.
.
© John Adams
.
.
ธนาคารเอเซีย ช่วงก่อนปี 2530
ปัจจุบันคือ ธนาคาร UOB
ฝั่งตรงข้ามคือ ธนาคาร BBC
(กรุงเทพพาณิชยการ)
ปัตยุตบันคือ ธนาคารอิสลาม
สนามฟุตบอลรถไฟ
ทุกวันนี้คือ ห้างโรบินสัน
แรกเริ่มที่นี่เป็นอาคารสำนักงานของ
เจียกีซี (ขุนนิพัทธ์จีนนคร)
ต่อมา ท่านได้ติดต่อ ดร.ปรีดี พนมยงค์
รัฐมนตรีกระทรวงคลัง
ยุครัฐบาล พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
ให้มาตั้งธนาคารแห่งแรกของภาคใต้
เพราะสมัยก่อนการทำธุรกรรมทางธนาคาร
การเปิด LC ทำ Import Export Check Credit
ต้องรอธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพฯ เท่านั้น
หาดใหญ่มีการค้าขายกับต่างชาติ
Import Export กับที่ปีนังอาณานิคมอังกฤษ
ที่นั่นทำตนเป็นฮับ Hub ติดต่อไปที่ชาติอื่น ๆ
เวลาสั่งซื้อนำเข้าเครื่องจักร ของนอก
ส่วนสยามส่งออกขายยางพารา ไม้ แร่ดีบุก
ไปต่างประเทศ ผ่านทางท่าเรือปีนัง
หาดใหญ่ไปปีนังระยะทาง 100 กิโลเมตรเศษ
ทางรถไฟสายหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ฝั่งไทย
รถไฟสายปาดังเบซาร์-บัตเตอร์เวอร์ด ฝั่งนายู
ทางรถไฟสร้างเสร็จพร้อมใช้งานยุครัชกาลที่ 6
นั่งเรือข้ามฟากที่นี่ไปเกาะหมาก (ปีนัง)
ใกล้กว่านั่งรถไฟไปกรุงเทพฯ ร่วมพันกิโลเมตร
ท่าเรือปีนังจะตั้งอยู่ที่ปัตเตอร์เวอร์ด
เป็นสถานที่นำเข้า ส่งออกสินค้า
มานานหลายสมัยตั้งแต่ยุคอาณานิคมอังกฤษ
จนนายูได้รับเอกราชในปี 2500
ปีนังเคยเป็นเมือง Duty Free ช่วงหนึ่ง
ท่าเรือที่นี่ยังเป็น Hub สินค้าชายแดน
มีทั้งหนีภาษีกับเสียภาษีก่อนมาขายในไทย
ตรงปาดังเบซาร์ ด่านนอก สตูล สายบุรี
.
.
ดร.ปรีดี พนมยงค์ มาขอเช่า
ตึกอาคารสำนักงานเจียกีซี
เปิดธนาคารเอเซีย สาขาหาดใหญ่
ต่อมาธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด
ก็มาเปิดสาขาแห่งแรกที่ทุ่งสง
มี มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
เป็นผู้จัดการสาขาคนแรก
ทุ่งสง คือ Hub แร่ดีบุก ยางพารา
กินรวบสองฝั่งทะเลในอดีต
(อ่าวไทยกับอันดามัน)
ธนาคารเอเซีย เดิมมี
มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
มี นายหลุยส์ พนมยงค์ น้องชายนายปรีดี
เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง คือ
เพื่อคานอำนาจธนาคารต่างชาติ
ธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีคนจีนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
และทำธุรกิจธนาคารแบบมืออาชีพ
กับสถานที่ฝึกงานและเรียนรู้จริงของนักศึกษา
แบบสหกิจวิชาบังคับในทุกวันนี้
ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ คือ
ธนาคารแห่งแรกของสยาม
และเป็นผู้รับรองพันธบัตร(เงินกู้)
ให้กับรัชกาลที่ 5 ที่กู้เงินจากอังกฤษ
ที่ยึดครองนายู(มลายู)เป็นเมืองขึ้น
ในการสร้างทางรถไฟสายใต้
ธนาคารไทยพาณิชย์ คือ
ธนาคารสยามแห่งแรก
.
.
ในปี 2482
ธนาคารชาติสยาม ตั้งโดยนายปรีดี พนมยงค์
เพราะธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้
เริ่มเจ้ากี้เจ้าการทำตนเหมือนธนาคารชาติสยาม
เพราะรัฐบาลอังกฤษหนุนหลัง
แบบ IMF คล้ายกับพ่อทุกสถาบันในปัจจุบัน
สยามคือ ชื่อประเทศไทย
ก่อนเปลี่ยนชื่อประเทศ ในปี 2488
โดย จอมพลแปลก พิบูลสงคราม
หลังการปฏิวัติของกลุ่มราชครูปี 2490
จอมพลผิน ชุณหะวัณ (พ่อพลเอก ชาติชาย)
ทำให้ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัย
ไปต่างประเทศก่อนกลับมาปฏิวัติ
หลังกบฏวังหลวงปี 2492 ล้มเหลว
(นายปรีดี พนมยงค์ เป็นแกนนำ)
หุ้นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก็เริ่มทะยอยหายเกลี้ยงไปหมด
หลังจากปลดนายหลุยส์ พนมยงค์
กรรมการผู้จัดการคนต่อ ๆ มา
คงได้รับข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ได้
เริ่มมีการยักย้ายถ่ายเทหุ้น
แบบคนเลี้ยงช้างอดไม่ได้
ที่จะหยิบอ้อยช้างมาเคี้ยวเล่น
เผลอ ๆ แดxจุกว่าช้าง
จนหุ้นของมหาวิทยาลัยหายเหม็ด
ไปตกทอดไปยังตระกูลต่าง ๆ
ก่อนล่มสลาย (เจ๊ง) ไปในปี 2540
.
.
.
.
© John Adams
สังเกตไม้หมอนรถไฟ เป็นแนวเขตรถไฟ
ด้านหลังอาคารสองชั้นมีรถยนต์จอดด้านข้าง
คือ สำนักงานยิบอินซอย ในอดีตที่หาดใหญ่
ทำหน้าที่ซื้อมาขายไปแร่ดีบุก ยางพารา
ตอนนี้คือ Big 4 กิจการโทรคมนาคมในไทย
.
.
.
ด้านหน้าอาคารยิบอินซอย 3 คูหา
ตึกสูงด้านหลังคือ Robinson
ตึกตรงข้ามด้านข้างคือ ธนาคารอิสลาม
.
.
.
เยื้องฝั่งตรงข้ามคือ ธนาคาร UOB
ธนาคารเอเซียเดิม ยังใช้ตึกเก่าที่เดิม
.
.
.
ถ่ายจากสถานีรถไฟหาดใหญ่
.
.
.
ภาพวาดที่หน้าบ้านตรงข้ามวัดถาวรวราราม
.
.
เรื่องเดิม
.
ที่มาของคำว่า Banca Bank Bankrupt
.
.
.
ก่อนวันล่มสลายปี 2540 ตอนที่ 1
.
ก่อนวันล่มสลายปี 2540 ตอนที่ 2
.
ซื้อขายที่ดิน (พีงระมัดระวัง)
.
เผาสัญญากู้เงิน
.
.
ธนาคารเอเซีย สาขาหาดใหญ่ ก่อนปี 2530
.
© John Adams
.
ธนาคารเอเซีย ช่วงก่อนปี 2530
ปัจจุบันคือ ธนาคาร UOB
ฝั่งตรงข้ามคือ ธนาคาร BBC
(กรุงเทพพาณิชยการ)
ปัตยุตบันคือ ธนาคารอิสลาม
สนามฟุตบอลรถไฟ
ทุกวันนี้คือ ห้างโรบินสัน
แรกเริ่มที่นี่เป็นอาคารสำนักงานของ
เจียกีซี (ขุนนิพัทธ์จีนนคร)
ต่อมา ท่านได้ติดต่อ ดร.ปรีดี พนมยงค์
รัฐมนตรีกระทรวงคลัง
ยุครัฐบาล พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
ให้มาตั้งธนาคารแห่งแรกของภาคใต้
เพราะสมัยก่อนการทำธุรกรรมทางธนาคาร
การเปิด LC ทำ Import Export Check Credit
ต้องรอธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพฯ เท่านั้น
หาดใหญ่มีการค้าขายกับต่างชาติ
Import Export กับที่ปีนังอาณานิคมอังกฤษ
ที่นั่นทำตนเป็นฮับ Hub ติดต่อไปที่ชาติอื่น ๆ
เวลาสั่งซื้อนำเข้าเครื่องจักร ของนอก
ส่วนสยามส่งออกขายยางพารา ไม้ แร่ดีบุก
ไปต่างประเทศ ผ่านทางท่าเรือปีนัง
หาดใหญ่ไปปีนังระยะทาง 100 กิโลเมตรเศษ
ทางรถไฟสายหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ฝั่งไทย
รถไฟสายปาดังเบซาร์-บัตเตอร์เวอร์ด ฝั่งนายู
ทางรถไฟสร้างเสร็จพร้อมใช้งานยุครัชกาลที่ 6
นั่งเรือข้ามฟากที่นี่ไปเกาะหมาก (ปีนัง)
ใกล้กว่านั่งรถไฟไปกรุงเทพฯ ร่วมพันกิโลเมตร
ท่าเรือปีนังจะตั้งอยู่ที่ปัตเตอร์เวอร์ด
เป็นสถานที่นำเข้า ส่งออกสินค้า
มานานหลายสมัยตั้งแต่ยุคอาณานิคมอังกฤษ
จนนายูได้รับเอกราชในปี 2500
ปีนังเคยเป็นเมือง Duty Free ช่วงหนึ่ง
ท่าเรือที่นี่ยังเป็น Hub สินค้าชายแดน
มีทั้งหนีภาษีกับเสียภาษีก่อนมาขายในไทย
ตรงปาดังเบซาร์ ด่านนอก สตูล สายบุรี
.
.
ดร.ปรีดี พนมยงค์ มาขอเช่า
ตึกอาคารสำนักงานเจียกีซี
เปิดธนาคารเอเซีย สาขาหาดใหญ่
ต่อมาธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด
ก็มาเปิดสาขาแห่งแรกที่ทุ่งสง
มี มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
เป็นผู้จัดการสาขาคนแรก
ทุ่งสง คือ Hub แร่ดีบุก ยางพารา
กินรวบสองฝั่งทะเลในอดีต
(อ่าวไทยกับอันดามัน)
ธนาคารเอเซีย เดิมมี
มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
มี นายหลุยส์ พนมยงค์ น้องชายนายปรีดี
เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง คือ
เพื่อคานอำนาจธนาคารต่างชาติ
ธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีคนจีนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
และทำธุรกิจธนาคารแบบมืออาชีพ
กับสถานที่ฝึกงานและเรียนรู้จริงของนักศึกษา
แบบสหกิจวิชาบังคับในทุกวันนี้
ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ คือ
ธนาคารแห่งแรกของสยาม
และเป็นผู้รับรองพันธบัตร(เงินกู้)
ให้กับรัชกาลที่ 5 ที่กู้เงินจากอังกฤษ
ที่ยึดครองนายู(มลายู)เป็นเมืองขึ้น
ในการสร้างทางรถไฟสายใต้
ธนาคารไทยพาณิชย์ คือ
ธนาคารสยามแห่งแรก
.
.
© พันธบัตรรัฐบาลของราชอาณาจักรสยามในยุคแรก
.
.
ในปี 2482
ธนาคารชาติสยาม ตั้งโดยนายปรีดี พนมยงค์
เพราะธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้
เริ่มเจ้ากี้เจ้าการทำตนเหมือนธนาคารชาติสยาม
เพราะรัฐบาลอังกฤษหนุนหลัง
แบบ IMF คล้ายกับพ่อทุกสถาบันในปัจจุบัน
สยามคือ ชื่อประเทศไทย
ก่อนเปลี่ยนชื่อประเทศ ในปี 2488
โดย จอมพลแปลก พิบูลสงคราม
หลังการปฏิวัติของกลุ่มราชครูปี 2490
จอมพลผิน ชุณหะวัณ (พ่อพลเอก ชาติชาย)
ทำให้ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัย
ไปต่างประเทศก่อนกลับมาปฏิวัติ
หลังกบฏวังหลวงปี 2492 ล้มเหลว
(นายปรีดี พนมยงค์ เป็นแกนนำ)
หุ้นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก็เริ่มทะยอยหายเกลี้ยงไปหมด
หลังจากปลดนายหลุยส์ พนมยงค์
กรรมการผู้จัดการคนต่อ ๆ มา
คงได้รับข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ได้
เริ่มมีการยักย้ายถ่ายเทหุ้น
แบบคนเลี้ยงช้างอดไม่ได้
ที่จะหยิบอ้อยช้างมาเคี้ยวเล่น
เผลอ ๆ แดxจุกว่าช้าง
จนหุ้นของมหาวิทยาลัยหายเหม็ด
ไปตกทอดไปยังตระกูลต่าง ๆ
ก่อนล่มสลาย (เจ๊ง) ไปในปี 2540
.
.
.
© John Adams
สังเกตไม้หมอนรถไฟ เป็นแนวเขตรถไฟ
ด้านหลังอาคารสองชั้นมีรถยนต์จอดด้านข้าง
คือ สำนักงานยิบอินซอย ในอดีตที่หาดใหญ่
ทำหน้าที่ซื้อมาขายไปแร่ดีบุก ยางพารา
ตอนนี้คือ Big 4 กิจการโทรคมนาคมในไทย
.
.
.
ด้านหน้าอาคารยิบอินซอย 3 คูหา
ตึกสูงด้านหลังคือ Robinson
ตึกตรงข้ามด้านข้างคือ ธนาคารอิสลาม
.
.
.
เยื้องฝั่งตรงข้ามคือ ธนาคาร UOB
ธนาคารเอเซียเดิม ยังใช้ตึกเก่าที่เดิม
.
.
.
ถ่ายจากสถานีรถไฟหาดใหญ่
.
.
.
ภาพวาดที่หน้าบ้านตรงข้ามวัดถาวรวราราม
.
.
เรื่องเดิม
.
ที่มาของคำว่า Banca Bank Bankrupt
.
.
.
ก่อนวันล่มสลายปี 2540 ตอนที่ 1
.
ก่อนวันล่มสลายปี 2540 ตอนที่ 2
.
ซื้อขายที่ดิน (พีงระมัดระวัง)
.
เผาสัญญากู้เงิน
.
.