🌈🧶มาลาริน🧶🌈ไทยเจอ2ราย โควิดพันธุ์ XBB.1.5 หายแล้วไม่พบคนใกล้ชิดติดเชื้อ/หมอ ยง เผยโควิดลด แต่พบไข้หวัดใหญ่ในเด็กมาก

ไทยเจอแล้ว 2 ราย โควิดสายพันธุ์ XBB.1.5 ปัจจุบันรักษาหาย ยังไม่พบคนใกล้ชิดติดเชื้อ

กรมวิทย์ฯ ตรวจพบสายพันธุ์ XBB.1.5 ลูกผสมของโอมิครอนสายพันธุ์ BJ.1 และ BM.1.1.1 ในไทย จำนวน 2 ราย ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลความรุนแรงกว่าสายพันธุ์ย่อยอื่น

วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2566) นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า จากการ เฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ในประเทศไทย ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับเครือข่าย ตรวจพบสายพันธุ์ XBB.1.5 จำนวน 2 ราย ในไทย เป็นชาวไทย 1 ราย และต่างชาติ 1 ราย ปัจจุบันหายดีแล้ว และยังไม่พบผู้ใกล้ชิดติดเชื้อ ซึ่งกรมได้ส่งข้อมูลเผยแพร่ไปยังฐานข้อมูล GISAID แล้ว

XBB.1.5 เป็นเชื้อสายสืบสกุลของ XBB ซึ่งเป็นลูกผสมของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 สองสายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ BJ.1 และ BM.1.1.1 จากข้อมูลตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2565 ถึง 12 กุมภาพันธ์ 2566 มีการรายงานสายพันธุ์ XBB.1.5 ทั่วโลกพบ 33,219 ราย ส่วนใหญ่พบในสหรัฐอเมริกา 24,505 ราย (73.7%) ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น สหราชอาณาจักร (6.6%) แคนาดา (5.3%) เดนมาร์ก (1.0%) เยอรมนี (2.65%) ไอร์แลนด์ (1.0%) และออสเตรีย (1.5%)

จากลักษณะทางพันธุกรรมและอัตราการเติบโตของ XBB.1.5 พบว่ามีการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง F486P โดยกรดอะมิโนตำแหน่ง 486 เปลี่ยนจากฟีนิลอะลานีน (phenylalanine) เป็นโปรลีน(proline) ซึ่งเพิ่มความสามารถในการยึดเกาะกับเซลล์ ส่งผลให้มีความได้เปรียบในการแพร่กระจาย และสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีเช่นเดียวกับสายพันธุ์ XBB.1

แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อบ่งชี้ความรุนแรงและความเสี่ยงด้านสาธารณสุขเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ย่อยอื่นๆ ซึ่งข้อมูลล่าสุดพบว่าสายพันธุ์ XBB.1.5 มีการระบาดอย่างรวดเร็วในสหรัฐอเมริกา โดยพบสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2565 เป็นต้นมา แต่เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ย่อยที่พบในไทย คือ BN.1 และลูกหลาน ซึ่งมีความสามารถในการแพร่เชื้อได้เร็วใกล้เคียงกัน จึงทำให้โอกาสในการที่ XBB.1.5 มาแทนที่ BN.1.* มีไม่มากนัก
 
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อถึงกรณีที่จีนเปิดประเทศ ว่าจากข้อมูลการเฝ้าระวังสายพันธุ์ ที่ระบาดในจีน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2566 มีข้อมูลสายพันธุ์เชื้อก่อโรคโควิด 19 จำนวน 14,515 ตัวอย่าง ซึ่งทั้งหมดเป็นโอมิครอน โดยสายพันธุ์ที่พบมาก ได้แก่ BA.5.2.48 (60.9%) และ BF.7.14 (28.3%) ซึ่งไม่ได้เป็นสายพันธุ์ใหม่แต่อย่างใด และไม่ได้มีการแพร่เร็วกว่าสายพันธุ์ในประเทศไทย ดังนั้นจึงไม่น่ากังวล สำหรับสายพันธุ์ XBB.1.5 มีรายงานจากประเทศจีนจำนวน 3 ตัวอย่าง ประมาณกลางเดือนธันวาคม 2565 จนถึงปัจจุบันยังไม่มีรายงานเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์หลักที่พบในประเทศไทยขณะนี้ยังคงเป็นสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BN.1.* เป็นลูกหลานของ BA.2.75 ซึ่งการติดตามสถานการณ์สายพันธุ์ของประเทศ รวมถึงข้อมูลอัตราการติดเชื้อ ความรุนแรง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และเครือข่ายจะดำเนินการอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง เพื่อใช้กำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไป

“สำหรับประชาชนขอให้ทำตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขในการป้องกันโรค การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ แม้ขณะนี้สถานการณ์โควิด 19 ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนมาจากประสิทธิผลของวัคซีน ดังนั้นประชาชนจึงยังควรได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นหลังจากเข็มสุดท้ายนานเกิน 4 เดือน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 และผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ลดการนอนโรงพยาบาล ลดอาการป่วยรุนแรง และลดอัตราการเสียชีวิตหากติดเชื้อ” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว

https://www.sanook.com/news/8771834/

หมอ ยง” เผยโควิดลดลง แต่พบไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเด็กนักเรียนมาก



ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ออกมาเปิดเผยว่าปัจจุบันไวรัสโควิด-19 ในไทยการระบาดเริ่มลดน้อยลง แต่กลับพบไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเด็กนักเรียนมากขึ้นแทน
วันนี้ (14 ก.พ.) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว "Yong Poovorawan" ในประเด็น โควิด-19 ลดลง แต่กลับพบไข้หวัดใหญ่เพิ่มมากขึ้นในกลุ่มเด็กนักเรียน

โดยหมอ ยงได้ระบุข้อความว่า
 
“ตามที่เคยได้กล่าวมาแล้ว เดือนกุมภาพันธ์ โควิด-19 จะสงบและการติดเชื้อจะลดลง ทิศทางของทั่วโลกก็เช่นเดียวกัน ยอดผู้เสียชีวิตลดลงอย่างมากเฉลี่ยวันละ 1-2 คน และมีแนวโน้มจะลดลงอีก
การติดเชื้อซ้ำ เกิดขึ้นได้ แต่โดยทั่วไปอาการจะลดลง การศึกษาของศูนย์ ในผู้ที่ติดเชื้อโควิดซ้ำ ประมาณ 250 คนเห็นได้ชัดว่าการติดเชื้อครั้งที่ 2 อาการน้อยกว่าครั้งแรก

ขณะนี้มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในเด็กนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาไม่มีการระบาดทำให้ภูมิต้านทานในภาพรวมลดลง สายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ขณะนี้เป็นไข้หวัดใหญ่ A H3N2”
 
 
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9660000014402

 ติดตามข่าวโควิดกันต่อค่ะ....
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13

นายกฯ ย้ำเร่งนำผู้สูงอายุมารับวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้น ช่วยลดป่วยหนัก - เสียชีวิตได้ชัดเจน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กห. รับทราบภาพรวมการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของไทย ตั้งแต่การฉีดเข็มแรก เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 64 จนถึงขณะนี้ (10 ก.พ. 66) ไทยฉีดวัคซีนในภาพรวมแล้ว 146,590,102 โดส การรณรงค์ฉีดวัคซีนเข็มแรกจนถึง 100 ล้านโดส ใช้เวลา 10 เดือน ซึ่งถือว่ารวดเร็วมาก และมีข้อมูลวิจัยยืนยันว่า การฉีดวัคซีน 100 ล้านโดสดังกล่าว สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้เกือบ 5 แสนคน

สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ปัจจุบัน ยังมีผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และผู้เสียชีวิต โดยผู้เสียชีวิตยังเป็นกลุ่มผู้สูงอายุทั้งผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนเลย ได้รับตั้งแต่ 1 - 3 เข็ม และได้รับเข็มกระตุ้น (บูสเตอร์ โดส) เกิน 3 เดือน ดังนั้น จึงควรที่จะเร่งนำผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับวัคซีนเลยมารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพราะผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยง ที่เมื่อติดเชื้อแล้วอาการจะรุนแรงและเป็นกลุ่มอายุที่เสี่ยงมากขึ้นในตอนนี้

ย้ำขอให้ประชาชนทำตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข ที่ให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนอย่างน้อย 4 เข็ม โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 และผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ลดการนอนโรงพยาบาล ลดอาการป่วยรุนแรง และลดอัตราการเสียชีวิต

ซึ่งปีนี้ ยังเป็นการให้วัคซีนเข็มกระตุ้น ป้องกันป่วยหนักและเสียชีวิตในประชากรทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง และขณะนี้กรมควบคุมโรคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยู่ระหว่างหารือถึงแนวทางการปรับให้เป็นการฉีดวัคซีนประจำปี เช่นเดียวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะเน้นการฉีดกลุ่มเสี่ยงเช่นเดิม

อ่านเพิ่มเติม คลิก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/64909
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid0374RkuksxAeqDK8qfbQHevqGnKhZZJTPppwepwcHTtRvHzJS3UTTjfcUC5cuBKCBrl


สถานการณ์โควิดต่างประเทศ
สิงคโปร์ยกเลิกคณะทำงานบริหารสถานการณ์ COVID-19 และมาตรการควบคุมโรคเกือบทั้งหมด ปรับลดระดับของสถานการณ์จากสีเหลืองเป็นสีเขียว

สิงคโปร์ยกเลิกคณะทำงานบริหารสถานการณ์ COVID-19 และมาตรการควบคุมโรคเกือบทั้งหมด คณะทำงานรับมือสถานการณ์ COVID-19 ของสิงคโปร์ จะปรับลดระดับของสถานการณ์ COVID-19 จากสีเหลืองเป็นสีเขียว เป็นระดับต่ำสุดนับแต่เกิดการแพร่ระบาด โดยยกเลิกคณะทำงานฯ และมาตรการสาธารณสุขเกือบทั้งหมด ตั้งแต่ 13 ก.พ. 66 เนื่องจากการแพร่ระบาดลดลงอยู่ในระดับต่ำสุด โดยมาตรการสำคัญ ได้แก่ ยกเลิกการบังคับสวมหน้ากากอนามัยขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะและสถานบริการทางการแพทย์ โดยจะคงสวมใส่หน้ากากในโรงพยาบาล คลินิก และศูนย์พักฟื้นในห้วงเวลาที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วย ยกเลิกมาตรการคัดกรองสำหรับผู้เดินทางจากต่างประเทศที่ไม่ฉีดวัคซีนหรือฉีดไม่ครบสมบูรณ์ จากเดิมที่ต้องแสดงผลตรวจเชื้อก่อนออกเดินทางและมีประกันภัยครอบคลุมการรักษา COVID-19 และยกเลิกการใช้แอปฯ ติดตามตัวกลุ่มเสี่ยงพร้อมลบประวัติข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดจากระบบฐานข้อมูล หลังจากนี้ สธ.สิงคโปร์จะเป็นหน่วยงานหลัก ในการควบคุมและออกแนวปฏิบัติเกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 แทนคณะทำงานฯ ซึ่งยังคงแนะนำให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้สูงอายุ สวมใส่หน้ากากอนามัยขณะอยู่ในสถานที่แออัด หรือต้องมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเสี่ยง

ที่มา : สำนักข่าวกรองเเห่งชาติ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid023S6B6eABZSSk82pXVNT6ibedgrFcuenzHPR3z5aQ6qSjatcGDZDwmq74XXgvfu8hl


กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บริการตรวจโควิด 19 ด้วยวิธี RT-PCR แก่ประชาชน-นักท่องเที่ยว
ขั้นตอนการรับบริการตรวจโควิด 19
1. กรอกแบบฟอร์มขอรับการตรวจ ผ่าน Google Form
และ Scan บัตรประชาชน
บริเวณจุดรับตรวจหน้าอาคาร 2 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นนทบุรี
เปิดบริการ เวลา 09.00 - 12.00 น.
วันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
2. ชำระเงินค่าตรวจ 1,000 บาท
ด้วยวิธีสแกนจ่ายผ่าน QR code
3. เข้ารับการตรวจที่จุดรับตรวจ
4. รับใบเสร็จรับเงิน ณ จุดกรอกแบบฟอร์ม
5. รับผลตรวจทางไลน์ (Line) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
หากต้องการใบรายงานผลการตรวจในรูปแบบเอกสาร ให้มารับในวันถัดไป ที่จุดรับตรวจ
สอบถามเพิ่มเติมศูนย์รวมบริการ โทร. 0 2589 9850-7 ต่อ 99968

ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0fg4Lqr5hAF3GaeAxLCbRdXu4477G1aioNbkeLj4BJjYqYUudTKgeqMwzto38Szawl


ตรวจพบสายพันธุ์ XBB.1.5 ลูกผสมโอมิครอนในไทย 2 ราย ยังไม่มีข้อมูลความรุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่น

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 ในประเทศไทย ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับเครือข่าย ตรวจพบสายพันธุ์ XBB.1.5 จำนวน 2 ราย ในไทย เป็นชาวไทย 1 ราย และต่างชาติ 1 ราย ปัจจุบันหายดีแล้ว และยังไม่พบผู้ใกล้ชิดติดเชื้อ ซึ่งกรมได้ส่งข้อมูลเผยแพร่ไปยังฐานข้อมูล GISAID แล้ว

XBB.1.5 เป็นเชื้อสายลูกผสมของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 สองสายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ BJ.1 และ BM.1.1.1 จากข้อมูลตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2565 ถึง 12 กุมภาพันธ์ 2566 มีการรายงานสายพันธุ์ XBB.1.5 ทั่วโลกพบ 33,219 ราย มีความได้เปรียบในการแพร่กระจาย และสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อบ่งชี้ความรุนแรงและความเสี่ยงด้านสาธารณสุขเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ย่อยอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์หลักที่พบในประเทศไทยขณะนี้ยังคงเป็นสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BN.1. ซึ่งการติดตามสถานการณ์สายพันธุ์ของประเทศ รวมถึงข้อมูลอัตราการติดเชื้อ ความรุนแรง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และเครือข่ายจะดำเนินการอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง เพื่อใช้กำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไป
https://web.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid02FoiANqoTZCmD8PeF1gYqMzreRR1viV8zoRBEnd9UKv2x4goLEa3dfZ4qx9VAjGrdl
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่