คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
คกก.โรคติดต่อฯ เห็นชอบแผน 5 ปี เฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อ เพื่อรองรับสายพันธุ์ XBB
ยืนยัน!! ยังมีระบบเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่อง
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 ภายหลังประกาศเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. จัดทำและส่งแผนปฏิบัติการควบคุมโรคโควิด 19 รองรับ การเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง รวมถึงมีการซักซ้อมแผนฯ เพื่อรองรับสายพันธุ์ XBB ยืนยันว่ายังมีระบบเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่อง ส่วนการให้บริการวัคซีนโควิด 19 สะสม 143.5 ล้านโดส โดยเด็กอายุ 6 เดือน - 4 ปี ที่เริ่มฉีดตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2565
ที่ประชุมคกก.โรคติดต่อยังมีการพิจารณาเห็นชอบอีก 5 เรื่อง คือ 1.ร่างแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. 2566-2570 ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 2.ร่างระเบียบคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบความผิด กรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 34 (6) 3.ร่างกฎกระทรวงการจ่ายค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายจากการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. ... ซึ่งกำหนดให้ผู้เสียหายยื่นคำขอต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือสำนักอนามัย กทม. ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่รู้ความเสียหาย 4.ร่างระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าชดเชยให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวัง การสอบสวนโรค การป้องกัน หรือการควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. ... เพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งติดเชื้อหรือเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โรคติดต่ออันตราย โรคระบาดจากการปฏิบัติหน้าที่ ได้รับค่าชดเชย ครอบคลุมทั้งสังกัดส่วนกลาง ภูมิภาค กทม. และส่วนท้องถิ่น และ 5.ร่างระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแทนของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ในกรณีที่ผู้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อละเลยไม่ดำเนินการตามคำสั่ง พ.ศ. ... หากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้ออกคำสั่งให้ผู้ใดดำเนินการ แล้วผู้นั้นละเลยไม่ดำเนินการในเวลาที่กำหนด เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อต้องดำเนินการแทนและมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ให้ผู้นั้นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามจำนวนที่จ่ายจริง
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02aTokiPgXoGJmaS3T6GPMpBXGbbZE9o1SfEQyJDeW4jdjqr1AMw6FrouesRRybgkrl
วัคซีนโควิด 19 Pfizer (ฝาแดง) สำหรับ เด็กอายุ 6 เดือน - 4 ปี
รับวัคซีนได้ที่สถานพยาบาลทุกระดับรวมทั้ง รพ.สต. ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด / กรุงเทพมหานคร กำหนด
**ทั้งนี้การเข้ารับวัคซีนเป็นไปตามความสมัครใจของผู้ปกครองและเด็ก โดยการรับวัคซีน ไม่เป็นเงื่อนไขในการไปโรงเรียน
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02ifxok2KuVLEM53irvoE2GHTmqYSnqp955aJwpUomYYMjiygmbU869aZz8Ckoj1Jel
ช่วงนี้ อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
ใส่ใจสุขภาพ หลีกเลี่ยง...โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0p8nLjBiG7zkEY2Gahs4u6LLyeZaFeg3BHqmGqurLAvG8pWuzuCxi2umqMwUti1N3l
วัคซีนที่เรามีถึงจะไม่ดีที่สุด แต่ก็เพียงพอที่จะป้องกันสายพันธุ์โอมิครอน BA.4 และ BA.5 ได้ในระดับหนึ่ง การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นที่มีตอนนี้ ยังสามารถช่วยลดการเกิดโรครุนแรง ลดปอดอักเสบ และลดการเสียชีวิตในกลุ่ม 608 ได้
ที่มา : สถาบันวัคซีนแห่งชาติ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0af4EcVKUrRkD2RamWNw6poRTWPhaNUye8HtrCpJ1EEgkEu4GLNEjynetoaLcCCYNl
แนวทางการรักษาผู้ป่วย COVID-19
กลุ่มไม่มีอาการ และกลุ่มอาการรุนแรง
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid07dEf4zLwBD3ZnE4V2AeoAE9jjWF4cwU5X9nUiMmFFwEERpZ7Lrek4H63sh6m1oyyl&id=100068069971811
ผู้ใช้สิทธิบัตรทองเจ็บป่วยด้วยโควิดช่วงนี้ รักษาที่ไหนได้บ้าง?
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แนะผู้ใช้สิทธิบัตรทอง หากเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด19 ในช่วงนี้ สามารถเข้ารับรักษาพยาบาลตามสิทธิได้หลายช่องทาง ดังนี้
1. หน่วยบริการ (สถานพยาบาล) ประจำที่ลงทะเบียนไว้หรือหน่วยบริการปฐมภูมิทุกที่ ตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข (พื้นที่ กทม.) คลินิกชุมชนอบอุ่น สถานีอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล และศูนย์สุขภาพชุมชน ทั้งนี้ สามารถค้นหาหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) ได้ที่นี่เว็บไซต์ https://www.nhso.go.th/page/hospital
2. ร้านยาร่วมดูแลผู้ป่วยโควิด19 สำหรับกลุ่มสีเขียวที่มีอาการเล็กน้อย รับยาและแนะนำการใช้ยาที่ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการได้ทั่วประเทศ ดูรายชื่อร้านยา คลิก https://www.nhso.go.th/downloads/197
3. พบแพทย์ออนไลน์ จัดส่งยาถึงบ้าน ผ่าน 4 แอปพลิเคชั่น ดูรายละเอียดเพิ่มเติ่มคลิกที่ https://www.nhso.go.th/news/3674
ทั้งนี้ ผู้ชิสทธิบัตรทองสามารถเช็คสิทธิรักษาพยาบาลได้ง่ายๆ ด้วยตนเองที่ 1.สายด่วน สปสช. โทร.1330 กด 2.เว็บไซต์ สปสช. https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml 3.แอปพลิเคชัน สปสช. และ 4.ไลน์ สปสช. ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/pfbid02npzMbK2WQCf4VpvocrcdVR5SDP2c9Kj6zFHUcAaPWNXxizUJtFCDPvB5WWHmc3qxl
คกก.โรคติดต่อฯ เห็นชอบแผน 5 ปี เฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อ เพื่อรองรับสายพันธุ์ XBB
ยืนยัน!! ยังมีระบบเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่อง
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 ภายหลังประกาศเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. จัดทำและส่งแผนปฏิบัติการควบคุมโรคโควิด 19 รองรับ การเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง รวมถึงมีการซักซ้อมแผนฯ เพื่อรองรับสายพันธุ์ XBB ยืนยันว่ายังมีระบบเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่อง ส่วนการให้บริการวัคซีนโควิด 19 สะสม 143.5 ล้านโดส โดยเด็กอายุ 6 เดือน - 4 ปี ที่เริ่มฉีดตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2565
ที่ประชุมคกก.โรคติดต่อยังมีการพิจารณาเห็นชอบอีก 5 เรื่อง คือ 1.ร่างแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. 2566-2570 ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 2.ร่างระเบียบคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบความผิด กรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 34 (6) 3.ร่างกฎกระทรวงการจ่ายค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายจากการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. ... ซึ่งกำหนดให้ผู้เสียหายยื่นคำขอต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือสำนักอนามัย กทม. ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่รู้ความเสียหาย 4.ร่างระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าชดเชยให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวัง การสอบสวนโรค การป้องกัน หรือการควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. ... เพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งติดเชื้อหรือเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โรคติดต่ออันตราย โรคระบาดจากการปฏิบัติหน้าที่ ได้รับค่าชดเชย ครอบคลุมทั้งสังกัดส่วนกลาง ภูมิภาค กทม. และส่วนท้องถิ่น และ 5.ร่างระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแทนของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ในกรณีที่ผู้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อละเลยไม่ดำเนินการตามคำสั่ง พ.ศ. ... หากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้ออกคำสั่งให้ผู้ใดดำเนินการ แล้วผู้นั้นละเลยไม่ดำเนินการในเวลาที่กำหนด เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อต้องดำเนินการแทนและมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ให้ผู้นั้นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามจำนวนที่จ่ายจริง
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02aTokiPgXoGJmaS3T6GPMpBXGbbZE9o1SfEQyJDeW4jdjqr1AMw6FrouesRRybgkrl
วัคซีนโควิด 19 Pfizer (ฝาแดง) สำหรับ เด็กอายุ 6 เดือน - 4 ปี
รับวัคซีนได้ที่สถานพยาบาลทุกระดับรวมทั้ง รพ.สต. ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด / กรุงเทพมหานคร กำหนด
**ทั้งนี้การเข้ารับวัคซีนเป็นไปตามความสมัครใจของผู้ปกครองและเด็ก โดยการรับวัคซีน ไม่เป็นเงื่อนไขในการไปโรงเรียน
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02ifxok2KuVLEM53irvoE2GHTmqYSnqp955aJwpUomYYMjiygmbU869aZz8Ckoj1Jel
ช่วงนี้ อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
ใส่ใจสุขภาพ หลีกเลี่ยง...โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0p8nLjBiG7zkEY2Gahs4u6LLyeZaFeg3BHqmGqurLAvG8pWuzuCxi2umqMwUti1N3l
วัคซีนที่เรามีถึงจะไม่ดีที่สุด แต่ก็เพียงพอที่จะป้องกันสายพันธุ์โอมิครอน BA.4 และ BA.5 ได้ในระดับหนึ่ง การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นที่มีตอนนี้ ยังสามารถช่วยลดการเกิดโรครุนแรง ลดปอดอักเสบ และลดการเสียชีวิตในกลุ่ม 608 ได้
ที่มา : สถาบันวัคซีนแห่งชาติ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0af4EcVKUrRkD2RamWNw6poRTWPhaNUye8HtrCpJ1EEgkEu4GLNEjynetoaLcCCYNl
แนวทางการรักษาผู้ป่วย COVID-19
กลุ่มไม่มีอาการ และกลุ่มอาการรุนแรง
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid07dEf4zLwBD3ZnE4V2AeoAE9jjWF4cwU5X9nUiMmFFwEERpZ7Lrek4H63sh6m1oyyl&id=100068069971811
ผู้ใช้สิทธิบัตรทองเจ็บป่วยด้วยโควิดช่วงนี้ รักษาที่ไหนได้บ้าง?
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แนะผู้ใช้สิทธิบัตรทอง หากเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด19 ในช่วงนี้ สามารถเข้ารับรักษาพยาบาลตามสิทธิได้หลายช่องทาง ดังนี้
1. หน่วยบริการ (สถานพยาบาล) ประจำที่ลงทะเบียนไว้หรือหน่วยบริการปฐมภูมิทุกที่ ตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข (พื้นที่ กทม.) คลินิกชุมชนอบอุ่น สถานีอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล และศูนย์สุขภาพชุมชน ทั้งนี้ สามารถค้นหาหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) ได้ที่นี่เว็บไซต์ https://www.nhso.go.th/page/hospital
2. ร้านยาร่วมดูแลผู้ป่วยโควิด19 สำหรับกลุ่มสีเขียวที่มีอาการเล็กน้อย รับยาและแนะนำการใช้ยาที่ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการได้ทั่วประเทศ ดูรายชื่อร้านยา คลิก https://www.nhso.go.th/downloads/197
3. พบแพทย์ออนไลน์ จัดส่งยาถึงบ้าน ผ่าน 4 แอปพลิเคชั่น ดูรายละเอียดเพิ่มเติ่มคลิกที่ https://www.nhso.go.th/news/3674
ทั้งนี้ ผู้ชิสทธิบัตรทองสามารถเช็คสิทธิรักษาพยาบาลได้ง่ายๆ ด้วยตนเองที่ 1.สายด่วน สปสช. โทร.1330 กด 2.เว็บไซต์ สปสช. https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml 3.แอปพลิเคชัน สปสช. และ 4.ไลน์ สปสช. ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/pfbid02npzMbK2WQCf4VpvocrcdVR5SDP2c9Kj6zFHUcAaPWNXxizUJtFCDPvB5WWHmc3qxl
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭🧡มาลาริน🧡🇹🇭เห็นชอบแผน 5 ปี ควบคุมโรคติดต่อ สธ.ย้ำติดตามXBB ต่อเนื่อง/หมอ ยง เผย โรคที่มีลักษณะระบาดในฤดูเดียวกัน
“อนุทิน” นำประชุม คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบแผน 5 ปี เฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อ เผย สธ. ยังติดตามโควิด-19 สายพันธุ์ XBB ต่อเนื่อง
วันที่ 19 ตุลาคม 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 8/2565 โดยมี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค ผู้บริหารและกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายอนุทิน กล่าวว่า ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 ภายหลังประกาศเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร จัดทำและส่งแผนปฏิบัติการควบคุมโรคโควิด-19 รองรับ การเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง รวมถึงมีการซักซ้อมแผนฯ เพื่อรองรับสายพันธุ์ XBB ยืนยันว่ายังมีระบบเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่อง ส่วนการให้บริการวัคซีนโควิด-19 สะสม 143.5 ล้านโดส โดยเด็กอายุ 6 เดือน - 4 ปี ที่เริ่มฉีดตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2565 อยู่ระหว่างการติดตามผล
สำหรับแผนบริหารจัดการวัคซีนในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565 จะมีวัคซีน 5 ล้านโดส แบ่งเป็น....👇
@เข็มกระตุ้น 2,800,000 โดส
@เด็กอายุ 5-11 ปี 1,000,000 โดส
@อายุ 12-17 ปี ที่ไม่เคยรับวัคซีนและผู้ที่เคยติดเชื้อ 100,000 โดส
@ผู้อายุ 18 ปีขึ้นไปที่ไม่เคยรับวัคซีนและผู้ที่เคยติดเชื้อ 100,000 โดส
@เด็กอายุ 6 เดือน - 4 ปี 1,000,000 โดส
ส่วนกลุ่ม 608 ที่ฉีดเข็มกระตุ้นเพียง 43.4% จะมีการจัดกิจกรรมรวมพลัง อสม. ส่งต่อภูมิคุ้มกัน ป้องกัน 608 ให้ปลอดภัย โดยจะประชุมมอบนโยบายและแนวทางการเร่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันสู่ 608 ให้ อสม. และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด วันที่ 21 ตุลาคม 2565 โดยใช้กลยุทธ์ อสม. เป็นตัวเชื่อมในการรณรงค์
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีการพิจารณาเห็นชอบอีก 5 เรื่องสำคัญ คือ
1. ร่างแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. 2566-2570 ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อที่มีประสิทธิภาพ เป็นกรอบแนวทางการจัดทำแผนฯ ในเขตพื้นที่จังหวัด/กทม. มี 5 ยุทธศาสตร์สำคัญ ซึ่งจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อไป คือ....👇
@พัฒนานโยบาย มาตรการ กฎหมาย และกลไกการบริหารจัดการการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ
@พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและยกระดับการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อ
@ยกระดับการจัดการภาวะฉุกเฉินจากโรคติดต่อ
@พัฒนากำลังคนและเครือข่ายความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติ
@พัฒนาการสื่อสารความเสี่ยงและระบบสนับสนุนการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ
2. ร่างระเบียบคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบความผิด กรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 34 (6)
3. ร่างกฎกระทรวงการจ่ายค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายจากการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. .... ซึ่งกำหนดให้ผู้เสียหายยื่นคำขอต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือสำนักอนามัย กทม. ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่รู้ความเสียหาย และรายงานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. ภายใน 7 วัน ซึ่งจะพิจารณาค่าทดแทนชดเชยความเสียหายให้เสร็จภายใน 30 วัน หากค่าทดแทนไม่เกิน 100,000 บาท จะเสนอไปกรมควบคุมโรคดำเนินการจ่าย หากเกิน 100,000 บาท เสนอเรื่องไปคณะกรรมการโรคติดต่อชาติพิจารณาจ่าย ซึ่งรายการในการจ่ายค่าทดแทน มีทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ค่าเสียหายเกิดขึ้นกับทรัพย์สิน เป็นต้น
4. ร่างระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าชดเชยให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวัง การสอบสวนโรค การป้องกัน หรือการควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. .... เพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งติดเชื้อ หรือเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โรคติดต่ออันตราย โรคระบาดจากการปฏิบัติหน้าที่ ได้รับค่าชดเชย ครอบคลุมทั้งสังกัดส่วนกลาง ภูมิภาค กทม. และส่วนท้องถิ่น โดยกรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร ได้รับค่าชดเชย 25 เท่าของค่าครองชีพ/เงินเดือน ต้องไม่ต่ำกว่า 400,000 บาท กรณีสูญเสียอวัยวะ พิการ ได้รับอันตรายสาหัส บาดเจ็บรักษาเกิน 20 วันขึ้นไป ได้รับค่าชดเชย 12.5 เท่าของค่าครองชีพ/เงินเดือน ต้องไม่ต่ำกว่า 240,000 บาท แต่ไม่เกิน 400,000 บาท และกรณีติดเชื้อและได้รับการรักษาตั้งแต่ 7 วัน แต่ไม่เกิน 20 วัน ได้รับค่าชดเชยไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งจะใช้งบประมาณ/เงินนอกงบประมาณของกรมควบคุมโรค
5. ร่างระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแทนของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ในกรณีที่ผู้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อละเลยไม่ดำเนินการตามคำสั่ง พ.ศ. .... หากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้ออกคำสั่งให้ผู้ใดดำเนินการ แล้วผู้นั้นละเลยไม่ดำเนินการในเวลาที่กำหนด เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อต้องดำเนินการแทนและมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ให้ผู้นั้นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามจำนวนที่จ่ายจริง
https://www.thairath.co.th/news/politic/2531126
“หมอ ยง”เผยโควิด19-โรคRSVและไข้หวัดใหญ่มีลักษณะระบาดในฤดูเดียวกัน
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ โพสต์เฟซบุ๊ก อธิบายการระบาด 3 โรคยอดฮิตปลายฝนต้นหนาว กลุ่มเสี่ยงคือเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวหรือที่เรียกว่า 608
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ถึงฤดูกาลของโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส อย่าง โควิด 19- ไข้หวัดใหญ่และ โรค RSV ว่า....👇
โรคทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส มีเป็นจำนวนมาก แต่ปัญหาสำคัญแต่เดิมจะเป็นไข้หวัดใหญ่กับ RSV และในสมัยก่อน เราไม่ได้ตรวจเพราะวิธีการตรวจยุ่งยากไม่เหมือนสมัยนี้
ทั้ง โควิด19 โรค RSV และไข้หวัดใหญ่ มีวิธีการตรวจแบบ ATK จึงทำให้พบโรค ดังกล่าวมากขึ้น การระบาดของโรคทั้ง 3 นี้ จะอยู่ในฤดูกาลเดียวกัน เป็นโรคประจำฤดูกาล และจะมีปัญหาใน กลุ่มเสี่ยงคือเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวหรือที่เรียกว่า 608
RSV เป็นโรคที่มีมาแต่โบราณ จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถพัฒนาวัคซีนมาใช้ป้องกันได้ โรคนี้เป็นแล้วเป็นอีกได้ จากการศึกษาที่ศูนย์ที่ตนทำอยู่ เด็กโตขึ้นมาจนถึง 5 ปี แทบจะไม่มีใครเลยที่ไม่เคยเป็น ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากแม่จะส่งมายังลูก และจะอยู่ประมาณ 6 เดือน ถึงมีภูมิต้านทานส่งต่อมาจากมารดา เด็กเล็กก็เป็นได้และมีอาการรุนแรง แต่ส่วนใหญ่จะพบหลังจากที่ภูมิส่งต่อจากมารดาหมดลงแล้วคือตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป ไวรัสนี้มีหลายสายพันธุ์ และจากการติดตามถึงสายพันธุ์เดียวกันก็สามารถเป็นซ้ำได้อีก ความรุนแรงจะมากในขวบปีแรกและเมื่อโตขึ้น ความรุนแรงของโรคก็จะน้อยลง เช่นเดียวกันผู้ใหญ่ก็เป็นได้แต่อาการน้อย และจะไปมีอาการมากในกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือผู้สูงอายุ 608 ไม่มียารักษาโดยตรงรักษาตามอาการ ส่วนใหญ่หายเป็นปกติ
ไข้หวัดใหญ่ก็เช่นเดียวกัน มีหลายสายพันธุ์ทั้ง A และ B ที่ระบาดอยู่ในปีนี้เป็นไข้หวัดใหญ่ A สายพันธุ์ H3N2 เกือบทั้งหมด ที่ศูนย์เราติดตามสายพันธุ์อยู่ตลอด วัคซีนป้องกันได้แต่ประสิทธิภาพไม่สูง ฉีดวัคซีนแล้วก็เป็นได้แต่อาการจะลดลง
เช่นเดียวกัน covid 19 ก็เป็นโรคประจำฤดูกาลไปแล้ว ก็จะพบในฤดูกาลเดียวกัน คือฤดูฝน และจะน้อยลงในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม และจะไปเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยในเดือนมกราคมถึงมีนาคม แล้วค่อยลดลงอีกแล้วไปเพิ่มอีกครั้งหนึ่งหลังจาก กลางเดือนมิถุนายน จากการศึกษาทั่วโลกพบว่าความรุนแรงตั้งแต่ยุค โอมิครอน ลดลง แม้กระทั่งเกิด long covid ก็ลดลง การเกิด MIS-C ในเด็กก็ลดลง และความรุนแรงของ MIS-C ในเด็กก็ลดลง (จากการศึกษาในอิสราเอล) JAMA May19, 2022 เปรียบเสมือนโรคนี้กำลังปรับตัวเข้าสู่โลกประจำฤดูกาล
สมัยก่อนอัตราการเสียชีวิตจากโรคในระบบทางเดินหายใจ เช่นปอดบวม ปอดอักเสบ ภาวะหายใจล้มเหลวจากการติดเชื้อเราพบได้มาก แต่เราไม่เคยแยกเชื้อว่าเกิดจากเชื้ออะไร และยังมีปอดบวมที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้ามาซ้ำเติมอีก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้การดูแลรักษาดีขึ้น อัตราการเสียชีวิตดังกล่าวลดลงอย่างมากถ้าเปรียบเทียบกับสมัยที่ผมดูแลผู้ป่วยเมื่อ 40 ปีก่อน เรารักษาปอดบวมในผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก โดยบางครั้งไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีสาเหตุจากอะไร
นอกจากไวรัสที่กล่าวถึงยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ และถ้าจะตรวจให้ครบทุกตัว ก็จะเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก โดยไม่จำเป็น ยกเว้นการศึกษาวิจัย เพื่อให้ทราบว่าขณะนี้อะไรกำลังระบาดอยู่ ซึ่งเป็นหน้าที่ของเราที่เราทำอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว
https://www.pptvhd36.com/health/news/2148
ติดตามข่าวโควิดวันนี้นะคะ....