ไม่คิดว่าตัวเองจะกลายเป็นคนเห่อหลานไปได้ขนาดนี้เลยค่ะ น่าจะเป็นเพราะเราไม่ได้เล่นกับเด็กเล็ก ๆ และไม่ได้ดูแลเด็กเล็ก ๆ มานานแล้ว พอมีหลานชายเป็นของตัวเอง ก็เลยหลงมาก ก็มีช่วยดูแลในเรื่องอาหารการกินของเขาด้วย เพราะหลานชายจะเป็นภูมิแพ้อาหารบางอย่าง ก็เลยต้องระวัง ตอนช่วงขวบกว่า ๆ เขาจะไม่ค่อยเลือกกินเท่าไหร่ค่ะ แม่เขาทำอะไรให้กินก็กินอันนั้น แต่พอโตเริ่มพูดรู้เรื่อง และรู้จักคำว่า "ไม่" ก็จะเริ่มกินยากมากขึ้นค่ะ แล้วบางทีก็กินผักน้อย หรือเลือกกิน เช่น กินแต่ไข่ขาว แล้วคายไข่แดงทิ้ง บางทีเลยอาจทำให้ท้องผูก หรือถ่ายยาก ก็เลยต้องมาคิดค้นหาสูตรอาหารที่เด็กน่าจะชอบ มาทำให้เขากินค่ะ
แต่โชคดีอยู่อย่างที่บ้านเราปลูกผักบางอย่างกินเองค่ะ หรือมีต้นไม้บางอย่างที่เอาผลหรือใบของมันมากินได้ เลยปลอดภัยจากยาฆ่าแมลง เพราะปลูกแบบธรรมชาติค่ะ เช่น ใบตำลึง คะน้า ลูกหม่อน (มัลเบอร์รี่) พวกนี้ที่บ้านเราจะปลูกเองค่ะ
เมนูที่ทำให้หลานกิน ก็จะมีหอยแมลงภู่อบชีสโรยเมล็ดทานตะวัน อะโวคาโดบด บัตเตอร์นัตนึ่งกับไข่ โยเกิร์ตใส่ข้าวโอ๊ตและมัลเบอร์รี่ที่ปลูกเอง ควินัวขาวนึ่งกับบัตเตอร์นัต แซลมอนทอดกับมันฝรั่งบดและหน่อไม้ฝรั่ง ปลากะพงทอด แกงจืดแตงกวายัดไส้หมูสับวุ้นเส้น เห็ดรวมผัดไข่ แล้วก็น้ำสต๊อกผักที่ใส่หอมหัวใหญ่ ข้าวโพด แคร์รอท เบบี้กวางตุ้ง กะหล่ำปลี ฟักทอง มะเขือเทศ กับกระดูกหมูค่ะ อาหารของเด็กก็จะไม่ปรุงรสเลยค่ะ ใส่เกลือแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงพวกสารเคมีค่ะ
แล้วแม่ของหลานเค้าจะมีตัวช่วยเสริมสร้างไฟเบอร์ในอาหาร ด้วยการใส่พวกธัญพืชอบที่บดเป็นผง ๆ ที่เค้ามีขายแบบสำเร็จรูปเป็นขวด ๆ น่ะค่ะ ก็เอามาโรย ๆ ใส่ข้าว เด็กไม่ค่อยรู้สึกว่ามันแปลกแยกจากอาหารที่เขากินเท่าไหร่ เพราะพอคลุกรวมกันแล้ว ก็กลมกลืนไปกับข้าวค่ะ
หอยแมลงภู่อบชีสโรยเมล็ดทานตะวัน
ปลากะพงทอด
แซลมอนทอดกับมันฝรั่งบดและหน่อไม้ฝรั่ง
อะโวคาโดบด
แกงจืดแตงกวายัดไส้หมูสับวุ้นเส้น
บัตเตอร์นัตนึ่งกับไข่
โยเกิร์ตใส่ข้าวโอ๊ตและมัลเบอร์รี่ที่ปลูกเอง
ควินัวขาวนึ่งกับบัตเตอร์นัต
น้ำสต๊อกผักที่ใส่หอมหัวใหญ่ ข้าวโพด แคร์รอท เบบี้กวางตุ้ง กะหล่ำปลี ฟักทอง มะเขือเทศ กับกระดูกหมูค่ะ
นอกจากนี้บางทีก็มีให้กินโพรไบโอติกสำหรับเด็กเสริมเข้าไปด้วย ของบ้านเราใช้ยี่ห้อ ต้องใจ โพรบิโตะ (Tongjai Probito) ที่เป็นใยอาหารจากข้าวโพด มีไบเฟอร์สูง 85% แล้วก็มีจุลินทรีย์ Bacillus Coagulan ซึ่งเป็น Probiotics ในกลุ่ม Lactobacillus spp ที่ช่วยปรับสมดุลลำไส้ ช่วยผลิตเอนไซม์ย่อยอาหาร ผลิตสารเมตาบอลิซึม กับช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันค่ะ Bacillus Coagulan จะทนต่อความร้อนได้ดีกว่าจุลินทรีย์ตัวอื่นในท้องตลาดค่ะ (อย่างที่เรารู้กันดีว่าเจ้าพวกจุลินทรีย์มันตายง่ายค่ะ ถ้าโดนความร้อน) แล้วมันยังเป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ด้วยนะคะ (ในผู้ใหญ่ก็ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ และลดความเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะอาหารค่ะ)
ตัวนี้จะเหมาะกับเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไปนะคะ แต่ต้องปรับปริมาณการกินในแต่ละครั้งให้เหมาะกับวัยของเด็กค่ะ อย่างหลานเราจะอายุ 2 ขวบ 8 เดือนค่ะ ก็จะให้กินครั้งละครึ่งช้อนตวง (ในกระปุกจะมีช้อนตวงให้มา) กินวันละ 1-2 ครั้ง ตอนเช้า-เย็น ถ้าเป็นเด็กโตก็กิน 1-2 ช้อนได้ค่ะ
เวลากินกันแค่เอามาผสมกับน้ำประมาณ 150 มิลลิลิตร คนให้ละลายก็ดื่มได้เลยค่ะ รสชาติอ่อนมากแทบจะไม่รู้สึก อาจจะสัมผัสถึงรสนม ๆ ได้นิดหน่อย (อันนี้เราแอบลองชิมมา) หลังกินก็ควรกินน้ำตามสัก 1 - 2 แก้วค่ะ เพราะมันเป็นไฟเบอร์ อาจทำให้ลำไส้อุดตันได้
Tongjai Probito จะมี Prebiotics อยู่ 5 ชนิดค่ะ ตามที่ระบุไว้ข้างกระปุก คือ Con Fiber, Inulin, FOS (ฟรุคโต โอลิโกแซคคาไรด์), GOS (กาแลคโตโอลิโกแซคคาไรด์) และ XOS (ไซโลโอลิโกแซ็กคาไรด์) และเป็นการทำงานร่วมกันกับ Probiotics นะคะ
ที่เริ่มให้หลานกินตัวพรี-โพรไบโอติกส์ เพราะอ่านเจอมาจากพวกเว็บแพทย์ว่าถ้ากินในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะช่วยในเรื่องภูมิคุ้มกันได้ค่ะ
คุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูก แล้วก็ช่วยเรื่องขับถ่าย สำหรับเด็กบางคนที่ไม่ค่อยชอบกินผัก ก็ลองให้เค้ากินพวก พรี-โพรไบโอติกส์เสริมอาหารไปด้วยก็ได้ค่ะ
ลักษณะคล้ายนมผงนะคะ
น้ำจะใส ๆ ค่ะ
[CR] เมนูคุณหลานและตัวช่วยในวันที่หลานกินยากและท้องผูก
แต่โชคดีอยู่อย่างที่บ้านเราปลูกผักบางอย่างกินเองค่ะ หรือมีต้นไม้บางอย่างที่เอาผลหรือใบของมันมากินได้ เลยปลอดภัยจากยาฆ่าแมลง เพราะปลูกแบบธรรมชาติค่ะ เช่น ใบตำลึง คะน้า ลูกหม่อน (มัลเบอร์รี่) พวกนี้ที่บ้านเราจะปลูกเองค่ะ
เมนูที่ทำให้หลานกิน ก็จะมีหอยแมลงภู่อบชีสโรยเมล็ดทานตะวัน อะโวคาโดบด บัตเตอร์นัตนึ่งกับไข่ โยเกิร์ตใส่ข้าวโอ๊ตและมัลเบอร์รี่ที่ปลูกเอง ควินัวขาวนึ่งกับบัตเตอร์นัต แซลมอนทอดกับมันฝรั่งบดและหน่อไม้ฝรั่ง ปลากะพงทอด แกงจืดแตงกวายัดไส้หมูสับวุ้นเส้น เห็ดรวมผัดไข่ แล้วก็น้ำสต๊อกผักที่ใส่หอมหัวใหญ่ ข้าวโพด แคร์รอท เบบี้กวางตุ้ง กะหล่ำปลี ฟักทอง มะเขือเทศ กับกระดูกหมูค่ะ อาหารของเด็กก็จะไม่ปรุงรสเลยค่ะ ใส่เกลือแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงพวกสารเคมีค่ะ
แล้วแม่ของหลานเค้าจะมีตัวช่วยเสริมสร้างไฟเบอร์ในอาหาร ด้วยการใส่พวกธัญพืชอบที่บดเป็นผง ๆ ที่เค้ามีขายแบบสำเร็จรูปเป็นขวด ๆ น่ะค่ะ ก็เอามาโรย ๆ ใส่ข้าว เด็กไม่ค่อยรู้สึกว่ามันแปลกแยกจากอาหารที่เขากินเท่าไหร่ เพราะพอคลุกรวมกันแล้ว ก็กลมกลืนไปกับข้าวค่ะ
หอยแมลงภู่อบชีสโรยเมล็ดทานตะวัน
ปลากะพงทอด
แซลมอนทอดกับมันฝรั่งบดและหน่อไม้ฝรั่ง
อะโวคาโดบด
แกงจืดแตงกวายัดไส้หมูสับวุ้นเส้น
บัตเตอร์นัตนึ่งกับไข่
โยเกิร์ตใส่ข้าวโอ๊ตและมัลเบอร์รี่ที่ปลูกเอง
ควินัวขาวนึ่งกับบัตเตอร์นัต
น้ำสต๊อกผักที่ใส่หอมหัวใหญ่ ข้าวโพด แคร์รอท เบบี้กวางตุ้ง กะหล่ำปลี ฟักทอง มะเขือเทศ กับกระดูกหมูค่ะ
นอกจากนี้บางทีก็มีให้กินโพรไบโอติกสำหรับเด็กเสริมเข้าไปด้วย ของบ้านเราใช้ยี่ห้อ ต้องใจ โพรบิโตะ (Tongjai Probito) ที่เป็นใยอาหารจากข้าวโพด มีไบเฟอร์สูง 85% แล้วก็มีจุลินทรีย์ Bacillus Coagulan ซึ่งเป็น Probiotics ในกลุ่ม Lactobacillus spp ที่ช่วยปรับสมดุลลำไส้ ช่วยผลิตเอนไซม์ย่อยอาหาร ผลิตสารเมตาบอลิซึม กับช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันค่ะ Bacillus Coagulan จะทนต่อความร้อนได้ดีกว่าจุลินทรีย์ตัวอื่นในท้องตลาดค่ะ (อย่างที่เรารู้กันดีว่าเจ้าพวกจุลินทรีย์มันตายง่ายค่ะ ถ้าโดนความร้อน) แล้วมันยังเป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ด้วยนะคะ (ในผู้ใหญ่ก็ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ และลดความเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะอาหารค่ะ)
ตัวนี้จะเหมาะกับเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไปนะคะ แต่ต้องปรับปริมาณการกินในแต่ละครั้งให้เหมาะกับวัยของเด็กค่ะ อย่างหลานเราจะอายุ 2 ขวบ 8 เดือนค่ะ ก็จะให้กินครั้งละครึ่งช้อนตวง (ในกระปุกจะมีช้อนตวงให้มา) กินวันละ 1-2 ครั้ง ตอนเช้า-เย็น ถ้าเป็นเด็กโตก็กิน 1-2 ช้อนได้ค่ะ
เวลากินกันแค่เอามาผสมกับน้ำประมาณ 150 มิลลิลิตร คนให้ละลายก็ดื่มได้เลยค่ะ รสชาติอ่อนมากแทบจะไม่รู้สึก อาจจะสัมผัสถึงรสนม ๆ ได้นิดหน่อย (อันนี้เราแอบลองชิมมา) หลังกินก็ควรกินน้ำตามสัก 1 - 2 แก้วค่ะ เพราะมันเป็นไฟเบอร์ อาจทำให้ลำไส้อุดตันได้
Tongjai Probito จะมี Prebiotics อยู่ 5 ชนิดค่ะ ตามที่ระบุไว้ข้างกระปุก คือ Con Fiber, Inulin, FOS (ฟรุคโต โอลิโกแซคคาไรด์), GOS (กาแลคโตโอลิโกแซคคาไรด์) และ XOS (ไซโลโอลิโกแซ็กคาไรด์) และเป็นการทำงานร่วมกันกับ Probiotics นะคะ
ที่เริ่มให้หลานกินตัวพรี-โพรไบโอติกส์ เพราะอ่านเจอมาจากพวกเว็บแพทย์ว่าถ้ากินในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะช่วยในเรื่องภูมิคุ้มกันได้ค่ะ
คุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูก แล้วก็ช่วยเรื่องขับถ่าย สำหรับเด็กบางคนที่ไม่ค่อยชอบกินผัก ก็ลองให้เค้ากินพวก พรี-โพรไบโอติกส์เสริมอาหารไปด้วยก็ได้ค่ะ
ลักษณะคล้ายนมผงนะคะ
น้ำจะใส ๆ ค่ะ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้