คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
กระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำวันที่ 17 ตุลาคม 2565 เวลา 13.00 น.
https://web.facebook.com/DMScNews/videos/1108564976688784/ (มีคลิป)
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคโควิด 19
ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
17 ตุลาคม 2565
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายสัปดาห์
ระหว่างวันที่ 9 - 15 ตุลาคม 2565
ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
จำนวน 2,234 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 319 ราย/วัน
ผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์)
จำนวน 53 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 7 ราย/วัน
---------------------
หายป่วยสะสม 2,463,846 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
เสียชีวิตสะสม 11,184 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02VSS3ejVRYiyhDUSEqMPpW8fgZjrXuYMeMnawnRi8GegWBpjBKHCtUYrjmEA4DZGel&id=100068069971811
กรมควบคุมโรค เผย !! เด็กปฐมวัย อายุ 6 เดือน - 4 ปี ฉีดวัคซีนโควิดพร้อมกับวัคซีนอื่นๆ วันเดียวกันได้
นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าการฉีดวัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ (Pfizer) ฝาสีแดง จะฉีดให้เด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือน - 4 ปี ซึ่งกำหนดให้ฉีดวัคซีน 0.2 ซีซี (3 ไมโครกรัม) จำนวน 3 เข็ม เข็มสองห่างจากเข็มแรก 1 เดือน และเข็มสามห่างเข็มสอง 2 เดือน หลังฉีดให้สังเกตอาการ 30 นาที และติดตามต่อจนครบ 1 เดือน โดยให้จัดจุดบริการแยกจากกลุ่มวัยอื่น เพื่อป้องกันความสับสนในการใช้วัคซีน และเด็กทุกคนควรเข้ารับวัคซีน โดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงหรือเสียชีวิต พร้อมทั้งได้มีการสื่อสารถึงเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และสาธารณสุขในเรื่องการบริหารจัดการวัคซีนไฟเซอร์สีแดง โดยให้ผ่านระบบสถานพยาบาล หรืออาจพิจารณาให้วัคซีนในศูนย์เด็กเล็กภายใต้กำกับของแพทย์ หรือตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานครเห็นสมควร เริ่มฉีดวัคซีนได้เมื่อมีความพร้อม โดยให้เป็นไปตามความสมัครใจของผู้ปกครองและเด็ก ไม่เสียค่าใช้จ่าย และการรับวัคซีนไม่เป็นเงื่อนไขในการไปโรงเรียน
โดยนายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า วัคซีนดังกล่าวสามารถให้พร้อมกับวัคซีนอื่นๆ ในวันเดียวกันได้ หรือห่างกันเท่าใดก็ได้ สำหรับข้อกังวลเรื่องผลข้างเคียง สหรัฐอเมริกามีการฉีดและติดตามล้านกว่าโดส พบว่ามีผลข้างเคียงน้อยกว่าเด็กโต ไม่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรงถึงเสียชีวิต ถือว่าปลอดภัยสำหรับเด็กเล็กและยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะ MIS-C จากการติดเชื้ออีกด้วย
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0375Lt3fF7iM2vorgiGLVzshEhmddMBVtECHd8CdRwPGtZgwERJ7QXkqQf2tczxSLml
สธ. ยกระดับการตรวจโควิดสนามบิน เฝ้าระวังผู้โดยสารที่มีอาการทางเดินหายใจ จากประเทศที่พบการระบาดสายพันธุ์ XBB
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เบื้องต้นยังไม่พบข้อมูลการติดเชื้อจากสายพันธุ์ XBB ในประเทศไทย โดยประเทศไทยได้ยกระดับการเฝ้าระวังที่สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินทุกแห่ง หากตรวจพบผู้โดยสารที่มีอาการจากระบบทางเดินหายใจที่เดินทางจากประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง และประเทศที่มีรายงานการระบาดของสายพันธุ์ XBB หากมีผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศ มีอาการป่วยจากระบบทางเดินหายใจที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลของรัฐ และเฝ้าระวังในพื้นที่ท่องเที่ยว โดยให้ทำการสุ่มเพื่อส่งตรวจหาสายพันธุ์ได้ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำหรับผู้ที่จะเดินไปต่างประเทศ ขอให้ไม่ประมาท โดยศึกษาคำแนะนำของประเทศที่จะเดินทางไป ป้องกันตนเองอยู่เสมอ โดยการสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในสถานที่แออัด เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล ซึ่งมาตรการดังกล่าว จะสามารถป้องกันโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจได้ และหากยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นขอให้รีบไปรับวัคซีน เพราะวัคซีนเป็นตัวช่วยที่ลดความรุนแรงของโรคได้
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02WSRXMatrMWLDTuu1Y6hz23KpbDgC5X29CHvjrmSRkq32MgV3ZK1HiUi48fL6hVhvl
ชีวิตวิถีใหม่ ห่างไกลจากโควิด-19
นับตั้งแต่เกิดโรคระบาดอย่างโควิด-19 ทั่วทั้งโลกจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันให้เรายังปลอดภัยจากโรคได้
ที่มา กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02LnqBMzvpHz6bDnWiuZ461huandwZSZAh5uKsqmL13cimPy6XfksUM7L5P1DKEHml
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุพบผู้ติดเชื้อโควิด 3 สายพันธุ์ย่อย XBB - BF.7 - BN.1 ในไทย โดย BA.5 ยังเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาด
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยจากการเฝ้าระวังสายพันธุ์โรคโควิด-19 พบผู้ติดเชื้อในไทย
● สายพันธุ์ XBB จำนวน 2 ราย เป็นหญิงชาวต่างชาติ อายุ 60 ปี มีประวัติเดินทางมาจากต่างประเทศ อีกรายเป็นหญิงไทย อายุ 49 ปี ทั้ง 2 รายหายเป็นปกติแล้ว
● สายพันธุ์ BF.7 จำนวน 2 ราย เป็นชายต่างชาติ อายุ 16 ปี ส่วนรายที่ 2 เป็นหญิงไทย อายุ 62 ปี เป็นบุคลากรทางการแพทย์ ทั้ง 2 รายอาศัยใน กทม. ไม่มีอาการรุนแรง
● สายพันธุ์ BN.1 จำนวน 3 ราย และพบเพิ่มเติมจำนวน 7 ราย แต่ยังอยู่ระหว่างนำเข้าเผยแพร่บนฐานข้อมูล GISAID ส่วนสายพันธุ์ BQ.1.1 ยังไม่พบรายงานในไทย ทั้งนี้ สายพันธุ์ BA.5 ยังคงเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในไทย
สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในไทย ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 2,234 ราย เฉลี่ยวันละ 319 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบ 371 ราย เสียชีวิต 53 รายในรอบสัปดาห์ ดูจากแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตลดลง สอดคล้องกับสถานการณ์โดยทั่วโลก ยกเว้นแถบยุโรป ที่เป็นช่วงฤดูหนาว จึงขอแนะประชาชนในช่วงที่ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาว หากมีอาการป่วยด้วยกลุ่มโรคทางเดินหายใจ เช่น มีไข้ มีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ ขอให้คัดกรองตนเองเบื้องต้นด้วยการตรวจ ATK ก่อน และให้ปฏิบัติตนตามมาตรการ รวมถึงการเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นตามระยะเวลาที่กรมควบคุมโรคกำหนด
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid09nwENZ8EDMBHBKC6mieTfby711UZh4SuAEZGY8dULkbx77Z31Pg7zUr98di4xeAml
พบผู้ป่วย ! 'โรคฝีดาษวานร รายที่ 11' ชายชาวไทย เดินทางกลับจากประเทศกาตาร์
นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ได้รับรายงานพบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรรายใหม่ เป็นชายชาวไทย อายุ 40 ปี ไปประกอบอาชีพให้บริการนวดที่ประเทศกาตาร์ โดยเริ่มป่วยเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2565 ด้วยอาการไข้ และมีผื่นที่บริเวณสะโพกมือแขน มีอาการป่วยตั้งแต่ก่อนเดินทางกลับไทย และในวันที่ 15 ตุลาคม 2565 เดินทางมาถึงประเทศไทย ได้เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งจังหวัดปทุมธานี แพทย์วินิจฉัยเบื้องต้นเข้าข่ายผู้ป่วยฝีดาษวานร จึงประสานส่งตัวมารักษาที่สถาบันบำราศนาดูร ผลทางห้องปฏิบัติการยืนยันพบเชื้อไวรัสฝีดาษวานร ถือเป็นผู้ป่วยยืนยันรายที่ 11 ของไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนโรคเพิ่มเติม
นายแพทย์ธเรศ กล่าวต่อว่า สถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 13 ต.ค. 65) พบผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษวานรยืนยัน จำนวน 72,198 ราย พบใน 109 ประเทศ โดยพื้นที่การแพร่ระบาด
ส่วนใหญ่พบอยู่ในแถบทวีปยุโรป ประเทศที่มีผู้ป่วยสูง 5 ลำดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 26,594 ราย บราซิล 8,461 ราย สเปน 7,239 ราย ฝรั่งเศส 4,043 ราย และสหราชอาณาจักร 3,654 ราย มีผู้เสียชีวิต 28 ราย จากประเทศไนจีเรีย 7 ราย กานา 4 ราย บราซิล 5 ราย สเปน 2 ราย แคเมอรูน 2 ราย สหรัฐอเมริกา 2 ราย เบลเยียม 1 ราย เอกวาดอร์ 1 ราย อินเดีย 1 ราย ซูดาน 1 ราย คิวบา 1 ราย และเช็กเกีย 1 ราย
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ป่วยยืนยันของไทยรักษาหายแล้ว 10 ราย อยู่ระหว่างการรักษาและติดตามอาการ 1 ราย คือ รายนี้ จากการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงของผู้ป่วยยืนยัน จนครบกำหนด 21 วันแล้ว รวมจำนวน 59 คน ไม่พบผู้ป่วยเพิ่มเติม และได้ตรวจหาเชื้อซ้ำ ผลตรวจไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ และอยู่ระหว่างการติดตามอาการผู้สัมผัส 10 ราย
ทั้งนี้ ขอความร่วมมือทุกโรงพยาบาลเตรียมพร้อมกรณีที่พบผู้สงสัยติดเชื้อหรือผู้มีอาการเข้าข่าย
ทำการเก็บตัวอย่างส่งตรวจยืนยัน รวมถึงห้องแยกกักกันโรคจนกว่าผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการจะออก เพื่อการป้องกันการแพร่ของเชื้อ และเน้นย้ำว่า ประชาชนสามารถป้องกันตนเองจากโรคฝีดาษวานรได้ โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสแนบชิดกับผู้ที่มีอาการไข้ มีผื่น ตุ่มน้ำ ตุ่มหนองบริเวณร่างกาย งดการมีเพศสัมพันธ์หรือสัมผัสใกล้ชิดคนแปลกหน้าหรือไม่รู้ประวัติมาก่อน สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ใกล้ชิดผู้อื่น หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น รับประทานอาหารปรุงสุกสะอาด เลี่ยงการไปสถานที่แออัดหรือเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดโรคฝีดาษวานร
ทั้งนี้ หากมีอาการสงสัย เช่น มีผื่นตามลำตัว เป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง ตุ่มตกสะเก็ด หลังจากมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองโต สามารถเข้ารับการตรวจเชื้อได้ที่โรงพยาบาลที่ใกล้บ้านท่านได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid04YZrVigLr6AK3hGetNLLJoehitzynCYdLkessdUugq9JjspAg8uc1MCvEGLE5273l
https://web.facebook.com/DMScNews/videos/1108564976688784/ (มีคลิป)
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคโควิด 19
ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
17 ตุลาคม 2565
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายสัปดาห์
ระหว่างวันที่ 9 - 15 ตุลาคม 2565
ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
จำนวน 2,234 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 319 ราย/วัน
ผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์)
จำนวน 53 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 7 ราย/วัน
---------------------
หายป่วยสะสม 2,463,846 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
เสียชีวิตสะสม 11,184 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02VSS3ejVRYiyhDUSEqMPpW8fgZjrXuYMeMnawnRi8GegWBpjBKHCtUYrjmEA4DZGel&id=100068069971811
กรมควบคุมโรค เผย !! เด็กปฐมวัย อายุ 6 เดือน - 4 ปี ฉีดวัคซีนโควิดพร้อมกับวัคซีนอื่นๆ วันเดียวกันได้
นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าการฉีดวัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ (Pfizer) ฝาสีแดง จะฉีดให้เด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือน - 4 ปี ซึ่งกำหนดให้ฉีดวัคซีน 0.2 ซีซี (3 ไมโครกรัม) จำนวน 3 เข็ม เข็มสองห่างจากเข็มแรก 1 เดือน และเข็มสามห่างเข็มสอง 2 เดือน หลังฉีดให้สังเกตอาการ 30 นาที และติดตามต่อจนครบ 1 เดือน โดยให้จัดจุดบริการแยกจากกลุ่มวัยอื่น เพื่อป้องกันความสับสนในการใช้วัคซีน และเด็กทุกคนควรเข้ารับวัคซีน โดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงหรือเสียชีวิต พร้อมทั้งได้มีการสื่อสารถึงเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และสาธารณสุขในเรื่องการบริหารจัดการวัคซีนไฟเซอร์สีแดง โดยให้ผ่านระบบสถานพยาบาล หรืออาจพิจารณาให้วัคซีนในศูนย์เด็กเล็กภายใต้กำกับของแพทย์ หรือตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานครเห็นสมควร เริ่มฉีดวัคซีนได้เมื่อมีความพร้อม โดยให้เป็นไปตามความสมัครใจของผู้ปกครองและเด็ก ไม่เสียค่าใช้จ่าย และการรับวัคซีนไม่เป็นเงื่อนไขในการไปโรงเรียน
โดยนายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า วัคซีนดังกล่าวสามารถให้พร้อมกับวัคซีนอื่นๆ ในวันเดียวกันได้ หรือห่างกันเท่าใดก็ได้ สำหรับข้อกังวลเรื่องผลข้างเคียง สหรัฐอเมริกามีการฉีดและติดตามล้านกว่าโดส พบว่ามีผลข้างเคียงน้อยกว่าเด็กโต ไม่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรงถึงเสียชีวิต ถือว่าปลอดภัยสำหรับเด็กเล็กและยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะ MIS-C จากการติดเชื้ออีกด้วย
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0375Lt3fF7iM2vorgiGLVzshEhmddMBVtECHd8CdRwPGtZgwERJ7QXkqQf2tczxSLml
สธ. ยกระดับการตรวจโควิดสนามบิน เฝ้าระวังผู้โดยสารที่มีอาการทางเดินหายใจ จากประเทศที่พบการระบาดสายพันธุ์ XBB
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เบื้องต้นยังไม่พบข้อมูลการติดเชื้อจากสายพันธุ์ XBB ในประเทศไทย โดยประเทศไทยได้ยกระดับการเฝ้าระวังที่สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินทุกแห่ง หากตรวจพบผู้โดยสารที่มีอาการจากระบบทางเดินหายใจที่เดินทางจากประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง และประเทศที่มีรายงานการระบาดของสายพันธุ์ XBB หากมีผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศ มีอาการป่วยจากระบบทางเดินหายใจที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลของรัฐ และเฝ้าระวังในพื้นที่ท่องเที่ยว โดยให้ทำการสุ่มเพื่อส่งตรวจหาสายพันธุ์ได้ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำหรับผู้ที่จะเดินไปต่างประเทศ ขอให้ไม่ประมาท โดยศึกษาคำแนะนำของประเทศที่จะเดินทางไป ป้องกันตนเองอยู่เสมอ โดยการสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในสถานที่แออัด เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล ซึ่งมาตรการดังกล่าว จะสามารถป้องกันโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจได้ และหากยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นขอให้รีบไปรับวัคซีน เพราะวัคซีนเป็นตัวช่วยที่ลดความรุนแรงของโรคได้
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02WSRXMatrMWLDTuu1Y6hz23KpbDgC5X29CHvjrmSRkq32MgV3ZK1HiUi48fL6hVhvl
ชีวิตวิถีใหม่ ห่างไกลจากโควิด-19
นับตั้งแต่เกิดโรคระบาดอย่างโควิด-19 ทั่วทั้งโลกจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันให้เรายังปลอดภัยจากโรคได้
ที่มา กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02LnqBMzvpHz6bDnWiuZ461huandwZSZAh5uKsqmL13cimPy6XfksUM7L5P1DKEHml
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุพบผู้ติดเชื้อโควิด 3 สายพันธุ์ย่อย XBB - BF.7 - BN.1 ในไทย โดย BA.5 ยังเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาด
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยจากการเฝ้าระวังสายพันธุ์โรคโควิด-19 พบผู้ติดเชื้อในไทย
● สายพันธุ์ XBB จำนวน 2 ราย เป็นหญิงชาวต่างชาติ อายุ 60 ปี มีประวัติเดินทางมาจากต่างประเทศ อีกรายเป็นหญิงไทย อายุ 49 ปี ทั้ง 2 รายหายเป็นปกติแล้ว
● สายพันธุ์ BF.7 จำนวน 2 ราย เป็นชายต่างชาติ อายุ 16 ปี ส่วนรายที่ 2 เป็นหญิงไทย อายุ 62 ปี เป็นบุคลากรทางการแพทย์ ทั้ง 2 รายอาศัยใน กทม. ไม่มีอาการรุนแรง
● สายพันธุ์ BN.1 จำนวน 3 ราย และพบเพิ่มเติมจำนวน 7 ราย แต่ยังอยู่ระหว่างนำเข้าเผยแพร่บนฐานข้อมูล GISAID ส่วนสายพันธุ์ BQ.1.1 ยังไม่พบรายงานในไทย ทั้งนี้ สายพันธุ์ BA.5 ยังคงเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในไทย
สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในไทย ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 2,234 ราย เฉลี่ยวันละ 319 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบ 371 ราย เสียชีวิต 53 รายในรอบสัปดาห์ ดูจากแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตลดลง สอดคล้องกับสถานการณ์โดยทั่วโลก ยกเว้นแถบยุโรป ที่เป็นช่วงฤดูหนาว จึงขอแนะประชาชนในช่วงที่ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาว หากมีอาการป่วยด้วยกลุ่มโรคทางเดินหายใจ เช่น มีไข้ มีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ ขอให้คัดกรองตนเองเบื้องต้นด้วยการตรวจ ATK ก่อน และให้ปฏิบัติตนตามมาตรการ รวมถึงการเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นตามระยะเวลาที่กรมควบคุมโรคกำหนด
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid09nwENZ8EDMBHBKC6mieTfby711UZh4SuAEZGY8dULkbx77Z31Pg7zUr98di4xeAml
พบผู้ป่วย ! 'โรคฝีดาษวานร รายที่ 11' ชายชาวไทย เดินทางกลับจากประเทศกาตาร์
นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ได้รับรายงานพบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรรายใหม่ เป็นชายชาวไทย อายุ 40 ปี ไปประกอบอาชีพให้บริการนวดที่ประเทศกาตาร์ โดยเริ่มป่วยเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2565 ด้วยอาการไข้ และมีผื่นที่บริเวณสะโพกมือแขน มีอาการป่วยตั้งแต่ก่อนเดินทางกลับไทย และในวันที่ 15 ตุลาคม 2565 เดินทางมาถึงประเทศไทย ได้เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งจังหวัดปทุมธานี แพทย์วินิจฉัยเบื้องต้นเข้าข่ายผู้ป่วยฝีดาษวานร จึงประสานส่งตัวมารักษาที่สถาบันบำราศนาดูร ผลทางห้องปฏิบัติการยืนยันพบเชื้อไวรัสฝีดาษวานร ถือเป็นผู้ป่วยยืนยันรายที่ 11 ของไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนโรคเพิ่มเติม
นายแพทย์ธเรศ กล่าวต่อว่า สถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 13 ต.ค. 65) พบผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษวานรยืนยัน จำนวน 72,198 ราย พบใน 109 ประเทศ โดยพื้นที่การแพร่ระบาด
ส่วนใหญ่พบอยู่ในแถบทวีปยุโรป ประเทศที่มีผู้ป่วยสูง 5 ลำดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 26,594 ราย บราซิล 8,461 ราย สเปน 7,239 ราย ฝรั่งเศส 4,043 ราย และสหราชอาณาจักร 3,654 ราย มีผู้เสียชีวิต 28 ราย จากประเทศไนจีเรีย 7 ราย กานา 4 ราย บราซิล 5 ราย สเปน 2 ราย แคเมอรูน 2 ราย สหรัฐอเมริกา 2 ราย เบลเยียม 1 ราย เอกวาดอร์ 1 ราย อินเดีย 1 ราย ซูดาน 1 ราย คิวบา 1 ราย และเช็กเกีย 1 ราย
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ป่วยยืนยันของไทยรักษาหายแล้ว 10 ราย อยู่ระหว่างการรักษาและติดตามอาการ 1 ราย คือ รายนี้ จากการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงของผู้ป่วยยืนยัน จนครบกำหนด 21 วันแล้ว รวมจำนวน 59 คน ไม่พบผู้ป่วยเพิ่มเติม และได้ตรวจหาเชื้อซ้ำ ผลตรวจไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ และอยู่ระหว่างการติดตามอาการผู้สัมผัส 10 ราย
ทั้งนี้ ขอความร่วมมือทุกโรงพยาบาลเตรียมพร้อมกรณีที่พบผู้สงสัยติดเชื้อหรือผู้มีอาการเข้าข่าย
ทำการเก็บตัวอย่างส่งตรวจยืนยัน รวมถึงห้องแยกกักกันโรคจนกว่าผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการจะออก เพื่อการป้องกันการแพร่ของเชื้อ และเน้นย้ำว่า ประชาชนสามารถป้องกันตนเองจากโรคฝีดาษวานรได้ โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสแนบชิดกับผู้ที่มีอาการไข้ มีผื่น ตุ่มน้ำ ตุ่มหนองบริเวณร่างกาย งดการมีเพศสัมพันธ์หรือสัมผัสใกล้ชิดคนแปลกหน้าหรือไม่รู้ประวัติมาก่อน สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ใกล้ชิดผู้อื่น หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น รับประทานอาหารปรุงสุกสะอาด เลี่ยงการไปสถานที่แออัดหรือเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดโรคฝีดาษวานร
ทั้งนี้ หากมีอาการสงสัย เช่น มีผื่นตามลำตัว เป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง ตุ่มตกสะเก็ด หลังจากมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองโต สามารถเข้ารับการตรวจเชื้อได้ที่โรงพยาบาลที่ใกล้บ้านท่านได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid04YZrVigLr6AK3hGetNLLJoehitzynCYdLkessdUugq9JjspAg8uc1MCvEGLE5273l
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭💛มาลาริน💛🇹🇭โควิดไทย7วัน มีผู้ป่วย 2,234 ราย เฉลี่ยวันละ 319 ราย เสียชีวิต 53 ราย/ไทยพบXBBแล้ว 2 ราย รักษาหายแล้ว
17 ต.ค. 2565 – กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย รอบสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 9 – 15 ตุลาคม 2565 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รักษาตัวในโรงพยาบาล 2,234 คน เฉลี่ยวันละ 319 คน สะสม 2,463,846 คน มีผู้ป่วยปอดอักเสบ จำนวน 371 คน ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ จำนวน 203 คน ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตรายใหม่ 53 คน เฉลี่ยวันละ 7 คน สะสม 11,184 คน ขณะที่การฉีดวัคซีนสะสม จำนวน 142,768,157 โดส โดยฉีดเพิ่มขึ้น 2,437 โดส.
https://www.thaipost.net/covid-19-news/243965/
ไทยพบโควิด XBB แล้ว 2 ราย หมอชี้หลบภูมิคุ้มกันเก่ง แต่ไม่รุนแรง
สธ.เผยไทยพบโควิดสายพันธุ์ XBB จำนวน 2 ราย รวมทั้งยังพบเชื้อ BF.7 อีก 2 รายเป็นชายต่างชาติ 16 ปี และหญิง 62 ปีเป็นบุคลากรทางการแพทย์ อาการไม่รุนแรง ด้าน"หมอสุกิจ"ชี้ไม่ต้องตื่นตระหนกแพร่เชื้อเร็วแต่อาการไม่รุนแรง มาตรการใส่หน้ากากอนามมัย ล้างมือและฉีดเข็มกระตุ้นยังป้องกันได้เหมือนเดิม
17 ตุลาคม 2565 ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 ว่า จากการเฝ้าระวังในประเทศไทยพบสายพันธุ์ XBB จำนวน 2 ราย รายแรกเป็นหญิงต่างชาติอายุ 60 ปี เดินทางมาจากฮ่องกง และมาตรวจในรพ.เอกชนแห่งหนึ่ง อาการไม่มาก มีไอ ขณะป่วยอาศัยโรงแรมแห่งหนึ่ง ส่วนรายที่ 2 เป็นคนไทยอายุ 49 ปี เดินทางมาจากสิงคโปร์ แต่ไม่ได้ไปไหน อยู่ในไทย มาตรวจจึงทำให้พบเชื้อ อาการไม่มากและหายเป็นปกติแล้ว
ส่วนสายพันธุ์ BF.7 เป็นสายพันธุ์ลูกหลานของ BA.5.2.1 มีความสามารถในการแพร่ระบาดน้อยกว่า XBB และ BQ.1.1 พบในจีน และแพร่ไปยังเบลเยียม เยอรมนี ฝรั่งเศส เดนมาร์ก และอังกฤษ รวมถึงพบในไทย 2 ราย เป็นชายต่างชาติอายุ 16 ปี อาศัยอยู่ในไทย อยู่ที่กรุงเทพฯ ส่วนอีกรายเป็นหญิงไทยอายุ 62 ปี บุคลากรทางการแพทย์ พบที่กรุงเทพฯ มีการรายงานข้อมูลช่วงเดือนก.ย.2565 โดยทั้งคู่ไม่ได้มีอาการรุนแรง ซึ่งทั่วโลกเจอเชื้อนี้ประมาณ 13,000 คน โดยพวกนี้เป็นเชื้อในตระกูลโอมิครอน คือ แพร่เร็วแต่ไม่รุนแรง
นอกจากนี้ ไทยยังเจอสายพันธุ์ BN.1 หรือ BA.2.75.5.1 จากฐานข้อมูลจีเสดทั่วโลกพบ 437 ราย โดยไทยมีรายงาน BN.1 บนจีเสดจำนวน 3 ราย พบเพิ่มเติมในไทย 7 ราย ส่วน BQ.1.1 ยังไม่พบในไทย แต่ที่น่าสนใจคือ ตัวนี้เพิ่มจำนวนค่อนข้างเร็ว ซึ่งอาจเป็นปัญหาในอนาคตได้ โดยทั่วโลกมีรายงานพันกว่าราย สำหรับสถานการณ์ Emerging variant ที่กังวลเรื่องการหลบภูมิคุ้มกัน จะพบว่า มี XBB รองลงมา BQ.1.1 และ BN.1 จึงต้องมีการเฝ้าระวังและติดตามต่อไป
นพ.สุกิจ กล่าวว่า วันนี้สายพันธุ์ที่น่าสนใจ คือ BA.2.75.2 มี 8 ราย BN.1 มี 10 ราย BF.7 มี 2 ราย และ XBB อีก 2 ราย แต่ส่วนใหญ่คนติดเชื้อยังเป็น BA.5 พันธุ์ย่อยๆมีบ้าง แต่ขอย้ำว่า ประชาชนอย่าเพิ่งตกใจ เพราะตระกูลโอมิครอน แม้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นแต่ไม่รุนแรง ซึ่งหากมีอาการก็ขอให้ตรวจหาเชื้อ จะได้ลดการแพร่เชื้อ เพราะหลักการหากลดการแพร่เชื้อ ก็ลดการกลายพันธุ์ได้ ดังนั้น มาตรการที่ใช้อยู่อย่างการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อยๆ และการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นยังเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะกลุ่ม 608 และในกรณีที่ฉีดเข็มสุดท้ายเกิน 4-6 เดือนขอให้มาฉีดกระตุ้น
https://www.naewna.com/local/686964
ติดตามข่าวโควิดวันนี้นะคะ...