หน่วยงานสาธารณสุขสหรัฐฯ กำลังจับตาการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ JN.1 ที่ว่ากันว่ามันกำลังจะกลายเป็นโควิดสายพันธุ์หลักตัวใหม่ภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ 19 ธ.ค. 2566 ว่า ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) กำลังจับตาไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ชื่อว่า JN.1 โดยประเมินว่าการติดเชื้อโควิดรายใหม่ในประเทศกว่า 20% เกิดจากเชื้อดังกล่าว และมันกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งผู้ป่วยโควิดกว่า 1 ใน 3 ติดเชื้อตัวนี้
JN.1 ถือเป็นหลานของโควิดสายพันธุ์ BA.2.86 ที่ได้รับความสนใจไปทั่วโลกเมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา เนื่องจากมีการกลายพันธุ์ที่โปรตีนหนามถึง 30 แห่ง จนนักวิทยาศาสตร์กลัวว่า มันจะกลายพันธุ์มากจนหลบการป้องกันจากวัคซีนและภูมิคุ้มกันของร่างกาย และอาจนำไปสู่การระบาดครั้งใหญ่เหมือนกับที่เชื้อโอมิครอนเคยทำในปี 2564
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวไม่เกิดขึ้น แต่เชื้อ BA.2.86 ก็ยังคงวนเวียนอยู่จนถึงทุกวันนี้ โดยเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ในบางประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ ซึ่งผลการศึกษาบางฉบับชี้ว่า มันไม่ระบาดหนักอย่างที่กลัวเพราะมันอาจสูญเสียความสามารถในการติดต่อกับเซลล์ของมนุษย์ไปบ้างแล้ว
BA.2.86 กลายพันธุ์อีก 2 ครั้งจนกลายไป JN.1 โดยมีความเปลี่ยนแปลงที่โปรตีนหนามเพียง 1 ตำแหน่งจากบรรพบุรุษของมัน แต่ดูเหมือนจะมากพอทำให้มันกลายเป็นเชื้อที่แพร่กระจายเร็วกว่าเดิม
CDC ประเมินว่า ความชุกของโรค (prevalence) ของเชื้อ JN.1 ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวระหว่างช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนธันวาคม โดยมีปัจจัยเสริมจากการเดินทางในช่วงหยุดยาววันขอบคุณพระเจ้า และภูมิคุ้มกันที่เริ่มเจือจางลง เนื่องจากมีชาวอเมริกันไปฉีดวัคซีนโควิดรอบล่าสุดเพียง 18% เท่านั้น
นักวิทยาศาสตร์ที่คอยติดตามโควิดสายพันธุ์ใหม่คาดว่า JN.1 จะกลายเป็นเชื้อโควิดสายพันธุ์หลักตัวต่อไปของโลก “มันชัดเจนแล้วว่า เชื้อตัวนี้กำลังแข่งกับสายพันธุ์ XBB ที่มีอยู่แล้วอย่างดุเดือด และดูเหมือนว่ามันกำลังอยู่บนเส้นทางที่จะกลายเป็นเชื้อสายพันธุ์หลักตัวต่อไปของโลก” ดร. ที. ไรอัน เกรกอรี จากมหาวิทยาลัย กวัลฟ์ (Guelph) ในแคนาดา กล่าว
ขณะเดียวกัน ผลการศึกษาโดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและในจีนชี้ว่า ความสามารถที่แอนติบอดีของเราจะต่อต้านไวรัสสายพันธุ์ย่อยตัวนี้ ลดลงราว 2 เท่า ซึ่งถึงแม้จะถือว่าไม่มาก แต่ก็ทำให้มีโอกาสที่มันจะส่งผลให้เกิดระลอกการระบาดใหม่
หลายประเทศในยุโรป รวมถึง เดนมาร์ก, สเปน, เบลเยียม, ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ พบเห็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ JN.1 พร้อมกับจำนวนผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น ไวรัสชนิดนี้ยังเติบโตอย่างรวดเร็วในออสเตรเลีย, ทวีปเอเชีย และแคนาดาด้วย
แต่ผลการศึกษาล่าสุดจากห้องปฏิบัติการของ ดร. เดวิด โฮ ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ก็มีข่าวดี เนื่องจากพวกเขาพบว่า วัคซีนโควิดตัวล่าสุด ที่ออกแบบมาเพื่อรับมือไวรัสโควิด-19 ตระกูล XBB ก็มอบการป้องกันที่ดีเมื่อเผชิญกับโควิดสายพันธุ์ BA.2.86 และสายพันธุ์ย่อยของมัน ซึ่งรวมถึง JN.1 ด้วย
จับตา โควิดพันธุ์ใหม่ JN.1 แพร่เร็วในสหรัฐฯ-ยุโรป หลบภูมิคุ้มกันมากขึ้น
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ 19 ธ.ค. 2566 ว่า ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) กำลังจับตาไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ชื่อว่า JN.1 โดยประเมินว่าการติดเชื้อโควิดรายใหม่ในประเทศกว่า 20% เกิดจากเชื้อดังกล่าว และมันกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งผู้ป่วยโควิดกว่า 1 ใน 3 ติดเชื้อตัวนี้
JN.1 ถือเป็นหลานของโควิดสายพันธุ์ BA.2.86 ที่ได้รับความสนใจไปทั่วโลกเมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา เนื่องจากมีการกลายพันธุ์ที่โปรตีนหนามถึง 30 แห่ง จนนักวิทยาศาสตร์กลัวว่า มันจะกลายพันธุ์มากจนหลบการป้องกันจากวัคซีนและภูมิคุ้มกันของร่างกาย และอาจนำไปสู่การระบาดครั้งใหญ่เหมือนกับที่เชื้อโอมิครอนเคยทำในปี 2564
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวไม่เกิดขึ้น แต่เชื้อ BA.2.86 ก็ยังคงวนเวียนอยู่จนถึงทุกวันนี้ โดยเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ในบางประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ ซึ่งผลการศึกษาบางฉบับชี้ว่า มันไม่ระบาดหนักอย่างที่กลัวเพราะมันอาจสูญเสียความสามารถในการติดต่อกับเซลล์ของมนุษย์ไปบ้างแล้ว
BA.2.86 กลายพันธุ์อีก 2 ครั้งจนกลายไป JN.1 โดยมีความเปลี่ยนแปลงที่โปรตีนหนามเพียง 1 ตำแหน่งจากบรรพบุรุษของมัน แต่ดูเหมือนจะมากพอทำให้มันกลายเป็นเชื้อที่แพร่กระจายเร็วกว่าเดิม
CDC ประเมินว่า ความชุกของโรค (prevalence) ของเชื้อ JN.1 ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวระหว่างช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนธันวาคม โดยมีปัจจัยเสริมจากการเดินทางในช่วงหยุดยาววันขอบคุณพระเจ้า และภูมิคุ้มกันที่เริ่มเจือจางลง เนื่องจากมีชาวอเมริกันไปฉีดวัคซีนโควิดรอบล่าสุดเพียง 18% เท่านั้น
นักวิทยาศาสตร์ที่คอยติดตามโควิดสายพันธุ์ใหม่คาดว่า JN.1 จะกลายเป็นเชื้อโควิดสายพันธุ์หลักตัวต่อไปของโลก “มันชัดเจนแล้วว่า เชื้อตัวนี้กำลังแข่งกับสายพันธุ์ XBB ที่มีอยู่แล้วอย่างดุเดือด และดูเหมือนว่ามันกำลังอยู่บนเส้นทางที่จะกลายเป็นเชื้อสายพันธุ์หลักตัวต่อไปของโลก” ดร. ที. ไรอัน เกรกอรี จากมหาวิทยาลัย กวัลฟ์ (Guelph) ในแคนาดา กล่าว
ขณะเดียวกัน ผลการศึกษาโดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและในจีนชี้ว่า ความสามารถที่แอนติบอดีของเราจะต่อต้านไวรัสสายพันธุ์ย่อยตัวนี้ ลดลงราว 2 เท่า ซึ่งถึงแม้จะถือว่าไม่มาก แต่ก็ทำให้มีโอกาสที่มันจะส่งผลให้เกิดระลอกการระบาดใหม่
หลายประเทศในยุโรป รวมถึง เดนมาร์ก, สเปน, เบลเยียม, ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ พบเห็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ JN.1 พร้อมกับจำนวนผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น ไวรัสชนิดนี้ยังเติบโตอย่างรวดเร็วในออสเตรเลีย, ทวีปเอเชีย และแคนาดาด้วย
แต่ผลการศึกษาล่าสุดจากห้องปฏิบัติการของ ดร. เดวิด โฮ ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ก็มีข่าวดี เนื่องจากพวกเขาพบว่า วัคซีนโควิดตัวล่าสุด ที่ออกแบบมาเพื่อรับมือไวรัสโควิด-19 ตระกูล XBB ก็มอบการป้องกันที่ดีเมื่อเผชิญกับโควิดสายพันธุ์ BA.2.86 และสายพันธุ์ย่อยของมัน ซึ่งรวมถึง JN.1 ด้วย