การดูแลสุขภาพช่องปาก หญิงชายวัยทอง

กระทู้สนทนา
ในช่วงวัยทองจะมีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนทางเพศ ซึ่งจะมีผลต่อร่างกายจิตใจและสุขภาพในช่องปากได้ ระดับของฮอร์โมนทางเพศที่เปลี่ยนไปจะมีผลต่ออวัยวะปริทันต์ เช่น เหงือกอักเสบได้ และความต้านทานต่อคราบจุลลินทรีย์ (Dentel Plaque) ที่ประกอบไปด้วยเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย

ระหว่างที่หญิงหมดประจำเดือน จะมีการลดลงของระดับฮอร์โมนเอสโตนเจน และโปรเจสโตรโรนในกระแสเลือด อาการที่พบบ่อย ได้แก่ อาการที่เกิดรู้สึกไม่สบายในช่องปาก และอาการที่มีผลจากกระดูกพรุน อาการที่รู้สึกไม่สบายในช่องปาก ได้แก่ ความรู้สึกปวด รู้สึกแสบๆ ร้อนๆ ปากแห้ง และการรับรสที่เปลี่ยนไป

อย่างไรก็ตาม การให้ฮอร์โมนเสริมเพื่อให้รับฮอร์โมนอยู่ในระดับปกติ ก็ไม่มีผลแน่นอนในการลดอาการดังกล่าว หญิงที่รักษาสุขภาพช่องปากอย่างดีจะไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ในช่วงที่กำลังหมดประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนไปแล้ว

ระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงจะทำให้กระดูกพรุน และบางลง ผลของระดับฮอร์โมนที่ลดลงจะทำให้กระดูกขากรรไกรพรุนได้ ซึ่งเป็นงานวิจัยที่พบความสัมพันธ์ระหว่างกระดูกพรุน และการสูญเสียกระดูกรอบตัวฟัน

การดูแลสุขภาพช่องปาก หญิงชายวัยทอง

1. แปรงฟันอย่างถูกต้องตามหลัก 2-2-2 คือ แปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีคุณภาพ นานครั้งละ 2 นาที และแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง หลังแปรงฟันควรงดอาหารและเครื่องดื่มนาน 2 ชั่วโมง
2. ควรใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับทำความสะอาดซอกฟัน เช่น ไหมขัดฟัน แปรงซอกฟัน
3. ตรวจและประเมิฯสุขภาพช่องปากเบื้องต้นด้วยตนเอง
4. เข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากโดยทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่