🇹🇭💚มาลาริน💚🇹🇭ไทยพบเชื้อโควิดพันธุ์ใหม่ BA.2.3.20 แล้ว/จ่อทำน้ำยาตรวจเฉพาะ "โควิด BQ" หลังพบเบียด BA.5 ใน ตปท.

ไทยพบเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ BA.2.3.20 แล้ว 2 ราย ไม่มีประวัติเดินทางไปตปท.ทั้งคู่
 
สธ. พบผู้ติดเชื้อ BA.2.3.20 ที่เพิ่งเข้ามาใหม่และพบการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งแล้ว 2 ราย ทั้งคู่ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ ด้านองค์การอนามัยโลก สั่งไทยให้จับตาการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์นี้


เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 2 พ.ย. 2565 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวประเด็น “อัปเดตสถานการณ์การเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 สายพันธุ์ที่เฝ้าติดตาม” โดย นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และดร.พิไลลักษณ์ อัคคไพบูลย์ โอกาดะ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เชี่ยวชาญ

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ ในช่วงฤดูหนาวนี้ยังมีความจำเป็น ส่วนสถานการณ์โควิดในประเทศไทย ยังอยู่ในตระกูลโอมิครอน และการติดเชื้อส่วนใหญ่ยังเป็น BA.5 เช่นเดียวกับทั่วโลก แต่ทั่วโลกก็พบว่ามีสายพันธุ์บางตัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น XBB และ BA.4.6 หรือ BQ.1 ส่วนแนวโน้มสถาการณ์ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา พบว่ามีแนวโน้ม สายพันธุ์ BQ.1 หรือ BQ.1.1 จะเป็นสายพันธุ์หลักแทน BA.5 แต่ก็ยังไม่พบหลักฐานเช่นเดียวกันว่าสายพันธุ์ BQ.1 หรือ BQ.1.1 มีความรุนแรงกว่า BA.4 หรือ BA.5 พร้อมยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่พบการกลายพันธุ์เป็นตัวใหม่ เพราะยังเป็นหลายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์ที่มีการระบาดก่อนหน้านี้ เช่น เดลตา อัลฟา แกมมา


 
ส่วนประเทศไทย พบมีผู้ติดเชื้อ BA.2.3.20 ที่เพิ่งเข้ามาใหม่และพบการกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง ซึ่งมีจำนวน 2 ราย ขณะที่อาการเหมือนโควิดทั่วๆ ไป ส่วนประวัติพบว่าไม่ได้เดินทางมาจากต่างประเทศทั้งคู่ อาศัยในประเทศ และขณะนี้ทั้งคู่หายดีแล้ว โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ให้ไทยจับตาการกลายพันธุ์ชนิดนี้ ทั้งนี้ในอนาคตทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะมีการแยกตรวจสายพันธุ์ BQ แยกออกมาเพิ่มเติมด้วย ขณะที่สายพันธุ์ BA.4.6 ที่น่าจับตา พบในไทยจำนวน 3 รายแล้ว และ XBB.X ที่มาจากประเทศสิงคโปร์ พบแล้ว 5 ราย

ทั้งนี้ นพ.ศุภกิจ ยืนยันว่าการกลายพันธุ์เป็นเรื่องปกติของไวรัส บางตัวอาจไม่มีปัญหาอะไร แต่บางตัวหากมีอำนาจก็จะไปกดตัวเลขเชื้อตัวอื่นต่อไป โดยทั้งหมดยังไม่มีสัญญาณของความรุนแรง และมีแนวโน้มรุนแรงน้อยลง ประกอบกับคนทั้งโลกมีภูมิคุ้มกัน พร้อมขอบคุณประชาชนคนไทยที่ยังสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือ เชื่อว่าจะผ่านพ้นหน้าหนาวนี้ไปด้วยดี โดยทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะทำการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นเพื่อให้ประชาชนสบายใจต่อไป

https://www.thairath.co.th/news/politic/2542355

จ่อทำน้ำยาตรวจเฉพาะ "โควิด BQ" หลังพบเบียด BA.5 ใน ตปท. ไทยเจอพันธุ์ย่อยเพียบ


กรมวิทย์เตรียมทำน้ำยาเฉพาะตรวจ "โควิด" สายพันธุ์ BQ โดยเฉพาะ หลังพบแพร่มากขึ้นในยุโรปและอเมริกา จนเบียด BA.5 ไทยพบรายที่ 2 เป็นชายไทยกลับจากอิตาลี ส่วน BA.4.6 พบภูมิคุ้มกันทำลายเชื้อน้อยลงครึ่งหนึ่งจาก BA.1-BA.5 ไทยพบรายที่ 3 เจอ BA.2.3.20 ใหม่ 2 ราย และ XBB เจอเพิ่มอีก 3 ราย รวมเป็น 5 ราย ย้ำทั้งหมดยังเป็นตะกูลโอมิครอน

เมื่อวันที่ 2 พ.ย.  นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 กลายพันธุ์ว่า ขณะนี้เราเปิดประเทศกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ฤดูหนาวนี้อาจมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น การใส่หน้ากาก ล้างมือ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดยังมีความสำคัญในการช่วยลดการติดเชื้อ สำหรับการกลายพันธุ์ของโควิด ปัจจุบันมีเยอะมากแตกแขนงออกไป มีลูกหลานแต่ละสายเยอะมาก แต่ข้อสรุปคือ ยังเป็นตระกูลหรือลูกหลานของโอมิครอนอยู่ ยังไม่มีสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา ภาพใหญ่ทั่วโลกจากฐานข้อมูลของ GISAID ยังคงเป็น BA.5 แต่มีการกลายพันธุ์ย่อยลงไปของแต่ละสายพันธุ์ บางตัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น XBB , BA.4.6 และ BQ.1 ซึ่งประเทศไทยก็จะเอามาดูว่าตัวไหนบ้างที่เราต้องให้ความสำคัญ เพราะมีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นบางพื้นที่ อย่างไรก็ตาม แต่ละพื้นที่ของโลกจะมีการแพร่ระบาดต่างกัน เช่น แถบนี้เป็น XBB พอยุโรป อเมริกา พบ BQ.1 หรือ BA.4.6 มากขึ้น เป็นต้น

"จากสถานการณ์ในยุโรปและอเมริกาพบว่า BA.4 BA.5 ถูกเบียดจาก BQ.1 BQ.1.1 มีแนวโน้มจะมาแทนที่ ซึ่งอาจทำใหไภาพรวมของโลกเปลี่ยนไปด้วย ถ้ามีการเดินทางไปพื้นที่อื่น เช่น ไทย เราก็ต้องเตรียมว่า BQ.1 จะเพิ่มในไทยมากน้อยแค่ไหน แต่เรายังไม่เห็นสัญญาณและหลักฐานยังไม่พอ ว่ามีอาการรุนแรงมากกว่า BA.5 และที่มีข้อมูลถึงปัจจุบันคาดว่าไม่น่าจะรุนแรงแตกต่างกัน" นพ.ศุภกิจกล่าว

นพ.ศุภกิจกล่าวว่า ทุกวันนี้สายพันธุ์ที่น่าห่วงกังวล (VOC) ยังมีจำนวนเท่าเดิม คือ อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา และโอมิครอน ส่วนที่มีการบอกว่าน่าจะมีสายพันธุ์ใหม่แล้วยังไม่มีการประกาศ เพราะสายพันธุ์ที่น่าห่วงกังวลให้นับรวมถึงลูกหลานของมันด้วย อย่างเดลตาที่มีกลายพันธุ์มากแล้วบอกว่าน่าจะเป็นตัวใหม่หรือตัวพาย เป็นสายพันธุ์น่าห่วงกังวลใหม่ ก็ไม่ใช่ เพราะถูกจัดชั้นเป็น AY.103 ยังเป็นลูกหลานเดลตา ในGISAID ก็ยังพบแค่รายเดียว เราสืบสาวต้นตอกลับไปได้ ถ้าไม่ได้แปลกประหลากจนหาตัวไม่เจอว่ามาจากไหน ยังให้นับเป็นสายพันธุ์ที่มีมาแต่ก่อน

นพ.ศุภกิจกล่าวว่า ส่วนสายพันธุ์ BA.4.6 ที่เฝ้าระวัง เนื่องจากเมื่อเทียบกับ BA.1 BA.2 BA.4 และ BA.5 พบว่า ภูมิคุ้มกันจากคนรับวัคซีนหรือติดเชื้อมาก่อน ลบล้างเชื้อหรือฆ่าเชื้อ BA.4.6 ได้น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง แปลว่าวัคซีนหรือเคยติดเชื้อมาจะได้ผลต่อตัวนี้น้อยลงไปครึ่งหนึ่ง , ส่วน BA.2.3.20 เราเพิ่งพบในไทยรายแรกๆ แต่พบที่อื่นในโลกมาก่อนแล้ว ซึ่งเป็นตัวหนึ่งที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้เราจับตาดู โดยสายพันธุ์ย่อยที่ WHO ให้ติดตาม ไทยเราพบและรายงาน GISAID แล้ว ได้แก่ BF.5 พบ 6 ราย , BF.7 พบ 2 ราย , BQ.1 พบ 2 ราย , BE.1 พบ 5 ราย , BE.1.1 พบ 2 ราย , BN.1 พบ 9 ราย , BA.4.6 พบ 3 ราย , XBB พบ 5 ราย และ BA.2.3.20 พบ 2 ราย

สำหรับสายพันธุ์ BA.4.6 ที่เราพบเพิ่มเติมเป็นรายที่ 3 คือ ชายไทยอายุ 59 ปี ติดเตียง ญาติไม่มีใครติดเชื้อจากผู้ป่วย แสดงว่าอาจไม่ได้แพร่เร็วหรือง่าย ครบเวลากักตัวอาการสบายดี ส่วน BA.2.3.20 ที่เราเพิ่งพบใหม่ 2 ราย รายแรกเป็นชายสัญชาติจีนอายุ 49 ปี มีอาการเหมือนโควิดทั่วไป คือ ไอ เจ็บคอ ไม่ได้มาจากต่างประเทศ ให้ประวัติว่าอยู่ในไทยมาแล้วสักพัก หลังครบกักตัวหายดี ไม่มีปัญหา อีกรายเป็นเด็กหญิงไทยอายุ 10 ปี ครบกักตัวสบายดีเช่นกัน ขณะที่ สายพันธุ์ BQ.1 ที่พบเพิ่มเป็นรายที่ 2 ของไทย เป็นชายไทย เดินทางกลับจากอิตาลี ครบกักตัวสบายดี และ สายพันธุ์ XBB พบเพิ่มอีก 3 ราย ได้แก่ หญิงชาวสิงคโปร์อายุ 76 ปี เด็กหญิงไทยอายุ 10 ปี และหญิงไทยอายุ 44 ปี ทุกรายอาการไม่มาก สบายดี หายกลับบ้านได้ ซึ่ง XBB มีรายงานเพิ่มในภูมิภาคนี้ และเริ่มมีลูกหลานคือ XBB.1 รายงานทั่วโลก 772 ราย

"ไทยยังมีการตรวจตัวอย่างแบบเร็วทุกสัปดาห์ ซึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาตรวจ 143 ราย พบว่า เจอ BA.2.75 ถึง 10 รายในบางพื้นที่ ซึ่งเดิมบางสัปดาห์เราเจอ 3-5 ราย ถือว่าเพิ่มขึ้น จะต้องติดตามเฝ้าระวังต่อไป โดยอนาคตเราจะจับตาดู BQ.1 ที่เพิ่มจำนวนเร็ว เราจะเพิ่มน้ำยาตรวจจำเพาะต่อ BQ ทั้งหลายด้วย ว่าจะเพิ่มขึ้นเหมือนยุโรปและอเมริกาหรือไม่" นพ.ศุภกิจกล่าว

https://mgronline.com/qol/detail/9650000104627

ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ....
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
กระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 เวลา 11.00 น.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
https://fb.watch/gyBE8gYRl6/ (มึคลิป)
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคโควิด 19
ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
2 พฤศจิกายน 2565


สรุปการให้บริการวัคซีนโควิด-19 ประจำวันที่ 2 พ.ย. 65
https://web.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid02kmQsFd76x2sMBtPRXej5ddGiMXFLDzsJ49y2UmQSy4kX7QwYSbYFJqhPwxeJZX31l


สธ. เร่งฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยง 608 และเด็กเล็ก ตั้งเป้าไม่น้อยกว่า 2 ล้านโดส ภายใน ธ.ค. นี้
ย้ำ !! ภูมิคุ้มกันจะลดลงตามระยะเวลาวัคซีนลดป่วยหนักและเสียชีวิตได้

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์โควิด 19 มีแนวโน้มดีขึ้น ผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้ป่วยอาการหนักใส่ท่อช่วยหายใจ รวมถึงผู้เสียชีวิต ค่อยๆ ลดลง ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานเกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนและบางส่วนติดเชื้อตามธรรมชาติ โดยข้อมูลวันที่ 28 ตุลาคม 2565 มีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 143.6 ล้านโดส มีผู้ที่ฉีดครบ 2 เข็ม 53.9 ล้านราย คิดเป็น 77.5 % และฉีดเข็มที่ 3 ขึ้นไป 32.3 ล้านราย คิดเป็น 46.5% อย่างไรก็ตาม ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่ม 608 ที่ได้รับวัคซีนเข็มสุดท้ายเกิน 3-4 เดือนแล้ว จำเป็นต้องมาฉีดเข็มกระตุ้น เพราะเมื่อฉีดวัคซีนไประยะหนึ่งภูมิคุ้มกันจะลดลงตามธรรมชาติการฉีดเข็มกระตุ้นจะช่วยเพิ่มภูมิต้านทานซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ลดการป่วยอาการหนักและเสียชีวิตได้ รวมถึงยังจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ด้วย โดยสามารถเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน สำหรับกลุ่มเด็กเล็กอายุ 6 เดือน ถึง 4 ปี ที่เพิ่งเริ่มมีการฉีดวัคซีนโควิด 19 ถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่ต้องเร่งรัดการฉีด เนื่องจากมีโอกาสติดเชื้อสูงจากคนในครอบครัวที่ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน โดยช่วงที่มีการระบาดของโอมิครอนที่ผ่านมา เด็กเล็กมีอัตราการป่วยตายสูงกว่าเด็กโตถึง 3 เท่า และในช่วงปลายปีนี้ต่อเนื่องถึงต้นปีหน้า คาดการณ์ว่าอาจจะมีการระบาดในต่างประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มักเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ประกอบกับขณะนี้ประเทศไทยได้เปิดรับนักท่องเที่ยวตามปกติแล้ว ดังนั้นจึงขอให้พ่อแม่ผู้ปกครองเร่งนำบุตรหลานมารับวัคซีนโควิด 19 เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและอาการหนักจนเสียชีวิต

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0Hxb7jTquBU9vHfj8ZhtQPS39A7Q19C2akCkHqH4mbM6cvnmNs6owwvsiFPi4Xh2Kl


กทม. ชวนผู้ปกครองนำเด็ก อายุ 6 เดือน - 4 ปี
ฉีดวัคซีนโควิดเสริมภูมิคุ้มกันลดป่วยรุนแรง และลดเสี่ยง MIS-C จากการติดเชื้อ

รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมศูนย์เฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 8/2565 กล่าวว่า สำหรับภาพรวมการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยเฉพาะในเด็กเล็กซึ่งพบว่ายังได้รับวัคซีนจำนวนน้อย ซึ่งวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กอายุ 6 เดือน- 4 ปี จะช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้เด็กปฐมวัยกลุ่มนี้มีความปลอดภัยจากอาการป่วยรุนแรง และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะ MIS-C จากการติดเชื้อด้วย นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนสำหรับเด็กอายุ 5-11 ปี และวัคซีนสำหรับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ซึ่ง กทม.ยังมีจำนวนวัคซีนเพียงพอให้บริการ ที่ประชุมจึงมอบหมายให้สำนักงานเขตเชิญชวนประชาชนนำบุตรหลานไปรับวัคซีนตามความสมัครใจ เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในครอบครัว

ที่มา : กรุงเทพมหานคร
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0fvdi6YwbhmoLuKrfs5Acq3DijWwenKV6CsWKfBzBcXQdM92AnzZmn4NvTTjYC7Uhl


สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แนะผู้ปกครองนำเด็กฉีดวัคซีนป้องกันโควิด

กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แนะผู้ปกครองควรให้บุตรหลาน โดยเฉพาะ เด็กเล็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 4 ปี ควรได้รับฉีดวัคซีนป้องกันโควิด เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรคที่อาจเกิดขึ้น

นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า แม้ว่าสถานการณ์โควิดในปัจจุบันมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องและประชาชนส่วนใหญ่เริ่มใช้ชีวิตตามปกติมากขึ้น อีกทั้งเป็นโรคประจำถิ่น แต่การป้องกันตนเองจากโควิดยังคงต้องปฏิบัติต่อไป โดยเฉพาะความปลอดภัยของเด็กเล็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 4 ปี ควรได้รับวัคซีนป้องกันโควิด (ฝาสีแดง) จำนวน 3 เข็ม ควรฉีดเข็มแรกและเข็มสองห่างกัน 1 เดือนและเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มสอง 2 เดือน และผู้ปกครองสามารถให้เด็กฉีดพร้อมกับวัคซีนป้องกันโรคอื่นๆได้ จะช่วยลดความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมถึงอาจอาจพบภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ ปอดอักเสบ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยเด็กเล็ก และเด็กที่มีโรคประจำตัว จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า เมื่อเปรียบเทียบความรุนแรงของโรคโควิด-19 ระหว่างเด็กเล็ก และเด็กโต พบว่า เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มีอัตราการเกิดปอดอักเสบรุนแรง สูงกว่ากลุ่มเด็กอายุ 5 – 14 ปี ถึง 4 เท่า และพบอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าถึง 3 เท่า

นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวเพิ่มเติมว่า จะเห็นได้ว่าวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มีความสำคัญในเด็ก เนื่องจากโรคโควิด-19 ก่อให้ความรุนแรงในเด็ก โดยเฉพาะกับกลุ่มเด็กเล็ก และวัคซีนมีประสิทธิภาพดีในการป้องกันโรคโควิด-19 ที่รุนแรงได้ดี และวัคซีนมีความปลอดภัยสูง ซึ่งนอกจากการได้รับวัคซีนป้องกันโควิดแล้ว ผู้ปกครองควรป้องกันตนเองและบุตรหลานจากการติดเชื้อโควิดด้วยการสวมหน้ากากอนามัย การหลีกเลี่ยงไปสถานที่แออัด การล้างมืออย่างสม่ำเสมอ การรักษาระยะห่าง แต่หากติดเชื้อโควิดขอให้สังเกตุอาการอย่างใกล้ชิดและหากมีอาการที่รุนแรง เช่น ไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียสต่อเนื่องมากกว่า 1 วัน ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ขอเชิญผู้ปกครองทุกท่านนำบุตรหลานตั้งแต่อายุ 6 เดือนจนถึง 18 ปี รับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ทุกวันศุกร์ (ที่ไม่ตรงกับวันหยุดนักขัตฤกษ์) ด้วยการลงทะเบียนผ่าน QR Code ทาง Website : www.childrenhospital.go.th และ Facebook Fanpage : สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0A2VAYPWJ7z9ozntKUi5gp78dHEYpufDWz15iwXQ4Tayh9Agpzuy7e7uVe3AJ2KaZl&id=100069182200543


วัคซีนไฟเซอร์ ที่ศูนย์ฉีดวัคซีนกระทรวงสาธารณสุข
ทุกวันอังคารที่ 2 และ 4 ของเดือน
https://web.facebook.com/fanmoph/posts/pfbid0EPXUVyE79oNMZEFJtaxJvyjub4ev3ZvVehGjZQC7GHiHeNXdpEkzk1BGTTuhNYFil
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่