกครั้ง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ที่แรงงานเรียกร้องจนสามารถผลักดันสิทธิสวัสดิการต่างๆ เช่นสิทธิการลาคลอด และระบบประกันสังคม แต่ด้วยความที่รัฐบาลเล็งเห็นว่าขบวนการแรงงานมีพลัง มีมวลชนที่จับต้องได้จริง จึงตั้งใจออกกฎหมายและใช้ทุกวิถีทางทำให้สหภาพแรงงานอ่อนแอลงจนไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้เหมือนในอดีต
   
“สมัยอนาคตใหม่ ปาร์ตี้ลิสต์อันดับสามของเรา ต่อจากธนาธร และปิยบุตร คือวรรณวิภา ไม้สน เลขาธิการสหพันธ์แรงงานสิ่งทอ ไม่ใช่ด้วยความบังเอิญ แต่เราตั้งใจเอานักสหภาพแรงงานขึ้นมาเป็นปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อย้ำให้เห็นว่า สหภาพแรงงานสำคัญต่อการขับเคลื่อนการเมือง” ธนาธรกล่าว
   
ศาสตราภิชานศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงาน และนักวิชาการด้านแรงงานคนสำคัญของไทย กล่าวในฐานะกรรมการหลักสูตรแรงงานก้าวหน้า ว่าหลักสูตรอบรม สร้างนักสหภาพแรงงานเช่นนี้ เคยมีการทำกันอย่างแพร่หลายในสมัยที่ตนเป็นนักศึกษา แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีอีก ด้วยสภาพการเมืองที่บ่อนทำลายขบวนการแรงงาน ตนถือว่าหลักสูตรแรงงานก้าวหน้าเป็นหลักสูตรที่ดีที่สุดในรอบหลายสิบปี และหวังว่าจะฟื้นพลังของขบวนการแรงงานกลับมาได้
    
สำหรับหลักสูตรแรงงานก้าวหน้าปีแรก มีระยะเวลาอบรม 69 ชั่วโมง ครอบคลุม 20 รายวิชา มีผู้เข้ารับการอบรมรวม 40 คน มาจากหลากหลายแวดวง ทั้งตัวแทนสหภาพแรงงานสาขาอาชีพต่างๆ จากทั่วประเทศ นักธุรกิจ นายธนาคาร ทนายความ ไปจนถึง นักเรียน-นักศึกษา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่