กลุ่มผู้เสียหายขอคุ้มครองพยาน หลังถูกนายพลข่มขู่ กรณีรู้ความลับจ่าคลั่งกราดยิงโคราช
https://siamrath.co.th/n/391537
วันนี้ (17 ต.ค.) เวลา 10.30 น. ที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ทนาย
ไพศาล เรืองฤทธิ์ พา น.ส.
ก้อย และ น.ส.เบิร์ด (นามสมมติ) ในฐานะผู้เสียหายที่เป็นผู้ประกอบการสร้างบ้านพักขายให้กับกำลังพลกองทัพบก เดินทางเข้าพบ ว่าที่ ร.ต.
ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการ รมว.ยุติธรรม เพื่อยื่นขอคุ้มครองพยาน หลังถูกทหารนายหนึ่งของกองทัพบกข่มขู่คุกคามเพราะรู้ความลับ มีหลักฐานสำคัญ เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินสวัสดิการกองทัพบกที่ไม่เป็นธรรม และเป็นชนวนเหตุจ่าคลั่งกราดยิงที่โคราช
ทนายไพศาล กล่าวว่า วันนี้พาผู้เสียหายมาขอคุ้มครองพยาน หลังถูกนายทหารข่มขู่ถึงชีวิตเพราะเกี่ยวข้องกับทหารระดับนายพล โดยกำลังพลซึ่งเป็นผู้เสียหายหลายรายได้กู้ยืมเงินจากสวัสดิการทหารบก ซึ่งทางกรมฯ อ้างว่า จะต้องหักค่าธรรมเนียมกองทัพบก 5% ยกตัวอย่างเช่น บ้านราคา 1 ล้านบาท กำลังพลจะต้องกู้สวัสดิการ วงเงิน 1,500,000 บาท และจะถูกหัก 5% คือ 75,000 บาท เป็นค่าธรรมเนียมกองทัพบก โดยกำลังพล (ผู้กู้) จะไม่ทราบว่ามีการหักเงินตรงส่วนนี้ไว้ นอกจากนี้ ยังมีการหักค่าเงินทอนส่วนต่างอีกประมาณ 4 แสนบาท ซึ่งเงินก้อนนี้จะต้องเก็บไว้เพื่อตกแต่งบ้าน ทำให้จำนวนเงินหายจากที่ได้รับจริง 2 ส่วน คือ ส่วนหัก 5 % และ ส่วนหักค่าเงินทอน
“ซึ่งประเด็นนี้กรณีของจ่าคลั่งที่กราดยิงโคราช อาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่า เงินทั้ง 2 ส่วน ไปอยู่กับผู้ประกอบการ จึงไปตามทวงถามเงินกับผู้ประกอบการ ก็คือ ป้านงค์ ที่ถูกยิงเสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น เพราะไม่พอใจที่ป้านงค์ เก็บเงินส่วนต่างสำหรับตกแต่งบ้าน รวมถึง 5% สวัสดิการ ประกอบกับบ้านที่จ่าคลั่งซื้อ แต่ยังสร้างไม่เสร็จ ระบบน้ำไฟต่างๆ ก็ยังไม่เสร็จ จึงไม่พอใจและก่อเหตุดังกล่าว”
ทนาย
ไพศาล กล่าวต่อว่า ประเด็นสำคัญ คือ ส่วนต่าง 5 % ของสวัสดิการกองทัพบกนั้นที่กำลังพลไม่ได้รับเงินส่วนนี้หายไปไหน หรือส่งต่อให้เจ้าหน้าที่คนใด นอกจากนี้ กำลังพลได้มาทวงถามเงินคืนจากผู้ประกอบการทั้งๆ ที่เงินถูกหักมาตั้งแต่สวัสดิการกองทัพบกแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีกำลังพลอีกรายหลายได้รับผลกระทบจากเงินส่วนต่างและเงิน 5 % หวั่นเกิดเหตุการซ้ำรอยที่ จ.นครราชสีมา
ด้าน น.ส.
ก้อย เปิดเผยว่า ตัวเองเป็นผู้ประกอบการสร้างบ้านขายให้กับกำลังพลของกองทัพบก แต่ไม่ทราบว่าถูกหักเงิน 5% เพราะถูกกรมสวัสดิการเก็บไว้อ้างเป็นค่าธรรมเนียมของกองทัพบก สุดท้ายแล้วไปสืบสาวราวเรื่อง จนทราบว่า 5% ตรงนี้กองทัพบกไม่มีระเบียบในการจัดเก็บเป็นการเก็บเงินเข้ากระเป๋าตัวเองของนายทหารคนหนึ่งของกรมสวัสดิการทหารบก
ส่วนทาง ว่าที่ ร.ต.
ธนกฤต กล่าวว่า ในส่วนของกระทรวงยุติธรรมจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบกระบวนการกู้ยืมเงินสวัสดิการทหารบกว่าเป็นอย่างไรและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง พร้อม ให้กรมคุ้มครองสิทธิฯ ดูแลคุ้มครองพยาน และ ฝ่ายกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมช่วยตรวจสอบว่าจะให้ดำเนินคดีในข้อหาอะไรได้บ้าง หากมีเจ้าหน้าที่เรียกรับผลประโยชน์จริง
นอกจากนี้ เอกสารลับและวงจรปิดหลักฐาน ที่ทนายไพศาลและผู้ประกอบการผู้เสียหายมายื่นขอคุ้มครองพยาน เพราะนอกจาก น.ส.
ก้อย ยังมีผู้ประกอบการรายอื่นๆ อีก เช่น น.ส.
เบิร์ด เป็นผู้ประกอบการสร้างบ้านจัดสรรขาย ให้กับกำลังพลกองทัพบกเหมือนกัน และพอเกิดปัญหากำลังพลมาทวงถามเงินทอนส่วนต่างและเงิน 5% ทาง น.ส.
เบิร์ด ยอมจ่ายเงินทั้งหมด 3 หลัง ราคากว่าล้านบาทให้กับกำลังพลที่มาซื้อบ้าน เพราะไม่อยากมีปัญหากับกองทัพบก แล้วจะถูกตัดสิทธิ์เข้าโครงการ บ้านอีกกว่า 100 หลังจะขายไม่ได้
ส.ส. อุบลฯ เพื่อไทย โวยรัฐบาลอืดแก้น้ำท่วม จี้ กกต. ผ่อนปรนคลายกฎเหล็ก
https://www.matichon.co.th/region/news_3622299
เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นาย
วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 1 อุบลราชธานี กล่าวถึงกรณีสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดอุบลราชธานีหนักในรอบ 44 ปี ว่ากฎหมายเลือกตั้งคุมฝ่ายการเมืองทำให้ไม่สามารถลงไปดำเนินการให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้ วันนี้รัฐบาลโยนภาระการช่วยเหลือประชาชนให้เป็นหน้าที่ของท้องถิ่นเท่านั้น แต่ก็ยังไม่เห็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ชัดเจนจากทางรัฐบาลเท่าที่ควร ไม่รู้ว่าทางรัฐบาลมัวแต่ห่วงเรื่องของตัวเองอยู่หรือไม่ จนละเลยพี่น้องประชาชนเช่นนี้วันนี้รัฐบาลโยนภาระการช่วยเหลือประชาชนให้เป็นหน้าที่ของท้องถิ่นเท่านั้น
นาย
วรสิทธิ์ กล่าวว่า ขอเสนอให้รัฐบาลเข้ามาเยียวยา เร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนให้มากกว่าที่ท้องถิ่นทำอยู่ อาจจะจัดงบประมาณพิเศษเร่งด่วน จัดสรรลงมาโดยเร็ว หรือเปิดช่องให้จังหวัดสามารถใช้งบกรณีฉุกเฉินล่วงหน้าได้ ไม่ใช่ให้ยึดเพียงแต่กรอบงบประมาณเยียวยาแบบเดิม ขณะเดียวกัน กกต. ควรทบทวนการผ่อนปรนกฎเหล็กบ้าง ซึ่งขณะนี้การช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ เหลือเพียงช่วยเหลือเรื่องของอาหารและสิ่งของจำเป็น แต่ก็ยังไม่เห็นรัฐบาลเข้าไปดำเนินการใดๆ ขณะที่ท้องถิ่นเองก็ไม่ได้มีงบประมาณและมีศักยภาพเพียงพอที่จะดูแลในส่วนนี้ จึงอยากให้ กกต.ได้พิจารณา ดูว่า ในกรณีที่เกิดอุทกภัยลักษณะนี้ส.ส. จะสามารถดำเนินการช่วยเหลือประชาชนในช่องทางใดได้บ้าง กกต. เขียนออกมาเป็นข้อยกเว้น กำหนดเลยก็ได้ว่า ให้ ส.ส.ทำอะไรได้บ้าง เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชน
ค่าเงินบาทอ่อนค่า 38.28 บาท มีความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกถดถอย
https://www.dailynews.co.th/news/1586459/
เงินบาทเปิดตลาดวันนี้ 17 ต.ค.65 อยู่ที่ 38.28 บาทต่อดอลลาร์ นักลงทุนในตลาดยังกังวลธนาคารกลางสหรัฐเร่งขึ้นดอกเบี้ย และเศรษฐกิจโลกเสี่ยงถดถอย จับตาทิศทางราคาทองคำ อาจกดดันเงินบาทอ่อนค่าได้
นาย
พูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 38.28 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลง” จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 38.10 บาทต่อดอลลาร์ (ระดับปิด ณ วันที่ 12 ตุลาคม) โดยมองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 37.80-38.50 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 38.20-38.40 บาทต่อดอลลาร์
ท้งนี้ สัปดาห์ที่ผ่านมา ความกลัวการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวหนักและเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย คือ ปัจจัยที่ยังคงกดดันให้ตลาดการเงินอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) และในสัปดาห์นี้ มองว่า ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตา ผลการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีน รวมถึง รายงานผลประกอบการบรรดาบริษัทจดทะเบียน และ ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด
โดยในส่วนของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจมีดังนี้
ฝั่งสหรัฐ – รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ในสัปดาห์นี้อาจสะท้อนแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น ท่ามกลางผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อสูง การเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยดัชนีภาคการผลิตที่สำรวจโดยเฟด
นิวยอร์ก (Empire Manufacturing Index) เดือนตุลาคมอาจปรับตัวลดลงสู่ระดับ -4.3 จุด (ดัชนีน้อยกว่า 0 หมายถึง ภาวะภาคการผลิตที่แย่ลง) กดดันโดยทั้งยอดการสั่งซื้อและการจ้างงานในภาคการผลิตที่ลดลงต่อเนื่องตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลก ซึ่งภาพดังกล่าวจะสอดคล้องกับรายงานสภาวะเศรษฐกิจโดยเฟดสาขาต่างๆ หรือ Fed Beige Book ที่อาจชี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐ อาจเริ่มชะลอลงหรือทรงตัว ซึ่งจะสะท้อนโมเมนตัมเศรษฐกิจที่แย่ลงชัดเจนนับตั้งแต่ที่เศรษฐกิจฟื้นตัวจากวิกฤติ COVID-19
อย่างไรก็ดี ตลาดมองว่า ภาพการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจะยังไม่สามารถเปลี่ยนใจบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดในการประชุมที่เหลือของปีนี้ได้ หลังจากข้อมูลเงินเฟ้อและเงินเฟ้อคาดการณ์ล่าสุดนั้นออกมาสูงกว่าคาด ทำให้ตลาดมองว่าเฟดอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ย +0.75% ในการประชุมอีกสองครั้งที่เหลือในปีนี้ ซึ่งถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดในสัปดาห์นี้อาจย้ำมุมมองดังกล่าวของผู้เล่นในตลาดได้ นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจและถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน อาทิ Bank of America, Goldman Sachs, Netflix และ Tesla จะอยู่ในความสนใจของตลาด โดยหากรายงานผลประกอบการส่วนใหญ่ออกมาแย่กว่าคาดและมีการปรับลดคาดการณ์แนวโน้มผลกำไร ก็อาจกดดันให้ตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ต่อได้ไม่ยาก
ฝั่งยุโรป – ตลาดมองว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนี (ZEW Economic Sentiment) เดือนตุลาคมอาจปรับตัวลดลงต่อเนื่อง สู่ระดับ -67 จุด สะท้อนว่า บรรดานักลงทุนสถาบันและนักวิเคราะห์อาจยังคงมีมุมมองที่เป็นลบมากขึ้นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจเยอรมนี ท่ามกลางปัญหาเงินเฟ้อสูง แนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB) รวมถึงความเสี่ยงวิกฤติพลังงาน
นอกจากนี้ ภาพเศรษฐกิจยูโรโซนอาจมีแนวโน้มไม่สดใส เนื่องจากตลาดมองว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยูโรโซน (Consumer Confidence) เดือนตุลาคม อาจปรับตัวลดลงต่อเนื่องแตะระดับ -30 จุด ตามปัญหาเงินเฟ้อสูงและความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวหนักจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ ECB ส่วนในฝั่งอังกฤษ อัตราเงินเฟ้อ CPI เดือนกันยายนมีแนวโน้มเร่งขึ้นแตะระดับ 10% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI ก็อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 6.4% หนุนให้ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จำเป็นต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง
ฝั่งเอเชีย – ไฮไลต์สำคัญสัปดาห์นี้จะเกี่ยวข้องกับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีนและผลการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีน (20th National Congress of the CCP) โดยในส่วนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ตลาดประเมินว่า เศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 3 จะขยายตัวราว +3.4%y/y ดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า หนุนโดยการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการลงทุนจากภาครัฐ ในขณะที่การบริโภคโดยรวมยังคงซบเซาจากผลกระทบของนโยบาย Zero COVID และปัญหาหนี้อสังหาฯ ส่วนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจเดือนกันยายนอาจยังสะท้อนการชะลอตัวลงต่อเนื่องของภาคการบริการและการบริโภคจากผลกระทบของมาตรการ Zero COVID โดยยอดค้าปลีก (Retail Sales) อาจโตชะลอลงเหลือ +3.5%y/y จากที่โต +5.4% ในเดือนก่อนหน้า
ขณะที่การลงทุนจากภาครัฐโดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอาจช่วยบรรเทาผลกระทบจากการซบเซาของภาคอสังหาฯ ชี้โดยยอดการลงทุนสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets Investment) ที่จะโตกว่า +6.0%y/y ในส่วนของการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้น ผู้เล่นในตลาดต่างคาดหวังให้มีการกำหนดแนวทางผ่อนคลายนโยบาย Zero COVID หรือมีการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ซึ่งหากสุดท้ายผลการประชุมไม่ได้เป็นไปตามที่ผู้เล่นในตลาดคาดหวัง เรามองว่า ภาพดังกล่าวอาจกดดันบรรยากาศการลงทุนในฝั่งตลาดเอเชียและมีโอกาสเห็นการปรับฐานของตลาดหุ้นจีน รวมถึงเงินหยวน (CNY) ก็มีโอกาสผันผวนในฝั่งอ่อนค่าได้ในระยะสั้นนี้ (โซนแนวต้านสำคัญ 7.25 หยวนต่อดอลลาร์)
สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท ประเมินว่า เงินบาทอาจผันผวนอ่อนค่าลงทดสอบโซนแนวต้าน 38.50 บาทต่อดอลลาร์ ท่ามกลางภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินที่ยังหนุนเงินดอลลาร์อยู่ อนึ่งควรจับตาทิศทางราคาทองคำ (Correlation กับเงินบาทสูงถึง 80%) โดยหากราคาทองคำย่อตัวลง โฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัวอาจกดดันเงินบาทให้อ่อนค่าได้ ส่วนฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติอาจยังมีทิศทางไหลออกสุทธิ โดยเฉพาะในฝั่งตลาดบอนด์ หากบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องทะลุระดับ 4.00% ชัดเจน
JJNY : ขอคุ้มครองพยาน หลังถูกนายพลข่มขู่│ส.ส.อุบลฯพท.โวยอืดแก้น้ำท่วม│บาทอ่อนค่า 38.28บ.│ปูตินไร้สัจจะ ส่งโดรนกามิกาเซ่
https://siamrath.co.th/n/391537
วันนี้ (17 ต.ค.) เวลา 10.30 น. ที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ทนายไพศาล เรืองฤทธิ์ พา น.ส.ก้อย และ น.ส.เบิร์ด (นามสมมติ) ในฐานะผู้เสียหายที่เป็นผู้ประกอบการสร้างบ้านพักขายให้กับกำลังพลกองทัพบก เดินทางเข้าพบ ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการ รมว.ยุติธรรม เพื่อยื่นขอคุ้มครองพยาน หลังถูกทหารนายหนึ่งของกองทัพบกข่มขู่คุกคามเพราะรู้ความลับ มีหลักฐานสำคัญ เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินสวัสดิการกองทัพบกที่ไม่เป็นธรรม และเป็นชนวนเหตุจ่าคลั่งกราดยิงที่โคราช
ทนายไพศาล กล่าวว่า วันนี้พาผู้เสียหายมาขอคุ้มครองพยาน หลังถูกนายทหารข่มขู่ถึงชีวิตเพราะเกี่ยวข้องกับทหารระดับนายพล โดยกำลังพลซึ่งเป็นผู้เสียหายหลายรายได้กู้ยืมเงินจากสวัสดิการทหารบก ซึ่งทางกรมฯ อ้างว่า จะต้องหักค่าธรรมเนียมกองทัพบก 5% ยกตัวอย่างเช่น บ้านราคา 1 ล้านบาท กำลังพลจะต้องกู้สวัสดิการ วงเงิน 1,500,000 บาท และจะถูกหัก 5% คือ 75,000 บาท เป็นค่าธรรมเนียมกองทัพบก โดยกำลังพล (ผู้กู้) จะไม่ทราบว่ามีการหักเงินตรงส่วนนี้ไว้ นอกจากนี้ ยังมีการหักค่าเงินทอนส่วนต่างอีกประมาณ 4 แสนบาท ซึ่งเงินก้อนนี้จะต้องเก็บไว้เพื่อตกแต่งบ้าน ทำให้จำนวนเงินหายจากที่ได้รับจริง 2 ส่วน คือ ส่วนหัก 5 % และ ส่วนหักค่าเงินทอน
“ซึ่งประเด็นนี้กรณีของจ่าคลั่งที่กราดยิงโคราช อาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่า เงินทั้ง 2 ส่วน ไปอยู่กับผู้ประกอบการ จึงไปตามทวงถามเงินกับผู้ประกอบการ ก็คือ ป้านงค์ ที่ถูกยิงเสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น เพราะไม่พอใจที่ป้านงค์ เก็บเงินส่วนต่างสำหรับตกแต่งบ้าน รวมถึง 5% สวัสดิการ ประกอบกับบ้านที่จ่าคลั่งซื้อ แต่ยังสร้างไม่เสร็จ ระบบน้ำไฟต่างๆ ก็ยังไม่เสร็จ จึงไม่พอใจและก่อเหตุดังกล่าว”
ทนายไพศาล กล่าวต่อว่า ประเด็นสำคัญ คือ ส่วนต่าง 5 % ของสวัสดิการกองทัพบกนั้นที่กำลังพลไม่ได้รับเงินส่วนนี้หายไปไหน หรือส่งต่อให้เจ้าหน้าที่คนใด นอกจากนี้ กำลังพลได้มาทวงถามเงินคืนจากผู้ประกอบการทั้งๆ ที่เงินถูกหักมาตั้งแต่สวัสดิการกองทัพบกแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีกำลังพลอีกรายหลายได้รับผลกระทบจากเงินส่วนต่างและเงิน 5 % หวั่นเกิดเหตุการซ้ำรอยที่ จ.นครราชสีมา
ด้าน น.ส.ก้อย เปิดเผยว่า ตัวเองเป็นผู้ประกอบการสร้างบ้านขายให้กับกำลังพลของกองทัพบก แต่ไม่ทราบว่าถูกหักเงิน 5% เพราะถูกกรมสวัสดิการเก็บไว้อ้างเป็นค่าธรรมเนียมของกองทัพบก สุดท้ายแล้วไปสืบสาวราวเรื่อง จนทราบว่า 5% ตรงนี้กองทัพบกไม่มีระเบียบในการจัดเก็บเป็นการเก็บเงินเข้ากระเป๋าตัวเองของนายทหารคนหนึ่งของกรมสวัสดิการทหารบก
ส่วนทาง ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต กล่าวว่า ในส่วนของกระทรวงยุติธรรมจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบกระบวนการกู้ยืมเงินสวัสดิการทหารบกว่าเป็นอย่างไรและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง พร้อม ให้กรมคุ้มครองสิทธิฯ ดูแลคุ้มครองพยาน และ ฝ่ายกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมช่วยตรวจสอบว่าจะให้ดำเนินคดีในข้อหาอะไรได้บ้าง หากมีเจ้าหน้าที่เรียกรับผลประโยชน์จริง
นอกจากนี้ เอกสารลับและวงจรปิดหลักฐาน ที่ทนายไพศาลและผู้ประกอบการผู้เสียหายมายื่นขอคุ้มครองพยาน เพราะนอกจาก น.ส.ก้อย ยังมีผู้ประกอบการรายอื่นๆ อีก เช่น น.ส.เบิร์ด เป็นผู้ประกอบการสร้างบ้านจัดสรรขาย ให้กับกำลังพลกองทัพบกเหมือนกัน และพอเกิดปัญหากำลังพลมาทวงถามเงินทอนส่วนต่างและเงิน 5% ทาง น.ส.เบิร์ด ยอมจ่ายเงินทั้งหมด 3 หลัง ราคากว่าล้านบาทให้กับกำลังพลที่มาซื้อบ้าน เพราะไม่อยากมีปัญหากับกองทัพบก แล้วจะถูกตัดสิทธิ์เข้าโครงการ บ้านอีกกว่า 100 หลังจะขายไม่ได้
ส.ส. อุบลฯ เพื่อไทย โวยรัฐบาลอืดแก้น้ำท่วม จี้ กกต. ผ่อนปรนคลายกฎเหล็ก
https://www.matichon.co.th/region/news_3622299
เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 1 อุบลราชธานี กล่าวถึงกรณีสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดอุบลราชธานีหนักในรอบ 44 ปี ว่ากฎหมายเลือกตั้งคุมฝ่ายการเมืองทำให้ไม่สามารถลงไปดำเนินการให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้ วันนี้รัฐบาลโยนภาระการช่วยเหลือประชาชนให้เป็นหน้าที่ของท้องถิ่นเท่านั้น แต่ก็ยังไม่เห็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ชัดเจนจากทางรัฐบาลเท่าที่ควร ไม่รู้ว่าทางรัฐบาลมัวแต่ห่วงเรื่องของตัวเองอยู่หรือไม่ จนละเลยพี่น้องประชาชนเช่นนี้วันนี้รัฐบาลโยนภาระการช่วยเหลือประชาชนให้เป็นหน้าที่ของท้องถิ่นเท่านั้น
นายวรสิทธิ์ กล่าวว่า ขอเสนอให้รัฐบาลเข้ามาเยียวยา เร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนให้มากกว่าที่ท้องถิ่นทำอยู่ อาจจะจัดงบประมาณพิเศษเร่งด่วน จัดสรรลงมาโดยเร็ว หรือเปิดช่องให้จังหวัดสามารถใช้งบกรณีฉุกเฉินล่วงหน้าได้ ไม่ใช่ให้ยึดเพียงแต่กรอบงบประมาณเยียวยาแบบเดิม ขณะเดียวกัน กกต. ควรทบทวนการผ่อนปรนกฎเหล็กบ้าง ซึ่งขณะนี้การช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ เหลือเพียงช่วยเหลือเรื่องของอาหารและสิ่งของจำเป็น แต่ก็ยังไม่เห็นรัฐบาลเข้าไปดำเนินการใดๆ ขณะที่ท้องถิ่นเองก็ไม่ได้มีงบประมาณและมีศักยภาพเพียงพอที่จะดูแลในส่วนนี้ จึงอยากให้ กกต.ได้พิจารณา ดูว่า ในกรณีที่เกิดอุทกภัยลักษณะนี้ส.ส. จะสามารถดำเนินการช่วยเหลือประชาชนในช่องทางใดได้บ้าง กกต. เขียนออกมาเป็นข้อยกเว้น กำหนดเลยก็ได้ว่า ให้ ส.ส.ทำอะไรได้บ้าง เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชน
ค่าเงินบาทอ่อนค่า 38.28 บาท มีความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกถดถอย
https://www.dailynews.co.th/news/1586459/
เงินบาทเปิดตลาดวันนี้ 17 ต.ค.65 อยู่ที่ 38.28 บาทต่อดอลลาร์ นักลงทุนในตลาดยังกังวลธนาคารกลางสหรัฐเร่งขึ้นดอกเบี้ย และเศรษฐกิจโลกเสี่ยงถดถอย จับตาทิศทางราคาทองคำ อาจกดดันเงินบาทอ่อนค่าได้
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 38.28 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลง” จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 38.10 บาทต่อดอลลาร์ (ระดับปิด ณ วันที่ 12 ตุลาคม) โดยมองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 37.80-38.50 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 38.20-38.40 บาทต่อดอลลาร์
ท้งนี้ สัปดาห์ที่ผ่านมา ความกลัวการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวหนักและเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย คือ ปัจจัยที่ยังคงกดดันให้ตลาดการเงินอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) และในสัปดาห์นี้ มองว่า ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตา ผลการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีน รวมถึง รายงานผลประกอบการบรรดาบริษัทจดทะเบียน และ ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด
โดยในส่วนของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจมีดังนี้
ฝั่งสหรัฐ – รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ในสัปดาห์นี้อาจสะท้อนแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น ท่ามกลางผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อสูง การเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยดัชนีภาคการผลิตที่สำรวจโดยเฟด
นิวยอร์ก (Empire Manufacturing Index) เดือนตุลาคมอาจปรับตัวลดลงสู่ระดับ -4.3 จุด (ดัชนีน้อยกว่า 0 หมายถึง ภาวะภาคการผลิตที่แย่ลง) กดดันโดยทั้งยอดการสั่งซื้อและการจ้างงานในภาคการผลิตที่ลดลงต่อเนื่องตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลก ซึ่งภาพดังกล่าวจะสอดคล้องกับรายงานสภาวะเศรษฐกิจโดยเฟดสาขาต่างๆ หรือ Fed Beige Book ที่อาจชี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐ อาจเริ่มชะลอลงหรือทรงตัว ซึ่งจะสะท้อนโมเมนตัมเศรษฐกิจที่แย่ลงชัดเจนนับตั้งแต่ที่เศรษฐกิจฟื้นตัวจากวิกฤติ COVID-19
อย่างไรก็ดี ตลาดมองว่า ภาพการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจะยังไม่สามารถเปลี่ยนใจบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดในการประชุมที่เหลือของปีนี้ได้ หลังจากข้อมูลเงินเฟ้อและเงินเฟ้อคาดการณ์ล่าสุดนั้นออกมาสูงกว่าคาด ทำให้ตลาดมองว่าเฟดอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ย +0.75% ในการประชุมอีกสองครั้งที่เหลือในปีนี้ ซึ่งถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดในสัปดาห์นี้อาจย้ำมุมมองดังกล่าวของผู้เล่นในตลาดได้ นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจและถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน อาทิ Bank of America, Goldman Sachs, Netflix และ Tesla จะอยู่ในความสนใจของตลาด โดยหากรายงานผลประกอบการส่วนใหญ่ออกมาแย่กว่าคาดและมีการปรับลดคาดการณ์แนวโน้มผลกำไร ก็อาจกดดันให้ตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ต่อได้ไม่ยาก
ฝั่งยุโรป – ตลาดมองว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนี (ZEW Economic Sentiment) เดือนตุลาคมอาจปรับตัวลดลงต่อเนื่อง สู่ระดับ -67 จุด สะท้อนว่า บรรดานักลงทุนสถาบันและนักวิเคราะห์อาจยังคงมีมุมมองที่เป็นลบมากขึ้นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจเยอรมนี ท่ามกลางปัญหาเงินเฟ้อสูง แนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB) รวมถึงความเสี่ยงวิกฤติพลังงาน
นอกจากนี้ ภาพเศรษฐกิจยูโรโซนอาจมีแนวโน้มไม่สดใส เนื่องจากตลาดมองว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยูโรโซน (Consumer Confidence) เดือนตุลาคม อาจปรับตัวลดลงต่อเนื่องแตะระดับ -30 จุด ตามปัญหาเงินเฟ้อสูงและความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวหนักจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ ECB ส่วนในฝั่งอังกฤษ อัตราเงินเฟ้อ CPI เดือนกันยายนมีแนวโน้มเร่งขึ้นแตะระดับ 10% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI ก็อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 6.4% หนุนให้ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จำเป็นต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง
ฝั่งเอเชีย – ไฮไลต์สำคัญสัปดาห์นี้จะเกี่ยวข้องกับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีนและผลการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีน (20th National Congress of the CCP) โดยในส่วนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ตลาดประเมินว่า เศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 3 จะขยายตัวราว +3.4%y/y ดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า หนุนโดยการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการลงทุนจากภาครัฐ ในขณะที่การบริโภคโดยรวมยังคงซบเซาจากผลกระทบของนโยบาย Zero COVID และปัญหาหนี้อสังหาฯ ส่วนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจเดือนกันยายนอาจยังสะท้อนการชะลอตัวลงต่อเนื่องของภาคการบริการและการบริโภคจากผลกระทบของมาตรการ Zero COVID โดยยอดค้าปลีก (Retail Sales) อาจโตชะลอลงเหลือ +3.5%y/y จากที่โต +5.4% ในเดือนก่อนหน้า
ขณะที่การลงทุนจากภาครัฐโดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอาจช่วยบรรเทาผลกระทบจากการซบเซาของภาคอสังหาฯ ชี้โดยยอดการลงทุนสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets Investment) ที่จะโตกว่า +6.0%y/y ในส่วนของการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้น ผู้เล่นในตลาดต่างคาดหวังให้มีการกำหนดแนวทางผ่อนคลายนโยบาย Zero COVID หรือมีการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ซึ่งหากสุดท้ายผลการประชุมไม่ได้เป็นไปตามที่ผู้เล่นในตลาดคาดหวัง เรามองว่า ภาพดังกล่าวอาจกดดันบรรยากาศการลงทุนในฝั่งตลาดเอเชียและมีโอกาสเห็นการปรับฐานของตลาดหุ้นจีน รวมถึงเงินหยวน (CNY) ก็มีโอกาสผันผวนในฝั่งอ่อนค่าได้ในระยะสั้นนี้ (โซนแนวต้านสำคัญ 7.25 หยวนต่อดอลลาร์)
สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท ประเมินว่า เงินบาทอาจผันผวนอ่อนค่าลงทดสอบโซนแนวต้าน 38.50 บาทต่อดอลลาร์ ท่ามกลางภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินที่ยังหนุนเงินดอลลาร์อยู่ อนึ่งควรจับตาทิศทางราคาทองคำ (Correlation กับเงินบาทสูงถึง 80%) โดยหากราคาทองคำย่อตัวลง โฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัวอาจกดดันเงินบาทให้อ่อนค่าได้ ส่วนฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติอาจยังมีทิศทางไหลออกสุทธิ โดยเฉพาะในฝั่งตลาดบอนด์ หากบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องทะลุระดับ 4.00% ชัดเจน